โปรดอัพเดตเบราว์เซอร์

เบราว์เซอร์ที่คุณใช้เป็นเวอร์ชันเก่าซึ่งไม่สามารถใช้บริการของเราได้ เราขอแนะนำให้อัพเดตเบราว์เซอร์เพื่อการใช้งานที่ดีที่สุด

สุขภาพ

มะเร็งปอด ภัยร้ายอันดับหนึ่ง พบเสียชีวิต 41 คนต่อวัน และผู้ป่วยรายใหม่เฉลี่ยวันละ 57 ราย

TODAY

อัพเดต 2 ชั่วโมงที่ผ่านมา • เผยแพร่ 9 ชั่วโมงที่ผ่านมา • workpointTODAY

เตรียมรับมือภัยเงียบ มะเร็งปอด กลายเป็นสาเหตุการเสียชีวิตอันดับหนึ่งในกลุ่มผู้ป่วยมะเร็งของประเทศไทยในปี 2568 ด้วยตัวเลขที่น่าตกใจถึง 41 คนต่อวัน และผู้ป่วยรายใหม่เฉลี่ยวันละ 57 ราย พบมากไทยมีผู้หญิงที่ไม่สูบบุหรี่เป็นมะเร็งปอดสูงเป็นอันดับ 2 ของโลกสถานการณ์ที่น่ากังวลนี้ได้จุดประกายให้หน่วยงานภาครัฐ สมาคมแพทย์ และภาคีด้านสุขภาพ ต้องผนึกกำลังครั้งใหญ่ เพื่อพลิกโฉมวงการสาธารณสุขไทย ด้วยการเร่งผลักดันนโยบายเพิ่มการเข้าถึงนวัตกรรมการรักษาและการคัดกรองโรคให้ครอบคลุมมากยิ่งขึ้น พร้อมทบทวนเกณฑ์ ‘ความคุ้มค่า’ เพื่อเปิดโอกาสให้ผู้ป่วยทุกคนเข้าถึงการรักษาที่ดีที่สุด

เรืออากาศเอกนายแพทย์สมชาย ธนะสิทธิชัย ผู้อำนวยการสถาบันมะเร็งแห่งชาติ เปิดเผยถึงสถานการณ์เร่งด่วนของโรคมะเร็งปอดในประเทศไทย บนเวทีเสวนาที่จัดขึ้นเนื่องในโอกาส วันงดสูบบุหรี่โลก โดยอ้างอิงข้อมูลระหว่างปี 2562 – 2564 ซึ่งชี้ให้เห็นว่า มะเร็งปอด ยังคงเป็นสาเหตุการเสียชีวิตอันดับ 1 ในผู้ป่วยมะเร็ง และคาดการณ์ว่าในปี 2568 นี้ จะมีผู้เสียชีวิตจากมะเร็งปอดสูงถึง 41 คนต่อวัน และมีผู้ป่วยรายใหม่เฉลี่ยวันละ 57 รายสถานการณ์ดังกล่าวได้ผลักดันให้ภาครัฐ สมาคมแพทย์ และภาคีด้านสุขภาพ ต้องผนึกกำลังกันอย่างจริงจัง เพื่อเร่งผลักดันกลไกนโยบายในการเพิ่มการเข้าถึงนวัตกรรมการรักษาและการคัดกรองให้ครอบคลุมมากยิ่งขึ้น

สถานการณ์มะเร็งปอด ความหนักหน่วงที่ต้องการการคัดกรองเชิงรุก

ศ.ดร.นพ. ศรายุทธ ลูเซียน กีเตอร์ สมาคมอุรเวชช์แห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ เผยข้อมูลสถานการณ์ปัจจุบันว่า มะเร็งปอดพบมากเป็นอันดับ 1 ในผู้ชาย และอันดับ 4 ในผู้หญิง โดยผู้ป่วยส่วนใหญ่มักตรวจพบโรคในระยะลุกลาม (ระยะที่ 4) ซึ่งทำให้โอกาสหายขาดลดลง และต้องเข้าสู่การรักษาแบบประคับประคอง ปัจจัยเสี่ยงสำคัญของมะเร็งปอดยังคงเป็นการสูบบุหรี่ แต่ในปัจจุบันยังพบความเกี่ยวข้องกับปัจจัยอื่น เช่น มลพิษทางอากาศ (PM2.5) และพันธุกรรม โดยมีแนวโน้มพบผู้ป่วยในวัยที่น้อยลง และประเทศไทยยังมีผู้หญิงที่ไม่สูบบุหรี่เป็นมะเร็งปอดสูงเป็นอันดับ 2 ของโลก

ในบางประเทศมีแนวทางคัดกรองกลุ่มผู้ที่มีสมาชิกในครอบครัวป่วยด้วยโรคมะเร็งปอด แม้จะไม่เกี่ยวข้องโดยตรงกับพันธุกรรม แต่เกิดจากการใช้ชีวิตในสิ่งแวดล้อมเดียวกัน ซึ่งสะท้อนว่าแนวทางการคัดกรองจำเป็นต้องปรับให้สอดคล้องกับบริบทและข้อมูลเชิงพื้นที่

ยกระดับการรักษา นวัตกรรมการรักษาและการจัดการทรัพยากร

ความก้าวหน้าในการรักษามะเร็งปอดในปัจจุบันมีความก้าวหน้าอย่างมาก ทั้งด้านการผ่าตัดผ่านกล้อง การฉายรังสีแบบแม่นยำ และการใช้ยามุ่งเป้า แต่การเข้าถึงนวัตกรรมเหล่านี้ยังคงมีข้อจำกัดในระบบหลักประกันสุขภาพของประเทศไทยหน่วยงานภาครัฐกำลังอยู่ระหว่างการทบทวนเกณฑ์ความคุ้มค่า (Cost-Effectiveness Threshold) ที่ใช้พิจารณายาและนวัตกรรมสุขภาพ เพื่อให้สอดคล้องกับสถานการณ์โรคที่มีความรุนแรงสูง เช่น มะเร็งปอดการพิจารณาปรับเกณฑ์นี้มีเป้าหมายเพื่อเพิ่มโอกาสให้ผู้ป่วยเข้าถึงนวัตกรรมที่มีประสิทธิภาพมากขึ้น โดยยังรักษาความสมดุลของงบประมาณระบบสุขภาพโดยรวมในวงเสวนายังมีการเสนอแนวทางบริหารจัดการ เช่น การจัดซื้อรวม การตั้งงบประมาณเฉพาะด้าน เพื่อลดต้นทุนและเพิ่มโอกาสการเข้าถึงยานวัตกรรม ซึ่งจะช่วยให้โรงพยาบาลสามารถดำเนินการรักษาได้โดยไม่เพิ่มภาระทางการเงิน

มุ่งสู่ระบบสุขภาพที่ครอบคลุมและยั่งยืน

การส่งเสริมให้เกิด ‘Stage Shift’ หรือการตรวจพบโรคในระยะแรกเริ่ม แทนระยะลุกลาม จะช่วยเพิ่มโอกาสในการรักษาหาย ลดต้นทุนในระยะยาว และทำให้ประชาชนมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น “สิ่งสำคัญที่สุดของการคัดกรองคือ ‘Stage Shift’ หรือการย้ายระยะของโรค” รศ.ดร.นพ. ศรายุทธ อธิบาย “หากการคัดกรองทำให้ผู้ป่วยส่วนใหญ่ถูกตรวจพบในระยะที่ 1 แทนที่จะเป็นระยะที่ 4 นั่นหมายความว่าเราสามารถเปลี่ยน ‘Mode of Death’ หรือวิธีการเสียชีวิตของผู้ป่วยจากมะเร็งปอดไปเป็นการเสียชีวิตตามวัยชราภาพได้ ถือเป็นประโยชน์อย่างยิ่งที่ควรเร่งดำเนินการ”

นพ. จักรกริช โง้วศิริ ผู้ทรงคุณวุฒิ สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ระบุว่า โรคมะเร็ง โดยเฉพาะมะเร็งปอด เป็นค่าใช้จ่ายสำคัญของระบบสุขภาพ ซึ่งต้องอาศัยการบริหารจัดการอย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อให้เกิด ผลลัพธ์ด้านสุขภาพที่ชัดเจน เช่น อัตราการรอดชีวิตที่สูงขึ้น หรือภาวะแทรกซ้อนที่ลดลง ทั้งนี้ ภาครัฐไม่ได้เน้นเฉพาะการรักษาเมื่อป่วย แต่ยังให้ความสำคัญกับการส่งเสริมสุขภาพ การป้องกันโรค และการคัดกรองระยะเริ่มต้น ซึ่งจะช่วยลดภาระค่าใช้จ่ายในภาพรวมได้ในระยะยาวการแก้ปัญหามะเร็งปอดอย่างยั่งยืนจึงต้องอาศัยความร่วมมือจากทุกภาคส่วน ทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคประชาชน ในการกำหนดแนวทางที่ยืดหยุ่นและยั่งยืน ทั้งในด้านการเข้าถึงนวัตกรรม เทคโนโลยี และการประเมินความคุ้มค่าทางเศรษฐศาสตร์สุขภาพอย่างต่อเนื่อง

ดูข่าวต้นฉบับ
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...

ล่าสุดจาก TODAY

หัวเว่ยจับมือการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคเปิดตัวโซลูชัน IDS พลิกโฉมระบบพลังงานไฟฟ้าอัจฉริยะยุคดิจิทัล

14 นาทีที่แล้ว

ถอดรหัส 50 ปี มิตรภาพไทย-จีน และภารกิจเชื่อมธุรกิจวัฒนธรรมจากรุ่นสู่รุ่น ของกลุ่มธุรกิจ TCP

44 นาทีที่แล้ว

ใครมองเศรษฐกิจไทยยังไงบ้าง? หลังผ่านมาแล้วครึ่งปี 2568

6 ชั่วโมงที่ผ่านมา

ไทยถูกเด็ดหัว ‘ตามเกม’ ฮุน เซน ประชาชนอยู่ตรงไหนของสมการนี้?

7 ชั่วโมงที่ผ่านมา

วิดีโอแนะนำ

ข่าวและบทความสุขภาพอื่น ๆ

ลดโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ เร่งฉีด HPV เพิ่มอีก 1 ล้านโดส ปี 68

ฐานเศรษฐกิจ

นักโภชนาการเผยเเล้ว กินผักใบเขียว ทุกวันช่วยให้สมองอ่อนเยาว์ลงถึง 11 ปี

News In Thailand

DPU จัดใหญ่! ประชุมระดับชาติ ดัน 'สิ่งแวดล้อม & ธุรกิจยั่งยืน'

กรุงเทพธุรกิจ

หนุนท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ-สมุนไพร ต่อยอด "เวลเนส คอมมูนิตี้"

ฐานเศรษฐกิจ

วิธีช่วยให้นอนหลับง่ายขึ้น หลังสะดุ้งตื่นกลางดึก ไม่ต้องพลิกตัวไปมาถึงเช้า

SistaCafe

‘ม่วงคำ’ The old man town เมืองผู้สูงวัย ใช้ชีวิตอย่างมีศักดิ์ศรี

กรุงเทพธุรกิจ

โรงพยาบาลวิภาวดีจัดกิจกรรม Age Well Live Well โรคใกล้ตัวในวัยเก๋า ป้องกันงูสวัดขึ้นตา

MATICHON ONLINE

ผัก 5 ชนิดที่ไม่ควรซื้อ แม้ราคาถูก ถ้ายังไม่อยากเป็นมะเร็ง

สยามนิวส์

ข่าวและบทความยอดนิยม

มะเร็งปอด มักไม่แสดงอาการใด ๆ แพทย์วิมุตเตือนหายใจได้ ไม่ได้แปลว่าปอดยังแข็งแรง

TODAY

PM 2.5 สาเหตุพบมะเร็งปอด ในคนไม่สูบบุหรี่เพิ่มขึ้น โดยเฉพาะผู้หญิงและชาวเอเชีย

TODAY

ฝุ่นพิษส่อวิกฤตสุขภาพในไทย! เสี่ยงไซนัสอักเสบ ภูมิแพ้ และมะเร็งปอด

TODAY
ดูเพิ่ม
Loading...