โปรดอัพเดตเบราว์เซอร์

เบราว์เซอร์ที่คุณใช้เป็นเวอร์ชันเก่าซึ่งไม่สามารถใช้บริการของเราได้ เราขอแนะนำให้อัพเดตเบราว์เซอร์เพื่อการใช้งานที่ดีที่สุด

ธุรกิจ-เศรษฐกิจ

ดีอี เปิด 10 ข่าวปลอม ประจำสัปดาห์ ส่วนใหญ่เกี่ยวกับภัยพิบัติ

การเงินธนาคาร

อัพเดต 12 กรกฎาคม 2568 เวลา 21.03 น. • เผยแพร่ 4 ชั่วโมงที่ผ่านมา

ดีอี เปิด 10 ข่าวปลอม ช่วง 4-10 ก.ค. 2568 พบ ส่วนใหญ่เกี่ยวกับเรื่องภัยพิบัติ นโยบายรัฐฯ การเงินการลงทุน แนะตรวจสอบให้แน่ชัดก่อนเชื่อ

12 ก.ค. 2568นายเวทางค์ พ่วงทรัพย์ เลขาธิการคณะกรรมการดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (BDE) ในฐานะโฆษกกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (ดีอี) กล่าวถึงผลการมอนิเตอร์และรับแจ้งข่าวปลอมของศูนย์ต่อต้านข่าวปลอม ระหว่างวันที่ 4 – 10 กรกฎาคม 2568 พบข้อความที่เข้ามาทั้งหมด 1,039,175 ข้อความ โดยมีข้อความที่ต้องดำเนินการตรวจสอบ (Verify) ทั้งสิ้น 638 ข้อความ

สำหรับช่องทางที่มีการพบเบาะแสมากที่สุด คือ ข้อความที่มาจาก Social Listening จำนวน 606 ข้อความ ตามมาด้วยการแจ้งเบาะแสผ่าน Line Official จำนวน 29 ข้อความ และช่องทาง Facebook จำนวน 3 ข้อความ รวมเรื่องที่ต้องดำเนินการตรวจสอบทั้งหมด 209 เรื่อง และจากการประสานงานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ได้รับผลการตรวจสอบกลับมาแล้ว 87 เรื่อง

ทั้งนี้ กระทรวงดีอี ได้แบ่งข่าวปลอมที่ได้รับความสนใจเป็น 5 กลุ่ม ประกอบด้วย

กลุ่มที่ 1 : นโยบายรัฐบาล ข่าวสารทางราชการ ความสงบเรียบร้อยของสังคม ขัดศีลธรรมอันดี และความมั่นคงภายในประเทศ จำนวน 98 เรื่อง

กลุ่มที่ 2 : ผลิตภัณฑ์สุขภาพ วัตถุอันตราย เครื่องสำอาง รวมถึงสินค้าและบริการที่ผิดกฎหมายจำนวน 31 เรื่อง

กลุ่มที่ 3 : ภัยพิบัติ จำนวน 14 เรื่อง

กลุ่มที่ 4 : เศรษฐกิจ จำนวน 7 เรื่อง

กลุ่มที่ 5 : กลุ่มอาชญากรรมออนไลน์ จำนวน 59 เรื่อง

นายเวทางค์ กล่าวต่อว่า เมื่อพิจารณาจากข่าวปลอมที่ได้รับความสนใจในลำดับต้นๆ ในสัปดาห์นี้ เป็นข่าวเกี่ยวกับเรื่องของภัยพิบัติ ความมั่นคงภายในประเทศ และระหว่างประเทศ ข่าวการให้บริการของหน่วยงานรัฐ ซึ่งมีผลกระทบต่อสังคมส่วนใหญ่ ทำให้เกิดความตื่นตระหนก วิตกกังวล สับสน เข้าใจผิดได้

โดยข่าวที่ได้รับความสนใจจากประชาชนมากที่สุด 10 อันดับ ได้แก่

อันดับที่ 1 : เรื่อง ระนอง พังงา ภูเก็ต กระบี่ เฝ้าระวังสึนามิ และแผ่นดินไหวรุนแรง ที่ภูเขาไฟใต้น้ำ

อันดับที่ 2 : เรื่อง รัฐบาลใช้ฝนเทียม เพื่อสลายการชุมนุม

อันดับที่ 3 : เรื่อง เดือนกรกฎาคม 68 จะมีคนชุมพรและนราธิวาส เสียชีวิตเพราะสึนามิเป็นแสนคน

อันดับที่ 4 : เรื่อง เกิดแผ่นดินไหวขนาด 5.1 แมกนิจูด ลึก 10 กม. ในแนววงแหวนแห่งไฟบริเวณทะเลอันดามัน

อันดับที่ 5 : เรื่อง แจ้งผู้ว่าฯ 7 จังหวัด ชายแดนไทย-กัมพูชา เตรียมแผนอพยพประชาชน

อันดับที่ 6 : เรื่อง เกิดแผ่นดินไหวล้อมไทย ภาคเหนือ-อีสาน-ใต้ ต้องเฝ้าระวัง

อันดับที่ 7 : เรื่อง คนต่างด้าวทำบัตรประชาชนคนไทยได้แล้ว

อันดับที่ 8 : เรื่อง กัมพูชาสั่งห้ามไทย ส่งยาให้ผู้ป่วยผ่านด่านช่องจอม

อันดับที่ 9 : เรื่อง ธนาคารออมสิน เปิดโครงการใหม่ กู้ออนไลน์ ได้ทุกอาชีพ วงเงิน 70,000 บาท

อันดับที่ 10 : เรื่อง เผยคลิปลับ เจ้าหน้าที่สำนักงานตรวจคนเข้าเมือง เป็นเพื่อนกับเจ้าของร้านอาหารชาวจีน

สำหรับอันดับ 1 เรื่อง “ระนอง พังงา ภูเก็ต กระบี่ เฝ้าระวังสึนามิ และแผ่นดินไหวรุนแรง ที่ภูเขาไฟใต้น้ำ” กระทรวงดีอี โดยกรมอุตุนิยมวิทยา ตรวจสอบแล้วพบว่า เป็นข้อมูลเท็จ โดยขอชี้แจงว่า ในช่วง 10 วันที่ผ่านมา (นับจากวันที่ 3 กรกฎาคม 2025) ไม่พบรายงานการปะทุของภูเขาไฟบนเกาะนิโคบาร์ หรือบริเวณหมู่เกาะอันดามัน และจากแหล่งข้อมูลภูเขาไฟสำคัญ เช่น Global Volcanism Program ก็ไม่พบบันทึกเหตุการณ์ระดับเชิงลึกหรือแผนที่ความร้อนใหม่ใด ๆ ในช่วงนี้ อย่างไรก็ตาม กองเฝ้าระวังแผ่นดินไหวรวมถึงหน่วยงานอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องยังเฝ้าระวังแผ่นดินไหวและสึนามิอยู่ตลอดเวลาและได้มีการทำงานร่วมกันอย่างเป็นระบบ

ด้านข่าวปลอมอันดับ 2 เรื่อง “รัฐบาลใช้ฝนเทียม เพื่อสลายการชุมนุม” กระทรวงดีอี ได้ประสานงานร่วมกับกรมฝนหลวงและการบินเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ตรวจสอบแล้วพบว่า เป็นข้อมูลเท็จ โดยขอชี้แจงว่า ข้อมูลที่มีการเผยแพร่ดังกล่าวเป็นข่าวปลอม ซึ่งสร้างขึ้นมาเพื่อหวังปลุกปั่นยุยง

ทั้งนี้ในช่วงเวลาที่ผ่านมามีการปฏิบัติการฝนหลวง ในวันเสาร์ที่ 28 มิถุนายน 2568 จำนวน 1 หน่วยปฏิบัติการ ได้แก่ หน่วยปฏิบัติการฝนหลวงจังหวัดลพบุรี และมีฝนตกบริเวณพื้นที่การเกษตรจังหวัดลพบุรี (อำเภอโคกเจริญ) จังหวัดนครสวรรค์ (อำเภอไพศาลี อำเภอท่าตะโก) จังหวัดเพชรบูรณ์ (อำเภอวิเชียรบุรี) ซึ่งการปฏิบัติการฝนหลวงไม่มีผลกระทบกับพื้นที่กรุงเทพมหานครแต่อย่างใด

อย่างไรก็ตาม ดีอี มีความห่วงใยประชาชน เรื่องความตระหนักรู้เท่าทันข่าวปลอมที่ถูกแพร่กระจายบนสื่อออนไลน์ โซเชียล ซึ่งหากขาดความรู้เท่าทันส่งต่อข้อมูลข่าวปลอม ทำให้เกิดการหลงเชื่อ สร้างความเข้าใจที่คลาดเคลื่อน เกิดความวิตกกังวล หรืออาจสร้างความเสียหายต่อชีวิต ทรัพย์สิน หรือข้อมูลส่วนบุคคล และอาจส่งผลกระทบต่อประชาชนในสังคมเป็นวงกว้าง ดังนั้นจึงควรตรวจสอบข้อเท็จจริงของข่าวหรือลิงก์เว็บไซต์ให้แน่ชัด

สามารถแจ้งเบาะแส ข่าวปลอม และอาชญากรรมออนไลน์ทุกรูปแบบ โทรสายด่วน 1111 (24 ชม.) | Line ID: @antifakenewscenter | เว็บไซต์ www.antifakenewscenter.com

อ่านข่าว เศรษฐกิจทั่วไทย ทั้งหมด ได้ที่นี่

ดูข่าวต้นฉบับ
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...

ล่าสุดจาก การเงินธนาคาร

กระทรวงการต่างประเทศสหรัฐฯ ปลดพนักงานกว่า 1,300 คน ภายใต้แผนปรับโครงสร้างรัฐของ ทรัมป์

4 ชั่วโมงที่ผ่านมา

กะตะกรุ๊ป: 45 ปีแห่งความสำเร็จใน ภูเก็ต กับการเปลี่ยนผ่านสู่ “โรงแรมยั่งยืน”

5 ชั่วโมงที่ผ่านมา

วิดีโอแนะนำ

ข่าวและบทความธุรกิจ-เศรษฐกิจอื่น ๆ

‘พาณิชย์’เตรียมมาตรการดูแลราคาลำไยช่วยเกษตรกร

The Better

รมว.พาณิชย์ หนุนกาแฟ GI ไทย บุกเทศกาลกาแฟอาเซียน

เดลินิวส์

เตือนลงทุนทางตรงทั่วโลก เจอสงครามภาษีพ่นพิษ ซึมถอยหลัง 2 ปีติด | คุยกับบัญชา | 30 มิ.ย. 68

BTimes

รัฐคุมราคาพลังงานยอมแบกหนี้กองทุนน้ำมันฯกว่าครึ่งแสน

The Better

สภาผู้บริโภคเตือน “โอเวอร์ซัพพลาย” รถ EV แนะรัฐเร่งกำหนดเกณฑ์ดูแลหลังการขาย

The Better

สุชาติ ลุยดันราคาลำไย ดูดซับผลผลิต ช่วยเกษตรกร

MATICHON ONLINE

วว.- นีโอ นำวิจัยสร้างเศรษฐกิจหมุนเวียน–ลดคาร์บอนพื้นที่ชุมชน

เดลินิวส์

จีนไม่อิน! “Tesla” สะเทือนสองเด้ง หุ่นยนต์ติดล็อก รถไฟฟ้าถูกมองว่าเชย

อีจัน

ข่าวและบทความยอดนิยม

Loading...