โปรดอัพเดตเบราว์เซอร์

เบราว์เซอร์ที่คุณใช้เป็นเวอร์ชันเก่าซึ่งไม่สามารถใช้บริการของเราได้ เราขอแนะนำให้อัพเดตเบราว์เซอร์เพื่อการใช้งานที่ดีที่สุด

ทั่วไป

9 ตระกูลจีนกรุงธนบุรี ทุกวันนี้สืบสายเป็นสกุลใดบ้าง? (ตอนที่ 2)

ศิลปวัฒนธรรม

อัพเดต 14 ชั่วโมงที่ผ่านมา • เผยแพร่ 14 ชั่วโมงที่ผ่านมา
จิตรกรรมวังเดิม พระเจ้าตากฟื้นฟูบ้านเมือง และมีภาพคนไล่หนูที่มากัดแทะกินข้าวเปลือก ภาพจิตรกรรมจัดแสดงภายในตำหนักเก๋งคู่ (เก๋งหลังใหญ่) พระราชวังธนบุรี (ภาพจากศิลปวัฒนธรรม ฉบับเมษายน 2567)

ตระกูลจีนกรุงธนบุรี ทุกวันนี้สืบสายเป็นสกุลใดบ้าง? ตอนที่ 2

ชาวจีนจำนวนไม่น้อยเดินทางข้ามน้ำข้ามทะเลมาลงหลักปักฐานในสยามในสมัยกรุงธนบุรี จำนวนหนึ่งมีทายาทสืบทอดเชื้อสายมาถึงปัจจุบัน แล้ว 9 ตระกูลจีนกรุงธนบุรี มีสายสกุลใดบ้าง? หนังสือ “ประวัติจีนกรุงสยาม A History of the Thai-Chinese” (สำนักพิมพ์มติชน) โดย เจฟฟรี ซุน และพิมพ์ประไพ พิศาลบุตร มีคำตอบ

อ่านเพิ่มเติม : 9 ตระกูลจีนกรุงธนบุรี ทุกวันนี้สืบสายเป็นสกุลใดบ้าง? (ตอนที่ 1)

สกุล “ณ สงขลา” และ “สุวรรณคีรี”

จีนเหยี่ยง แซ่เฮา ต้นตระกูล ณ สงขลา ออกเดินทางจากบ้านเส้หิ้นเหนือเมืองเอ้หมึง เขตจางโจว มณฑลฮกเกี้ยน เมื่อ พ.ศ. 2293 (รัชสมัยสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ) มาทำกินที่บริเวณเขาแดง เมืองสงขลา

ต่อมา เมื่อสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชนำทัพหลวงเสด็จไปตีนครศรีธรรมราช จีนเหยี่ยงหรือที่ชาวบ้านเรียกว่า “ตั้วแปะ” ซึ่งขณะนั้นอายุมากแล้ว และก่อร่างสร้างตัวจนมีฐานะมั่นคง ได้ถวายตัวพร้อมบัญชีทรัพย์สิ่งของและยาแดง 50 หีบ ขอพระราชทานทำรังนกบนเกาะสี่เกาะห้า

พระเจ้าตากทรงรับไว้แต่ยาแดง แล้วตั้งตั้วแปะเป็นหลวงอินทคีรีสมบัติ เป็นเจ้าภาษีรังนกตามที่กราบบังคมทูลขอ ให้หลังอีก 7 ปี ก็ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เป็นเจ้าเมืองสงขลา ตำแหน่ง หลวงสุวรรณคีรีสมบัติ (เหยี่ยง) มีลูกหลานสืบมาในสายสกุลณ สงขลา และ สุวรรณคีรี

สกุล “รัตนกุล”

จีนกุน แซ่อึ้ง ดำรงตำแหน่งพระราชประสิทธิ์ เจ้ากรมพระคลังวิเศษในสมัยกรุงธนบุรี ย้ายถิ่นฐานจากบ้านปรก ทางฝั่งเหนือของแม่น้ำแม่กลอง มาอยู่แถววัดเลียบฝั่งบางกอก ต่อมาทำความดีความชอบจนได้ดำรงตำแหน่งพระยาพระคลังในสมัยรัชกาลที่ 1 และได้เลื่อนเป็น เจ้าพระยารัตนาธิเบศร์ (กุน) ที่สมุหนายกในรัชกาลที่ 2 เจ้าพระยารัตนาธิเบศร์ (กุน) เป็นต้นตระกูล “รัตนกุล”

สกุล “สมบัติศิริ”

เต๊กงึ้ง แซ่ตั้ง เกิดที่ตำบลกัวตึ้ง เมืองแต้จิ๋ว เมื่อเป็นผู้ใหญ่วัยกลางคนได้เข้ามาค้าขายในกรุงเทพฯ แต่งงานกับ พูน แซ่จู ซึ่งเป็นลูกจีน มีบุตรด้วยกัน 6 คน มีหลานและเหลนที่ถวายตัวเข้ารับราชการฝ่ายใน ในรัชกาลที่ 2

เต๊กงึ้งตั้งใจทำมาค้าขายสร้างฐานะจนเป็น “เจ๊สัว” และได้เป็น พระยาศรีราชอากร ส่วนบุตรชายของเจ๊สัวเต๊กงึ้งที่มีชื่อจีนว่า เงี้ยบสุง หรือชื่อไทยว่า บุญศรี แซ่ตั้ง ได้รับพระราชทานบรรดาศักดิ์เป็น พระยาสมบัติวานิช

ล่วงเข้ารัชกาลที่ 6 ศรีเสนา สมบัติศิริ เมื่อครั้งเป็นหลวงศักดิ์เสนา (ฮะ) มหาดไทยมณฑลปราจีน กราบบังคมทูลขอพระราชทานนามสกุลว่า “วานิชากร” โดยใช้คำหลังของพระยาสมบัติวานิชและพระยาศรีราชอากร แต่รัชกาลที่ 6 ทรงเห็นว่าควรใช้คำหน้ามารวมกัน จึงพระราชทานนามสกุลว่า “สมบัติศิริ”

สกุล “สวัสดิบุตร”

มหามุขมาตยานุกูลวงศ์ ของ ก.ศ.ร. กุหลาบ กล่าวถึง เจ๊สัวหลิน แซ่โหงว จีนบ้านแหลม เมืองเพชรบุรี ว่า มีแซ่เดียวกับกรมสมเด็จพระเทพามาตย์ (นกเอี้ยง) พระบรมราชชนนีในพระเจ้าตาก และเจ๊สัวหลินเป็นนายสำเภาคนสำคัญที่บรรทุกสินค้าไปค้าขายที่เมืองจีน เจ๊สัวหลินเป็นปู่ของพระยาสวัสดิวารี (ฉิม) ในรัชกาลที่ 3 และเป็นต้นตระกูล “สวัสดิบุตร”

สกุล “สุนทรเวช”

สมัคร สุนทรเวช อดีตนายกรัฐมนตรี เคยให้สัมภาษณ์ว่า ต้นตระกูล “สุนทรเวช” เป็นคนจีนแซ่ลี้ อาศัยอยู่ที่เมืองจันทบูรในรัชกาลพระเจ้าตาก

อย่างไรก็ตาม เมื่อมีผู้สันทัดภาษาจีนไปศึกษาจารึกบนศิลาหน้าหลุมศพในค่ายตากสิน จังหวัดจันทบุรี ก็เห็นว่าบรรพบุรุษของอดีตนายกฯ เป็นสตรีแซ่ลี้ มีฐานะเป็นเอกภรรยาของสามีแซ่ตั้ง ดังนั้น หากอิงตามขนบธรรมเนียมเดิมของชาวจีน ต้นตระกูลสุนทรเวชควรเป็นตระกูลแซ่ตั้ง เพราะสืบต่อแซ่ทางฝ่ายชาย

หนังสือที่ระลึกในงานพระราชทานเพลิงศพของสมัคร ระบุว่า ต้นตระกูลของอดีตนายกฯ ผู้นี้เป็นชาวจีนฮกเกี้ยน เคยค้าขายอยู่ระหว่างฮกเกี้ยนกับเวียดนาม ต่อมาลงหลักปักฐานที่เมืองหมีทอ บริเวณสามเหลี่ยมปากแม่น้ำโขง ทางตอนใต้ของเวียดนาม แล้วย้ายไปอาศัยที่เมืองจันทบูร ก่อนจะเดินทางมาตั้งรกรากที่สำเพ็ง ในกรุงเทพฯ

9 ตระกูลจีนกรุงธนบุรีทั้งหมดนี้มีเชื้อสายสืบต่อมาอีกกว่า 200 ปี โลดแล่นในหลากหลายวงการ โดยเฉพาะแวดวงการเมืองและเศรษฐกิจ

อ่านเพิ่มเติม :

สำหรับผู้ชื่นชอบประวัติศาสตร์ ศิลปะ และวัฒนธรรม แง่มุมต่าง ๆ ทั้งอดีตและร่วมสมัย พลาดไม่ได้กับสิทธิพิเศษ เมื่อสมัครสมาชิกนิตยสารศิลปวัฒนธรรม 12 ฉบับ (1 ปี) ส่งความรู้ถึงบ้านแล้ววันนี้!! สมัครสมาชิกคลิกที่นี่

อ้างอิง :

พิมพ์ประไพ พิศาลบุตร, สมชาย จิว และนิรันดร นาคสุริยันต์ แปลและเรียบเรียง. ประวัติศาสตร์จีนกรุงสยาม เล่ม 1 สมัยกรุงศรีอยุธยาถึงต้นกรุงรัตนโกสินทร์. กรุงเทพฯ: มติชน, 2568

สั่งซื้อหนังสือชุดนี้ที่เว็บไซต์สำนักพิมพ์มติชน ได้ที่นี่

เผยแพร่ในระบบออนไลน์ครั้งแรกเมื่อ 20 พฤษภาคม 2568

อ่านข่าวต้นฉบับได้ที่ : 9 ตระกูลจีนกรุงธนบุรี ทุกวันนี้สืบสายเป็นสกุลใดบ้าง? (ตอนที่ 2)

ติดตามข่าวล่าสุดได้ทุกวัน ที่นี่
– Website : https://www.silpa-mag.com

ดูข่าวต้นฉบับ
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...

ล่าสุดจาก ศิลปวัฒนธรรม

“จักรพรรดิเฉียนหลง” เสวยพระกระยาหารเย็นอะไรบ้าง ก่อนสวรรคต 2 วัน

6 ชั่วโมงที่ผ่านมา

จอมพล ป. คิดดึงปรีดีกลับไทย หวังช่วยต้านกลุ่มอนุรักษนิยม ช่วงทศวรรษ 2500

8 ชั่วโมงที่ผ่านมา

ต้นไม้ในประวัติศาสตร์ “ชาติ-ท้องถิ่น” ที่ยังยืนต้น อยู่ที่จังหวัดไหนบ้าง

8 ชั่วโมงที่ผ่านมา

พระราชวังที่รัชกาลที่ 4 ทรงสร้างใหม่ในรัชสมัยของพระองค์ มีที่ใดบ้าง?

10 ชั่วโมงที่ผ่านมา

วิดีโอแนะนำ

ข่าวและบทความทั่วไปอื่น ๆ

เชียงใหม่ พบผู้เสียชีวิตอีก 2 รายจาก 'โรคไข้หูดับ' หลังกินลาบหมูดิบ

Khaosod

"แม้ว" ชี้เจรจา "ทรัมป์" ไทยอาจต้องยอมเสียเปรียบระดับหนึ่ง โบ้ยไม่ได้ไปคุยเอง แต่ยังมีเวลาหาทางแก้ไข

Manager Online

"แพรรี่"ฟาดแรง ถึง 8 อลัชชี ปมฉาว สีกา ก. ลงนรกแล้วควรเอามันไปด้วย

TNews

รีบทั้งคู่ 2สาวเทคนิค ซิ่งจยย.ออกตัวก่อนไฟเขียว ถูกรถเก๋งเร่งหนีไฟแดงชนดับ1 สาหัส 1

Khaosod

เกาหลีใต้ส่งกลับชาวเกาหลีเหนือ 6 คน ผ่านพรมแดนทางทะเล

JS100

"ทักษิณ" เชื่อการเมืองไม่ถึงทางตัน แม้นายกฯ ถูกพักหน้าที่รัฐบาลก็ไม่ตกอับเพราะพ่อนายกฯ ยังอยู่ เหน็บพวกขาประจำตามราวีตลอด 20 ปี

Manager Online

วัดดวงแข จัดขบวนแห่เทียนพรรษา 12 ต้น 12 วัด 12 นักษัตร เพื่ออนุรักษ์ วัฒนธรรมและประเพณีของไทย

Manager Online

พูดแล้วขึ้น"ทักษิณ"แฉแผนคลิปเสียง ฮุนเซน ลั่น เจ็บใจ ทำได้ยังไง

TNews

ข่าวและบทความยอดนิยม

9 ตระกูลจีนกรุงธนบุรี ทุกวันนี้สืบสายเป็นสกุลใดบ้าง? (ตอนที่ 2)

ศิลปวัฒนธรรม

9 ตระกูลจีนกรุงธนบุรี ทุกวันนี้สืบสายเป็นสกุลใดบ้าง? (ตอนที่ 1)

ศิลปวัฒนธรรม

ก่อนเรียกประเทศ “สหรัฐอเมริกา” คนไทยเรียกว่าอะไรบ้าง? แล้วชื่อนี้ใช้เมื่อใด?

ศิลปวัฒนธรรม
ดูเพิ่ม
Loading...