โปรดอัพเดตเบราว์เซอร์

เบราว์เซอร์ที่คุณใช้เป็นเวอร์ชันเก่าซึ่งไม่สามารถใช้บริการของเราได้ เราขอแนะนำให้อัพเดตเบราว์เซอร์เพื่อการใช้งานที่ดีที่สุด

ธุรกิจ-เศรษฐกิจ

เงินเฟ้อ ทำอุปกรณ์การเรียน ในสหรัฐแพงขึ้น 20% ผู้ปกครองตั้งงบใช้จ่าย ให้ AI ช่วยจัดการเงิน

Thairath Money

อัพเดต 1 วันที่แล้ว • เผยแพร่ 1 วันที่แล้ว
ภาพไฮไลต์

"เปิดเทอม" คือหนึ่งในช่วงเวลาสำคัญที่เขย่ากระเป๋าสตางค์ของผู้ปกครองหลายคน เนื่องจากต้องซื้อทั้งชุดนักเรียน กระเป๋า รวมไปถึงอุปกรณ์การเรียนเพื่อให้พร้อมสำหรับภาคเรียนใหม่ของลูก

ซึ่งสินค้าเหล่านี้ล้วนแต่มีราคาแพงขึ้นจากอัตราเงินเฟ้อ โดยเฉพาะในประเทศสหรัฐอเมริกา แต่ผู้ปกครองในสหรัฐฯ ไม่สามารถหลีกเลี่ยงค่าใช้จ่ายส่วนนี้ได้ ทว่าพวกเขาหาวิธีซื้อของในราคาถูกเพื่อลดรายจ่ายได้

เงินเฟ้อกระทบอุปกรณ์การเรียน

มากกว่า 2 ใน 3 ของผู้ปกครองในสหรัฐฯ มีการเปรียบเทียบราคาสินค้าช่วงเปิดเทอมเพื่อหาตัวเลือกที่ "คุ้มค่า" ที่สุด เพราะเงินเฟ้อที่พุ่งสูง และผลกระทบจากภาษีทรัมป์ ทำให้สินค้าต่าง ๆ ในประเทศมีราคาสูงขึ้นและกระทบต่อการเงินของชาวอเมริกัน

NBC ระบุว่า ตอนนี้หลายครอบครัวในสหรัฐฯ กำลังจ่ายเงินมากขึ้นสำหรับสินค้าหมวด "Back to School" โดยพบว่าอุปกรณ์หลายอย่าง เช่น ดินสอ สมุด หรือปากกา มีราคาแพงมากกว่าช่วงก่อนวิกฤติโควิด-19 อย่างน้อย 20% และกลุ่มกระเป๋าเป้ราคาพุ่งกว่า 30% ในปีนี้

ความกังวลเรื่องเงินเฟ้อและเศรษฐกิจที่ผันผวน กำลังส่งผลกระทบต่อพฤติกรรมการใช้จ่ายของผู้ปกครองส่วนใหญ่ให้เลือกซื้อสินค้าและของใช้ให้ลูกจากราคาที่ "ถูก" เพราะต้องการประหยัดให้ได้มากที่สุด

จากผลสำรวจของDeloitte พบว่า 75% ของผู้ปกครองพร้อมเปลี่ยนแบรนด์สินค้าที่เคยรักมาก ๆ ทันทีหากมีราคาแพงขึ้นหรือเจอสินค้าประเภทเดียวกันแต่ราคาถูกมากกว่า และยังพบอีกว่า 56% ของพวกเขากำลังมองหาวิธีลดค่าใช้จ่ายที่ไม่จำเป็นเพื่อประหยัดเงิน

วิธีวางแผนการเงินให้ใช้จ่ายช่วงเปิดเทอมของลูกได้อย่างสบายใจ

จากผลสำรวจยังพบอีกว่า วิธีวางแผนการเงินเพื่อใช้จ่ายอย่างประหยัดฉบับผู้ปกครองชาวอเมริกันนั้นมีหลายรูปแบบ เช่น 33% ใช้ AI เป็นที่ปรึกษาเรื่องการเงิน ดังนี้

  • ช่วยค้นหาสินค้าที่อยากได้
  • ช่วยคำนวณและเปรียบเทียบราคาเพื่อหาสินค้าที่เหมาะสมกับกำลังซื้อ
  • จัดทำงบประมาณ เช่น มีงบ 3,000 บาท ควรซื้ออะไร เท่าไหร่บ้าง?
    ให้คำแนะนำสำหรับการจัดระเบียบการเงินได้

และอีก 41% รับคำแนะนำทางการเงินจาก อินฟลูเอนเซอร์ในโซเชียลมีเดีย ซึ่งในทุกวันนี้เราสามารถเข้าถึงแพลตฟอร์มออนไลน์ได้ง่าย เพียงแค่ค้นหาสิ่งที่อยากรู้หรืออยากได้ก็จะขึ้นมาให้เราทันที
ซึ่งนี่เป็นอีกหนึ่งตัวช่วยสำหรับการช็อปปิ้งแบบประหยัดให้ผู้ปกครองในสหรัฐฯ ที่พยายามหลีกเลี่ยงสินค้าราคาแพงในยุคเงินเฟ้อกลืนกินเงินในกระเป๋า เพื่อให้ได้ซื้อสินค้าราคาถูก ประหยัดค่าใช้จ่าย และมีเงินเก็บสำหรับใช้ส่วนตัวและใช้เพื่อลูกมากขึ้น
ที่มา : NBC, Deloitte
อ่านข่าวการเงินส่วนบุคคล และการวางแผนการเงิน กับ Thairath Money เพื่อให้คุณ "การเงินดีชีวิตดี" ได้ที่ https://www.thairath.co.th/money/personal_finance
ติดตามเพจ Facebook : Thairath Money ได้ที่ลิงก์นี้ https://www.facebook.com/ThairathMoney

อ่านข่าวต้นฉบับได้ที่ : เงินเฟ้อ ทำอุปกรณ์การเรียน ในสหรัฐแพงขึ้น 20% ผู้ปกครองตั้งงบใช้จ่าย ให้ AI ช่วยจัดการเงิน

ข่าวอื่นที่เกี่ยวข้อง

ตามข่าวก่อนใครได้ที่
- Website : www.thairath.co.th
- LINE Official : Thairath

ดูข่าวต้นฉบับ
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...

ล่าสุดจาก Thairath Money

“รู้ใจประกันภัย” เปิดกลยุทธ์ เคลมไว รู้จักไลฟ์สไตล์ลูกค้า ดัน AI คำนวณเบี้ยประกัน

32 นาทีที่แล้ว

เศรษฐกิจโลกเริ่มไม่สดใส เศรษฐกิจไทยเสี่ยงภาษี ลงทุนอย่างไร

32 นาทีที่แล้ว

“เอพี ไทยแลนด์”ตั้ง“รัชต์ชยุตม์” ขึ้นประธานฝ่ายบริหาร

1 ชั่วโมงที่ผ่านมา

คมนาคม เดินหน้าโปรเจ็กต์หมื่นล้าน

2 ชั่วโมงที่ผ่านมา

วิดีโอแนะนำ

ข่าวและบทความธุรกิจ-เศรษฐกิจอื่น ๆ

ราคาทองวันนี้ 19 ก.ค. ปรับขึ้น 50 บาท

เดลินิวส์

“รู้ใจประกันภัย” เปิดกลยุทธ์ เคลมไว รู้จักไลฟ์สไตล์ลูกค้า ดัน AI คำนวณเบี้ยประกัน

Thairath Money

เศรษฐกิจโลกเริ่มไม่สดใส เศรษฐกิจไทยเสี่ยงภาษี ลงทุนอย่างไร

Thairath Money

หุ้นดาวโจนส์วันนี้ 19 กรกฎาคม 2568 ปิดลบ 142.30 จุด วิตกข่าวทรัมป์

TNN ช่อง16

GULF เตรียมออกหุ้นกู้ครั้งแรกภายใต้บริษัทใหม่ที่เเข็งเเกร่ง

ฐานเศรษฐกิจ

ค่าเงินบาทยังผันผวน นักลงทุนจับตาข้อมูลเศรษฐกิจสหรัฐฯ

News In Thailand

“ลาบูบู้” ไม่ใช่เจ้าแรก ย้อนรอย “อาร์ตทอย” พลิกธุรกิจสู่หุ้นแสนล้าน

TNN ช่อง16

กลุ่ม "เดอะแบก" แซนด์วิช เจเนอเรชันต้องรู้! วิธีวางแผนการเงินให้พอใช้

ฐานเศรษฐกิจ

ข่าวและบทความยอดนิยม

ดูเพิ่ม
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...