โปรดอัพเดตเบราว์เซอร์

เบราว์เซอร์ที่คุณใช้เป็นเวอร์ชันเก่าซึ่งไม่สามารถใช้บริการของเราได้ เราขอแนะนำให้อัพเดตเบราว์เซอร์เพื่อการใช้งานที่ดีที่สุด

ไอที ธุรกิจ

finbiz by ttb แนะใช้สกุลเงินท้องถิ่นสร้างความแข็งแกร่ง ลดความผันผวนในการทำธุรกิจการค้าระหว่างประเทศ

สยามรัฐ

อัพเดต 4 ชั่วโมงที่ผ่านมา • เผยแพร่ 4 ชั่วโมงที่ผ่านมา

finbiz by ttb แนะใช้สกุลเงินท้องถิ่นสร้างความแข็งแกร่ง ลดความผันผวนในการทำธุรกิจการค้าระหว่างประเทศ
ในช่วงที่เศรษฐกิจโลกมีความผันผวนเช่นนี้ ผู้ประกอบการต้องเริ่มมองหาวิธีบริหารความเสี่ยงที่จะทำให้ธุรกิจมีความเสถียรมากที่สุด เพื่อให้สามารถบริหารธุรกิจต่อไปข้างหน้าได้อย่างมั่นคง finbiz by ttb จึงแนะให้หันมามองสกุลเงินท้องถิ่นที่จะมีส่วนช่วยลดความผันผวนในการทำธุรกิจการค้าระหว่างประเทศ

ตลอดหลายทศวรรษที่ผ่านมา ดอลลาร์สหรัฐ (USD) ได้ทำหน้าที่เป็นเสมือน “ภาษากลาง” ของระบบการค้าโลก ซึ่งช่วยเสริมสร้างความมั่นคงและความเชื่อมั่นในระบบการเงินระหว่างประเทศ แต่ในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา กระแส De-Dollarization หรือการลดการพึ่งพาดอลลาร์ได้เริ่มชัดเจนขึ้น ซึ่งเป็นผลมาจากปัจจัยหลายประการ ทั้งจากแรงผลักภายในและปัจจัยจากภายนอก เช่น ความผันผวนของเศรษฐกิจสหรัฐฯ และการปรับตัวของประเทศต่าง ๆ ที่ต้องการสร้างความหลากหลายในระบบการเงินของตนเอง การเปลี่ยนแปลงนี้เปิดโอกาสให้สกุลเงินอื่น ๆ เช่น ยูโร (EUR) และปอนด์สเตอริง (GBP) ได้มีบทบาทมากขึ้นในการทำธุรกรรมระหว่างประเทศ ช่วยเสริมสร้างความหลากหลายและความยืดหยุ่นในระบบการเงินโลก

นอกจากนี้ การลดการพึ่งพาดอลลาร์สหรัฐยังช่วยให้ประเทศต่างๆสามารถจัดการกับความเสี่ยงทางการเงินได้ดีขึ้น และสร้างความมั่นคงให้เศรษฐกิจภายในประเทศ ในขณะเดียวกันหลายประเทศในทวีปเอเชีย ก็มีการสนับสนุนให้ใช้สกุลเงินท้องถิ่น ประกอบกับการที่จีนเดินเกมรุกด้วยการผลักดันให้หยวนจีน (CNY) ขึ้นมาเป็นอีกหนึ่งสกุลเงินหลักในธุรกิจระหว่างประเทศ

การเปลี่ยนแปลงนี้เป็นสัญญาณที่ดีที่แสดงให้เห็นถึงการพัฒนาของระบบการเงินโลกที่มีความหลากหลายและยืดหยุ่นมากขึ้น ซึ่งจะช่วยเสริมสร้างความมั่นคงและความยั่งยืนในระยะยาว

จากข้อมูล ดอลลาร์สหรัฐยังคงครองตำแหน่งสกุลเงินหลักในการทำธุรกรรมระหว่างประเทศ โดยมีสัดส่วนเพิ่มขึ้นจาก 42.0% ในเดือน มิ.ย. ปี 2023 เป็น 47.08% ในเดือนมิ.ย.ปี 2024 ขณะที่หยวนจีนมีสัดส่วนเพิ่มขึ้นจาก 2.77% เป็น 4.61% ในช่วงเวลาเดียวกัน ซึ่งเป็นการที่หยวนจีนแซงขึ้นมาเป็นอันดับ 4 แทนที่เยนญี่ปุ่น เมื่อดูที่ตัวเลขอาจจะดูไม่มาก แต่ความเป็นจริงคือการเติบโตเกือบเท่าตัวของหยวนจีนในการใช้เป็นสกุลเงินในการทำธุรกรรมระหว่างประเทศ และเมื่อมาพิจารณาความผันผวนในช่วงปี 2023– 2025 ดอลลาร์สหรัฐ ก็มีความผันผวนถึง 9% ในขณะที่สกุลเงินท้องถิ่นในเอเชียไม่ว่าจะหยวนจีน บาทไทย หรือเยนญี่ปุ่น มีความผันผวนเพียง 3% เท่านั้น
ปัจจัยที่ส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลง
1.ความพยายามของจีนในการส่งเสริมการใช้หยวน
จีนได้ดำเนินมาตรการต่าง ๆ เพื่อส่งเสริมการใช้หยวนจีนในการทำธุรกรรมระหว่างประเทศ เช่น การขยายระบบการชำระเงินข้ามพรมแดน (CIPS) และการจัดตั้งธนาคารเคลียร์ริ่งหยวนจีนในหลายประเทศ อย่างไรก็ตาม ยังมีข้อกังขาในด้านการควบคุมเงินทุนและความไม่โปร่งใสในตลาดการเงิน ซึ่งเป็นอุปสรรคต่อการยอมรับหยวนจีนในระดับสากล

2.การลดการพึ่งพาดอลลาร์สหรัฐ
บางประเทศเริ่มลดการพึ่งพาดอลลาร์สหรัฐในการทำธุรกรรมระหว่างประเทศ โดยหันมาใช้สกุลเงินท้องถิ่นหรือสกุลเงินอื่น ๆ เช่น หยวนจีน เพื่อหลีกเลี่ยงความเสี่ยงจากความผันผวนของดอลลาร์และมาตรการคว่ำบาตรทางเศรษฐกิจ

แม้ดอลลาร์สหรัฐจะยังคงเป็นสกุลเงินหลักในการทำธุรกรรมระหว่างประเทศ แต่แนวโน้มการใช้สกุลเงินท้องถิ่น โดยเฉพาะหยวนจีนกำลังเพิ่มขึ้นในบางภูมิภาค การพิจารณาใช้สกุลเงินท้องถิ่นในการค้าระหว่างประเทศอาจเป็นทางเลือกที่ดีในการลดความเสี่ยงและต้นทุนทางการเงิน
สำหรับผู้ประกอบการและนักลงทุนในเอเชีย การเข้าใจและติดตามแนวโน้มนี้จะช่วยให้สามารถวางแผนและปรับกลยุทธ์ทางการเงินได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น

รับมือความผันผวนของเงินตราต่างประเทศ ด้วยบริการ ttb Local Currency Solutions
จากข้อได้เปรียบในการใช้สกุลเงินท้องถิ่น ทีทีบีจึงมีโซลูชันเพื่อให้ผู้ประกอบการพร้อมรับมือกับความผันผวนของอัตราแลกเปลี่ยนที่มีการคาดเดาได้ยาก ครอบคลุมทั้งบริการ ttb Local Currency Solutions และบริการการค้าระหว่างประเทศ (Trade Finance) ประกอบกับธนาคารแห่งประเทศไทยได้สนับสนุนการใช้เงินสกุลท้องถิ่นในการค้าขายระหว่างประเทศ ซึ่งจะช่วยผลักดันให้เกิดระบบนิเวศใหม่ของอัตราแลกเปลี่ยน (New FX Ecosystem) เพื่อให้ผู้นำเข้า-ส่งออกสามารถรับมือกับความผันผวนเงินตราต่างประเทศได้อย่างมีประสิทธิภาพ

ทีทีบีมุ่งมั่นในการพัฒนาโซลูชันบริหารความเสี่ยงที่สามารถตอบโจทย์ผู้นำเข้า-ส่งออก ด้วยบริการ ttb Local Currency Solutions เพื่อช่วยผู้ประกอบการบริหารจัดการธุรกิจด้วยสกุลเงินท้องถิ่นซึ่งครอบคลุมเงินสกุลท้องถิ่นของประเทศคู่ค้าสำคัญของไทยกว่า 90% อาทิ สกุลหยวนจีน รูปีอินเดีย ริงกิตมาเลเซีย ดองเวียดนาม วอนเกาหลี เป็นต้น โดยมีบริการต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็น
•“Yuan Pro Rata Forward” เพื่อลดความผันผวน และเพิ่มประสิทธิภาพการป้องกันความเสี่ยงจากบริการรับจองอัตราแลกเปลี่ยนด้วยสกุลหยวนจีน โดยทีทีบี เป็นธนาคารแรกที่ให้บริการ

•บัญชีสำหรับบริหารหลายสกุลเงิน (ttb multi-currency account) สะดวก คล่องตัว ด้วยการบริหารจัดการเงินสกุลหลักและสกุลเงินท้องถิ่นของประเทศคู่ค้าสำคัญของไทย เพียงใช้บัญชีเดียวสามารถใช้ซื้อ ขาย รับ จ่ายได้ทั้งในประเทศและต่างประเทศ สะดวกมากยิ่งขึ้นเมื่อใช้ควบคู่ไปกับธนาคารดิจิทัลเพื่อโลกธุรกิจอย่าง ทีทีบี บิสสิเนสวัน (ttb business one)

•สามารถเบิกใช้วงเงินกู้ Trade Finance ได้ทั้งสกุลเงินหลักและสกุลเงินท้องถิ่นได้ถึง 13 สกุลเงิน รวมถึงหยวนจีน ซึ่งจะช่วยลดความเสี่ยงด้านอัตราแลกเปลี่ยน ลดค่าใช้จ่ายดอกเบี้ย และค่าใช้จ่ายในการแลกเปลี่ยนสกุลเงินกับคู่ค้า

ttb Local Currency Solutions จึงเป็นโซลูชันที่ตรงใจ เข้าถึงได้ ให้มากกว่า ที่จะสามารถช่วยให้ผู้ประกอบการบริหารต้นทุนธุรกิจและลดความเสี่ยงจากความผันผวนของค่าเงินได้อย่างมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น ลดค่าใช้จ่ายในการดำเนินธุรกิจลง รวมถึงเพิ่มโอกาสขยายตลาดไปยังเป้าหมายใหม่และเจรจาการค้าได้ง่ายขึ้น โดยธนาคารยังคงเดินหน้าพัฒนาบริการและโซลูชันที่มุ่งตอบโจทย์ผู้นำเข้า-ส่งออกอย่างต่อเนื่อง เพื่อช่วยลดต้นทุนและความเสี่ยงในการทำการค้าระหว่างประเทศ พร้อมสนับสนุนให้ลูกค้าธุรกิจสามารถขับเคลื่อนธุรกิจได้ในทุกสถานการณ์ ก้าวผ่านความท้าทายต่าง ๆ จนประสบความสำเร็จและเติบโตได้อย่างยั่งยืน

สำหรับผู้ประกอบการที่ดำเนินธุรกิจระหว่างประเทศและบริการด้านการค้าระหว่างประเทศ สามารถสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ เจ้าหน้าที่บริหารความสัมพันธ์ลูกค้าธุรกิจของท่าน (หากท่านเป็นลูกค้าธุรกิจของทีทีบี) หรือติดต่อศูนย์บริการลูกค้าธุรกิจ ทีเอ็มบีธนชาต โทร. 0-2643-7000 วันจันทร์ถึงวันเสาร์ 08:00 – 20:00 น. ยกเว้นวันหยุดนักขัตฤกษ์ และวันหยุดธนาคาร

#finbizbyttb #โครงการเสริมความรู้SME #เอสเอ็มอียุคดิจิทัล #ตัวช่วยเอสเอ็มอี #SMEเติบโตอย่างยั่งยืน #ให้ชีวิตการเงินดีทั้งวันนี้และอนาคต #เปลี่ยนเพื่อให้ชีวิตคุณดีขึ้น #ttb #MakeREALChange

ดูข่าวต้นฉบับ
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...

ล่าสุดจาก สยามรัฐ

ผู้ว่าฯพังงาทำพิธีประตูศาลหลักเมืองพังงา

13 นาทีที่แล้ว

“แอน สิเรียม” อวดหุ่นแซ่บสะท้านในชุดว่ายน้ำวันพีซริมสระ

15 นาทีที่แล้ว

ปภ. ทดสอบระบบแจ้งเตือนภัยผ่าน Cell Broadcast เชื่อมระบบ CBE และ CBC ทดลองกดสัญญาณส่งไปยังพื้นที่เป้าหมาย

16 นาทีที่แล้ว

พ.อ.ฐิต์รัชช์ เป็นประธานพิธีการจัดการปลูกฝังและสร้างเสริมอุดมการณ์ทหาร

23 นาทีที่แล้ว

วิดีโอแนะนำ

ข่าวและบทความไอที ธุรกิจอื่น ๆ

หุ้นอินเดีย จุดสูงสุด หยุดชั่วคราว หรือพร้อมพุ่งทะยาน?

Finnomena

พาณิชย์ เดินหน้าปราบนอมินี แม้การเมืองเปลี่ยน ลุยสอบ“นอมินี” 46,918 ราย ทั่วประเทศ

กรุงเทพธุรกิจ

‘กรณ์’ ชี้ ดีลสหรัฐฯ – เวียดนาม ไม่เป็นผลดีกับไทย ส่อเสียเปรียบด้านการแข่งขันแม้เก็บภาษีเท่ากันหรือใกล้เคียง

THE STATES TIMES

จังหวะบาทแข็ง ทำไมต้องฝาก "เงินดอลลาร์" ในบัญชี FCD ?

FinSpace

ทริสฯ คงเครดิตองค์กร SENA ที่ “BBB-” ลดอันดับหุ้นกู้เหลือ “BB+”

ทันหุ้น

KUN ยื่นไฟลิ่งขายหุ้นกู้อายุ 2 ปี ดอกเบี้ย 7.40% จ่อพัฒนาโครงการใหม่

ข่าวหุ้นธุรกิจ

DV8 เผยกลุ่มนลท. 8 รายแจ้งจะทำเทนเดอร์รับซื้อหุ้นทั้งหมดของบริษัท

ทันหุ้น

จตุพร สั่งลุยแก้ปัญหาสินค้าเกษตร มอบ “สุชาติ” จัดการสวมสิทธิ จ่อลงพื้นที่นครศรีฯ พรุ่งนี้

ข่าวหุ้นธุรกิจ

ข่าวและบทความยอดนิยม

Loading...