โปรดอัพเดตเบราว์เซอร์

เบราว์เซอร์ที่คุณใช้เป็นเวอร์ชันเก่าซึ่งไม่สามารถใช้บริการของเราได้ เราขอแนะนำให้อัพเดตเบราว์เซอร์เพื่อการใช้งานที่ดีที่สุด

ธุรกิจ-เศรษฐกิจ

ข่าวดี! ต้นทุนค่าไฟลด ดัน 3 ทางเลือกทบทวนค่าไฟส่งท้ายปีต่ำสุด 3.98 บาทต่อหน่วย

เดลินิวส์

อัพเดต 3 ชั่วโมงที่ผ่านมา • เผยแพร่ 11 ชั่วโมงที่ผ่านมา • เดลินิวส์
ข่าวดี! “กกพ.” เคาะเสนอ 3 ทางเลือกค่าไฟงวด ก.ย.-ธ.ค. 2568 ที่ 3.98-5.10 บาทต่อหน่วย ชี้ยังปรับลดไม่ได้ หวั่นกฟผ.-ปตท.แบกรับภาระหนัก

วันที่ 17 ก.ค. ดร.พูลพัฒน์ ลีสมบัติไพบูลย์ เลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน (สำนักงาน กกพ.)ในฐานะโฆษกคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน (กกพ.) เปิดเผยว่า ในการประชุม กกพ. ครั้งที่ 26/2568 (ครั้งที่ 968) เมื่อวันพุธที่ 16 กรกฎาคม 2568 มีมติให้เปิดรับฟังความคิดเห็นค่าไฟฟ้าผันแปร (ค่าเอฟที) และการเรียกเก็บค่าไฟฟ้าสำหรับงวด ก.ย.-ธ.ค. 2568 เป็น 3 กรณี ตั้งแต่เรียกเก็บต่ำสุดที่ 3.98 บาทต่อหน่วยจนถึงสูงสุดที่ 5.10 บาทต่อหน่วย

“ปัจจัยบวกหลักๆ ที่ส่งผลดีต่อค่าเอฟทีและแนวโน้มค่าไฟที่ลดลงในงวด ก.ย.-ธ.ค. 2568 มาจากปริมาณก๊าซธรรมชาติที่ผลิตจากอ่าวไทยกลับมาสู่ภาวะปกติเท่ากับก่อนวิกฤติราคาก๊าซธรรมชาติ ค่าเงินบาทแข็งค่าขึ้นเมื่อเทียบกับเงินดอลลาร์สหรัฐ ทำให้ต้นทุนการผลิตไฟฟ้าช่วงปลายปีมีแนวโน้มลดลง เข้าสู่ภาวะปกติ แต่สาเหตุที่ กกพ. ยังไม่สามารถประกาศปรับลดค่าเอฟทีและค่าไฟได้ทันที ก็เพราะว่ายังคงมีภาระต้นทุนค่าเชื้อเพลิงคงค้าง (AF) ที่เกิดขึ้นจริงของการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) อีกกว่า 6 หมื่นล้านบาท ซึ่งการจัดเก็บค่าไฟฟ้าเพื่อลดหนี้ กฟผ. ในช่วงต้นปีก็ยังคงต่ำกว่าเป้าหมายอยู่ 8,295 ล้านบาท”

ดร.พูลพัฒน์ กล่าวว่า ปัจจัยหลักๆ ยังคงเป็นภาระการชดเชยต้นทุนคงค้าง (AF) ที่เกิดขึ้นจริงของ กฟผ. ซึ่งในช่วงที่ผ่านมาคาดว่าจะสามารถลดต้นทุนคงค้างลง 13,142 ล้านบาท แต่ราคาเชื้อเพลิงที่ใช้ผลิตไฟฟ้าจริงสูงกว่าการคาดการณ์ ทำให้สามารถลดต้นทุนคงค้างจริงได้เพียง 4,847 ล้านบาท ซึ่งภาระการชดเชยต้นทุนคงค้าง (AF) ยังคงเป็นปัจจัยลบที่กดดันค่าเอฟทีต่อไปจนกว่าจะหมดภาระ อย่างไรก็ตามแนวโน้มค่าเงินบาทเมื่อเทียบกับเงินดอลลาร์สหรัฐที่แข็งค่าขึ้นจากงวดก่อนหน้า 1.32 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ (งวด พ.ค.-ส.ค. 68) เป็น 32.95 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ และราคา LNG Spot ที่มีแนวโน้มลดลงเล็กน้อยตามราคาในตลาดโลกมาอยู่ที่ 13.9 ดอลลาร์สหรัฐต่อล้านบีทียูส่งผลดีต่อต้นทุนการผลิตไฟฟ้า

ทั้งนี้ ในการประชุม กกพ. ครั้งที่ 26/2568 (ครั้งที่ 968) เมื่อวันพุธที่ 16 กรกฎาคม 2568 ที่ผ่านมา กกพ. มีมติให้สำนักงาน กกพ. ดำเนินการเปิดรับฟังความคิดเห็นค่าไฟฟ้าผันแปร (ค่าเอฟที) สำหรับการเรียกเก็บค่าไฟฟ้าในงวดเดือน ก.ย.-ธ.ค. 2568 แบ่งเป็น 3 กรณีตามเงื่อนไข ดังนี้

กรณีที่ 1: ผลการคำนวณตามสูตรการปรับค่า Ft (จ่ายคืนภาระต้นทุนคงค้าง กฟผ. ทั้งหมด) และการคำนวณกรณีเรียกเก็บมูลค่าส่วนต่างราคาก๊าซธรรมชาติสำหรับภาคไฟฟ้าปี 2566 ค่า Ft ขายปลีกเท่ากับ 131.94 สตางค์ต่อหน่วย ซึ่งจะเป็นการเรียกเก็บตามผลการคำนวณตามสูตรการปรับค่า Ft ที่สะท้อนแนวโน้ม (1) ต้นทุนเดือนกันยายน–ธันวาคม 2568 จำนวน 9.01 สตางค์ต่อหน่วย และ (2) เงินเรียกเก็บเพื่อชดเชยต้นทุนคงค้าง (AF) ที่เกิดขึ้นจริงของ กฟผ. จำนวน 66,072 ล้านบาท (หรือคิดเป็น 100.08 สตางค์ต่อหน่วย) และมูลค่าส่วนต่างราคาก๊าซธรรมชาติที่เกิดขึ้นจริงกับราคาก๊าซธรรมชาติที่เรียกเก็บเดือนกันยายน-ธันวาคม 2566 ของรัฐวิสาหกิจที่ประกอบกิจการจัดหาและค้าส่งก๊าซธรรมชาติ (Shipper) จำนวน 15,084 ล้านบาท (หรือคิดเป็น 22.85 สตางค์ต่อหน่วย) รวมจำนวน 122.93 สตางค์ต่อหน่วย

โดย กฟผ. จะได้รับเงินที่รับภาระต้นทุนค่าเชื้อเพลิงและค่าซื้อไฟฟ้าแทนประชาชนตั้งแต่เดือนกันยายน 2564–เมษายน 2568 ในช่วงสภาวะวิกฤติของราคาพลังงานที่ผ่านมา คืนทั้งหมดภายในเดือนธันวาคม 2568 เพื่อนำไปชำระหนี้เงินกู้เพื่อเสริมสภาพคล่องให้มีสถานะทางการเงินคืนสู่สภาวะปกติโดยเร็ว และรัฐวิสาหกิจที่ประกอบกิจการก๊าซธรรมชาติ จะได้รับเงินคืนส่วนต่างราคาก๊าซธรรมชาติสำหรับภาคไฟฟ้าคืนทั้งหมด ซึ่งเมื่อรวมค่า Ft ขายปลีกที่คำนวณได้กับค่าไฟฟ้าฐานที่ 3.78 บาทต่อหน่วย ส่งผลให้ค่าไฟฟ้าเฉลี่ย (ไม่รวมภาษีมูลค่าเพิ่ม) ปรับเพิ่มขึ้นเป็น 5.10 บาทต่อหน่วย โดยค่าไฟฟ้าของผู้ใช้ไฟฟ้าทั่วประเทศจะเพิ่มขึ้นร้อยละ 28 จากระดับ 3.98 บาทต่อหน่วยในงวดปัจจุบัน

กรณีที่ 2: ผลการคำนวณตามสูตรการปรับค่า Ft (จ่ายคืนภาระต้นทุนคงค้าง กฟผ. ทั้งหมด) ค่า Ft ขายปลีกเท่ากับ 109.09 สตางค์ต่อหน่วย ซึ่งจะเป็นการเรียกเก็บตามผลการคำนวณตามสูตรการปรับค่า Ft ที่สะท้อนแนวโน้มต้นทุนเดือนกันยายน–ธันวาคม 2568 จำนวน 9.01 สตางค์ต่อหน่วย และเงินเรียกเก็บเพื่อชดเชยต้นทุนคงค้าง (AF) ที่เกิดขึ้นจริงของ กฟผ. จำนวน 66,072 ล้านบาท (หรือคิดเป็น 100.08 สตางค์ต่อหน่วย) โดย กฟผ. จะได้รับเงินที่รับภาระต้นทุนค่าเชื้อเพลิงและค่าซื้อไฟฟ้าแทนประชาชนในช่วงสภาวะวิกฤติของราคาพลังงานที่ผ่านมา คืนทั้งหมดภายในเดือนธันวาคม 2568 เพื่อนำไปชำระหนี้เงินกู้เพื่อเสริมสภาพคล่องให้มีสถานะทางการเงินคืนสู่สภาวะปกติโดยเร็ว

ซึ่งเมื่อรวมค่า Ft ขายปลีกที่คำนวณได้กับค่าไฟฟ้าฐานที่ 3.78 บาทต่อหน่วย ส่งผลให้ค่าไฟฟ้าเฉลี่ย (ไม่รวมภาษีมูลค่าเพิ่ม) ปรับเพิ่มขึ้นเป็น 4.87 บาทต่อหน่วย โดยค่าไฟฟ้าของผู้ใช้ไฟฟ้าทั่วประเทศจะเพิ่มขึ้นร้อยละ 22 จากระดับ 3.98 บาทต่อหน่วย ในงวดปัจจุบัน ทั้งนี้ ยังไม่รวมมูลค่าส่วนต่างราคาก๊าซธรรมชาติที่เกิดขึ้นจริงกับราคาก๊าซธรรมชาติที่เรียกเก็บเดือนกันยายน-ธันวาคม 2566 ของรัฐวิสาหกิจที่ประกอบกิจการจัดหาและค้าส่งก๊าซธรรมชาติ (Shipper) อีกจำนวน 15,084 ล้านบาท (หรือคิดเป็น 22.85 สตางค์ต่อหน่วย)

กรณีที่ 3: กรณีตรึงค่า Ft เท่ากับงวดปัจจุบัน (ข้อเสนอ กฟผ.) ค่า Ft ขายปลีก เท่ากับ 19.72 สตางค์ต่อหน่วย ซึ่งจะสะท้อนแนวโน้มต้นทุนเดือนกันยายน–ธันวาคม 2568 จำนวน 9.01 สตางค์ต่อหน่วย และทยอยชำระคืนภาระต้นทุน AF คงค้างสะสมได้จำนวน 7,072 ล้านบาท (หรือคิดเป็น 10.71 สตางค์ต่อหน่วย) เพื่อนำไปพิจารณาทยอยคืนภาระค่า AF ให้แก่ กฟผ. และมูลค่าส่วนต่างของราคาก๊าซธรรมชาติที่เกิดขึ้นจริงกับค่าก๊าซธรรมชาติที่เรียกเก็บ เดือนกันยายน-ธันวาคม 2566 ของรัฐวิสาหกิจที่ประกอบกิจการจัดหาและค้าส่งก๊าซธรรมชาติ (Shipper) ในระบบของ กฟผ. ต่อไป ซึ่งเมื่อรวมค่า Ft ขายปลีกกับค่าไฟฟ้าฐานที่ 3.78 บาทต่อหน่วย ส่งผลให้ค่าไฟฟ้าเฉลี่ย (ไม่รวมภาษีมูลค่าเพิ่ม) คงที่เท่ากับ 3.98 บาทต่อหน่วย เช่นเดียวกับปัจจุบัน

สำนักงาน กกพ. ขอเชิญชวนพี่น้องประชาชนร่วมกันปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการใช้ไฟฟ้าได้ง่ายๆ 5 ป. ได้แก่ ปลด หรือถอดปลั๊กเครื่องใช้ไฟฟ้าลดการใช้ไฟฟ้าเมื่อใช้งานเสร็จ ปิด หรือดับไฟเมื่อเลิกใช้งาน ปรับ อุณหภูมิเครื่องปรับอากาศให้อยู่ที่ 26 องศา เปลี่ยน มาใช้อุปกรณ์ประหยัดไฟเบอร์ 5 ปลูกต้นไม้เพิ่มขึ้นเพื่อลดอุณหภูมิภายในบ้าน ซึ่งทั้ง 5 ป. จะช่วยลดภาระค่าไฟฟ้าของผู้ใช้ไฟฟ้าเองด้วย

ทั้งนี้ กกพ. เปิดรับฟังความคิดเห็นผ่านทางเว็บไซต์สำนักงาน กกพ. ตั้งแต่วันที่ 17-28 กรกฎาคม 2568 ก่อนที่จะมีการสรุปและประกาศอย่างเป็นทางการต่อไป

"ที่ยังไม่สามารถจะปรับลดลงได้แม้ว่ามีข่าวดีเยอะเพราะไม่ต้องการให้ กฟผ. และปตท.ต้องแบกรับภาระต่อ และยังไม่ไว้ใจสถานการณ์โลก จึงขอตรึงราคาต่อไปก่อน เพื่อให้เกิดความสมดุล"

ดูข่าวต้นฉบับ
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...

ล่าสุดจาก เดลินิวส์

“หมอเจด” เปิด 15 สัญญาณเตือนมะเร็ง! ท้องผูก–ตกขาว–ไอเรื้อรัง อาจไม่ใช่แค่อาการธรรมดา

25 นาทีที่แล้ว

หมอชี้อาการนี้เป็นสัญญาณเงียบก่อนพาร์กินสัน อาจเตือนล่วงหน้าได้เป็นสิบปี!

1 ชั่วโมงที่ผ่านมา

วาสนาดี๊ดี! ’เลดี้ปราง‘ ยก ’โอบ’ เป็นที่สุดของใจ ดูแลทุกอย่างฟีลพ่อบ้านพ่อเรือน

1 ชั่วโมงที่ผ่านมา

“บช.สตม.”บุกพัทยา รวบอาชญากรข้ามชาติ 2 คดีใหญ่”

1 ชั่วโมงที่ผ่านมา

วิดีโอแนะนำ

ข่าวและบทความธุรกิจ-เศรษฐกิจอื่น ๆ

ทักษิณ แย้ม ครม.สัปดาห์หน้าเคาะ “ผู้ว่าฯ ธปท.” คนใหม่

อีจัน

ประชุม คกก. คณะกรรมการสงเคราะห์เกษตรกร เห็นชอบ โครงการสนับสนุนสินเชื่อเพื่อการเก็บรักษาและแปรรูปลำไยด้วยการอบแห้งหรือรมด้วยก๊าซซันเฟอร์ไดออกไซด์

สวพ.FM91

Broker ranking 17 Jul 2025

Manager Online

“ทักษิณ” อุบชื่อผู้ว่าฯ ธปท. คนใหม่ ยืนยันเข้า ครม.สัปดาห์หน้า

PostToday

“ทักษิณ” ชี้ไทยยังไม่ไปไหนติดหล่มปัญหาการเมือง-เศรษฐกิจ

การเงินธนาคาร

BBL อวดกำไรสุทธิครึ่งแรกปี 68 เติบโต 9.5% แตะ 24,458 ล้าน

PostToday

‘ทักษิณ’ปลดล็อกอนาคตประเทศไทย ผุดใช้คริปโตซื้อของได้ ฝึกเทรนเอไอให้คนไทย

เดลินิวส์

ONYX ปรับอิมเมจโรงแรม “อมารี” ตอบรับไลฟ์สไตล์ลูกค้าที่แตกต่าง

Manager Online

ข่าวและบทความยอดนิยม

ปิดคดี! สังหารโหด ‘เทพเจ้าสองแผ่นดิน’ รวบสมุน ‘พันศักดิ์’ ทีมอุ้มฆ่าเผา ‘เสี่ยอ้วน’

เดลินิวส์

ทำความรู้จัก ‘ทุ่นระเบิดPMN2’ ของกัมพูชา ‘อ.เจษฎา’ ย้ำอันตรายแถมตรวจค้นได้ยาก!

เดลินิวส์

นอนคุก! “สีกากอล์ฟ” ไม่ยื่นประกันตัว ราชทัณฑ์คุมตัวเข้าเรือนจำหญิงกลาง

เดลินิวส์
ดูเพิ่ม
Loading...