โปรดอัพเดตเบราว์เซอร์

เบราว์เซอร์ที่คุณใช้เป็นเวอร์ชันเก่าซึ่งไม่สามารถใช้บริการของเราได้ เราขอแนะนำให้อัพเดตเบราว์เซอร์เพื่อการใช้งานที่ดีที่สุด

ธุรกิจ-เศรษฐกิจ

ธปท. มองผลกระทบภาษีสหรัฐต่อเศรษฐกิจไทย ไม่ตกหลุมลึก แต่ลากยาว

การเงินธนาคาร

อัพเดต 2 ชั่วโมงที่ผ่านมา • เผยแพร่ 9 ชั่วโมงที่ผ่านมา

ธปท.ประเมิน แรงกระแทกจากภาษีสหรัฐที่ไทยอาจจะถูกเก็บ 36% อาจจะไม่กระทบเศรษฐกิจไทยรุนแรงแบบฉับพลันแต่ลากยาว เชื่อยังมีโอกาสเจรจาได้ พร้อมตุนพื้นที่นโยบายรับสถานการณ์ข้างหน้า

9 ก.ค. 2568 นายสักกะภพ พันธ์ยานุกูล ผู้ช่วยผู้ว่าการ สายนโยบายการเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทย กล่าวในงาน Monetary Policy Forum 2/2568 ว่า เศรษฐกิจไทยกำลังเผชิญกับความท้าทายรอบด้าน โดยเฉพาะจากกรณีการประกาศใช้ภาษีตอบโต้ (Reciprocal Tariff) จากสหรัฐอเมริกาในอัตรา 36% ที่จะมีผลบังคับใช้ในวันที่ 1 สิงหาคม 2568 แต่ไทยและอีกหลายประเทศยังมีเวลาที่จะเจรจาก่อนที่จะถึงวันดังกล่าว ทั้งนี้ผลต่อตลาดเงินนับว่าตอบรับรุนแรง เพราะรับข่าวไปก่อนหน้าที่แล้ว แต่ภาคการส่งออกและเศรษฐกิจในระยะยาวต้องจับตาอย่างใกล้ชิด

ข้อมูลล่าสุดชี้ให้เห็นว่า เศรษฐกิจไทยยังคงขยายตัวได้ แต่เริ่มเห็นสัญญาณชะลอตัวในหลายด้าน โดยเฉพาะการส่งออกและการลงทุนที่เกี่ยวข้อง รวมถึงภาคการท่องเที่ยวที่เผชิญกับจำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติชะลอตัว ซึ่งอาจส่งผลกระทบต่อเนื่องถึงการบริโภคในระยะต่อไปและยาวไปจนถึงปีหน้า

“แรงกระแทกจากภาษีตอบโต้ครั้งนี้มองว่า จะไม่กระทบเศรษฐกิจไทยรุนแรงแบบฉับพลัน เหมือนวิกฤตโควิด-19 ที่เห็นการดิ่งลงและฟื้นตัวอย่างรวดเร็ว แต่จะเป็นผลกระทบที่ทอดยาว กินเวลาค่อนข้างนาน โดยเฉพาะกับกลุ่มผู้ส่งออกสินค้าไปยังสหรัฐอเมริกา แต่ผลต่อเศรษฐกิจโดยรวมระยะข้างหน้าจะขึ้นอยู่กับการปรับตัว”

นายสักกะภพ กล่าวว่า ในสถานการณ์ที่ท้าทายนี้ ธปท. และ คณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) ยังคงมีท่าที ผ่อนคลายนโยบายการเงิน เพื่อสนับสนุนเศรษฐกิจที่กำลังเผชิญความเสี่ยงในระยะข้างหน้า และพร้อมที่จะพิจารณาปรับนโยบายเพิ่มเติมหากมีความจำเป็น โดยตัวเลขเศรษฐกิจที่เปลี่ยนแปลงไปจะถูกนำมาพิจารณาอย่างใกล้ชิด

“ส่วนโอกาสที่เศรษฐกิจไทยจะเกิดภาวะถดถอยเชิงเทคนิก (Technical Recession) มองว่าหากจะมีเกิดก็ต่อเมื่อเกิดภาวะช็อกทางเศรษฐกิจขนาดใหญ่ เช่น วิกฤตการเงินโลก หรือ โควิด-19 แต่ขณะนี้โอกาสที่จะเกิดเศรษฐกิจถดถอยทั่วโลก (Global Recession) ยังมีไม่มากนัก”

นอกจากนี้ การรอความชัดเจนในข้อเสนอของไทยที่มุ่งลดภาษีนำเข้าเพิ่มเติม และรายละเอียดของสินค้าที่จะได้รับผลกระทบ จะเป็นอีกปัจจัยที่ต้องติดตามอย่างใกล้ชิด เพื่อประเมินผลกระทบต่อภาคการผลิตของประเทศ

ดร.ปิติ ดิษยทัต รองผู้ว่าการ ด้านเสถียรภาพการเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทย กล่าวว่า “เศรษฐกิจไทยก็กำลังเข้าสู่ช่วงเวลาแห่งความท้าทายที่ยาวนาน ความทนทานต่อแรงกระแทกจึงเป็นสิ่งสำคัญ การรักษาระดับอัตราดอกเบี้ยนโยบายไม่ให้เป็นอุปสรรคต่อการขยายตัวของเศรษฐกิจ”

อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง

ดูข่าวต้นฉบับ
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...

ล่าสุดจาก การเงินธนาคาร

“ทักษิณ” ยอมรับช็อกฮุนเซนปล่อยคลิปเสียง มองไทย-กัมพูชา ไม่อยู่ในสถานะประกาศสงครามต่อกัน

1 ชั่วโมงที่ผ่านมา

รมว.คลังให้การบ้านเอกชน ช่วยหามาตรการรับมือภาษีทรัมป์ คาดสรุปได้ก่อน 31 ก.ค. 68

4 ชั่วโมงที่ผ่านมา

ลุ้นเสนอชื่อ ผู้ว่าฯ ธปท.คนใหม่ เข้าครม. 15 ก.ค.68

5 ชั่วโมงที่ผ่านมา

“เฟด” ชั่งน้ำหนักผลกระทบ “ภาษีทรัมป์” ยังไม่รีบลดดอกเบี้ย จับตาเงินเฟ้อไตรมาส 3

6 ชั่วโมงที่ผ่านมา

วิดีโอแนะนำ

ข่าวและบทความธุรกิจ-เศรษฐกิจอื่น ๆ

“กัชคลาวด์” ปิดดีลซื้อ “Wizdeo” สร้างเครือข่ายครีเอเตอร์ EU-APAC

Manager Online

ดั่งต้องมนต์เมืองอุบลฯ ททท.จัดงานวิจิตร หนุนไทยเป็นศูนย์กลางท่องเที่ยวภูมิภาค

MATICHON ONLINE

Broker ranking 9 Jul 2025

Manager Online

Charles House Flow น้ำแร่ขวดหรู ดูแพงแต่แฝงความประหยัด แถมเมดอินสุรินทร์

SMART SME

“ทักษิณ’ ชี้คุยภาษีสหรัฐฯ เวลายังไม่หมด หาทางต่อได้ ลั่นเราขอความแฟร์ แนะใจเย็นๆ

สยามรัฐ

“ทักษิณ” ยอมรับช็อกฮุนเซนปล่อยคลิปเสียง มองไทย-กัมพูชา ไม่อยู่ในสถานะประกาศสงครามต่อกัน

การเงินธนาคาร

"รมว.คลัง" สั่งเอกชนทำการบ้าน เจาะผลกระทบภาษีสหรัฐ พร้อมมาตรการรองรับ ส่ง 11 ก.ค.นี้

สยามรัฐ

กรมพัฒนาที่ดิน ผนึก 5 หน่วยงาน ผลิตน้ำหมักชีวภาพจากปลาหมอคางดำ หวังตัดวงจรการระบาด

MATICHON ONLINE

ข่าวและบทความยอดนิยม

Loading...