โปรดอัพเดตเบราว์เซอร์

เบราว์เซอร์ที่คุณใช้เป็นเวอร์ชันเก่าซึ่งไม่สามารถใช้บริการของเราได้ เราขอแนะนำให้อัพเดตเบราว์เซอร์เพื่อการใช้งานที่ดีที่สุด

ไลฟ์สไตล์

เจอร์รี บรักไฮเมอร์ เจ้าพ่อโปรดิวเซอร์หนังบล็อกบัสเตอร์แห่งฮอลลีวูด

The Momentum

อัพเดต 17 ชั่วโมงที่ผ่านมา • เผยแพร่ 3 ชั่วโมงที่ผ่านมา • THE MOMENTUM

หากคุณเป็นคนดูหนังฮอลลีวูด ก็เป็นไปได้ว่า ไม่มากก็น้อย คุณน่าจะเคยผ่านตาหนังที่ เจอร์รี บรักไฮเมอร์ (Jerry Bruckheimer)ร่วมโปรดิวซ์ เพราะหนังส่วนใหญ่ที่เขาร่วมสร้างนั้นมักเป็นหนังฟอร์มยักษ์หรือหนังบล็อกบัสเตอร์ทุนสร้างมหาศาล ทั้งยังกินระยะเวลาหลายทศวรรษ จนเขาถูกจัดให้เป็นโปรดิวเซอร์ที่ทำรายได้มากที่สุดตลอดกาลเป็นอันดับที่ 4 โดยมูลค่าของภาพยนตร์ที่เขาเคยร่วมสร้างทุกเรื่องนั้นอยู่ที่ 1.2 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐฯ (ขณะที่อันดับหนึ่งคือ เควิน ไฟกี เจ้าพ่อหนังมาร์เวล ที่มูลค่าหนังทั้งหมดอยู่ที่ 3 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐฯ)

ล่าสุดบรักไฮเมอร์เพิ่งร่วมสร้าง F1: The Movie (2025) หนังสุดอีพิกทุนสร้าง 200 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ และกวาดรายได้เข้ากระเป๋าในสัปดาห์แรกที่ออกฉายที่ 146 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ

“งานของผมคือ การพาคนออกจากโลกความจริงสัก 2 ชั่วโมง ทำให้คุณลืมทุกเรื่องที่เกิดขึ้นในบ้าน ที่เกิดขึ้นบนโลกใบนี้” บรักไฮเมอร์นิยามการทำงานในฐานะโปรดิวเซอร์ของเขาไว้เช่นนั้น

ความร้อนแรงในฐานะโปรดิวเซอร์หนังฟอร์มยักษ์ของบรักไฮเมอร์โดดเด่นมาตั้งแต่ช่วงรอยต่อยุค 80s-90s โดยเฉพาะการจับมือกับ ดอน ซิมป์สัน (Don Simpson) เจ้าพ่อนักสร้างหนังที่พาถูสร้างหนังมหากาพย์ที่เราอาจคุ้นตากันอย่าง Beverly Hills Cop (1984), Top Gun(1986) และ The Rock(1996) โดยทั้งคู่ถูกขนานนามว่าเป็นคู่หูโปรดิวเซอร์มือทองของฮอลลีวูด ในฐานะที่บรักไฮเมอร์เคยทำงานในวงการโฆษณาและมีความรู้เรื่องกระบวนการถ่ายทำ เขาจึงถูกขนานนามว่า Mr. Outside ขณะที่ซิมป์สันถูกเรียกว่า Mr. Inside อันเนื่องมาจากเครือข่ายคนทำหนังมากมายที่เขาถือไว้ในมือ

ทั้งนี้ซิมป์สันขึ้นชื่อเรื่องการเป็นโปรดิวเซอร์อารมณ์ร้ายและเอาแน่เอานอนไม่ได้ ทั้งยังมีภาวะติดโคเคนอย่างหนักจนส่งผลต่อหน้าที่การงานโดยตรง ยังผลให้ความสัมพันธ์ระหว่างเขากับบรักไฮเมอร์มาถึงจุดแตกหักในปี 1995 ระหว่างร่วมโปรดิวซ์ The Rockด้วยกัน โดยทั้งสองตกลงจะทำหนังเรื่องนี้ด้วยกันเป็นเรื่องสุดท้ายก่อนแยกย้าย หากแต่ซิมป์สันก็เสียชีวิตในปี 1996 ก่อนหน้าที่หนังจะถ่ายทำเสร็จเรียบร้อย The Rockจึงเป็นหนังที่อุทิศให้ซิมป์สันหลังเขาจากไป

บรักไฮเมอร์ออก ‘บินเดี่ยว’ หลังจากนั้นเขาเป็นหนึ่งในโปรดิวเซอร์ที่ประสบความสำเร็จมากที่สุดคนหนึ่งของฮอลลีวูด ตลอดระยะเวลาหลายทศวรรษ เขามีส่วนในการสร้างหนังฟอร์มยักษ์หลายสิบเรื่องและทั้งหมดก็ไม่ใช่งานง่าย “งานของโปรดิวเซอร์ส่วนใหญ่คือ การหาเวลาประชุมเป็นสิบเป็นร้อยครั้งกับนายธนาคาร นักบัญชี และนักกฎหมาย บอกเลยว่ามันดูดพลังงานของคุณจนหมด ถึงที่สุดก็ไม่เหลือแรงให้คิดเรื่องหนังแล้ว สำหรับผมมันเหมือนคุณสวมสูทที่ไม่พอดีกับตัวเลย” เขาบอก “ผมชอบนั่งกับคนเขียนบทหรือผู้กำกับมากกว่า ปั้นเรื่องที่จะทำกัน หรือไม่ก็อยู่กับพวกดีไซเนอร์ หาทางทำให้ฉากแต่ละฉากออกมาเจ๋งที่สุดเท่าที่จะทำได้

“หลายคนก็เก่งด้านหาเงินนะ และถึงที่สุดมันก็เป็นสิ่งที่ผมต้องทำเข้าสักวัน แต่แค่เอาเข้าจริง ผมแค่ชอบฝั่งงานสร้างสรรค์มากกว่าเท่านั้นแหละ”

หนึ่งในหนังที่บรักไฮเมอร์ร่วมสร้างปรากฏการณ์ในยุคแรกๆ คือ Top Gun (1986) หนังแจ้งเกิดผู้กำกับชาวอังกฤษอย่าง ริดลีย์ สก็อตต์ และเป็นหมุดหมายแรกที่ทำให้เขาได้ร่วมงานกับบรักไฮเมอร์ในอีกหลายเรื่องต่อมา ทั้งนี้ Top Gunว่าด้วยเรื่องของ มาเวอริก (ทอม ครูซ) นาวิกโยธินหนุ่มหัวแถวที่ติดนิสัยไม่เชื่อฟังคำสั่งผู้บังคับบัญชา เข้าร่วมโปรเจกต์ TOP GUN ซึ่งเป็นโปรเจกต์ฝึกการต่อสู้ทางอากาศสำหรับนักบิน ซึ่งต่อมาเวอริกพิสูจน์ตัวเองได้อย่างน่าประทับใจ กับการจับจ้องของ ไอซ์แมน (วัล คิลเมอร์) เพื่อนนักบินหนุ่มหัวแถวของรุ่น กระทั่งวันหนึ่งความบ้าระห่ำไม่ฟังใครของมาเวอริกก็ส่งผลต่อเพื่อนรักโดยตรง ยังผลให้กลายเป็นบาดแผลที่เขารู้สึกราวกับไม่มีวันกลับมาเป็นเหมือนเดิมได้

ด้วยทุนสร้างหนัง 15 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ หนังประสบความสำเร็จถล่มทลายที่ 357 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ มีส่วนทำให้แว่นตาเรย์แบนด์ที่ตัวละครสวมขายดีเป็นเทน้ำเทท่า สร้างปรากฏการณ์ให้คนหนุ่มแห่มาสมัครเป็นนาวิกโยธิน 500% มิหนำซ้ำหนังก็แจ้งเกิดครูซให้กลายเป็นนักแสดงหนุ่มดาวดังของฮอลลีวูดแทบจะในทันที

เป็นบรักไฮเมอร์นี่เองที่โน้มน้าวครูซมาได้ “พวกนักบินพาครูซขึ้นเครื่อง แล้วให้เขาไปเจอแรง G (หน่วยความเร่งที่ใช้วัดแรงโน้มถ่วงที่กระทำต่อวัตถุ) พาบินควงบนน่านฟ้า บอกเลยว่า ครูซเละอยู่บนเครื่องบินนั่นแหละ พอลงมาได้นะ เขาพุ่งไปที่ตู้โทรศัพท์ บอกว่า ‘เออ ผมเอาด้วย ผมจะเล่นเรื่องนี้ ชอบมาก โคตรจะเจ๋งเลย’” เขาบอก

เช่นเดียวกันกับภาคต่อ Top Gun: Maverick(2022)ที่คราวนี้ครูซร่วมโปรดิวซ์ด้วย จากทุนสร้าง 170 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ หนังทำเงินระดับปรากฏการณ์ไปทั้งสิ้น 1,400 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ถือเป็นหนังที่ครูซนำแสดงแล้วทำเงินได้มากที่สุด และเป็นทำรายได้เป็นอันดับสองของปี รองลงมาจากAvatar: The Way of Water (2022) หนังสำรวจชีวิตและบาดแผลของมาเวอริกในอีก 30 ปีให้หลังจากที่เขาสำเร็จการอบรมในโปรเจกต์Top Gunและถูกเรียกให้มาอบรมนาวิกโยธินรุ่นใหม่ หนึ่งในนั้นมีลูกชายของเพื่อนรักที่เสียชีวิตจากความโลดโผนของเขาในอดีต มาเวอริกจึงอยู่ในภาวะหวนกลับมาเผชิญหน้าอดีตที่ตัวเองหลบตามาตลอดนับสิบปี

ตามประสาครูซ จุดแข็งของหนังคือการพาทีมนักแสดงไปร่วมบินจริง ขับเครื่องบินจริง (ไมล์ส เทลเลอร์ หนึ่งในนักแสดงนำของเรื่องเล่าว่า เพื่อนนักแสดงครึ่งหนึ่งอ้วกทุกวันที่มีถ่ายฉากขึ้นเครื่องบินเจ็ต) โดยครูซออกแบบโปรแกรมหัดขับเครื่องบินและฝึกสภาพร่างกายให้เหล่านักแสดงนำนาน 3 เดือน เพื่อให้ทุกคนพร้อมสำหรับการขึ้นขับ F-18

หนังประสบความสำเร็จระดับปรากฏการณ์ บรักไฮเมอร์บอกแค่ว่า “นี่แหละ เวลาคุณทำหนังที่ทำให้คนดูรู้สึกมีส่วนร่วมด้วยได้ มันก็แบบนี้แหละ พวกเขาออกมาจากโรงหนังด้วยความสุขใจมากกว่าตอนที่เข้าไปเยอะมากๆ ผมว่านี่คือสิ่งที่ผมพยายามทำมาตลอด แม้ไม่ประสบความสำเร็จทุกครั้ง แต่ก็พยายามทำเสมอ”

บรักไฮเมอร์ยังมีส่วนร่วมสร้าง Bad Boys (1995) หนังยาวเรื่องแรกของ ไมเคิล เบย์ ผู้กำกับหนุ่มที่โตในแวดวงการกำกับมิวสิกวิดีโอ หนังเล่าเรื่องชวนหัวของนายตำรวจไมอามี 2 นาย มาร์คัส (มาร์ตอน ลอว์เรนซ์) นักสืบผู้รักครอบครัวยิ่งกว่าอะไร กับไมค์ (วิลล์ สมิท) ตำรวจหนุ่มหล่อที่ใช้ชีวิตสุดหรู พวกเขาต้องตามจับคดีค้าเฮโรอีนครั้งใหญ่ที่ชวนเวียนหัวกว่าเดิม เพราะพวกเขาจับพลัดจับผลูต้องใช้ชีวิตแบบสลับตัวกัน

ว่าไปแล้ว พล็อตหนังที่ว่าด้วยคู่หูที่คาแรกเตอร์ต่างกันคนละขั้ว ต้องสลับตัวกันเพื่อบรรลุภารกิจบางอย่างก็ไม่ใช่เรื่องใหม่ แต่ในความไม่ใหม่นี้โจทย์สำคัญคือ จะทำอย่างไรให้มันสนุกต่างหาก! เบย์กับบรักไฮเมอร์และซิมป์สันเลือก วิลล์ สมิท นักแสดงหนุ่มหน้าละอ่อนที่แจ้งเกิดจาก The Fresh Prince of Bel-Air (1990-1996) ซีรีส์คอเมดีมารับบทนำในหนัง ท่ามกลางสายตากังขาของสตูดิโอโคลัมเบียพิกเจอร์สที่ไม่เชื่อว่าหนังที่สร้างขึ้นจากทุน 19 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ จะทำเงินได้ “เพราะพวกเขาคิดว่า หนังที่นำแสดงโดยคนดำ 2 คนไม่มีทางทำเงินได้นอกสหรัฐฯ แหงๆ” เบย์บอก

แน่นอนว่าสตูดิโอคิดผิดเพราะหนังทำรายได้ถล่มทลายที่ 141 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ “มันเป็นหนังเรื่องแรกที่มีนักแสดงเป็นชาวแอฟริกัน-อเมริกัน 2 คนนำแสดงแล้วไปทำเงินในตลาดต่างประเทศน่ะ” เบย์บอกอย่างภูมิใจ ยังไม่นับว่า หลังจากนั้นมันจะกลายเป็นหนึ่งในแฟรนไชส์ใหญ่ที่เขากับบรักไฮเมอร์ร่วมกันทำด้วย และเช่นเคยทั้งคู่ผูกปิ่นโตร่วมสร้างหนังอีกหลายเรื่องด้วยกันหลังจากนั้น ทั้ง Armageddon(1998) รวมถึงPearl Harbor(2001) ที่ทำเงินถล่มทลายตลอดมา

บรักไฮเมอร์ยังทำหนังแฟรนไชส์ใหญ่อย่าง Pirates of the Caribbeanที่ตอนนี้งอกออกมา 5 ภาคเข้าไปแล้ว ปฐมบทของหนังคือThe Curse of the Black Pearl (2003) ว่าด้วยการออกเดินทางของวิลล์ (ออร์แลนโด บลูม) ช่างตีเหล็กที่จับคู่กับ แจ็ก สแปร์โรว์ (จอห์นนี เด็ปป์) โจรสลัดขี้เมาเอาแน่เอานอนไม่ได้ เพื่อช่วยเหลือ อลิซาเบท (เคียรา ไนต์ลีย์) หญิงสูงศักดิ์ที่เขาตกหลุมรัก ซึ่งกลุ่มโจรสลัดอีกกลุ่มลักพาตัวไป โดยไม่มีใครทันรู้ตัวทั้งนั้นว่า การออกเรือครั้งนี้จะพาพวกเขาไปเจอกับคำสาปที่ผูกแน่นกับตัวตนของกัปตันแจ็ก

“ไอเดียที่ว่าโจรสลัดกลายเป็นผีดิบเมื่อต้องแสงจันทร์ มันแปลกใหม่และน่าสนใจจะตายไป และนี่แหละคือเหตุผลแรกๆ ที่ทำให้ผมอยากเข้ามามีส่วนร่วมในหนังเรื่องนี้” บรักไฮเมอร์บอก

หนังสร้างจากทุน 140 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ และทำเงินไปที่ 654 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ถือเป็นหนึ่งในหนังที่เป็นภาพจำของเด็ปป์และถือเป็นหนังแจ้งเกิดของไนต์ลีย์ในวัยเพียง 17 ปี และความสำเร็จนี้ยังส่งให้พวกเขาได้สร้างภาคต่อที่ทำกำไรมาอีกหลายปีด้วย ถือเป็นแฟรนไชส์หนังที่หากพูดถึงบรักไฮเมอร์ ก็ต้องมี Pirates of the Caribbeanปรากฏอยู่ในรายชื่อหนังที่เขาร่วมสร้างแน่นอน

บรักไฮเมอร์กลับมาอย่างยิ่งใหญ่อีกครั้งในปีนี้กับ F1: The Movie(2025) ที่ตอนนี้กำลังเดินหน้ากวาดรายได้ไปทั่วโลก หนังเล่าถึงซอนนี (แบรด พิตต์) นักแข่งนิรนามที่ตระเวนแข่งรถในสนามมากหน้าหลายตาเพื่อเข้าร่วมแข่งในทีมเล็กๆ รูเบน (ฆาเบียร์ บาร์เด็ม) เพื่อนรักนักแข่งรถของเขาเมื่อ 30 ปีก่อน และตอนนี้กลายเป็นเจ้าของทีมปรากฏตัวอีกครั้ง ขอให้ซอนนีไปช่วยเป็นหนึ่งในทีมของเขาซึ่งกำลังตกที่นั่งลำบาก เป้าหมายคือการพาทีมขึ้นตารางให้ได้ไม่เช่นนั้นรูเบนจะถูกบังคับให้ขายทีมทิ้ง โจทย์ใหญ่ที่ซอนนีต้องเจอไม่ใช่แค่การช่วยลากทีมกลับมาเท่านั้น แต่เขายังต้องเจอกับโจชัว (แดมสัน ไอดริส) นักขับหนุ่มที่กำลังรับมือกับชื่อเสียง รวมทั้งอดีตของซอนนีเองที่เป็นเหตุผลทำให้เขาต้องหยุดแข่งรถไปนานหลายปี

ในฐานะโปรดิวเซอร์ บรักไฮเมอร์กลับมาร่วมงานกับ เอห์เรน ครูเกอร์ คนเขียนบทกับ โจเซฟ โคซินสกี ผู้กำกับที่คุ้นมือกันแล้วจากTop Gun: Maverick และว่าไป เส้นเรื่องของF1: The Movie ก็อาจไม่ต่างจากTop Gun: Maverick มากนัก โดยเฉพาะในแง่การสำรวจบาดแผลในอดีตของตัวละครหลัก การไถ่คืนความรุ่งโรจน์และการต้องรับมือกับคนรุ่นใหม่ ทั้งยังเป็นหนังฟอร์มยักษ์ที่ใช้พลังนักแสดงแถวหน้าของฮอลลีวูดในการดึงคนดูเหมือนกัน

“ผมว่าเราต่างชอบเรื่องการได้รับโอกาสที่ 2 กันทั้งนั้น อยากไถ่คืนความผิดบาปบางอย่าง อยากมีทีมเวิร์กที่ดีอยู่รอบตัวพวกเขา ผมว่าเรื่องพวกนี้เป็นสิ่งที่คนเราโหยหานะ” บรักไฮเมอร์บอก “และในโลกบ้าๆ ที่เราใช้ชีวิตกันอยู่นี้ ผมว่าเราต่างอยากเจอคนที่เป็นคู่แข่ง ซึ่งกลายมาเป็นเพื่อนตายที่ต้องร่วมงานเพื่อมุ่งไปสู่เป้าหมายเดียวกันทั้งนั้นแหละ”

ตลอดระยะเวลาหลายทศวรรษ บรักไฮเมอร์เป็นหนึ่งในโปรดิวเซอร์ที่สร้างหนังฟอร์มยักษ์มาตลอด มีหลายเรื่องที่ประสบความสำเร็จ และอีกหลายเรื่องที่ก็ขาดทุนย่อยยับ สำหรับเขาแล้ว หนังบล็อกบัสเตอร์ก็มีความยากและความท้าทายในแบบของมันที่เขาก็ต้องเรียนรู้ในการหาหนทางอยู่เรื่อยไป “คนดูจะบอกคุณเองว่าหนังแบบไหนที่เวิร์ก แบบไหนที่ไม่เวิร์ก ซึ่งเอาเข้าจริงมันไม่ได้เข้าใจกันง่ายแบบนั้นหรอก” เขาว่า

“แต่คุณจะรู้ได้เองว่าพวกเขาชอบและไม่ชอบอะไร คุณจึงต้องเรียนรู้จากสิ่งนี้ เรียนรู้จากความล้มเหลวมากกว่าความสำเร็จ ถ้ามีอะไรสักอย่างที่เราคิดว่า เราน่าจะทำได้ดีขึ้น คุณก็แค่หวังว่าเมื่อคุณได้ทำหนังเรื่องต่อไป คุณจะทำให้มันดีขึ้นได้จริงๆ คุณแค่เรียนรู้จากอดีต เรียนรู้จากสิ่งที่เคยทำพัง และพยายามอย่าซ้ำรอยเดิม”

ดูข่าวต้นฉบับ
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...

ล่าสุดจาก The Momentum

ก้าวใหญ่ของ ENHYPEN K-Pop Gen 4 วงแรกที่จัดคอนเสิร์ตเดี่ยวบนราชมังฯ

6 ชั่วโมงที่ผ่านมา

เปิดกลยุทธ์ใหม่เซ็นทรัล รีเทล ’New Heights, Next Growth’ เร่งขยายตลาดไทย-เวียดนามเต็มสปีด!

7 ชั่วโมงที่ผ่านมา

วิดีโอแนะนำ

ข่าวและบทความไลฟ์สไตล์อื่น ๆ

นนท์ ธนนท์ ‘ทนไม่ไหว’ วอนแฟนเพลง ‘ไม่ซื้อ’ หลังบัตรคอนเสิร์ตถูกนำมาขายต่อในราคาแพง

THE STANDARD

สำรวจแง่มุมความคิดของ บอย-ป๊อด ผ่านสารคดีฟังสบาย BOYdPOD : THE CONVERSATION

THE STANDARD

‘Blueboo’ เด็กชายตัวฟ้าสีเศร้าในโลกสมมุติ เมื่อน้องแมวจากไป โลกทั้งใบจึงกลายเป็นงานศิลปะ

a day magazine

วอล์คกิ้งทัวร์ “ถนนทรงวาด” ย่านท่องเที่ยวสุดชิค ฮิปๆ โดนใจทุกเจน

ฐานเศรษฐกิจ

วิกฤตร้านอาหารไทย เมื่อยอดขายหน้าร้านดิ่งเหว ร้านเปิดใหม่ลดฮวบ เทค และ AI คือทางรอด

Thairath - ไทยรัฐออนไลน์

GALCHANIE ชวนมาสัมผัสความรักอันร้อนแรงผ่านซิงเกิลใหม่ Touch

THE STANDARD
วิดีโอ

ยินดีที่ได้ทัก : เบื้องหลังเยือน "ภาษีเจริญ"

Thai PBS

เปิดวิสัยทัศน์ จิตสุภา วัชรพล ผู้บริหารไทยรัฐกรุ๊ป ชี้ผู้นำต้องเข้าใจความเป็นมนุษย์ พาองค์กรเติบโต

Thairath - ไทยรัฐออนไลน์

ข่าวและบทความยอดนิยม

ซาเวียร์ โดลอง: ด้วยรักและอ่อนล้า Wonderkid ผู้หันหลังให้อุตสาหกรรมภาพยนตร์

The Momentum

กระจั๊ด สู้ ฟู๋ เมื่อศักดิ์ศรีความเป็นชาย ถูกผูกไว้ด้วยเครื่องเพศ

The Momentum

ภาพยนตร์และความตาย กับความตายในภาพยนตร์ของ โอลิวิเยร์ อัสซายาส

The Momentum
ดูเพิ่ม
Loading...