โปรดอัพเดตเบราว์เซอร์

เบราว์เซอร์ที่คุณใช้เป็นเวอร์ชันเก่าซึ่งไม่สามารถใช้บริการของเราได้ เราขอแนะนำให้อัพเดตเบราว์เซอร์เพื่อการใช้งานที่ดีที่สุด

ธรรมะ

‘สุดาวรรณ’ พร้อมใช้วิจัยและนวัตกรรมรับมือภัยพิบัติพร้อมชูโครงการน้ำมั่นคง-ไม่ท่วม-ไม่แล้ง

เดลินิวส์

อัพเดต 4 ชั่วโมงที่ผ่านมา • เผยแพร่ 11 ชั่วโมงที่ผ่านมา • เดลินิวส์
“สุดาวรรณ” แถลงความพร้อมใช้วิจัยและนวัตกรรมรับมือภัยพิบัติ พร้อมชูโครงการ “น้ำมั่นคง ไม่ท่วม ไม่แล้ง ใน 10 จังหวัด” หนุนเตรียมระบบเตือนภัย แผนป้องกันรับมือน้ำท่วมในอนาคต

เมื่อวันที่ 26 ก.ค. น.ส.สุดาวรรณ หวังศุภกิจโกศล รมว.การอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) เป็นประธานในพิธีแถลงข่าว “การรับมือภัยพิบัติ ภัยธรรมชาติ “พายุวิภา” ในมุมวิจัยและนวัตกรรม” โดยมี ดร.วิภารัตน์ ดีอ่อง ผู้อำนวยการสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) ศ.ดร.นพ.สิริฤกษ์ ทรงศิวิไล ประธานกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ศาสตราจารย์ รศ.ดร.สุจริต คูณธนกุลวงศ์ ผู้อำนวยการแผนงาน (Program Director) แผนงานเป้าหมายสำคัญตามยุทธศาสตร์ ววน. ด้านบริหารน้ำ วช. คณะผู้บริหาร นักวิจัย และสื่อมวลชน เข้าร่วม ณ ห้องประชุมจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ อาคาร วช. 1 สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.)

น.ส.สุดาวรรณ กล่าวว่า กระทรวง อว. ได้ร่วมกับทุกภาคส่วนในพื้นที่เสี่ยงภัย สนับสนุนข้อมูลและงานวิจัยที่เป็นประโยชน์เพื่อรับมือกับสถานการณ์ภัยธรรมชาติ ภัยพิบัติ ได้แก่ 1.การพัฒนาแนวทางปฏิบัติตามแผน SOP (Standard Operating Procedure) ด้วยระบบสนับสนุนการเตือนภัยน้ำท่วม ผ่านเครื่องมือ Flood Map, Flood Pole และ Flood Mark ซึ่งสามารถสนับสนุนชุดข้อมูลเตือนภัย และเฝ้าระวัง และได้มีการกำหนดมาตรารองรับสถานการณ์น้ำท่วมที่คาดการณ์ได้อย่างเหมาะสม 2.การจัดทำฐานข้อมูลติดตามสถานการณ์ระดับน้ำรายชั่วโมงและแจ้งผ่านระบบการเตือนภัยและแนวทางการป้องกันน้ำท่วม ในเขตเมือง จังหวัดเชียงราย 3.การจัดทำสรุปสถานการณ์พายุวิภาและดำเนินการจำลองสภาพน้ำท่วมในสถานการณ์ต่างๆ จากการคาดการณ์สภาพอากาศ และ 4.การจำลองแนวโน้มดินถล่มของประเทศ ด้วยรูปแบบการจัดการภัยโดยอาศัยชุมชนเป็นฐาน

ที่ผ่านมา กระทรวง อว. โดย วช. ได้นำแผนงานวิจัยด้านการบริหารจัดการน้ำมาดำเนินโครงการสำคัญอย่าง “น้ำมั่นคง ไม่ท่วม ไม่แล้ง ใน 10 จังหวัด” เพื่อสนับสนุนการจัดเตรียมระบบเตือนภัยและเตรียมแผนป้องกันรับมือภาวะน้ำท่วมในอนาคต ซึ่งถือเป็นการนำองค์ความรู้และชุดข้อมูลจากงานวิจัยมาบูรณาการการทำงานกับองค์กรวิจัยชั้นนำทั้งในและต่างประเทศ รวมถึงองค์การบริหารส่วนจังหวัด ในพื้นที่อย่างเข้มแข็ง เพื่อแก้ไขปัญหาเร่งด่วนจากสถานการณ์น้ำ

“กระทรวง อว. พร้อมด้วยสรรพกำลังและทีมหลังบ้านที่เข้มแข็งพร้อมดำเนินการตามเป้าหมายสำคัญตามยุทธศาสตร์ ววน. โดยนำเอาผลงานวิจัยและนวัตกรรม ระบบติดตามและเตือนภัยในระดับพื้นที่ สนับสนุนการทำงานของทีมจังหวัด พร้อมมุ่งมั่นพัฒนาการพยากรณ์ล่วงหน้าให้มีความแม่นยำและสามารถระบุความเสี่ยงในระดับพื้นที่ เพื่อให้หน่วยงานในพื้นที่เตรียมความพร้อม แจ้งเตือน ดูแลประชาชน ตลอดจนบูรณาการความร่วมมือในการลดความเสี่ยงและผลกระทบจากภัยพิบัติในอนาคต เราจะเป็นหนึ่งในกำลังสำคัญให้กับหน่วยงานและประชาชนในพื้นที่เสี่ยงภัย เตรียมรับมือกับภัยพิบัติด้วยองค์ความรู้และข้อมูลทางวิชาการ เราจะเปลี่ยน “ข้อมูลวิจัย” เป็น “ข้อมูลช่วยชีวิต” ที่แม่นยำ เพื่อช่วยเหลือพี่น้องประชาชนได้อย่างทันท่วงที” รมว.อว. กล่าว

ทางด้าน ดร.วิภารัตน์ กล่าวถึงประกาศของกรมอุตุนิยมวิทยา พายุ “วิภา” และมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ ส่งผลให้หลายพื้นที่ของประเทศไทยเผชิญฝนตกหนักถึงหนักมาก ระหว่างวันที่ 20–24 กรกฎาคม 2568 และเกิดน้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลาก และดินโคลนถล่ม สร้างความเสียหายอย่างกว้างขวาง แม้พายุจะเริ่มอ่อนกำลังลง แต่หลายพื้นที่ยังคงได้รับผลกระทบอย่างต่อเนื่อง วช. แสดงความห่วงใยต่อสถานการณ์ดังกล่าว พร้อมขับเคลื่อนผลงานวิจัยและนวัตกรรมเพื่อป้องกัน รับมือ ฟื้นฟู และลดผลกระทบจากภัยพิบัติทางธรรมชาติ วช. ได้สนับสนุนข้อมูลทางวิชาการ องค์ความรู้ และเทคโนโลยีเพื่อการเตรียมความพร้อมรับมือพายุวิภาในทุกมิติ รวมถึงประเมินความเสี่ยงระดับพื้นที่และถ่ายทอดสู่การใช้ประโยชน์เชิงปฏิบัติ โดยอาศัยความร่วมมือจากเครือข่ายวิจัยทั้งส่วนกลางและภูมิภาค ทั้งนี้ วช. มุ่งหวังให้การประยุกต์ใช้งานวิจัยในพื้นที่จริงเป็นบทเรียนสำคัญในการยกระดับองค์ความรู้ สู่การแก้ไขปัญหาอย่างเป็นระบบและยั่งยืน

นอกจากนี้ อว. ยังได้ส่งมอบนวัตกรรมช่วยบรรเทาและฟื้นฟูพื้นที่ประสบอุทกภัยในพื้นที่ภาคเหนือ ได้แก่ 1.เทคโนโลยีโดรน มอบให้แก่ ศูนย์การจัดการภัยพิบัติเพื่อนพึ่ง(ภาฯ) ตำบลเจดีย์ชัย อำกอปัว จังหวัดน่าน เพื่อช่วยเหลือเมื่อเกิดภัยพิบัติ ส่งอาหารและเวชภัณฑ์ให้ผู้ประสบภัยเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพและรวดเร็วมากยิ่งขึ้น ใช้บินสำรวจเส้นทาง ไหลของน้ำ และสำรวจหาผู้ประสบภัยที่ติดอยู่ในพื้นที่

2.SANSO KUN (ซังโซะคุง) นวัตกรรมออกซิเจนความเข้มข้นสูงอัดกระป๋อง มอบให้แก่ กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ เพื่อให้สามารถพกพาและใช้สำหรับช่วยเหลือและเคลื่อนย้ายผู้สูงอายุและกลุ่มเปราะบางที่เดินทางไปโรงพยาบาลลำบาก

3.Agent29: คอปเปอร์นาโนรูปเข็ม มอบให้แก่ นายอำเภอเวียงสา และ นายอำเภอบ่อเกลือ จังหวัดน่าน เพื่อการป้องกันเชื้อราในอาคาร พรม ไม้ ผนังปูน หลังสถานการณ์น้ำลด ช่วยให้การฟื้นฟูสิ่งแวดล้อมและคุณภาพชีวิตประชาชนกลับมาเป็นปกติได้รวดเร็วยิ่งขึ้น

4.ผลิตภัณฑ์เคลียร์ซอยด์ เคลียร์ซอยด์ มอบให้แก่ เครือข่ายหมอดินอาสา ตำบลเวียงสา อำเภอเวียงสา จังหวัดหวัดน่าน และเครือข่ายหมอดินอาสา บำนน้ำครกใหม่ ตำบลกอกองควาย อำเภอเมืองน่าน จังหวัดน่าน เพื่อเป็นผลิตภัณฑ์ที่ช่วยลดปริมาณโลหะหนักในดินหลังน้ำท่วม ได้แก่ สารหนู (As) แคดเมียม (Cd) และตะกั่ว (Pb) ซึ่งโลหะหนักเหล่านี้มักถูกพัดพามากับตะกอนดิน และสะสมในแปลงปลูกพืช การใช้ผลิตภัณฑ์เคลียร์ซอยด์จะช่วยลดปริมาณสารพิษตกค้าง ได้ภายใน 1 เดือน

5.ถุงยังชีพและที่นอนยางพารา มอบให้แก่ อว. ส่วนหน้าเพื่อส่งมอบให้แก่ผู้ประสบอุทกภัยในพื้นที่ภาคเหนือ

ภายในงาน ยังมีการเสวนา เรื่อง “การรับมือภัยพิบัติ ภัยธรรมชาติ “พายุวิภา” ในมุมวิจัยและนวัตกรรม” ซึ่งดำเนินรายการเสวนา โดย รศ.ดร.สุจริต คูณธนกุลวงศ์ ผู้อำนวยการแผนงาน (Program Director) แผนงานเป้าหมายสำคัญตามยุทธศาสตร์ ววน. วช. และผู้ร่วมเสวนาในหัวข้อต่าง ๆ ดังนี้

เรื่อง : พร้อมหรือยัง? กับการทำนายพายุหลัง "วิภา" โดย นายสมควร ต้นจาน จากกรมอุตุนิยมวิทยา

เรื่อง : ระบบเตือนภัยที่เราเตรียมไว้ใช้ได้ผลหรือไม่? บทเรียนที่ได้ โดย รศ.ชูโชค อายุพงศ์ จากมหาวิทยาลัยเชียงใหม่

เรื่อง : สถานการณ์น้ำฝน และน้ำท่า ระบบเตือนภัยช่วยอย่างไร? โดย ผศ.ดร.อังกูร ว่องตระกูล จากมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา

เรื่อง : การประเมินความเสียหายและเตรียมพร้อมสำหรับพายุลูกต่อไปได้อย่างไร? โดย ผศ.ดร.พงษ์ศักดิ์ สุทธินนท์ และ ผศ.ดร.นพ.วินัย แก้วละมุล จากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

เรื่อง : ภาวะฝนแบบนี้ จะมีดินถล่มหรือไม่ จะเตือนภัยอย่างไร? โดย รศ.ดร.สุทธิศักดิ์ ศรลัมพ์ จากมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

เรื่อง : คลังข้อมูลน้ำแห่งชาติช่วยการเตือนภัยได้อย่างไร? โดย ดร.ศรเทพ วรรณรัตน์ จากสถาบันสารสนเทศทรัพยากรน้ำ (องค์การมหาชน)

ทั้งนี้ การแถลงข่าวและเสวนาการรับมือภัยพิบัติ ภัยธรรมชาติ "พายุวิภา" ในมุมวิจัย และนวัตกรรมในครั้งนี้มีเป้าหมายเพื่อเน้นย้ำการรับมือภัยพิบัติในยุคปัจจุบันต้องอาศัยความรู้ วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรมอย่างเป็นระบบ และให้ความสำคัญกับการนำผลงานวิจัยมาใช้จริงเพื่อประโยชน์ของประชาชนอย่างเป็นรูปธรรมและยั่งยืน

ดูข่าวต้นฉบับ
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...

ล่าสุดจาก เดลินิวส์

ผู้นำกัมพูชามอบหมายรัฐมนตรีต่างประเทศ ประสานงานเรื่องหยุดยิงกับไทย

31 นาทีที่แล้ว

ณพล บริบูรณ์ ที่ปรึกษาประธาน กมธ.ป.ป.ช.ร่วมยินดี เติง-เย้ ฉี นั่งนายกสมาคมนักธุรกิจไต้หวันชลบุรีอีกสมัย

33 นาทีที่แล้ว

ระทึก! จรวด BM-21 ตกใส่บ้านประชาชนที่สุรินทร์ โชคดีไร้เจ็บ-อพยพทัน

48 นาทีที่แล้ว

เกาะประเด็นการเมืองวันนี้ จับตา 2 ส.ค. ‘ตู่’ ประกาศลงถนน ‘ม็อบให้กำลังใจ’

48 นาทีที่แล้ว

วิดีโอแนะนำ

ข่าวและบทความธรรมะอื่น ๆ

‘เจ้าคณะใหญ่หนเหนือ’ ย้ำเร่งสร้างความเข้าใจ ‘เจ้าอาวาส’ จัดทำบัญชีเงินวัด

เดลินิวส์

สพม.พังงา ภูเก็ต ระนอง สอบคัดผู้บริหารสถานศึกษา โปร่งใสยุติธรรม

เดลินิวส์

สพป.กระบี่ จัดสอบคัดเลือกรองผอ.และผอ.สถานศึกษา ภาค ก เรียบร้อย โปร่งใส ผู้เข้าสอบครบทุกคน

เดลินิวส์

สถาบันช่างศิลป์ท้องถิ่นจัดยิ่งใหญ่ “ช่างศิลป์ถิ่นไทย สืบสานให้ยั่งยืน ครั้งที่ 3

เดลินิวส์

‘อิ๊งค์’ แถลงเดือด แฉกัมพูชาไม่พอใจไทยปราบแก๊งคอลเซ็นเตอร์ ชนวนเหตุปะทะชายแดน

เดลินิวส์

วธ.เตรียมพร้อมภารกิจ ‘พิธีการศพในพระบรมราชานุเคราะห์’ จากเหตุปะทะไทย-กัมพูชา

เดลินิวส์

ข่าวและบทความยอดนิยม

สุรินทร์เตือนภัย! หลีกเลี่ยงพื้นที่ใกล้ชายแดน หลังเขมรเคลื่อนระบบจรวดประจำการ

เดลินิวส์

‘สมศักดิ์’ ส่งหนังสือถึงผอ.องค์การอนามัยโลก ฟ้องปมกัมพูชา บึ้มรพ.-พื้นที่พลเรือน

เดลินิวส์

‘เกลือ กิตติ’ ภูมิใจในเอกราชไทย ขอลูกหลานกล่าวขานความเสียสละทุกหมู่เหล่าในยามวิกฤต!

เดลินิวส์
ดูเพิ่ม
Loading...