โปรดอัพเดตเบราว์เซอร์

เบราว์เซอร์ที่คุณใช้เป็นเวอร์ชันเก่าซึ่งไม่สามารถใช้บริการของเราได้ เราขอแนะนำให้อัพเดตเบราว์เซอร์เพื่อการใช้งานที่ดีที่สุด

หุ้น การลงทุน

“ซิตี้แบงก์” เปิด 6 เทรนด์การรับมือกำแพงภาษีของภาคธุรกิจ พร้อมแนะนำโซลูชันการเงิน คว้าโอกาสสวนกระแสโลก

Wealthy Thai

อัพเดต 1 ชั่วโมงที่ผ่านมา • เผยแพร่ 15 ชั่วโมงที่ผ่านมา

ตั้งแต่การลงนามความตกลงทั่วไปว่าด้วยภาษีศุลกากรและการค้าในปี 2490 ระบบการค้าโลกได้ดำเนินอยู่ภายใต้กติกาสากลที่แทบไม่มีการเปลี่ยนแปลง จนกระทั่งวันที่ 2 เมษายน 2568 เมื่อสหรัฐอเมริกาประกาศมาตรการภาษีตอบโต้ (Reciprocal Tariffs) กับทุกประเทศทั่วโลก นับเป็นจุดพลิกผันครั้งใหญ่ที่สุดในรอบเจ็ดทศวรรษของประวัติศาสตร์การค้าระหว่างประเทศ
คำถามที่หลายฝ่ายเฝ้าจับตาคือ ธุรกิจจะได้รับผลกระทบจากสถานการณ์การค้าโลกอย่างไรบ้าง? ซึ่งบทวิเคราะห์ Global Trade in Transition: Tariffs Reshape Supply Chains, Strategy, and Financing ของ “ธนาคารซิตี้แบงก์” ระบุว่า แม้บางประเทศเผชิญกับอัตราภาษีที่สูงกว่าประเทศอื่น ๆ เช่น ประเทศจีน เวียดนาม แต่ภาคอุตสาหกรรมในระดับโลก ตั้งแต่ภาคเทคโนโลยี ยานยนต์ สินค้าและบริการเพื่อผู้บริโภค ไปจนถึงภาคการเกษตรและโลจิสติกส์ ได้รับผลกระทบจากต้นทุนที่เพิ่มขึ้นจากอัตราภาษี และมีการเร่งปรับโครงสร้างซัพพลายเชน กลยุทธ์การเงิน และแผนการลงทุนครั้งใหญ่ในรอบหลายสิบปี ทุกประเทศที่อยู่ในห่วงโซ่อุปทานโลกจึงล้วนได้รับผลกระทบจากสถานการณ์ดังกล่าว ไม่ว่าจะทางตรงหรือทางอ้อม รวมถึงประเทศไทยซึ่งเป็นผู้ส่งออกรถยนต์ให้สหรัฐอเมริกา ก็เริ่มเผชิญแรงกดดันในภาคอุตสาหกรรมยานยนต์เช่นกัน
เพื่อตอบสนองต่อสถานการณ์การค้า องค์กรธุรกิจมีแนวโน้มปรับกลยุทธ์เพื่อสร้างการเติบโตระยะยาว โดยเทรนด์การตั้งรับที่สำคัญประกอบด้วย

  • การขยายฐานการผลิตในสหรัฐฯ ผ่านการลงทุนในสินทรัพย์ถาวรอย่างโรงงาน FDIหรือการควบรวมหรือเข้าซื้อกิจการ เพื่อลดความเสี่ยงด้านการขนส่งรวมถึงเลี่ยงภาษีนำเข้า

  • ย้ายฐานการผลิตไปประเทศที่ภาษีต่ำ แต่ความไม่แน่นอนของระดับภาษีในอนาคตทำให้การตัดสินใจย้ายฐานการผลิตยังคงเป็นประเด็นที่ซับซ้อน

  • เพิ่มกำลังการผลิตในโรงงานเดิม ลดต้นทุนด้วยการใช้ประโยชน์จากโครงสร้างพื้นฐานที่มีอยู่

  • กระจายฐานซัพพลายเออร์ รวมถึงเพิ่มการจัดซื้อจากหลายแหล่ง ลดความเสี่ยงการพึ่งพาซัพพลายเออร์เจ้าเดียว

  • สำรองสต็อกสินค้าในคลัง เพื่อไม่ให้กระทบการขายหรือการผลิตหากเกิดวิกฤติ และบางบริษัทยังเร่งส่งสินค้าก่อนจะเกิดสงครามการค้า

  • รัดเข็มขัดเงินสดสำรองและรักษาสภาพคล่อง เพื่อรับแรงกดดันด้านกำไรและยอดขายที่ลดลง

และแม้สถานการณ์จะมีความท้าทาย แต่ธุรกิจที่สามารถกระจายความเสี่ยงพร้อมบริหารทรัพยากรอย่างยืดหยุ่น ยังมีโอกาสสร้างการเติบโตได้ด้วยการลงทุนในตลาดใหม่ รวมถึงสร้างความได้เปรียบจากโครงสร้างภาษีที่เปลี่ยนแปลง เครื่องมือการเงินเพื่อบริหารความเสี่ยงและอำนวยความสะดวกในการค้าระหว่างประเทศ ทั้งโซลูชันบริหารเจ้าหนี้การค้า (Payables Finance) และลูกหนี้การค้า (Accounts Receivable) ที่ช่วยให้การลงทุนคล่องตัวในภาวะต้นทุนสูงขึ้นจากภาษี ตราสารเครดิต (Letters of Credit) ที่ออกโดยธนาคารเพื่อรับประกันการชำระเงิน รวมถึงสินเชื่อเพื่อการค้าและทุนหมุนเวียน (Trade and Working Capital Loans)ซึ่งช่วยให้ธุรกิจมีเงินสดเพียงพอสำหรับการซื้อวัตถุดิบ การผลิต และจัดส่งสินค้า จึงได้รับความสนใจจากองค์กรทั่วโลก
นางสาว นฤมล จิวังกูร กรรมการผู้จัดการใหญ่ ธนาคารซิตี้แบงก์ ประเทศไทย กล่าวว่า “ภูมิทัศน์การค้า ทิศทางที่ผันผวนในขณะนี้เป็นความท้าทายอย่างสูงสำหรับการวางกลยุทธ์ขององค์กร การมีพันธมิตรด้านการเงินที่มีทั้งบริการครบวงจรและความเชี่ยวชาญในตลาดนานาชาติ จึงเป็นปัจจัยสำคัญในการบริหารความเสี่ยงและการลงทุนอย่างมีประสิทธิภาพ เข้าถึงตลาดเงินตลาดทุนในแต่ละประเทศ ด้วยเทคโนโลยีและนวัตกรรมทางการเงินระดับโลก สำหรับองค์กรที่ต้องการขยายการเติบโตในระดับนานาชาติ ธนาคารซิตี้แบงก์ เป็นพันธมิตรอันดับต้นที่พร้อมตอบโจทย์ธุรกิจ ด้วยบริการที่สอดรับกับความต้องการขององค์กร และเครือข่ายครอบคลุมกว่า 180 ประเทศทั่วโลก ช่วยเชื่อมโยงลูกค้าเข้ากับโอกาสที่เหมาะสม พร้อมมอบข้อมูลเชิงลึกที่ทันเหตุการณ์ เพื่อการตัดสินใจเชิงกลยุทธ์ที่แม่นยำ สนับสนุนให้ธุรกิจเติบโตอย่างมั่นใจในเวทีโลก”
สำหรับข้อมูลเพิ่มเติม กรุณาติดต่อธนาคารซิตี้แบงก์ ประเทศไทย

ดูข่าวต้นฉบับ
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...

ล่าสุดจาก Wealthy Thai

BBL โชว์ครึ่งแรกปี 68 มีกำไร 24,458 ล้านบาท โต 9.5% จากปีก่อน รับรายได้ที่มิใช่ดอกเบี้ยพุ่งแรง

5 ชั่วโมงที่ผ่านมา

จิตตะ เวลธ์ ชี้ AI Market Prediction ยังล็อกเป้าหุ้นจีน เผยสูตรจัดพอร์ตด้วย Core & Satellite ลงทุน Global ETF และ Jitta Ranking Alpha ฝ่าความผันผวนได้จริง จิตตะ เวลธ์ ประเมินครึ่งปีหลังยังเห็

7 ชั่วโมงที่ผ่านมา

DBS ชูกลยุทธ์ "The Global Pivot" ฝ่าความผันผวนช่วงครึ่งปีหลัง แนะเพิ่มหนักลงทุน ทอง-หุ้นเอเชีย-ยุโรป ชี้เป้า 3 ธุรกิจมาแรงในยุคเศรษฐกิจเปลี่ยน

8 ชั่วโมงที่ผ่านมา

TMI บอร์ดไฟเขียว! อนุมัติโครงการซื้อหุ้นคืน

8 ชั่วโมงที่ผ่านมา

วิดีโอแนะนำ

ข่าวและบทความหุ้น การลงทุนอื่นๆ

Night Recap Gold Futures 17-07-2568

ฮั่วเซ่งเฮง

Night Recap Gold Spot 17-07-2568

ฮั่วเซ่งเฮง

‘ดาวโจนส์’ ทะยาน 209.64 จุด ขานรับ ‘ข้อมูลเศรษบฐกิจ-ผลประกอบการบริษัท’ แกร่ง

The Bangkok Insight

[Vision Exclusive] SET ผ่านจุดต่ำสุดแล้ว ฟันธงเป้า 1,370 จุด

หุ้นวิชั่น

[Vision Exclusive] CHEWA เฟ้นหาที่ดินใหม่ – ดันยอด

หุ้นวิชั่น

แบงก์กรุงเทพ เปิดกำไรไตรมาส2 ที่ 1.18หมื่นล้าน วูบ 6.2% หลังตั้งสำรองเพิ่ม 18%

กรุงเทพธุรกิจ

‘ดีบีเอส’ สแกน ‘หุ้นไทย’ เหลือ1,000จุด แรงบีบ ‘ภาษีทรัมป์36%‘

กรุงเทพธุรกิจ

ทิพยประกันภัย คว้ารางวัล “บริษัทที่มีบริการยอดเยี่ยมด้านประกันวินาศภัย” จากงาน Money & Banking Awards 2025

สยามรัฐ

ข่าวและบทความยอดนิยม

Loading...