โปรดอัพเดตเบราว์เซอร์

เบราว์เซอร์ที่คุณใช้เป็นเวอร์ชันเก่าซึ่งไม่สามารถใช้บริการของเราได้ เราขอแนะนำให้อัพเดตเบราว์เซอร์เพื่อการใช้งานที่ดีที่สุด

ทั่วไป

ผลการศึกษาเผย วัยรุ่นยุโรปเพียงครึ่ง ยังเชื่อมั่นว่าประชาธิปไตยดีที่สุด โดย 1 ใน 10 ไม่สนใจว่ารัฐบาลจะเป็นยังไง

The MATTER

อัพเดต 6 ชั่วโมงที่ผ่านมา • เผยแพร่ 6 ชั่วโมงที่ผ่านมา • Brief

ยังเชื่อมั่นในประชาธิปไตยมากแค่ไหน รับได้กับเผด็จการหรือเปล่า และยังมีความกังวลอะไรอีกบ้าง?

ผลการศึกษาล่าสุด จัดทำโดยสถาบัน YouGov สำหรับมูลนิธิ Tui จากการเก็บข้อมูลผู้คนมากกว่า 6,700 คนที่มีอายุระหว่าง 16-26 ปีในอังกฤษ เยอรมนี ฝรั่งเศส สเปน อิตาลี กรีซ และโปแลนด์ เผยทัศนคติทางการเมืองของเยาวชน Gen Z ในยุโรป พบว่า มีเพียงครึ่งเดียวเท่านั้นที่ยังคงเชื่อมั่นว่าประชาธิปไตยคือรูปแบบการปกครองที่ดีที่สุด

ตัวเลขนี้ ยิ่งน่าเป็นห่วงในฝรั่งเศสและสเปน ที่มีผู้สนับสนุนประชาธิปไตยเพียง 51-52% และในโปแลนด์ที่ 48% สวนทางกับเยอรมนีที่ยังคงมีความเชื่อมั่นสูงถึง 71%

อีกด้านหนึ่งที่น่าสนใจและน่าตกใจ คือ กว่า 1 ใน 5 ของเยาวชน (21%) มองว่าการปกครองแบบเผด็จการเป็นทางเลือกที่ยอมรับได้ภายใต้สถานการณ์บางอย่าง โดยเฉพาะในอิตาลีที่ตัวเลขนี้พุ่งสูงถึง 24% ขณะที่เยอรมนีอยู่ที่ 15% และฝรั่งเศส สเปน โปแลนด์ อยู่ที่ 23%

นอกจากนี้ เกือบ 1 ใน 10 ของเยาวชน ไม่สนใจว่ารัฐบาลของตนจะเป็นประชาธิปไตยหรือไม่ และอีก 14% ไม่สามารถให้คำตอบได้

ทอร์สเทน ฟาส (Thorsten Faas) นักรัฐศาสตร์จากมหาวิทยาลัยเบอร์ลิน หนึ่งในทีมงานวิจัย ระบุว่า กลุ่มคนหนุ่มสาวที่มีแนวคิดขวาจัดและรู้สึกว่าตนเองเสียเปรียบทางเศรษฐกิจ มีแนวโน้มที่จะสนับสนุนประชาธิปไตยลดลงอย่างเห็นได้ชัด เหลือเพียง 1 ใน 3 เท่านั้น จนอาจกล่าวได้ว่า นี่อาจสัญญาณว่า “ประชาธิปไตยกำลังเผชิญแรงกดดัน ทั้งจากภายในและภายนอก”

ผลสำรวจยังชี้ให้เห็นถึงความกังวลที่เพิ่มขึ้น โดย 48% ของเยาวชนยุโรปกังวลว่าระบบประชาธิปไตยในประเทศของตนกำลังตกอยู่ในอันตราย โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเยอรมนี ที่กังวลสูงถึง 61% ซึ่งอาจเชื่อมโยงกับภาวะเศรษฐกิจที่ซบเซาและการเติบโตอย่างรวดเร็วของกลุ่มการเมืองขวาจัดที่ได้รับแรงสนับสนุนจากคนรุ่นใหม่

ในภาพรวมระดับโลก เยาวชนยุโรปรับรู้ว่า อำนาจระดับโลกกำลังเปลี่ยนมือไปจากยุโรปแล้ว มีเพียง 42% เท่านั้นที่ยังคงมองว่าสหภาพยุโรปเป็น 1 ใน 2 ผู้เล่นหลักของโลกอยู่ ขณะที่สหรัฐอเมริกาที่ได้รับความเชื่อมั่นถึง 83% จีน 75% และรัสเซีย 57%

และแม้ว่าอังกฤษจะถอนตัวออกจากสหภาพยุโรป (Brexit) แต่เยาวชนอังกฤษกลับแสดงความปรารถนาที่จะกลับเข้าร่วม EU อย่างท่วมท้นถึง 73% และ 47% ของเยาวชนยุโรป ต้องการกระชับความสัมพันธ์ระหว่าง EU กับอังกฤษให้แน่นแฟ้นยิ่งขึ้น

ผลสำรวจยังเผยให้เห็นถึงแนวโน้มทางสังคมและการเมืองที่น่าสนใจด้วยเช่นกัน โดยจำนวนเยาวชนที่ระบุว่าตนเองมีแนวคิดทางการเมืองอยู่ทางขวาของศูนย์กลางเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญจาก 14% ในปี 2021 เป็น 19%

นอกจากนี้ ยังพบความแตกต่างทางเพศในแนวคิดทางการเมือง โดยผู้หญิงในเยอรมนี ฝรั่งเศส และอิตาลี มีแนวคิดก้าวหน้ามากขึ้น ในขณะที่ผู้ชายในโปแลนด์และกรีซกลับมีแนวคิดอนุรักษนิยมมากขึ้นในช่วงเวลาเดียวกัน

ประเด็นการย้ายถิ่นฐานก็เป็นอีกหนึ่งเรื่องที่ได้รับความสนใจ โดย การสนับสนุนมาตรการจำกัดการย้ายถิ่นฐานที่เข้มงวดยิ่งขึ้นเพิ่มขึ้นจาก 26% ในปี 2021 เป็น 38% ทั่วทั้งยุโรป

แม้จะมีความกังวลและความไม่พอใจในบางประเด็น แต่เยาวชนยุโรปส่วนใหญ่ยังคงมีความหวังในศักยภาพของสหภาพยุโรป และ 2 ใน 3 ยังคงสนับสนุนให้ประเทศของตนเป็นสมาชิก EU ต่อไป อย่างไรก็ตาม ก็ยังมีข้อเสนอแนะและข้อกังวลที่ชัดเจน เช่น 39% มองว่า EU ไม่ได้เป็นประชาธิปไตยมากนัก และมีเพียง 6% เท่านั้นที่คิดว่ารัฐบาลของตนทำงานได้ดีและไม่จำเป็นต้องมีการเปลี่ยนแปลง

เยาวชนกว่า 53 รู้สึกว่า EU มุ่งเน้นไปที่รายละเอียดและเรื่องเล็กน้อยมากเกินไป พวกเขาต้องการให้ EU ให้ความสำคัญกับการแก้ไขปัญหาค่าครองชีพที่สูงขึ้น เสริมสร้างการป้องกันภัยคุกคามภายนอก และสร้างสภาพแวดล้อมที่ดีขึ้นสำหรับการดำเนินธุรกิจเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ

เอลเค่ ฮลาวัตเชก (Elke Hlawatschek) หัวหน้ามูลนิธิ Tui กล่าวว่า “โครงการยุโรปซึ่งนำมาซึ่งสันติภาพ เสรีภาพในการเคลื่อนไหว และความก้าวหน้าทางเศรษฐกิจมาหลายทศวรรษ ถูกมองว่าเป็นโครงการที่ควบคุมได้ยาก” โดยเฉพาะอย่างยิ่งในชาวกรีกที่แสดงออกถึงความต้องการที่จะปฏิรูปการเมืองอย่างถอนรากถอนโคน และตั้งข้อสงสัยต่อ EU มากที่สุด ซึ่งฟาสเชื่อว่ามาจากบาดแผลทางเศรษฐกิจจากวิกฤตหนี้ยูโรโซน

นอกจากนี้ แม้เยาวชนยุโรปจะให้การสนับสนุนการปกป้องสภาพภูมิอากาศที่มากขึ้น แต่ก็มีเพียง 1 ใน 3 เท่านั้นที่คิดว่าควรให้ความสำคัญกับการปกป้องสภาพภูมิอากาศมากกว่าการเติบโตทางเศรษฐกิจ ซึ่งลดลงจาก 44% ในปี 2021

ภาพรวมจากงานศึกษาชิ้นนี้ อาจสะท้อนให้เห็นได้ว่าเยาวชนยุโรปกำลังเผชิญกับความท้าทายจากหลายด้าน ทั้งความไม่มั่นคงทางเศรษฐกิจ แนวโน้มทางการเมืองที่เปลี่ยนแปลงไป และความสงสัยในสถาบันประชาธิปไตยและสหภาพยุโรป ที่ล้วนอาจส่งผลต่อทิศทางในอนาคตของทวีปยุโรปได้ทั้งสิ้น

อ้างอิงจาก

theguardian.com

tui-stiftung.de

ดูข่าวต้นฉบับ
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...

ล่าสุดจาก The MATTER

เห็นบ้านคนอื่นสะอาด เราก็สุขใจ ทำไมเราถึงชอบดูคลิปทำความสะอาดกันนะ?

1 ชั่วโมงที่ผ่านมา

‘Dry Texting’ เมื่อเราเบื่อจะสนทนาผ่านข้อความ จนส่งผลกับการสร้างความสัมพันธ์

2 ชั่วโมงที่ผ่านมา

ทรัมป์ประกาศว่าจะจัดแข่ง UFC ในปี 2026 ที่ทำเนียบขาว เพื่อฉลอง 250 ปี วันประกาศอิสรภาพอเมริกา

3 ชั่วโมงที่ผ่านมา

ให้พนักงานเกือบ 1,000 คน จาก 17 บริษัท ทำงานสัปดาห์ละ 4 วัน โดยไม่ลดค่าจ้าง ผลคือบริษัทรายได้เพิ่มขึ้น คนลาป่วยน้อยลง

4 ชั่วโมงที่ผ่านมา

วิดีโอแนะนำ

ข่าวและบทความทั่วไปอื่น ๆ

ทบ.ยันไม่รุนแรง ทหารพราน ปะทะทหารกัมพูชา

ข่าวช่องวัน 31
วิดีโอ

แต่งงานกับพี่ได้ไหมคะ พี่อยากใช้ชีวิตกับน้องตลอดไปแล้ว ประโยคขอแต่งงานโปรต้า ขอ ครูเบียร์ ความรักสุกงอม

สยามนิวส์

จุดจบ “รัฐบาลอิ๊งค์2” วันไหน?

INN News

ปปป. ค้นบ้าน ‘สีกา ก.’ ปมเจ้าคุณอาชว์ทุจริต ยึดมือถือตรวจเช็ก ‘แบล็กเมล์’

เดลินิวส์

ประเดิมเก้าอี้ มท.1 “ภูมิธรรม” สั่งปิดบ่อนสะพานใหม่

ข่าวช่องวัน 31
วิดีโอ

ปภ.เตือนแม่น้ำสายใกล้ล้นตลิ่ง เตรียมยกของขึ้นที่สูง | ข่าวช่องวัน

ข่าวช่องวัน 31
วิดีโอ

"พงศ์กวิน" มั่นใจ คุมแรงงานได้ สานต่อค่าแรงขั้นต่ำ 400 บาท | ข่าวช่องวัน

ข่าวช่องวัน 31

อยากปะทะ? ทหารกัมพูชาถือปืนกล-จรวด RPG ลาดตระเวนพร้อมรบ ชายแดนศรีสะเกษ

PPTV HD 36

ข่าวและบทความยอดนิยม

“แกนนำกลุ่มนี้เมื่อเคลื่อนไหว มักไปจบที่รัฐประหาร มันกลายเป็นภาพจำ คนจึงคิดว่าการชุมนุมของ [ม็อบรวมพลังแผ่นดินฯ] จะนำไปสู่รัฐประหาร”

The MATTER

เกาะโทคาระ ทางตอนใต้ญี่ปุ่น เผชิญแผ่นดินไหวกว่า 900 ครั้งในสองสัปดาห์ผู้คนจำนวนมากกังวล จนไม่กล้านอนหลับ

The MATTER

ผอ.โรงพยาบาลในกาซา เสียชีวิต จากการโจมตีทางอากาศของอิสราเอล ทั้งที่อยู่ในบ้านพักซึ่งเป็น ‘เขตปลอดภัย’

The MATTER
ดูเพิ่ม
Loading...