MFC เปิดขายกองทุน “M-CTECH” ลงทุน AI ตลาดจีน – แนวโน้มเติบโตสูงในระยะยาว
บลจ.เอ็มเอฟซี เปิดตัว "กองทุนเปิดเอ็มเอฟซี ไชน่า เทคโนโลยี" (M-CTECH) โอกาสลงทุนหุ้นเทคจีน ทั้งตลาด A-Share และ H-Share ครอบคลุม ทั้งห่วงโซ่อุปทานของธุรกิจเกี่ยวข้องปัญญาประดิษฐ์ (Artificial Intelligence หรือ AI) ที่มีแนวโน้มเติบโตสูงในระยะยาว ขณะที่ระดับ Valuation ไม่แพง เมื่อเทียบหุ้นในดัชนี Nasdaq 100 เปิดขาย IPO ระหว่าง 17-29 ก.ค.68
17 กรกฎาคม 2568 นายธนโชติ รุ่งสิทธิวัฒน์ กรรมการผู้จัดการ บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุนเอ็มเอฟซี จำกัด (มหาชน) หรือ MFC ในฐานะผู้เชี่ยวชาญด้านการบริหารจัดการกองทุนคุณภาพทั้งในและต่างประเทศ เปิดเผยว่า บลจ.เอ็มเอฟซี นำเสนอ กองทุนเปิดเอ็มเอฟซี ไชน่า เทคโนโลยี (M-CTECH) เปิดโอกาสเข้าลงทุนในหุ้น China Technology ที่มีสัญญาณฟื้นตัว และอัตรากำไรมีแนวโน้มเติบโตสูงอย่างต่อเนื่อง ผ่านสองกองทุนรวมต่างประเทศ ได้แก่ iShares Hang Seng TECH ETF และ ChinaAMC CSI Artificial Intelligence ETF โดยมีสัดส่วนการลงทุนประมาณ 50% ในแต่ละกองทุน
“จุดเด่นของ M-CTECH คือ การกระจายการลงทุนครบวงจรในอุตสาหกรรม AI ของจีน ทั้งเซมิคอนดักเตอร์ โครงสร้างพื้นฐานด้านดาต้าเซ็นเตอร์ ไปจนถึงการประยุกต์ใช้ในซอฟต์แวร์และอุปกรณ์อัจฉริยะ ถือเป็นกองทุนที่เชื่อมโยงกับเมกะเทรนด์อย่างชัดเจน ขณะที่มูลค่าหุ้นเทคโนโลยีของจีนและกลุ่ม AI ยังอยู่ในระดับที่น่าสนใจเมื่อเทียบกับการเติบโตในระยะยาว” นายธนโชติกล่าว
สำหรับ iShares Hang Seng TECH ETF เข้าถึงหุ้นขนาดใหญ่ 30 อันดับแรกที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ฮ่องกง ซึ่งอยู่ในกลุ่มเทคโนโลยีหรือธุรกิจที่ใช้เทคโนโลยี และลงทุนโดยตรงในบริษัทที่อยู่ในอุตสาหกรรมต่างๆ รวมถึง information technology, consumer discretionary และ communication services ซึ่งสะท้อนมุมมองในภูมิภาค Greater China
ส่วน ChinaAMC CSI Artificial Intelligence ETF ลงทุนในบริษัทชั้นนำที่อยู่แนวหน้าของนวัตกรรมปัญญาประดิษฐ์ (AI) ในประเทศจีน จำนวน 50 บริษัท เช่น บริษัทที่เกี่ยวข้องกับฮาร์ดแวร์ (เซมิคอนดักเตอร์), ซอฟต์แวร์ และคลาวด์คอมพิวติ้ง ซึ่งบริษัทเหล่านี้ใช้ประโยชน์จากการพัฒนาของระบบนิเวศ AI
ทั้งนี้ ประเทศจีนกำลังผลักดันการเติบโตของ AI อย่างจริงจัง โดยในช่วงต้นปีที่ผ่านมา ประธานาธิบดีสี จิ้นผิง ได้ประชุมร่วมกับผู้นำภาคเอกชน เช่น Alibaba, BYD, Huawei, CATL, Xiaomi, Tencent, Meituan รวมถึง DeepSeek ในเดือน ก.พ. 68 ที่ผ่านมา เป็นสัญญาณฟื้นฟูความเชื่อมั่นของภาคเอกชนจีนในการลงทุน เพื่อขับเคลื่อนเศรษฐกิจดิจิทัล
ขณะเดียวกันบริษัท DeepSeek ได้พัฒนา Large Language Model (LLM) ที่มีประสิทธิภาพสูงในต้นทุนที่ต่ำกว่า ChatGPT และ Claude ซึ่งสะท้อนถึงความก้าวหน้าของจีนในเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ และแนวโน้มการพึ่งพาตนเองทางเทคโนโลยีในอนาคต
“ด้วยมูลค่าหุ้นเทคโนโลยีจีนในปัจจุบันที่ยังอยู่ในระดับที่น่าลงทุน ประกอบกับแนวโน้มกำไรของภาคเทคโนโลยีจีนที่กำลังฟื้นตัว M-CTECH จึงเป็นอีกหนึ่งทางเลือกสำคัญ สำหรับผู้ที่ต้องการกระจายความเสี่ยงไปยังตลาดเกิดใหม่ขนาดใหญ่ที่ยังมี Upside” นายธนโชติ กล่าว
กองทุน M-CTECH กระจายลงทุนครบทั้งห่วงโซ่อุปทานของธุรกิจเกี่ยวข้องกับ AI ตัวอย่างหุ้น Top Holdings จาก iShares Hang Seng TECH ETF ข้อมูล ณ 30 พ.ค. 68 ลงทุน
- หุ้น SMIC (ธุรกิจต้นน้ำชิปประมวลผล/เซมิคอนดักเตอร์)
- หุ้น Alibaba Group, Tencent (ธุรกิจกลางน้ำ โครงสร้างพื้นฐาน AI เช่น Server, Data Center, และ Cloud Platform)
- หุ้น Meituan, XIAOMI, JD.COM, NetEase Games, BYD, KUAISHOU (ธุรกิจปลายน้ำการประยุกต์ใช้เทคโนโลยี AI ที่พบในแอปพลิเคชัน, ซอฟต์แวร์, และอุปกรณ์อัจฉริยะ)
ส่วน ChinaAMC CSI Artificial Intelligence ETF ลงทุนใน
- หุ้น Cambricon, Will Semiconductor, MONTAGE LZ (ธุรกิจต้นน้ำชิปประมวลผล/เซมิคอนดักเตอร์)
- หุ้น SUGON, ZHONGJI INNOLIGHT, EOPTOLINK, IEIT SYSTEMS (ธุรกิจกลางน้ำ โครงสร้างพื้นฐาน AI เช่น Server, Data Center, และ Cloud Platform)
- หุ้น HIKVISION, WPS, IFYTEX (ธุรกิจปลายน้ำการประยุกต์ใช้เทคโนโลยี AI ที่พบในแอปพลิเคชัน, ซอฟต์แวร์,และอุปกรณ์อัจฉริยะ)
กองทุน M-CTECH เปิดเสนอขายกองทุนครั้งแรก (IPO) ระหว่างวันที่ 17-29 กรกฎาคม 2568 เงินลงทุนขั้นต่ำเพียง 1,000 บาท