โปรดอัพเดตเบราว์เซอร์

เบราว์เซอร์ที่คุณใช้เป็นเวอร์ชันเก่าซึ่งไม่สามารถใช้บริการของเราได้ เราขอแนะนำให้อัพเดตเบราว์เซอร์เพื่อการใช้งานที่ดีที่สุด

ทั่วไป

ทำไมคนเจน Z ชอบทำ หน้านิ่ง ใส่ตอนที่คุยกับคนอื่น

the Opener

เผยแพร่ 2 วันที่แล้ว • The Opener

การแสดงสีหน้า“เฉยเมย” ขณะที่มีปฏิสัมพันธ์กับคนอื่น เกิดขึ้นได้กับคนทุกช่วงวัยในบางครั้งคราว แต่สำหรับ คนเจน Z แล้ว อาการ“หน้านิ่ง” ในตอนที่กำลังมีบทสนทนากับผู้อื่นกลายเป็นพฤติกรรมปรกติ จนเกิดเป็นประเด็นถกเถียงถึง“สีหน้าไร้อารมณ์” ของคนเจน Z บนโซเชียลมีเดียยอดนิยมอย่างX และ TikTok ว่าเกิดจากอะไรกันแน่

ทำไมคนเจน Z จึงแสดงสีหน้าแบบนั้นจนเป็นปรกติ คนรุ่นใหม่เหล่านี้ต้องการที่จะบอกหรือต้องการสื่ออะไร

“gen Z stare” หรือ ใบหน้าที่นิ่งเฉย ไม่สื่อถึงอารมณ์ใดๆ แม้ในตอนที่พบปะกับคนอื่น หรือกำลังคุยสัพเพเหระอยู่กับเพื่อนๆ สีหน้าที่ว่างเปล่านี้เกิดขึ้นทั่วไปกับคนเจน Z โดยเฉพาะคนที่ทำงานซึ่งต้องให้บริการหรือมีปฏิสัมพันธ์กับลูกค้า

หลายคนอธิบายว่า สีหน้านิ่งเฉย เป็นการหยุดนิ่งชั่วขณะเพื่อใช้เวลาทำความเข้าใจกับคำถามที่คนเจน Z ได้รับมา ขณะที่อีกหลายคนโทษว่า เป็นเพราะคนรุ่นนี้ใช้เวลาอยู่กับหน้าจอมากเกินไป จึงทำให้ทักษะทางสังคมต่ำ บางคำอธิบายบอกว่า เป็นเพราะคนรุ่นนี้เหน็ดเหนื่อยเพราะการทำงานตามคำสั่งและได้ค่าตอบแทนต่ำ

คนเจน Z คือ คนที่เกิดระหว่างปี 1997 ถึง 2012 และเป็นคนรุ่นแรกที่ไม่เคยอยู่ในโลกที่ไม่มีอินเทอร์เน็ต คนเจน Z จำนวนมากมีชีวิตช่วงวัยรุ่นในระหว่างการล็อกดาวน์ช่วงที่โควิดระบาดอยู่หลายปี จำนวนมากเรียนหนังสือทางออนไลน์ และจบชั้นมัธยมปลายในช่วงที่มีการล็อกดาวน์

มาร์ค แมคครินเดิล นักวิจัยด้านสังคมศาสตร์ บอกว่า คนเจน Z มีสัดส่วนคิดเป็นร้อยละ 30 ของแรงงาน และราวครึ่งหนึ่งไม่ได้ทำงานประจำ

“คนรุ่นนี้ชอบการสื่อสารผ่านเทคโนโลยีเพราะสะดวกรวดเร็ว แต่เวลาทำงานที่ได้รับค่าจ้าง พวกเขาก็ยังต้องพบปะผู้คนจริงๆ และสื่อสารแบบต่อหน้าอยู่ดี โดยเฉพาะเมื่อต้องเจอกับคนรุ่นเก่า ทำให้ช่องว่างระหว่างวัยเกิดขึ้น” มาร์ค กล่าว

ดร.เชน โรเจอร์ส อาจารย์สอนด้านจิตวิทยามหาวิทยาลัยอีดิธโคแวน ในออสเตรเลีย กล่าวว่า ยังไม่มีหลักฐานที่ชัดแจ้งในทางวิทยาศาสตร์ที่ระบุว่า การล็อกดาวน์ช่วงโควิดเป็นสาเหตุทำให้ทักษะทางสังคมของคนรุ่นนี้ย่ำแย่ แต่ก็เป็นไปได้ว่า การมีชีวิตในสถานการณ์ที่แปลกประหลาดเป็นเวลาหลายปีระหว่างที่ล็อกดาวน์ อาจมีผลอย่างมากกับคนเจน Z แต่ยังมีปัจจัยเรื่องของการที่คนรุ่นนี้เติบโตมาพร้อมกับพื้นฐานการสื่อสารผ่านออนไลน์และโซเชียลมีเดียด้วย

เกรซ ซึ่งเป็นคนเจน Z เกิดเมื่อปี 1999 บอกว่า เธอไม่คิดว่าการไม่แสดงออกถึงอารมณ์ทางใบหน้า มีวัตถุประสงค์ที่จะสื่อถึงอะไรเป็นการเฉพาะ

“มันก็เหมือนแค่ว่า รู้สึกว่าต่อไม่ติด อาจเป็นเพราะสารพัดสิ่งถาโถมเข้ามามากเกินไป หรือไม่ก็แค่รู้สึกรำคาญ หรือรู้สึกกดดัน มันเป็นแบบนั้นมากกว่า” เธอกล่าว

เกรซบอกว่า เธอไม่คิดว่าการแสดงใบหน้าเฉยเมยในตอนที่พบปะคนอื่นๆ หรือระหว่างที่พูดคุยสัพเพเหระกัน เป็นการกระทำที่หยาบคายอะไร

เกรซ เป็นหนึ่งในคนรุ่นที่โตมากับอินเทอร์เน็ต และพบปะผู้คนจำนวนมากทางออนไลน์ เธอบอกว่า การสนทนาทางอินเทอร์เน็ตนั้นสามารถข้ามช่วงคุยสัพเพเหระไปได้เลย และตรงเข้าประเด็นที่จะคุยกัน เพราะตอนนั้นบางคนอาจกำลังดูรายการทีวีรายการโปรดอยู่ หรืออาจกำลังแชร์หรือโพสต์บางอย่างอยู่

“พวกเราไม่ใช่คนรุ่นที่จะเม้ามอยจริงๆ เพราะไม่ได้โตมาแบบนั้น มันจึงยากกว่าที่จะรู้วิธีรับมือกับการคุยสัพเพเหระ แบบซึ่งหน้ากับคนอื่น” เกรซ กล่าว

ในอุตสาหกรรมบริการ อย่างเช่นร้านอาหาร พนักงานของร้านมักถูกคาดหวังให้มีท่าทีที่สุภาพยิ้มแย้มอยู่ตลอดเวลา โดยเฉพาะจากคนรุ่นก่อนๆ ซึ่งอาจทำให้เกิดความไม่พอใจกับการที่พนักงานรุ่นใหม่ที่ไม่แสดงออกในลักษณะแบบนั้น

มาร์ค กล่าวว่า คนเจน Z ให้ความสำคัญกับความจริงใจ หมายความว่า พวกเขาไม่ได้“ยอมเล่นไปตามเกม” ในงานบริการเสมอไป โดยเฉพาะในตำแหน่งที่พวกเขารู้ตัวว่าไม่ได้ตั้งใจจะทำต่อเนื่องในระยะยาว

เขาบอกว่า คนเจน Z ไม่ได้ภักดีต่อนายจ้างมากนัก และตระหนักในสิทธิของตัวเอง และรู้ว่าต้องทำอะไรบ้าง คนเจน Z บอกว่า ใบหน้านิ่งเฉย คือ ‘ความจริงใจ' แต่มักจะถูกมองว่า 'เย็นชา' หรือไม่ค่อยแคร์ลูกค้า

“ไม่ใช่ว่าพวกเขาไม่แคร์นะ แต่พวกเขาแค่ต้องการจะเป็นตัวของตัวเอง และไม่อยากแกล้งทำเสียงอ่อนเสียงหวาน หรือแสดงความอบอุ่นแบบปลอมๆ” มาร์คกล่าว

ดร.เชนกล่าวว่า สีหน้านิ่งเฉย เป็นพฤติกรรมตามธรรมชาติของมนุษย์ และใช้สื่อสารได้หลากหลายความหมาย อาจสื่อถึงความเบื่อหน่าย หรือความเฉยเมย หรือสื่อถึงการดูแคลนได้ด้วยเช่นกัน

เขาอธิบายว่า เหตุผลส่วนหนึ่งที่ทำให้สายตาแบบคนเจน Z สร้างความอึดอัดให้กับคนรุ่นเก่า ก็เพราะพวกเขาตีความผิด โดยเฉพาะเมื่อคนรุ่นเก่า เข้าใจว่าสายตานั้นเป็นการแสดงอาการดูถูก

นอกจากนี้ ดร.เชนยังบอกว่า สายตาแบบนั้นอาจไม่ได้มีเจตนาอะไรเลยก็ได้ แค่เป็นการหยุดเพื่อคิดก่อนตอบ ซึ่งต่างจากคนรุ่นก่อนที่มักจะรีบตอบทันที

ที่มา
What is the gen Z stare and what are young people trying to tell us? Experts explain what is happening

ดูข่าวต้นฉบับ
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...

ล่าสุดจาก the Opener

‘โรคหลอดเลือดสมองอุดตัน’ รู้ทันสัญญาณเตือน ป้องกันก่อนเกิดอัมพาต

19 นาทีที่แล้ว

บ้านในฝันของคู่รักอเมริกัน สุดท้ายต้องขายทิ้ง เพราะสู้ ค่าใช้จ่ายแฝง ไม่ไหว

1 วันที่แล้ว

วิดีโอแนะนำ

ข่าวและบทความทั่วไปอื่น ๆ

กฎห้ามวัดถือเงินเกินแสน เริ่มใช้ ต.ค.นี้ วัดป่า วัดเมืองเห็นต่าง

News In Thailand

“หวยเกษียณ” ใกล้คลอดแล้ว

AEC10NEWs

เชิดชูวีรกรรม! ปธ.วุฒิสภาให้กำลังใจ 3 ทหารเจ็บจากระเบิดชายแดนไทย-เขมร

The Better

บทสัมภาษณ์ฉบับเต็มกับ Zico กับจิตวิญญานที่หายไปของบราซิล และ กับสิ่งที่เขาต้องการส่งต่อให้กับนักเตะรุ่นต่อไป

THE STANDARD
วิดีโอ

สนอง ถึงภูมิธรรม กลั่นแกล้ง เอาคืน เขากระโดง! เตือน ยังไม่เลิกรับใช้นาย ชะตากรรมไม่ต่างกับอดีตรัฐมนตรี

BRIGHTTV.CO.TH

หนุ่มอินเดียหัวหมอ ออฟสาวบาร์กลับห้อง ไม่ถูกใจหน้าอกเล็ก แจ้งตร.จับ

THE PATTAYA NEWS

ไรเดอร์ เข้าใจผิด คิดว่าทำร้ายผู้หญิง ยกพวกรุมยำ นทท.ผวาหนี

THE PATTAYA NEWS

เย้ย ทักษิณ เจ็บ! พูดเรื่องลอย ๆ ซ้ำ ๆ ซาก ๆ พูดทุกเวที แต่ทำไม่ได้ เพราะแค่ได้ฟังใครมาพูดต่อ!!

TOJO NEWS

ข่าวและบทความยอดนิยม

Loading...