โปรดอัพเดตเบราว์เซอร์

เบราว์เซอร์ที่คุณใช้เป็นเวอร์ชันเก่าซึ่งไม่สามารถใช้บริการของเราได้ เราขอแนะนำให้อัพเดตเบราว์เซอร์เพื่อการใช้งานที่ดีที่สุด

ไลฟ์สไตล์

กรมหลวงอิศรสุนทร (รัชกาลที่ 2) ทรงทำอะไร? ในศึกใหญ่ “สงคราม 9 ทัพ”

ศิลปวัฒนธรรม

อัพเดต 11 ชั่วโมงที่ผ่านมา • เผยแพร่ 11 ชั่วโมงที่ผ่านมา
พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย (รัชกาลที่ 2)

เจ้าฟ้ากรมหลวงอิศรสุนทร ทรงทำอะไร? ในศึกใหญ่ “สงคราม 9 ทัพ”

พระราชประวัติ พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย(รัชกาลที่ 2) ช่วงก่อนขึ้นครองราชย์ เป็นที่รับรู้ไม่มากนัก เรารู้ว่ามีพระนามเดิมคือ “ฉิม” และรับราชการในแผ่นดินสมเด็จพระบรมชนกนาถ (รัชกาลที่ 1) เป็น“กรมหลวงอิศรสุนทร” แต่เรื่องอื่น ๆ ยังเป็นเครื่องหมายคำถามอยู่ รวมถึงบทบาทในศึกใหญ่ต้นกรุงฯ อย่าง“สงคราม 9 ทัพ”ที่เราแทบไม่รู้ว่าทรงไปรับทัพไหน หรือทรงมีภารกิจอะไรในสงครามครั้งนี้

ทั้งนี้ เพราะหลักฐานที่พอจะบอกเล่าพระราชประวัติรัชกาลที่ 2 ก่อนครองราชย์มีน้อยเป็นทุนเดิมอยู่แล้ว ที่พอจะจับต้องได้มากที่สุดเห็นจะเป็น พระราชพงศาวดารกรุงรัตนโกสินทร์รัชกาลที่ ๒ พระนิพนธ์สมเด็จฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ

แต่หลักฐานข้างต้นอ้างอิงข้อมูลจาก โคลงยอพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยพระราชนิพนธ์ในรัชกาลที่ 3 (พระราชโอรสในรัชกาลที่ 2) อีกที

พระราชพงศาวดารกรุงรัตนโกสินทร์ฯเล่าว่า พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย เสด็จพระราชสมภพเมื่อ 26 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2311 หลังสถาปนากรุงธนบุรีไม่กี่เดือน ก่อนทรงย้ายตามพระบรมราชชนก (พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช) มาอยู่บริเวณวัดระฆังโฆษิตาราม ฝั่งธนบุรี

เมื่อเจริญพระชนมายุได้ 8 พรรษา ทรงติดตามพระบรมราชชนก เมื่อครั้งทรงเป็น “พระยาจักรี” ไปทำสงครามรับใช้เบื้องพระยุคลบาทพระเจ้าตากฯ อยู่เสมอ ตั้งแต่ศึกเชียงใหม่ (พ.ศ. 2313) ศึกบางแก้ว (พ.ศ. 2317) ศึกอะแซหวุ่นกี้ (พ.ศ. 2318) ศึกเวียงจันทน์ (พ.ศ. 2321-2322) และสงครามในแผ่นดินเขมร (พ.ศ. 2324)

กระทั่งพระบรมราชชนก ขณะนั้นคือ “สมเด็จเจ้าพระยามหากษัตริย์ศึก” ทรงเลิกทัพจากเขมรกลับมา “ปราบจลาจล” ในกรุงธนบุรี แล้วปราบดาภิเษกขึ้นเป็นพระเจ้าแผ่นดินรัชกาลที่ 1 แห่งจักรีวงศ์ “คุณฉิม” ได้ขึ้นเป็น “สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้ากรมหลวงอิศรสุนทร” ใน พ.ศ. 2325

ในแผ่นดินรัชกาลที่ 1 บทบาทของกรมหลวงอิศรสุนทรที่เด่นชัดที่สุดคือทรงเป็น “ยกกระบัตร” ทัพหน้าที่สยามส่งไปตีเมืองทวาย เมื่อ พ.ศ. 2335 (10 ปีหลังสถาปนาจักรีวงศ์) ก่อนจะถอนทัพกลับเพราะเสบียงไม่พอทำศึกต่อ

ต่อมา พ.ศ. 2349 (14 ปีหลังศึกทวาย) จึงทรงถูกยกขึ้นเป็น กรมพระราชวังบวรสถานมงคล(วังหน้า) หลังจากกรมพระราชวังบวรฯ พระองค์เดิม คือ สมเด็จพระบวรราชเจ้ามหาสุรสิงหนาท(บุญมา) พระอนุชาธิราชในรัชกาลที่ 1 สวรรคต

กล่าวคือ รัชกาลที่ 2 ทรงปรากฏบทบาทเพียง 2 ครั้งตลอด 27 ปี ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกฯ สมเด็จพระบรมชนกนาถของพระองค์

ในขณะที่สงครามครั้งใหญ่ ๆ กับพม่าอย่างสงคราม 9 ทัพ (พ.ศ. 2328-2329) หรือสงครามท่าดินแดง (พ.ศ. 2329-2330) ก่อนเหตุการณ์คราวรุกทวาย กลับไม่พบบทบาทของพระองค์ แม้ทรงติดตามรัชกาลที่ 1 ไปรบตลอดพระชนมชีพ

โดยเฉพาะคราวสงคราม 9 ทัพ ที่ฝ่ายพม่านำกำลังมาถึง 9 ทัพ 5 เส้นทาง รัชกาลที่ 1 ทรงแต่งทัพออกไปรับศึกสายหลัก ๆ 3 สายด้วยกัน ส่วนพระองค์จะทรงคุมทัพเป็นกำลังหนุนอยู่ที่พระนครอีกกองหนึ่ง แต่ไม่มีบันทึกถึงบทบาทของกรมหลวงอิศรสุนทรแต่อย่างใด

ประเด็นนี้ สมเด็จฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพระบุใน พระราชพงศาวดารกรุงรัตนโกสินทร์ฯว่า เจ้าฟ้ากรมหลวงอิศรสุนทรได้โดยเสด็จด้วยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกฯ ตีความได้ว่า พระองค์ประทับอยู่ที่กรุงเทพฯ ร่วมกับกำลังหนุน คอยท่าทีว่าหากทัพที่ส่งออกไปรับศึกทัพใดเพลี่ยงพล้ำ จึงจะเป็นกำลังไปเสริม

ซึ่งดูจะสมเหตุสมผลทีเดียว เพราะในห้วงสงคราม 9 ทัพ ทรงมีพระชนมายุ 17-18 พรรษาเท่านั้น

โดยในเดือนมกราคม พ.ศ. 2329 รัชกาลที่ 1 ได้เสด็จนำไพร่พลไปเสริมกำลังในการรบที่ทุ่งลาดหญ้า กาญจนบุรี อันเป็นแนวรบที่สมเด็จพระบวรราชเจ้ามหาสุรสิงหนาท ตั้งประจันกับทัพหลวงของฝ่ายพม่าซึ่งมีพระเจ้าปดุงเป็นจอมทัพ และชัยชนะเหนือพม่า ณ ทุ่งลาดหญ้านี้เองเป็นจุดเปลี่ยนสำคัญที่ทำให้พระเจ้าปดุงถอนทัพกลับ

จึงเป็นไปได้ว่า กรมหลวงอิศรสุนทรก็เสด็จไปด้วยในการเสริมกำลังที่ทุ่งลาดหญ้า

ด้าน สุเจน กรรพฤทธิ์(สารคดี ฉบับมิถุนายน : 2565) สันนิษฐานว่า กรมหลวงอิศรสุนทรน่าจะไปในกองทัพ หรืออยู่ร่วมเหตุการณ์กับเจ้าประเทศราชอย่าง “เจ้าอนุวงศ์” ทายาทของพระเจ้าสิริบุญสารแห่งเวียงจันทน์ ที่ประทับเป็นองค์ประกัน และ “องค์เชียงสือ” เชื้อสายอ๋องตระกูลเหงวียนแห่งเวียดนามที่เสด็จมาลี้ภัยในกรุงเทพฯ ณ ช่วงเวลานั้นเช่นกัน

เพราะกรมหลวงอิศรสุนทร หรือ “คุณฉิม” คุ้นเคยกับขุนนางน้อยใหญ่ที่แวะเวียนมาเรือนบิดาตั้งแต่สมัยแผ่นดินสมเด็จพระเจ้าตากสิน หนึ่งในนั้นคือเจ้าอนุวงศ์ ทำให้ทรงมีความสัมพันธ์อันดีกับเจ้าอนุฯ รวมถึงองเชียงสือ ภายหลังเรายังพบว่า “พระสหาย” เหล่านี้ เป็นแรงสนับสนุนทางการเมืองให้พระองค์ได้รับการสถาปนาเป็น “วังหน้า” เพื่อสืบราชสมบัติต่อจากสมเด็จพระบรมชนกนาถ ในช่วงปลายรัชกาลที่ 1 ด้วย

อ่านเพิ่มเติม :

สำหรับผู้ชื่นชอบประวัติศาสตร์ ศิลปะ และวัฒนธรรม แง่มุมต่าง ๆ ทั้งอดีตและร่วมสมัย พลาดไม่ได้กับสิทธิพิเศษ เมื่อสมัครสมาชิกนิตยสารศิลปวัฒนธรรม 12 ฉบับ (1 ปี) ส่งความรู้ถึงบ้านแล้ววันนี้!! สมัครสมาชิกคลิกที่นี่

อ้างอิง :

สุเจน กรรพฤทธิ์. (2565). แผ่นดินพระพุทธเลิศหล้าฯ (ที่เราไม่รู้จัก).นนทบุรี : สารคดี.

หอสมุดวชิรญาณ; ดำรงราชานุภาพ, สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยา. (2459). พระราชพงศาวดารกรุงรัตนโกสินทร์ รัชกาลที่ ๒. พระนคร : โรงพิมพ์ไทย ณสพานยศเส. (ออนไลน์)

เผยแพร่ในระบบออนไลน์ครั้งแรกเมื่อ 3 กรกฎาคม 2567

อ่านข่าวต้นฉบับได้ที่ : กรมหลวงอิศรสุนทร (รัชกาลที่ 2) ทรงทำอะไร? ในศึกใหญ่ “สงคราม 9 ทัพ”

ติดตามข่าวล่าสุดได้ทุกวัน ที่นี่
– Website : https://www.silpa-mag.com

ดูข่าวต้นฉบับ
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...

ล่าสุดจาก ศิลปวัฒนธรรม

พระสมุทรเจดีย์ เมืองสมุทรปราการ สร้างสมัย ร. 2 แลนด์มาร์กสยามประเทศ

11 ชั่วโมงที่ผ่านมา

“สังวาล” พระพุทธชินราช ของใหม่ที่ใส่ประดับองค์พระสมัยหลัง มาจากไหน?

11 ชั่วโมงที่ผ่านมา

วิดีโอแนะนำ

ข่าวและบทความไลฟ์สไตล์อื่น ๆ

เปิดเหตุผล! ทำไมถึงต้องดูซีรีส์ GL เรื่อง “Mission Love or Lies ภารกิจลวงรัก”

Insight Daily

ไม่อยากแก่ฟังทางนี้ ! ชวนดูสิ่งที่ควรทำ ถ้ายังไม่อยากแก่

SistaCafe

สภากาชาดไทยเปิดช่องทางบริจาคเงินช่วยเหลือผู้ประสบภัยชายแดนไทยกัมพูชา

Thairath - ไทยรัฐออนไลน์

หนังใหม่ 2025 : เตรียมระเบิดภูเขาเผากระท่อม “เขาชุมทอง คะนองชุมโจร”

PPTV HD 36

พุทธวิถีในยุค...พระเก๊ เงินแท้... จากภาพยนต์ไทยเรื่อง THE STONE (เดอะสโตน พระแท้ คนเก๊)

กรุงเทพธุรกิจ

ภาพหาชมยาก "หลวงพ่อใหญ่" วัดม่วง อ่างทอง บูรณะทาสีใหม่

Manager Online

พิพิธภัณฑ์ THE MET ในนิวยอร์กมีผู้เยี่ยมชมกว่า 5.7 ล้านคนในปีงบประมาณ 2025

THE STANDARD

‘หน้าร้อนที่ฮิคารุจากไป' เควียร์และการเติบโตในความแปลกแยก ใต้คราบของคอสมิคเฮอเรอร์

The MATTER

ข่าวและบทความยอดนิยม

พระสมุทรเจดีย์ เมืองสมุทรปราการ สร้างสมัย ร. 2 แลนด์มาร์กสยามประเทศ

ศิลปวัฒนธรรม

“สังวาล” พระพุทธชินราช ของใหม่ที่ใส่ประดับองค์พระสมัยหลัง มาจากไหน?

ศิลปวัฒนธรรม

กรมหลวงอิศรสุนทร (รัชกาลที่ 2) ทรงทำอะไร? ในศึกใหญ่ “สงคราม 9 ทัพ”

ศิลปวัฒนธรรม
ดูเพิ่ม
Loading...