โปรดอัพเดตเบราว์เซอร์

เบราว์เซอร์ที่คุณใช้เป็นเวอร์ชันเก่าซึ่งไม่สามารถใช้บริการของเราได้ เราขอแนะนำให้อัพเดตเบราว์เซอร์เพื่อการใช้งานที่ดีที่สุด

ไลฟ์สไตล์

เกรียงไกร ไชยศิริวงศ์สุข การขับเคลื่อนการท่าเรือแห่งประเทศไทย ท่ามกลางความท้าทายและการเปลี่ยนแปลง

GM Live

อัพเดต 4 ชั่วโมงที่ผ่านมา • เผยแพร่ 11 ชั่วโมงที่ผ่านมา • เว็บไซต์ว่าด้วยเรื่องราวของผู้ชาย เทรนด์ บทสัมภาษณ์ บทวิเคราะห์ธุรกิจ รถยนต์ Gadget สุขภาพ อัพเดทก่อนใคร

ในโลกแห่งการค้าระหว่างประเทศนั้น การขนส่งสินค้าจำนวนมหาศาลผ่าน ‘ท่าเรือ’ ยังเป็นปัจจัยสำคัญที่ช่วยให้เกิดการขับเคลื่อนทางเศรษฐกิจ ท่าเรือ จึงเป็นหัวใจสำคัญอย่างยิ่งที่ประเทศต่าง ๆ ไม่สามารถมองข้ามได้

เช่นนั้นแล้ว การพัฒนาท่าเรือให้มีความทันสมัย ใส่ใจต่อสิ่งแวดล้อม และสามารถอยู่ร่วมได้กับชุมชนโดยรอบ จะยิ่งส่งผลให้การเติบโตทางการค้าและเศรษฐกิจมีความรุดหน้า ตอบสนองต่อทุกความต้องการทางด้านการขนส่ง และการพัฒนาที่จะก้าวต่อไปในระยะยาว

และในวาระครบรอบ 40 ปี นิตยสาร GM ภายใต้คอนเซ็ปต์ “GM’ s 40 List Of People Known As The Great” ทาง GM Live ได้รับเกียรติจาก คุณเกรียงไกร ไชยศิริวงศ์สุข ผู้อำนวยการการท่าเรือแห่งประเทศไทย มาแชร์มุมมอง แนวคิดการทำงาน และหลักในการพัฒนาท่าเรือตามแนวทาง ‘Portify’ ที่จะทำให้ท่าเรือของประเทศไทย เป็นหนึ่งในท่าเรือลำดับต้น ๆ ของโลก ที่ทันสมัย ใส่ใจสิ่งแวดล้อม และอยู่ร่วมกับชุมชนได้อย่างมั่นคงและยั่งยืน ตามหลักธรรมาภิบาลที่ดี ทั้งหมดนี้ คือพันธกิจสำคัญของการท่าเรือแห่งประเทศไทย ที่มุ่งหมายจะก้าวไปสู่การเป็น “Global Maritime Industry” อย่างเป็นขั้นตอน เป็นระบบ และยั่งยืนสืบไป

GM Live : ประสบการณ์และภารกิจก่อนที่จะได้มารับตำแหน่งที่การท่าเรือแห่งประเทศไทย

หลังเรียนจบคณะวิศวกรรมศาสตร์ ผมได้เรียนต่อคณะบริหารธุรกิจ แล้วเริ่มต้นการทำงานในช่วงแรกกับทางบริษัทเงินทุนอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย ซึ่งถือว่าเป็นสถาบันเดียวที่รับวิศวกรมาทำงานภาคการเงิน ซึ่งช่วงที่ทำงานนั้น ก็ได้เรียนระดับปริญญาโทไปด้วย รู้สึกว่าจริง ๆ แล้วการทำงานที่สนับสนุนภาคธุรกิจ สิ่งสำคัญคือการใช้หลักตรรกะ มาควบคู่กับภาคบริหารธุรกิจ โดยหน่วยงานนี้ ดูเรื่องการวิเคราะห์ทางด้านการเงิน และด้านเทคนิค ควบคู่กันไป ก็ได้รับโอกาสในการเรียนรู้ประสบการณ์ภาคอุตสาหกรรมและภาคธุรกิจ ทั้งขนาดเล็ก ขนาดใหญ่ ได้กว้างขวางขึ้นครับ

แต่สิ่งหนึ่งที่ได้พบในปัญหาภาคธุรกิจ คือโอกาส องค์ความรู้ และหลักทรัพย์ค้ำประกัน ซึ่งได้ต่อเนื่องช่วงที่มาทำงานบริษัทประกันสินเชื่อขนาดย่อม ผมทำงานทำหน้าที่ตั้งแต่เป็นผู้จัดการสำนักงาน จนกระทั่งถึงผู้อำนวยการด้านการตลาด ทำให้เข้าใจว่าภาคธุรกิจ มีข้อจำกัดและอุปสรรคอย่างไรบ้าง ธุรกิจขนาดเล็ก กลาง ใหญ่ มีความแตกต่างกัน มีผลกระทบไม่เหมือนกัน จุดแข็งจุดเด่นต่างกัน ซึ่งทั้งหมดเป็นโอกาสที่ได้ทำงานภาคธุรกิจ และช่วงที่ได้รับโอกาสมาดำรงตำแหน่งที่การท่าเรือแห่งประเทศไทย ผมก็ได้ใช้ความรู้ความสามารถทั้งด้านการเงินและด้านยุทธศาสตร์ต่าง ๆ ซึ่งประสบการณ์หนึ่งที่ได้รับ ถือเป็นหัวใจสำคัญของภาคธุรกิจ คือเรื่องของต้นทุน และต้นทุนหลักที่จะทำให้ขีดความสามารถในการแข่งขันแตกต่างกันคือต้นทุนด้านโลจิสติกส์ โดยการท่าเรือแห่งประเทศไทยเป็นหน่วยงานหลักในการสนับสนุนด้านการขนส่งทางน้ำ ซึ่งมีบทบาทสำคัญในการลดต้นทุนโลจิสติกส์องค์รวมของประเทศ เพิ่มขีดความสามารถให้ภาคธุรกิจไทยแข่งขันได้ในระดับนานาชาติ

GM Live : ความรู้สึกที่ได้มารับตำแหน่งผู้อำนวยการการท่าเรือแห่งประเทศไทย พร้อมเป้าหมายหรือ วิสัยทัศน์ ในการทำงานกับตำแหน่งนี้

ถือเป็นความท้าทายที่ได้รับความไว้วางใจให้ดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการการท่าเรือแห่งประเทศไทย เพราะนี่ไม่ใช่แค่ตำแหน่งบริหาร แต่คือภารกิจสำคัญในการขับเคลื่อนองค์กรที่มีบทบาทเชิงยุทธศาสตร์ต่อเศรษฐกิจของประเทศ

เป้าหมายของผม คือ การยกระดับการท่าเรือฯ ให้เป็นองค์กรโลจิสติกส์ระดับสากลที่มีความยั่งยืน โดยใช้กรอบนโยบาย 3V / 2D / 3T เป็นกลไกสำคัญในการขับเคลื่อน

เริ่มจาก 3V ซึ่งเป็นวิสัยทัศน์ของการท่าเรือฯ

1. World Class Port ไม่ใช่เพียงในด้านโครงสร้างพื้นฐานหรือเทคโนโลยีเท่านั้น แต่หมายถึงการยกระดับมาตรฐานการให้บริการ การบริหารจัดการ และความสามารถในการแข่งขันให้ทัดเทียมท่าเรือชั้นนำของโลก

2 . Excellent Logistics คือการตอบสนองความต้องการของผู้ใช้บริการอย่างครบวงจร ขยายความร่วมมือกับพันธมิตรในการเชื่อมโยงระบบการขนส่งและโลจิสติกส์ และการบริหารงานหลังท่าอย่างมีประสิทธิภาพ

3. Sustainable Growth เป็นการมุ่งสู่การเป็น Green Port ที่ลดการปล่อยคาร์บอน ใช้พลังงานสะอาด และอยู่ร่วมกับชุมชนโดยรอบอย่างสมดุล รวมถึงการบริหารจัดการองค์กรอย่างมีคุณภาพและธรรมาภิบาล ก็ถือเป็น สิ่งที่การท่าเรือฯ ให้ความยึดมั่น เพื่อไปสู่อนาคตที่ยั่งยืน

ต่อด้วย2D – Digitalization และ Decarbonization นำเทคโนโลยีดิจิทัลมาปรับใช้ในการปฏิบัติงาน และลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกที่เกิดจาการดำเนินงานภายในท่าเรือ เพื่อสร้างท่าเรือสีเขียวที่ทันสมัยและเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม

และสุดท้ายคือ 3T – Transhipment , Transit และ Traffic คือ การเป็นศูนย์กลางการขนส่งค้าถ่ายลำ พร้อมเป็นจุดเชื่อมต่อการขนส่งอย่างไร้รอยต่อ รวมทั้งการเพิ่มความคล่องตัวในการจัดการจราจรในท่าเรือด้วยเทคโนโลยี ให้ทุกการขนส่งเป็นไปอย่างราบรื่น เชื่อมโยงการค้า การขนส่ง และท่าเรือให้เป็นระบบเดียวกัน เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ ทั้งหมดนี้ คือการเชื่อมโยงอย่างเป็นระบบ ตั้งแต่การวางโครงสร้างพื้นฐาน การพัฒนาบุคลากร การใช้เทคโนโลยีไปจนถึงการสร้างความร่วมมือกับภาคีเครือข่ายทั้งในและต่างประเทศ ผมเชื่อว่า หากเราทำได้ครบวงจรตามแนวทางนี้ การท่าเรือฯ จะไม่เพียงเป็นกลไกสำคัญของเศรษฐกิจไทย แต่จะกลายเป็นต้นแบบขององค์กรโลจิสติกส์ที่ยั่งยืนในระดับภูมิภาคและระดับโลก

GM Live : ขอบเขตความรับผิดชอบของการท่าเรือแห่งประเทศไทยครอบคลุมส่วนใดบ้าง

1. ท่าเรือกรุงเทพ เป็นท่าเรือแม่น้ำระหว่างประเทศ (River Port) การท่าเรือฯ เป็นผู้รับผิดชอบการบริหารจัดการและให้บริการตามภารกิจหลักครบทุกประเภทการบริการ

“ศูนย์กลางการขนส่งทางน้ำในเขตเมืองหลวง เพื่อกระจายสินค้าเข้าสู่พื้นที่ในเมือง”

2. ท่าเรือแหลมฉบัง เป็นท่าเรือทะเลระหว่างประเทศ (Sea Port) การท่าเรือฯ ให้สัมปทานแก่ผู้ประกอบการเอกชนในการเข้าใช้พื้นที่ประกอบการท่าเทียบเรือ หรือคลังสินค้าประเภทต่าง ๆ

“ท่าเรือน้ำลึกหลักของประเทศ รองรับการส่งออก – นำเข้าในระดับนานาชาติ”

3. ท่าเรือระนอง เป็นประตูการค้าทางฝั่งอันดามัน เชื่อมโยงกับกลุ่มประเทศ BIMSTEC

4. ท่าเรือพาณิชย์เชียงแสน เป็นประตูการค้าระหว่างไทยและประเทศในลุ่มแม่น้ำโขงตอนบน ได้แก่ ประเทศไทย ภูมิภาคจีนตอนใต้ สหภาพเมียนมาร์ และสาธารณะรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว ก่อตั้งขึ้นเพื่อส่งเสริมการขนส่งการค้าระหว่างประเทศ ตามข้อตกลงว่าด้วยความร่วมมือ เพื่อการเดินเรือพาณิชย์ในแม่น้ำล้านช้าง แม่น้ำโขงระหว่าง 4 ประเทศเชื่อมการค้าไทย จีนตอนใต้ ลาว และเมียนมา

5. ท่าเรือเชียงของ เป็นท่าเรือแม่น้ำระหว่างประเทศในแถบลุ่มแม่น้ำโขงทางตอนเหนือของประเทศในการนำเข้าส่งออกสินค้าบริเวณชายแดนไทย กับ สปป.ลาว ในบริเวณใกล้เคียง ท่าเรือเชียงของ การท่าเรือฯ เป็นผู้ควบคุมดูแลการบรรทุกขนถ่ายสินค้า

นอกเหนือจากภารกิจหลักในการบริหารจัดการท่าเรือแล้ว การท่าเรือฯ ยังมุ่งพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานและบริการให้ได้มาตรฐานระดับสากล เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศอย่างเป็นระบบ พร้อมทั้ง บทบาทในฐานะศูนย์กลางการเปลี่ยนถ่ายรูปแบบการขนส่ง (Intermodal Transport) ที่เชื่อมโยงระบบโลจิสติกส์ ทั้งภายในประเทศและระดับภูมิภาคอย่างไร้รอยต่อ โดยมุ่งใช้ทรัพย์สินให้เกิดประโยชน์สูงสุด สร้างมูลค่าเพิ่มทางเศรษฐกิจ และสนับสนุนการเติบโตขององค์กรอย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อก้าวสู่การเป็นองค์กรสมรรถนะสูง อันจะส่งผลโดยตรงต่อการสร้างระบบการขนส่งที่แข็งแกร่ง เท่าเทียม และเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ซึ่งถือเป็น “ฟันเฟืองสำคัญ” ในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทย และเป็นการเพิ่มโอกาสในการขนส่งสินค้าให้มีความสะดวก รวดเร็ว ปลอดภัย และครอบคลุมอีกด้วย

GM Live : มีแนวทางอย่างไรในการบริหารจัดการองค์กร ที่เต็มไปด้วยบุคคลจากหลากหลายรุ่นเพื่อให้เกิดประสิทธิภาพทั้งต่อองค์กรและบุคลากร

"บุคลากรของการท่าเรือฯ" คือทรัพยากรสำคัญที่สุดในการขับเคลื่อนองค์กรในยุคแห่งการเปลี่ยนแปลง และเมื่อองค์กรของเรามีบุคลากรหลากหลายรุ่น หลากหลายประสบการณ์ นั่นไม่ใช่ความท้าทายเพียงอย่างเดียว แต่คือ "โอกาส" ที่เราจะหลอมรวมจุดแข็งของแต่ละช่วงวัยให้กลายเป็นพลังขององค์กร

การท่าเรือฯ มี “ SMART PAT ” เป็น Core Values และ Culture ขององค์กร ซึ่งเป็นรากฐานความยั่งยืนของการท่าเรือฯ

S - Standard ยึดถือการดำเนินงานอย่างมีธรรมาภิบาลและมาตรฐานสากล เป็นระบบ มีคุณภาพ และตรวจสอบได้ เพื่อสร้างความเชื่อมั่นให้กับทุกภาคส่วน

M – Mastery ทำงานอย่างมืออาชีพเทียบเท่าองค์กรสมรรถนะสูง มุ่งมั่นพัฒนาความรู้ ทักษะ และศักยภาพของตนเองอย่างต่อเนื่อง เพื่อเป็นผู้เชี่ยวชาญในหน้าที่

A – Agility การปรับตัวพร้อมรับการเปลี่ยนแปลง ให้เท่าทันยุคสมัย พร้อมสร้างสรรค์นวัตกรรมสิ่งใหม่ เพื่อการทำงานที่รวดเร็วแต่ยืดหยุ่น

R – Responsibility ทำงานด้วยความซื่อสัตย์ รับผิดชอบต่อสังคมและผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย

T – Teamwork มุ่งมั่นในการทำงานร่วมกัน ร่วมมือ สนับสนุน และเคารพกันและกัน ทำงานอย่างมีพลังร่วมเพื่อเป้าหมายเดียวกันขององค์กร

P – Performance มุ่งมั่นในการทำงานอย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด เน้นผลลัพธ์ที่วัดได้ สร้างความคุ้มค่าในการดำเนินงาน

A – Alignment การทำงานร่วมกันอย่างสอดคล้อง ประสานกัน และมีทิศทางเดียวกัน เชื่อมโยงยุทธศาสตร์ วิสัยทัศน์ และการปฏิบัติให้เป็นหนึ่งเดียว

T – Trust ความไว้วางใจในการทำงานร่วมกันและเชื่อถือได้ สร้างวัฒนธรรมแห่งความไว้วางใจ เปิดใจ รับฟัง และ ยึดหลักความโปร่งใสในการทำงาน“Transformation” ไม่ได้เริ่มจากเทคโนโลยี แต่อยู่ที่คนและ Mindset ของคนต่างรุ่นที่เปิดใจ เรียนรู้ และร่วมกันสร้างอนาคต” และ SMART PAT คือพิมพ์เขียวของการเปลี่ยนแปลง เป็นเสาหลักในการขับเคลื่อนองค์กร ให้ทั้งพนักงานและการท่าเรือฯ เติบโตร่วมกันอย่างประสิทธิภาพ

การพัฒนาองค์กรและทรัพยากรบุคลากรอย่างมีประสิทธิภาพ

เป็น High Performance Organization (HPO) โดยใช้ Learning & Development (L&D) สร้างวัฒนธรรมการเรียนรู้ และสร้างผู้นำทุกระดับ

  • Self Learning , Incubation , Relearn / Reskill / Upskill, Just in Time, Social Learning, Lifelong Learning, Productive Skills, Generative Skills

  • KM, HRIS, Digital Competency

  • Innovation

  • Career Path / Succession Plan / Talent, Teamwork & Loyalty, Organization Adaptability

GM Live : นโยบายหรือวิสัยทัศน์ด้านภาพลักษณ์องค์กรที่วางไว้เพื่อสื่อสารคนภายนอกทั้งในประเทศและต่างประเทศ

ภาพลักษณ์องค์กร เริ่มจาก ค่านิยมและวัฒนธรรมของคนภายในองค์กร การท่าเรือฯ จึงให้ความสำคัญ กับการปลูกฝังวัฒนธรรมองค์กรที่ยึดมั่นในความเป็นมืออาชีพ ความโปร่งใส ความรับผิดชอบ และการทำงานเป็นทีม ผ่านค่านิยม SMART PAT ที่เรายึดถือร่วมกัน เพื่อให้บุคลากรทุกคน “เป็นตัวแทนขององค์กร” และตัวตนของการท่าเรือฯ ให้คนภายนอกเข้าใจและรู้สึกถึงคุณค่าที่แท้จริงขององค์กร

ผมต้องการให้ในทุกมิติขององค์กร ไม่ว่าจะเป็น ทรัพยากรบุคคล โครงสร้างพื้นฐาน การให้บริการไปจนถึงการสื่อสาร กับภาคประชาชนและพันธมิตร สะท้อนถึงองค์กรที่มีสมดุลระหว่างประสิทธิภาพและความรับผิดชอบ ต่อสังคม แนวทางนี้จะช่วยยกระดับแบรนด์การท่าเรือฯ ในฐานะรัฐวิสาหกิจผู้ให้บริการท่าเรือ ที่เป็นพลังเชื่อมโยงเศรษฐกิจไทยสู่ระดับโลกอย่างยั่งยืน

สุดท้ายนี้ Branding ขององค์กรไม่ใช่แค่เพียงภาพลักษณ์ แต่ต้องสร้าง “คุณค่าร่วม” ระหว่างองค์กร สังคม และเศรษฐกิจ เมื่อทุกฝ่ายรับรู้และสัมผัสได้ถึงเจตนารมย์ของการท่าเรือฯ ต่อการพัฒนาประเทศ แบรนด์ของเราจะไม่ใช่เพียงสิ่งที่คนพูดถึง แต่จะเป็นสิ่งที่ทุกคนเชื่อมั่นและภาคภูมิใจไปด้วยกัน

GM Live : จากวันแรกที่รับตำแหน่งผู้อำนวยการการท่าเรือแห่งประเทศไทยจนถึงปัจจุบัน เป็นไปตามเป้าหมายที่วางไว้มากน้อยเพียงใด ยกตัวอย่างผลที่รู้สึกภาคภูมิใจหรือประทับใจ

ตั้งแต่วันแรกที่ผมได้รับมอบหมายให้ทำหน้าที่ผู้อำนวยการการท่าเรือแห่งประเทศไทย ผมตั้งใจชัดเจนว่าจะขับเคลื่อนองค์กรให้เป็น “ท่าเรือยุคใหม่” ที่มีความทันสมัย โปร่งใส ยึดประชาชนเป็นศูนย์กลาง และตอบสนองต่อการเปลี่ยนแปลงของโลก โดยมีเป้าหมายเชิงยุทธศาสตร์ที่ชัดเจนในด้านโครงสร้างพื้นฐาน ดิจิทัล โลจิสติกส์ ด้วยความยั่งยืน

วันนี้แม้ยังไม่ใช่ปลายทาง แต่ผมมองว่าเรากำลังเดินมาถูกทาง และบรรลุเป้าหมายได้ในระดับที่น่าพอใจ ทั้งในเชิงผลสัมฤทธิ์และการสร้างการเปลี่ยนแปลงในวัฒนธรรมองค์กร

2 วัน หลังจากที่ผมเข้ารับตำแหน่ง ตัวอย่างหนึ่งที่ผมรู้สึกภาคภูมิใจคือ การทำความเข้าใจกับชุมชน เรื่องการขึ้นค่าเช่าที่สามารถปรับความเข้าใจกับผู้นำชุมชนและผู้เช่าพื้นที่ แก้ปัญหาความไม่เข้าใจ จนทุกวันนี้ชุมชนและการท่าเรือฯ อยู่ร่วมกันอย่างเข้าใจ นำไปสู่ความร่วมมือกันในด้านต่าง ๆ อย่างยั่งยืน

และการยกระดับ “ท่าเรือกรุงเทพ” และ “ท่าเรือแหลมฉบัง” ให้มีระบบเทคโนโลยี ที่ทันสมัยมากขึ้น เพิ่มประสิทธิภาพในการขนถ่ายสินค้า ลดเวลารอของเรือ และสร้างความพึงพอใจให้กับผู้ใช้บริการอย่างเป็นรูปธรรม โดยปีงบประมาณ 2567 ที่ผ่านมา การท่าเรือฯ สามารถทำรายได้สูงสุดเป็นประวัติการณ์ที่ 17,224 ล้านบาท และมีกำไรสุทธิ 7,648 ล้านบาท ซึ่งถือเป็น New High ต่อเนื่อง 3 ปีซ้อน แสดงให้เห็นถึงการบริหารจัดการที่มีประสิทธิภาพ และความร่วมแรงร่วมใจในการปฏิบัติงานของพนักงานการท่าเรือฯ ทุกคน รวมถึงการสนับสนุนจากลูกค้า ผู้ใช้บริการ และหน่วยงานพันธมิตร ทุกภาคส่วนที่เปรียบเสมือนฟันเฟืองสำคัญในการขับเคลื่อนองค์กรให้ก้าวไปข้างหน้า และสร้างความมั่นคงให้กับประเทศอย่างยั่งยืน

อีกสิ่งหนึ่งที่ผมประทับใจมาก คือ พลังของบุคลากรภายในองค์กร ที่ร่วมกันผลักดันหลายโครงการสำคัญให้เกิดขึ้นจริงในระยะเวลาอันสั้น ไม่ว่าจะเป็นการปรับโครงสร้างองค์กร การพัฒนาคุณภาพบริการ ไปจนถึงการดูแลชุมชนรอบท่าเรืออย่างต่อเนื่อง

ทั้งหมดนี้สะท้อนว่า เมื่อเรามีเป้าหมายที่ชัดเจน มีทีมที่เข้มแข็ง และมีหลักธรรมาภิบาลเป็นแนวทาง การเปลี่ยนแปลงก็เกิดขึ้นได้จริง และจะยังคงเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องในอนาคตครับ

GM Live : ประสบการณ์ที่ได้รับในการดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการการท่าเรือแห่งประเทศไทย

จากประสบการณ์การทำงานของผมที่ผ่านมา ผมมีโอกาสได้รับผิดชอบงานหลากหลายด้าน หลากหลายมิติ แต่สำหรับโลกของการขนส่งและโลจิสติกส์ เป็นสิ่งใหม่ที่ผมรู้สึกว่ายังมีจุดที่ยังสามารถพัฒนาได้อีกมาก ดังนั้น เมื่อได้รับโอกาสให้เข้ามารับตำแหน่งผู้อำนวยการการท่าเรือฯ ผมตระหนักดีว่าองค์กรนี้มีบทบาทสำคัญต่อระบบโลจิสติกส์ของประเทศ และเป็นกลไกหลักในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจ ผมจึงเริ่มต้นด้วยการ “เรียนรู้” อย่างลึกซึ้ง ทั้งในเชิงโครงสร้างองค์กร บทบาทหน้าที่ และบริบทของการท่าเรือฯ ทั้งในระดับประเทศและระดับภูมิภาค

ผมเชื่อว่าการบริหารองค์กรในยุคปัจจุบัน ต้องอาศัยทั้ง “ความเข้าใจในบริบท” และ “การนำองค์ความรู้ จากภายนอกมาปรับใช้” อย่างเหมาะสม

ผมจึงนำประสบการณ์ด้านการวางแผนกลยุทธ์และเทคโนโลยีดิจิทัล มาผสานกับภารกิจของการท่าเรือฯ เพื่อผลักดันโครงการสำคัญ เช่น Smart Port และ Green Port ให้เกิดขึ้น อย่างเป็นรูปธรรม รวมถึงความรู้ด้านเศรษฐศาสตร์ และการเงิน ที่ถือเป็นหัวใจสำคัญในการบริหารธุรกิจ ไม่ว่าจะธุรกิจประเภทใด จะภาครัฐหรือเอกชน ล้วนต้องมีการบริหารจัดการและวางแผนการเงิน อย่างมีประสิทธิภาพทั้งสิ้น เพราะองค์กรนอกจากจะต้องพัฒนาเพื่อหารายได้เพิ่มแล้ว ยังต้องควบคุมรายจ่ายให้ลดลงด้วย ถึงจะยั่งยืน

การทำหน้าที่ในฐานะผู้อำนวยการการท่าเรือฯ ผมได้รับประสบการณ์ในหลายมิติ ทั้งในด้านการบริหารจัดการองค์กรขนาดใหญ่ การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน การขับเคลื่อนนโยบาย Smart & Green Port ตลอดจนการทำงานร่วมกับพันธมิตรในประเทศและต่างประเทศอย่างใกล้ชิด และสิ่งหนึ่งที่สำคัญคือ การบริหารองค์กรในช่วงการเปลี่ยนผ่าน ทั้งในด้านทรัพยากรบุคคล เทคโนโลยี ความคาดหวังของประชาชน และบริบทเศรษฐกิจโลก

ผมได้เรียนรู้การนำหลักธรรมาภิบาลมาปรับใช้เพื่อให้เกิดความโปร่งใส และการมีส่วนร่วมจากทุกภาคส่วน โดยมีเป้าหมายเพื่อสร้างองค์กรที่ทันสมัยมีประสิทธิภาพ และเติบโตอย่างยั่งยืน ผมมองว่าการดำรงตำแหน่งนี้ ไม่ใช่เพียงหน้าที่ แต่คือโอกาสในการสร้างคุณค่าต่อประเทศชาติ และผมจะยังคงเดินหน้าด้วยความมุ่งมั่นอย่างเต็มที่ ครับ

GM Live : ยึดหลักหรือแนวทางใดในการทำงาน และมีวิธีรับมือกับความเครียดหรือปัญหาอย่างไร

ผมยึดหลัก “คิดเชิงระบบ ทำงานเชิงรุก และยืนหยัดด้วยหลักธรรมาภิบาล” เป็นแกนกลางในการทำงาน เพราะในฐานะผู้นำองค์กรที่มีบทบาทระดับประเทศ เราจำเป็นต้องมองภาพใหญ่ให้รอบด้าน คิดอย่างมียุทธศาสตร์ และต้องลงมือปฏิบัติอย่างจริงจัง พร้อมรับฟังความเห็นที่หลากหลายเพื่อสร้างการมีส่วนร่วมอย่างแท้จริง

สำหรับการรับมือกับปัญหาและความเครียด ผมเชื่อในการตั้งสติและใช้ข้อมูลเป็นเครื่องมือสำคัญในการตัดสินใจ ผมให้ความสำคัญกับการทำงานเป็นทีมและการกระจายอำนาจให้ผู้ร่วมงานได้เติบโตอย่างมีความรับผิดชอบ ซึ่งช่วยลดภาระของผู้นำและทำให้องค์กรเคลื่อนไปข้างหน้าอย่างมีพลังร่วม

อีกสิ่งหนึ่งที่ผมยึดถือเสมอคือ การแยกแยะระหว่าง สิ่งที่ควบคุมได้ กับ สิ่งที่ควบคุมไม่ได้ เพื่อไม่ให้จิตใจแบกรับภาระเกินจำเป็น เราต้องพร้อมปรับตัวในทุกสถานการณ์ แต่ไม่ละทิ้งเป้าหมายและหลักคุณธรรม”

ท้ายที่สุด ผมมองว่า การทำงานด้วยความสุขและความหมาย คือรากฐานของความสำเร็จที่ยั่งยืน

GM Live : มองภาพของการท่าเรือฯ ในอีกสิบปีข้างหน้าเอาไว้อย่างไรบ้าง

ในการที่พัฒนาการท่าเรือนั้น สิ่งที่สำคัญคือหลักการพัฒนา อย่างแรก คือการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน นำเทคโนโลยีเข้ามาใช้ แต่หัวใจสำคัญที่สุด คือการพัฒนาบุคลากร เป็นเรื่องที่ขับเคลื่อนและปรับเปลี่ยนองค์กร ให้การส่งเสริมตามแนวทาง Learning and Development ควบคู่กัน การเรียนรู้และการพัฒนามีความสำคัญอย่างยิ่ง เพื่อให้องค์กร มีความยั่งยืน บุคลากรเป็นส่วนสำคัญที่จะทำให้องค์กรประสบความสำเร็จ ซึ่งจากที่ได้ร่วมงานกับพนักงานการท่าเรือแห่งประเทศไทย เป็นกลุ่มที่มีความมุ่งมั่นตั้งใจ ผูกพันกับองค์กร

แต่เนื่องด้วยการค้าระหว่างประเทศนั้น มีการปรับเปลี่ยนรวดเร็ว ทำให้การทำความเข้าใจกับปัจจัยภายนอกเป็นส่วนสำคัญอย่างยิ่งที่ต้องเปลี่ยนให้ทันต่อการแข่งขัน ตามทันขีดความสามารถระหว่างประเทศ ทั้งความรวดเร็ว เวลา และต้นทุน สิ่งสำคัญเหล่านี้ ทั้งพนักงานและผู้บริหาร ตั้งใจที่จะขับเคลื่อน เตรียมความพร้อมที่จะขับเคลื่อนภาคธุรกิจ เพื่อให้เกิดจุดแข็งที่ต่างประเทศต้องการจะเข้ามาใช้บริการครับ

ประเด็นที่สอง คือการพัฒนาท่าเรือสีเขียว ควบคู่กับการพัฒนาท่าเรือให้มีความทันสมัย ยกระดับควบคู่กับการเติบโตที่มากขึ้น เพราะด้วยเวลาเพียงไม่กี่ปี เป็นแค่จุดเริ่มต้น แต่จากจุดนั้น เราพัฒนาอย่างต่อเนื่องเพื่อให้เกิดความยั่งยืนกับองค์กรต่อไป

GM Live : ต้องการเห็นการท่าเรือฯ ในอนาคตไปในทิศทางใด และอยากให้ผู้คนจดจำภาพของการท่าเรือฯ อย่างไร

ผมอยากเห็นการท่าเรือแห่งประเทศไทยเติบโตเป็น “องค์กรรัฐวิสาหกิจชั้นนำระดับภูมิภาค” ที่มีบทบาทสำคัญ ในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทยอย่างยั่งยืน เชื่อมโยงเครือข่ายโลจิสติกส์ทั้งในและต่างประเทศได้อย่างมีประสิทธิภาพ และสามารถตอบสนองต่อการเปลี่ยนแปลงของโลกในทุกมิติ ทั้งด้านเทคโนโลยี สิ่งแวดล้อม และความต้องการของผู้ใช้บริการ”

ในอนาคต ผมอยากให้ประชาชนและสังคมจดจำการท่าเรือฯ ว่าเป็น‘องค์กรทันสมัย โปร่งใส และเป็นมิตรกับทุกฝ่าย ไม่ใช่เพียงแค่ผู้ให้บริการด้านท่าเรือ แต่เป็นองค์กรที่มีหัวใจของการพัฒนา ร่วมมือกับชุมชน ใส่ใจสิ่งแวดล้อม และสร้างโอกาสให้กับประเทศอย่างแท้จริง

เราต้องเป็นมากกว่าท่าเรือที่ขนส่งสินค้า แต่ต้องเป็นจุดเริ่มต้นของความเจริญเติบโต เป็นฟันเฟืองสำคัญของประเทศ และเป็นแบบอย่างขององค์กรภาครัฐที่ทันสมัยและน่าเชื่อถือ ผมเชื่อว่าเราทำได้ และเรากำลังเดินหน้าไปสู่เป้าหมายนั้นด้วยพลังร่วมของทุกคนในองค์กรครับ ทั้งหมดนี้คือมุมมอง แนวคิดการทำงาน และหลักในการพัฒนาท่าเรือตามแนวทาง ‘Portify’ ของผู้ชายที่ชื่อ เกรียงไกร ไชยศิริวงศ์สุข กับบทบาทผู้อำนวยการการท่าเรือแห่งประเทศไทยต่อการขับเคลื่อนการท่าเรือแห่งประเทศไทย ท่ามกลางความท้าทายและการเปลี่ยนแปลง

ดูข่าวต้นฉบับ
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...

ล่าสุดจาก GM Live

เกรียงไกร ไชยศิริวงศ์สุข กับการขับเคลื่อนการท่าเรือแห่งประเทศไทยท่ามกลางความท้าทายและการเปลี่ยนแปลง

13 ชั่วโมงที่ผ่านมา

ซีรีส์ใหม่ล่าสุด METASPEED™ ตอบโจทย์นักวิ่งที่ต้องการความเร็วไปพร้อมกับความมั่นใจ

1 วันที่แล้ว

วิดีโอแนะนำ

ข่าวและบทความไลฟ์สไตล์อื่น ๆ

ผลบอล แมนยูเฉือนเวสต์แฮม 2-1 "บรูโน่"เบิ้ล เปิดหัวซัมเมอร์ ซีรีส์

PostToday

สุนัขสีไหนบ้างที่มาจากธรรมชาติ เผยต้นกำเนิดสีขนที่ไม่ผ่านการดัดแปลง

sanook.com

บอลวันนี้ ดูบอลสด ถ่ายทอดสด โปรแกรมฟุตบอล วันอาทิตย์ที่ 27 ก.ค. 68

PostToday

LIVE ถ่ายทอดสด แมนยู พบ เวสต์แฮม ฟุตบอลอุ่นเครื่อง วันนี้ 27 ก.ค.68

PostToday

พระสมุทรเจดีย์ เมืองสมุทรปราการ สร้างสมัย ร. 2 แลนด์มาร์กสยามประเทศ

ศิลปวัฒนธรรม

“สังวาล” พระพุทธชินราช ของใหม่ที่ใส่ประดับองค์พระสมัยหลัง มาจากไหน?

ศิลปวัฒนธรรม

กรมหลวงอิศรสุนทร (รัชกาลที่ 2) ทรงทำอะไร? ในศึกใหญ่ “สงคราม 9 ทัพ”

ศิลปวัฒนธรรม

“ธนบุรี” ถิ่นหนูชุม! เพราะพระเจ้าตากฯ ไม่โปรดให้เลี้ยง “แมว” จนเกิดเรื่องยุ่งในวัง!?

ศิลปวัฒนธรรม

ข่าวและบทความยอดนิยม

Loading...