โปรดอัพเดตเบราว์เซอร์

เบราว์เซอร์ที่คุณใช้เป็นเวอร์ชันเก่าซึ่งไม่สามารถใช้บริการของเราได้ เราขอแนะนำให้อัพเดตเบราว์เซอร์เพื่อการใช้งานที่ดีที่สุด

ไลฟ์สไตล์

พระสมุทรเจดีย์ เมืองสมุทรปราการ สร้างสมัย ร. 2 แลนด์มาร์กสยามประเทศ

ศิลปวัฒนธรรม

อัพเดต 11 ชั่วโมงที่ผ่านมา • เผยแพร่ 11 ชั่วโมงที่ผ่านมา

พระสมุทรเจดีย์ เมืองสมุทรปราการ แลนด์มาร์กสำคัญที่บอกชาวต่างชาติว่าได้เดินทางถึงสยามประเทศแล้ว

ในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ ชาวต่างชาติเดินทางเข้าสู่พระราชอาณาจักรโดยทางเรือเป็นหลัก จุดแรกที่มาถึงก็คือ “ปากน้ำ” อันเป็นบริเวณที่แม่น้ำเจ้าพระยาไหลลงสู่อ่าวไทย และแลนด์มาร์กสำคัญ หรือสิ่งปลูกสร้างแรก ๆ ที่ชาวต่างชาติพบเห็น และมักพรรณนาถึงก็คือ “พระสมุทรเจดีย์”

ประวัติพระสมุทรเจดีย์

พระสมุทรเจดีย์ เมืองสมุทรปราการ ก่อสร้างแล้วเสร็จในสมัยรัชกาลที่ 3 ซึ่งแต่เดิมนั้น รัชกาลที่ 2 ทรงมีพระราชดำริให้สร้างพระเจดีย์ขึ้นบนเกาะหาดทรายที่อยู่ใกล้กับเกาะผีเสื้อสมุทร เพื่อให้ผู้คนที่สัญจรผ่านเข้าออกได้เห็นว่าเป็นเมืองพุทธ โดยโปรดเกล้าฯ ให้กรมหมื่นเจษฎาบดินทร์ (รัชกาลที่ 3) เป็นแม่กอง กับเจ้าพระยาพระคลัง (ดิศ บุนนาค) มาดำเนินการก่อสร้าง

งานก่อสร้างเริ่มจากการปรับแต่งพื้นที่ โดยใช้ก้อนหินถมบนเกาะที่อยู่เหนือเกาะผีเสื้อสมุทรให้พื้นแน่น และสูงพ้นน้ำ โดยรัชกาลที่ 2 โปรดเกล้าฯ ให้สมเด็จพระบวรราชเจ้ามหาศักดิพลเสพ (กรมพระราชวังบวรสถานมงคล) กับพระยาราชสงคราม เขียนแบบแผนผังรูปพระเจดีย์ถวายทอดพระเนตรแก้ไขจนเป็นที่พอพระราชหฤทัย แล้วจึงพระราชทานนามว่า “พระสมุทรเจดีย์” พร้อมกันนั้นยังพระราชทานนามเมืองสมุทรปราการอีกด้วย

อย่างไรก็ตาม รัชกาลที่ 2 เสด็จสวรรคตเสียก่อนที่พระเจดีย์จะก่อสร้างแล้วเสร็จ งานก่อสร้างล่วงมาจนถึงสมัยรัชกาลที่ 3 ซึ่งพระองค์โปรดเกล้าฯ ให้เจ้าอนุวงศ์แห่งเวียงจันทน์เกณฑ์ไพร่พลชาวลาวไปตัดต้นตาลจากเมืองสุพรรณบุรีและเพชรบุรีมาทำเป็นฐานรากขององค์พระเจดีย์

ใน พ.ศ. 2370 รัชกาลที่ 3 โปรดเกล้าฯ ให้เจ้าพระยาศรีธรรมราช (น้อย) กับเจ้าพระยาพระคลัง (ดิศ บุนนาค) เป็นแม่กองก่อสร้าง ใช้เวลาสร้าง 211 วันจึงแล้วเสร็จ และยังได้มีการอัญเชิญพระบรมสารีริกธาตุมาบรรจุไว้ที่คอระฆังขององค์พระเจดีย์ จากนั้นรัชกาลที่ 3 ทรงบำเพ็ญพระราชกุศลสมโภชพระสมุทรเจดีย์

จวบจนถึงสมัยรัชกาลที่ 4 พระองค์เสด็จประพาส ทอดพระเนตรพระสมุทรเจดีย์ เมืองสมุทรปราการ ทรงมีพระราชดำริว่าพระเจดีย์ต่ำเตี้ยเกินไป จึงโปรดเกล้าฯ ให้เจ้าพระยารวิวงศ์มหาโกษาธิบดี (ขำ บุนนาค) และพระอมรมหาเดช สร้างพระสมุทรเจดีย์ขึ้นใหม่ พร้อมกันนั้นยังสร้างพระวิหารใหญ่หันหน้าออกทะเล

ทว่าเมื่อรัชกาลที่ 4 ทรงทราบว่าพระบรมสารีริกธาตุองค์เดิมถูกคนร้ายลักไป จึงพระราชทานพระบรมสารีริกธาตุองค์ใหม่จากพระบรมมหาราชวังมาประดิษฐานที่พระสมุทรเจดีย์ โดยทรงบรรจุด้วยพระองค์เอง เมื่อ พ.ศ. 2403 แล้วจึงให้มีการสมโภช

พระสมุทรเจดีย์ ในบันทึกของชาวต่างชาติ

อองรี มูโอต์ (ALexandre Henri Mouhot) นักสำรวจชาวฝรั่งเศส ที่เดินทางเข้าสู่สยามประเทศในสมัยรัชกาลที่ 4 บันทึกถึงพระสมุทรเจดีย์ไว้ตอนหนึ่งว่า

“…บริเวณเกาะเล็ก ๆ ใจกลางแม่น้ำเป็นที่ประดิษฐานพระเจดีย์ที่มีชื่อเสียงและมีลักษณะค่อนข้างโดดเด่น ซึ่งข้าพเจ้าได้รับการบอกเล่ามาว่าภายในเป็นที่ประดิษฐานพระบรมศพพระเจ้าแผ่นดินสยามองค์ก่อน ๆ ภาพยอดแหลมขององค์พระเจดีย์ที่สะท้อนลงบนพื้นน้ำซึ่งลึกและใส เมื่อประกอบกับทิวทัศน์เบื้องหลังที่มองเห็นพืชพันธุ์ไม้เขียวชอุ่ม ทำให้ทัศนียภาพที่ปรากฏแลดูงดงาม น่าตื่นตาตื่นใจยิ่ง…”

ในสมัยรัชกาลที่ 5 คาร์ล บ็อค (Mr. Carl Bock) นักธรรมชาติวิทยาชาวนอร์เวย์ ที่ได้เดินทางเข้ามาสำรวจภูมิศาสตร์ บันทึกไว้ตอนหนึ่งว่า

“…พอผ่านสันดอนมาแล้วก็ถึงเกาะเล็ก ๆ กลางแม่น้ำที่มีวัดสร้างอยู่ เรียกว่า ‘พระเจดีย์สมุทรปราการ’ ยอดพระสมุทรเจดีย์ที่ปิดทองไว้เหลืองอร่ามกับยอดเจดีย์อื่นรอบ ๆ มองเห็นเด่นอยู่เหนือยอดไม้เป็นประกายงดงามเมื่อต้องแสงแดดยามเย็น ข้าพเจ้านึกอยู่ในใจว่า ในที่สุดข้าพเจ้าก็ได้เข้ามาอยู่ในดินแดนแห่งวัดวาอารามและช้างแล้ว…”

หรืออย่างเออร์เนส ยัง (Mr. Ernest Young) นักเขียนชาวอังกฤษที่เคยรับราชการอยู่ในกระทรวงธรรมการ ก็บันทึกไว้ตอนหนึ่งว่า

“…สิ่งที่นับว่าดึงดูดความสนใจมากที่สุดตรงบริเวณปากแม่น้ำก็คือ พระเจดีย์อันงดงามซึ่งเป็นที่รู้จักกันในนาม ‘พระเจดีย์กลางน้ำ’ พระเจดีย์องค์นี้ประดิษฐานอยู่ บนเกาะเล็ก ๆ สร้างด้วยหินและอิฐฉาบด้วยปูนขาว รอบ ๆ องค์พระเจดีย์ประกอบด้วยสิ่งก่อสร้างอื่น ๆ ที่ประกอบกันขึ้นเป็นวัด…”

ขณะที่เจ้าชายวิลเลี่ยมแห่งสวีเดน ผู้แทนพระองค์ของพระเจ้าแผ่นดินจากประเทศสวีเดน ที่เดินทางเข้ามาร่วมพระราชพิธีบรมราชาภิเษกสมัยรัชกาลที่ 6 ได้บันทึกไว้ตอนหนึ่งว่า

“…ณ ที่บริเวณคดโค้งของคุ้งน้ำ ก็ได้มีวัดพระเจดีย์อันเก่าแก่งดงามปรากฏอยู่เบื้องหน้าเรา เป็นพระเจดีย์ที่ตั้งอยู่บนเกาะและส่องประกายรูปทรงอันงามสง่าอยู่ในสายน้ำทอดยาวออกไปไกลตามกระแสน้ำขุ่นข้นที่ล้อมรอบอยู่…”

จากประวัติการก่อสร้างพระสมุทรเจดีย์ และบันทึกของชาวต่างชาติทั้งหลายนี้ ล้วนอธิบายว่า เดิมพระสมุทรเจดีย์ตั้งอยู่บนเกาะ แต่ปัจจุบันไม่ได้ตั้งอยู่บนเกาะแล้ว ทั้งนี้เพราะว่าดินตะกอนทับถมทางน้ำด้านหนึ่งจนตื้นเขินกลายเป็นแผ่นดิน ทำให้ไม่หลงเหลือสภาพเป็นเกาะเหมือนในอดีต

ด้วยเพราะที่ตั้งของพระสมุทรเจดีย์ เมืองสมุทรปราการ อยู่ปากแม่น้ำเจ้าพระยา ซึ่งนับเป็นจุดที่เมื่อใครผ่านเข้าออกก็ต้องเห็นพุทธสถาปัตย์อันงดงามนี้ก่อนเป็นอย่างแรก นับได้ว่าพระสมุทรเจดีย์เป็นอีกแลนด์มาร์กสยามประเทศเลยก็ว่าได้

อ่านเพิ่มเติม :

สำหรับผู้ชื่นชอบประวัติศาสตร์ ศิลปะ และวัฒนธรรม แง่มุมต่าง ๆ ทั้งอดีตและร่วมสมัย พลาดไม่ได้กับสิทธิพิเศษ เมื่อสมัครสมาชิกนิตยสารศิลปวัฒนธรรม 12 ฉบับ (1 ปี) ส่งความรู้ถึงบ้านแล้ววันนี้!! สมัครสมาชิกคลิกที่นี่

อ้างอิง :

ตามรอยบันทึกชาวต่างชาติ จากอ่าวสยามสู่ลำน้ำเจ้าพระยา. กรุงเทพฯ : สํานักวรรณกรรมและประวัติศาสตร์ กรมศิลปากร, 2557

วัฒนธรรม พัฒนาการทางประวัติศาสตร์ เอกลักษณ์และภูมิปัญญา จังหวัดสมุทรปราการ, คณะกรรมการฝ่ายประมวลเอกสารและจดหมายเหตุ จัดพิมพ์เนื่องในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 6 รอบ 5 ธันวาคม 2542

เผยแพร่ในระบบออนไลน์ครั้งแรกเมื่อ 11 พฤศจิกายน 2567

อ่านข่าวต้นฉบับได้ที่ : พระสมุทรเจดีย์ เมืองสมุทรปราการ สร้างสมัย ร. 2 แลนด์มาร์กสยามประเทศ

ติดตามข่าวล่าสุดได้ทุกวัน ที่นี่
– Website : https://www.silpa-mag.com

ดูข่าวต้นฉบับ
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...

ล่าสุดจาก ศิลปวัฒนธรรม

“สังวาล” พระพุทธชินราช ของใหม่ที่ใส่ประดับองค์พระสมัยหลัง มาจากไหน?

11 ชั่วโมงที่ผ่านมา

กรมหลวงอิศรสุนทร (รัชกาลที่ 2) ทรงทำอะไร? ในศึกใหญ่ “สงคราม 9 ทัพ”

11 ชั่วโมงที่ผ่านมา

วิดีโอแนะนำ

ข่าวและบทความไลฟ์สไตล์อื่น ๆ

เปิดเหตุผล! ทำไมถึงต้องดูซีรีส์ GL เรื่อง “Mission Love or Lies ภารกิจลวงรัก”

Insight Daily

ไม่อยากแก่ฟังทางนี้ ! ชวนดูสิ่งที่ควรทำ ถ้ายังไม่อยากแก่

SistaCafe

สภากาชาดไทยเปิดช่องทางบริจาคเงินช่วยเหลือผู้ประสบภัยชายแดนไทยกัมพูชา

Thairath - ไทยรัฐออนไลน์

หนังใหม่ 2025 : เตรียมระเบิดภูเขาเผากระท่อม “เขาชุมทอง คะนองชุมโจร”

PPTV HD 36

พุทธวิถีในยุค...พระเก๊ เงินแท้... จากภาพยนต์ไทยเรื่อง THE STONE (เดอะสโตน พระแท้ คนเก๊)

กรุงเทพธุรกิจ

ภาพหาชมยาก "หลวงพ่อใหญ่" วัดม่วง อ่างทอง บูรณะทาสีใหม่

Manager Online

พิพิธภัณฑ์ THE MET ในนิวยอร์กมีผู้เยี่ยมชมกว่า 5.7 ล้านคนในปีงบประมาณ 2025

THE STANDARD

‘หน้าร้อนที่ฮิคารุจากไป' เควียร์และการเติบโตในความแปลกแยก ใต้คราบของคอสมิคเฮอเรอร์

The MATTER

ข่าวและบทความยอดนิยม

พระสมุทรเจดีย์ เมืองสมุทรปราการ สร้างสมัย ร. 2 แลนด์มาร์กสยามประเทศ

ศิลปวัฒนธรรม

“สังวาล” พระพุทธชินราช ของใหม่ที่ใส่ประดับองค์พระสมัยหลัง มาจากไหน?

ศิลปวัฒนธรรม

กรมหลวงอิศรสุนทร (รัชกาลที่ 2) ทรงทำอะไร? ในศึกใหญ่ “สงคราม 9 ทัพ”

ศิลปวัฒนธรรม
ดูเพิ่ม
Loading...