โปรดอัพเดตเบราว์เซอร์

เบราว์เซอร์ที่คุณใช้เป็นเวอร์ชันเก่าซึ่งไม่สามารถใช้บริการของเราได้ เราขอแนะนำให้อัพเดตเบราว์เซอร์เพื่อการใช้งานที่ดีที่สุด

ธุรกิจ-เศรษฐกิจ

“ฝรั่งเศส” จุดกระแสใหม่ ประกาศรับรองรัฐปาเลสไตน์ในเดือนกันยายน ท่ามกลางวิกฤตกาซา

การเงินธนาคาร

อัพเดต 15 ชั่วโมงที่ผ่านมา • เผยแพร่ 22 ชั่วโมงที่ผ่านมา

"ฝรั่งเศส" สร้างแรงกระเพื่อมทางการทูต ด้วยการประกาศว่าฝรั่งเศสจะรับรองรัฐปาเลสไตน์ในเดือนกันยายน กลายเป็นชาติแรกในกลุ่ม G7 และสมาชิกถาวรของยูเอ็นที่กล้าก้าวข้ามเส้น

วันที่ 24 กรกฎาคม 2568 เวลา 07.41 น. สำนักข่าว CNN รายงานว่าการประกาศผ่านแพลตฟอร์ม X ในช่วงดึกของเอ็มมานูเอล มาครง ประธานาธิบดีฝรั่งเศส ว่า ฝรั่งเศสจะรับรองรัฐปาเลสไตน์ในเดือนกันยายนนี้ กลายเป็นข่าวที่สร้างความประหลาดใจอย่างมาก เนื่องจากฝรั่งเศสจะเป็นชาติแรกในกลุ่มสมาชิกถาวรของคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติ และชาติกลุ่ม G7 ที่ประกาศเช่นนี้

แม้ว่าการรับรองของฝรั่งเศสจะเป็นสิ่งที่หลายฝ่ายคาดการณ์ไว้แล้วในช่วงหลายเดือนที่ผ่านมา โดยเฉพาะหลังจากสงครามสั้นระหว่างอิหร่านและอิสราเอลทำให้ฝรั่งเศสต้องเลื่อนการจัดประชุมสุดยอดร่วมกับซาอุดีอาระเบียและชาติพันธมิตรในยุโรปเกี่ยวกับประเด็นอิสราเอล-ปาเลสไตน์ แต่ก็ไม่มีใครคาดว่าประกาศจะเกิดขึ้นในลักษณะนี้

ประเด็นสำคัญ 2 ข้อจากประกาศที่ไม่คาดคิด

1. มาครงเห็นว่านี่คือ เวลาที่เหมาะสมที่จะลงมือ

ผู้นำจากฝรั่งเศส สหราชอาณาจักร และเยอรมนี มีกำหนดพูดคุยกันในวันศุกร์เพื่อผลักดันการดำเนินการอย่างเร่งด่วนต่อวิกฤตด้านมนุษยธรรมที่ตกต่ำลงเรื่อย ๆ ในฉนวนกาซา

ภาพของชาวกาซาที่ผอมโซจนเห็นกระดูก โดยเฉพาะเด็ก ๆ ได้ปลุกความสลดใจในโลกตะวันตก แม้ว่าจะยังไม่ก่อให้เกิดการกระทำที่เป็นรูปธรรมใด ๆ ก็ตาม การตัดสินใจของมาครงถือเป็นก้าวที่กล้าหาญ แม้จะตามหลังพันธมิตรยุโรปอย่างไอร์แลนด์ นอร์เวย์ และสเปน แต่ครั้งนี้ฝรั่งเศสเป็นผู้นำของกลุ่มชาติมหาอำนาจที่พร้อมจะเดินตาม

เจ้าหน้าที่ระดับสูงจากทำเนียบประธานาธิบดีฝรั่งเศส ให้สัมภาษณ์กับ CNN หลังการประกาศของมาครงว่า “ผมได้พูดคุยกับผู้นำคนอื่น ๆ แล้ว และผมมั่นใจว่าเราจะไม่ใช่ประเทศเดียวที่รับรองรัฐปาเลสไตน์ในเดือนกันยายน”

สายตาของโลกจึงอาจจะหันไปที่สหราชอาณาจักร และอาจรวมถึงเยอรมนีด้วย ส่วนสหรัฐอเมริกา ซึ่งเป็นพันธมิตรใกล้ชิดที่สุดของอิสราเอล ดูเหมือนจะไม่มีทางเป็นไปได้ ไม่ว่าจะในยุคทรัมป์หรือไม่ก็ตาม

2. สำหรับชาวปาเลสไตน์ที่ยังคงอยู่ในพื้นที่ การตัดสินใจของฝรั่งเศสอาจไม่ได้เปลี่ยนแปลงอะไรในทันที

ฮามาสออกมาระบุว่าการประกาศของฝรั่งเศสเป็นก้าวที่ดี แต่สำหรับผู้นำอิสราเอล การประกาศนี้ไม่ได้เป็นที่ต้อนรับเลย

จามิน เนทันยาฮู นายกรัฐมนตรีเบนอิสราเอล ซึ่งต่อต้านแนวคิดรัฐปาเลสไตน์มาอย่างยาวนาน กล่าวในคืนวันพฤหัสบดีว่า“การรับรองนี้คือการให้รางวัลแก่ผู้ก่อการร้าย” ขณะที่รัฐมนตรีคนอื่น ๆ ระบุว่าการเคลื่อนไหวของฝรั่งเศสครั้งนี้ยิ่งทำให้การผนวกเวสต์แบงก์อย่างเป็นทางการเป็นสิ่งที่มีเหตุผลชอบธรรม

และถึงแม้การรับรองระหว่างประเทศจะสามารถเปลี่ยนแปลงอะไรได้จริง ๆ ในกาซา เดดไลน์ในเดือนกันยายนก็จะมาช้าเกินไปสำหรับชาวปาเลสไตน์ที่กำลังอดอยากภายใต้การปิดล้อมที่อิสราเอลควบคุม

ฟิลิปป์ ลาซซารินี หัวหน้าองค์การบรรเทาทุกข์และการทำงานของสหประชาชาติ (UNRWA) ซึ่งดูแลผู้ลี้ภัยชาวปาเลสไตน์ ระบุในวันพฤหัสบดีว่าผู้คนในกาซาตอนนี้ดูเหมือนศพเดินได้ ขณะที่ความอดอยากกำลังลุกลามอย่างรุนแรง โดยประชากร 2.1 ล้านคนในกาซาทั้งหมดอยู่ในภาวะไม่มั่นคงทางอาหาร และกระทรวงสาธารณสุขของกาซารายงานว่า เด็กกว่า 900,000 คนกำลังขาดสารอาหาร โดยมีเด็กอย่างน้อย 70,000 คนแสดงอาการของภาวะทุพโภชนาการแล้ว

การทูตที่เสี่ยงสูง?

การประกาศของฝรั่งเศสโดยลำพังนี้ ยังสะท้อนถึงความรู้สึกสิ้นหวังในบางแง่ของมาครงด้วย เขาเป็นผู้นำที่มักให้ความสำคัญกับพันธมิตรระดับนานาชาติ มองว่าการรวมพลังกันหลายประเทศคือยุทธศาสตร์ที่แข็งแกร่งที่สุด

ย้อนกลับไปเมื่อเดือนที่แล้ว ฝรั่งเศสเตรียมจัดการประชุมร่วมกับซาอุดีอาระเบียในกรุงริยาด ระหว่างวันที่ 17–20 มิถุนายน เพื่อหารือเกี่ยวกับการรับรองรัฐปาเลสไตน์ร่วมกัน แต่เมื่อความขัดแย้งระหว่างอิสราเอลและอิหร่านปะทุขึ้นเมื่อวันที่ 13 มิถุนายน แผนนี้จึงต้องล้มเลิก

ผู้เชี่ยวชาญส่วนใหญ่คาดว่าฝรั่งเศสและซาอุฯ จะโน้มน้าวพันธมิตรให้ร่วมกันรับรองรัฐปาเลสไตน์ เป็นสัญญาณที่แข็งแกร่งต่ออิสราเอลและสหรัฐอเมริกา ว่าทางออกแบบสองรัฐ (two-state solution) และสันติภาพคือสิ่งที่นานาชาติเรียกร้อง

มาครงอาจยังมีโอกาสที่จะชนะทางการทูต หากชาติพันธมิตรหันมาร่วมรับรองรัฐปาเลสไตน์ในเดือนกันยายน แต่ความเคลื่อนไหวครั้งนี้ของเขาก็ต้องแลกมาด้วยการทุ่มทุนทางการทูตของฝรั่งเศส และความพยายามชักชวนพันธมิตรที่ลังเลใจ

ฝรั่งเศสอาจจุดประกายโดมิโนการรับรองรัฐปาเลสไตน์ในชาติตะวันตก

ในยุโรป หลายประเทศยังลังเลที่จะรับรองรัฐปาเลสไตน์อย่างเป็นทางการ แม้จะพูดสนับสนุนแนวทาง two-state solution มานานก็ตาม สาเหตุเพราะเคารพความสัมพันธ์กับอิสราเอล ไม่ไว้วางใจรัฐบาลฮามาสในกาซา ไม่พอใจกับประสิทธิภาพของทางการปาเลสไตน์ในเวสต์แบงก์ และชินชากับสถานะที่เป็นอยู่มาหลายสิบปี จนปฏิกิริยาต่อการตั้งถิ่นฐานของอิสราเอลหรือความรุนแรงที่ชาวปาเลสไตน์เผชิญนั้นมักเบาบาง

สำหรับภายในประเทศฝรั่งเศสเอง การรับรองรัฐปาเลสไตน์ไม่น่าจะก่อให้เกิดข้อขัดแย้งรุนแรง เพราะฝรั่งเศสมีประวัติที่เห็นอกเห็นใจชาวปาเลสไตน์มาอย่างยาวนาน อดีตผู้นำอย่างชาร์ล เดอโกล หลังสงครามปี 1967 ก็เคยประกาศจุดยืนสนับสนุนปาเลสไตน์อย่างชัดเจน ฝรั่งเศสเองก็มีความสัมพันธ์กับองค์กรปลดปล่อยปาเลสไตน์ (PLO) มาหลายทศวรรษ แม้จะเคยมีเหตุการณ์ก่อการร้ายในฝรั่งเศสที่อ้างชื่อ PLO ก็ตาม

ในปี 2014 รัฐสภาฝรั่งเศสเคยเรียกร้องให้รัฐบาลรับรองรัฐปาเลสไตน์ และรัฐบาลฝรั่งเศสก็สนับสนุนข้อเสนอนี้ในการลงมติที่คณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติ แม้สุดท้ายจะไม่ผ่าน

ฝรั่งเศสสนับสนุน two-state solution บนฐานพรมแดนปี 1967 มาโดยตลอด แม้ครั้งนี้ แหล่งข่าวจากทำเนียบประธานาธิบดีจะย้ำว่า “การรับรองของฝรั่งเศสจะไม่ระบุพรมแดนอย่างเป็นทางการ”

แม้มาครงเคยสนับสนุนสิทธิของอิสราเอลในการตอบโต้เหตุสังหารหมู่เมื่อ 7 ตุลาคม แต่เมื่อเวลาผ่านไป เขาเริ่มวิจารณ์การทำสงครามของเนทันยาฮูมากขึ้นเรื่อย ๆ

เขาเคยแสดงความกังวลว่าความขัดแย้งในตะวันออกกลางอาจลุกลามเข้ามาในฝรั่งเศส ซึ่งมีชุมชนชาวยิวและมุสลิมที่ใหญ่ที่สุดในยุโรป

แต่เมื่อจำนวนผู้เสียชีวิตในกาซาเพิ่มขึ้น ฝรั่งเศสก็เริ่มดำเนินมาตรการแข็งกร้าวมากขึ้น เช่น การระงับการส่งออกอาวุธให้กับอิสราเอล การทิ้งเสบียงช่วยเหลือจากอากาศเข้าไปในกาซา และการเรียกร้องหยุดยิงพร้อมเปิดทางให้สื่อและองค์กรมนุษยธรรมเข้าไปได้

การตัดสินใจรับรองรัฐปาเลสไตน์ในครั้งนี้อาจเป็น“การเดิมพันครั้งสุดท้าย” ของฝรั่งเศส เพื่อหวังให้โลกตะวันตกเดินตาม และเพื่อให้ความช่วยเหลือเข้าถึงประชาชนกาซาที่ยังทุกข์ทรมานอยู่

อ้างอิง : edition.cnn.com

อ่านข่าวที่เกี่ยวข้องกับ สถานการณ์เศรษฐกิจยุโรป ทั้งหมด ได้ที่นี่

ดูข่าวต้นฉบับ
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...

ล่าสุดจาก การเงินธนาคาร

“รัฐบาล” แถลงสถานการณ์ ชายแดนไทย-กัมพูชา ประณามกัมพูชาโจมตีพลเรือน

11 ชั่วโมงที่ผ่านมา

กองบัญชาการป้องกันชายแดนจันทบุรี-ตราด ประกาศกฎอัยการศึกบางพื้นที่ จ.จันทบุรี และ จ.ตราด

12 ชั่วโมงที่ผ่านมา

ธปท. ออกมาตรการช่วยลูกหนี้ชายแดนไทย-กัมพูชา

13 ชั่วโมงที่ผ่านมา

ไทย ยื่นข้อเสนอภาษีให้สหรัฐฯ แล้ว 99.99% รมว. คลัง มั่นใจได้ข้อสรุปก่อน 1 ส.ค. 68

15 ชั่วโมงที่ผ่านมา

วิดีโอแนะนำ

ข่าวและบทความธุรกิจ-เศรษฐกิจอื่น ๆ

“พาณิชย์” เร่งช่วยเหลือผู้ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์ชายแดนไทย–กัมพูชา

สยามรัฐ

เปิดดูรายละเอียด "ญี่ปุ่น" ยอมแลกอะไรบ้าง ทำไม "สหรัฐฯ" ยอมหั่น "ภาษีทรัมป์" เหลือ 15 %

TNN ช่อง16

KLeasing wins Best Automobile Financing award from The Asian Banker

AEC10NEWs

นักลงทุนคิดหนักค้ากัมพูชา เขมรยิงมั่ว-ธุรกิจหายวับ 1.1 หมื่นล้าน

ประชาชาติธุรกิจ

ราคาน้ำมันประจำวันที่ 26/07/68 อัปเดตจาก 4 สถานี

สยามรัฐ

ศุลกากรปราบปรามภาค 2 สกัดกั้นจับกุมตรวจยึดอะโวคาโด อย่างต่อเนื่อง

AEC10NEWs

กูรูเปิดโผ 7 กลุ่มหุ้นไทย รับผลกระทบความขัดแย้งไทย - กัมพูชา ปะทุ

ฐานเศรษฐกิจ

‘คิงเพาเวอร์’ รีเซตธุรกิจ ลั่น 2 ปีขึ้นผู้นำในเกมใหม่

ประชาชาติธุรกิจ

ข่าวและบทความยอดนิยม

Loading...