โปรดอัพเดตเบราว์เซอร์

เบราว์เซอร์ที่คุณใช้เป็นเวอร์ชันเก่าซึ่งไม่สามารถใช้บริการของเราได้ เราขอแนะนำให้อัพเดตเบราว์เซอร์เพื่อการใช้งานที่ดีที่สุด

ไลฟ์สไตล์

พบ ‘ไมโครพลาสติก’ ใน ‘ขวดแก้ว’ มากที่สุด ปนเปื้อนจากสีที่หลุดจาก ‘ฝาจีบ’

กรุงเทพธุรกิจ

อัพเดต 15 ชั่วโมงที่ผ่านมา • เผยแพร่ 8 ชั่วโมงที่ผ่านมา

ขวดแก้ว” ถูกยกย่องว่าเป็นบรรจุภัณฑ์ที่บริสุทธิ์และปลอดภัยกว่า “พลาสติก” มาโดยตลอด เพราะไม่ต้องเป็นห่วงว่าจะมี “ไมโครพลาสติก” ปะปนอยู่ แถมยังสามารถนำมาใช้ใหม่ได้ตลอด เสื่อมสภาพได้ยาก มีอายุการใช้งานนานกว่า และไม่ก่อปัญหาด้านสิ่งแวดล้อม แต่งานวิจัยใหม่กลับพบว่า เครื่องดื่มในขวดแก้วกลับมีไมโครพลาสติกมากที่สุด

ทีมนักวิจัยจาก ANSES หน่วยงานความปลอดภัยด้านอาหารของฝรั่งเศส พบว่าเครื่องดื่มที่บรรจุในขวดแก้วมีไมโครพลาสติกมากกว่าเครื่องดื่มที่บรรจุในพลาสติกหรือโลหะอย่างมีนัยสำคัญ อันที่จริงเครื่องดื่มที่บรรจุในขวดแก้วบางชนิดมีอนุภาคไมโครพลาสติกมากกว่าถึง 50 เท่าต่อลิตร

แหล่งที่มีไมโครพลาสติกไม่ได้มาจากตัวขวดแก้ว แต่มาจากสีพลาสติกเคลือบด้านนอกของ “ฝาจีบ” ที่ใช้ปิดผนึก

“เราคาดหวังผลลัพธ์ที่ตรงกันข้าม แต่เราสังเกตเห็นว่าน้ำในขวดแก้ว มีอนุภาคพลาสติกที่มีรูปร่าง สี และองค์ประกอบของพอลิเมอร์เหมือนกับสีที่ติดอยู่ด้านนอกของฝาจีบ” อิเซลีน ชาอิบ หัวหน้าทีมวิจัยกล่าว

ไมโครพลาสติกมาจากฝาจีบ

นักวิจัยได้วิเคราะห์ตัวอย่างเครื่องดื่มกว่า 100 รายการที่จำหน่ายทั่วฝรั่งเศส ไม่ว่าจะเป็นน้ำเปล่า น้ำอัดลม น้ำอัดลม ชาเย็น เบียร์ และไวน์ โดยเครื่องดื่มเหล่านี้บรรจุในภาชนะหลากหลายประเภท ทั้งแก้ว พลาสติก กระป๋อง กล่อง และถังพลาสติกทรงลูกบาศก์ เพื่อประเมินว่าบรรจุภัณฑ์มีอิทธิพลต่อการปนเปื้อนอย่างไร

ผลวิจัยพบว่าขวดแก้วเป็นภาชนะที่มีการปนเปื้อนมากที่สุด เครื่องดื่มบางชนิดที่บรรจุในแก้ว เช่น น้ำอัดลม ชาเย็น น้ำมะนาว และเบียร์ มีปริมาณไมโครพลาสติกมากกว่า 100 อนุภาคต่อลิตร โดยเบียร์ที่บรรจุในขวดแก้วขนาดเล็กมีปริมาณไมโครพลาสติกสูงสุดที่ 133 อนุภาคต่อลิตร

ในทางตรงกันข้าม เครื่องดื่มชนิดเดียวกันที่บรรจุในขวดหรือกระป๋องพลาสติกมีไมโครพลาสติกน้อยกว่ามาก โดยมักมีอนุภาคเพียง 2-20 อนุภาคต่อลิตร และในบางกรณีอาจน้อยกว่านั้นอีก

เมื่อพิจารณาบรรจุภัณฑ์ทุกประเภท น้ำอัดลมมีค่าเฉลี่ย 31.4 อนุภาคต่อลิตร น้ำมะนาว 45.2 อนุภาคต่อลิตรและเบียร์ 82.9 อนุภาคต่อลิตร ซึ่งถือว่ามีปริมาณสูงอย่างมากเมื่อเทียบกับน้ำเปล่า โดยน้ำเปล่าที่บรรจุในขวดแก้วจะมี 4.5 อนุภาคต่อลิตร ส่วนในขวดพลาสติกมีเพียง 1.6 อนุภาคต่อลิตร

อย่างไรก็ตาม ไวน์มีระดับการปนเปื้อนต่ำที่สุดในบรรดาเครื่องดื่มทั้งหมด แม้แต่ในขวดแก้วก็ตาม นักวิจัยตั้งข้อสังเกตว่าขวดไวน์มักถูกปิดผนึกด้วยจุกไม้ก๊อกหรือจุกสังเคราะห์ ไม่ใช่ฝาโลหะ

จากการตรวจสอบด้วยเทคนิคสเปกโทรสโกปีขั้นสูง ทำให้พบความสม่ำเสมอของชนิดของอนุภาคพลาสติก นักวิจัยจึงสามารถยืนยันว่าไมโครพลาสติกที่เชื่อมโยงกับขวดแก้วตรงกับสีจากโพลีเอสเตอร์ที่ใช้กับฝาจีบ

นักวิจัยได้ดำเนินการทดลองต่อไป ด้วยการทำความสะอาดและนำขวดแก้วกลับมาใช้ใหม่ โดยเติมน้ำกรองลงไป และปิดผนึกด้วยฝาโลหะใหม่ในสภาวะที่แตกต่างกัน พบว่า ช่วงที่ยังไม่ได้ทำความสะอาดใด ๆ พบว่ามีอนุภาคไมโครพลาสติกปนเปื้อนสูงถึง 287 อนุภาคต่อลิตร แต่เมื่อเป่าฝาด้วยลมก่อนปิดผนึก ปริมาณไมโครพลาสติกลดลงราวสองในสาม และเมื่อเป่าฝาและล้างด้วยแอลกอฮอล์และน้ำ ปริมาณไมโครพลาสติกปนเปื้อนลดลง 60%

อเล็กซานเดอร์ เดอโฮต์ ผู้ร่วมเขียนงานวิจัย ตั้งข้อสังเกตว่า ฝาจีบมักจะถูกเก็บไว้หลังการผลิตร่วมกัน หลายพันฝาในถุงหรือกล่อง จึงทำให้ฝาเหล่านั้นจะขูดกันเองเมื่อถูกกระแทก อีกทั้งเมื่อปิดผนึกฝาเข้ากับขวดแล้ว เศษพลาสติกจากรอยขีดข่วนจะตกลงไปในเครื่องดื่ม

นักวิจัยสามารถมองเห็นรอยขีดข่วนเล็ก ๆ น้อย ๆ ได้เมื่อนำฝาไปส่องดูด้วยกล้องจุลทรรศน์ นักวิจัยจึงคาดว่ารอยขีดข่วนบนฝาขวดอาจเพียงพอที่จะทำให้มีอนุภาคสีขนาดเล็กจิ๋วหลุดออกมา โดยเกล็ดสีเหล่านี้จะเล็ดลอดเข้าไปอยู่ในขวดระหว่างการปิดฝาหรือการเก็บรักษา

แม้ว่าในตอนนี้จะยังไม่สามารถระบุแหล่งที่มาของการปนเปื้อนนี้ได้อย่างละเอียด แต่การค้นพบนี้ก็เป็นหลักฐานแสดงให้เห็นว่าบรรจุภัณฑ์อาหารและเครื่องดื่มทุกชนิด แม้แต่แก้ว ก็แทบจะไม่สะอาดบริสุทธิ์เลย

ก่อนหน้านี้ การศึกษาชิ้นหนึ่งพบว่ามีการปนเปื้อนจากภาชนะพลาสติก อุปกรณ์กรอง และแม้แต่ฝุ่นในชั้นบรรยากาศ แต่นี่เป็นการศึกษาครั้งแรกที่สืบย้อนรอยกลับไปยัง สีบนฝาขวด ซึ่งเป็นสิ่งที่ไม่มีใครคาดคิดว่าจะทำให้เกิดไมโครพลาสติกปนเปื้อนได้

แม้ว่านักวิจัยจะพบอนุภาคพลาสติกในเลือด ปอด และรกของมนุษย์ แต่ยังคงไม่มีข้อสรุปที่แน่ชัดว่า มนุษย์จะต้องสัมผัสไมโครพลาสติกมากเพียงใดถึงจะเป็นอันตรายต่อสุขภาพ ขณะเดียวก็มีข้อเรียกร้องให้มีการควบคุมที่เข้มงวดยิ่งขึ้น ในเดือนมี.ค. 2024 คณะกรรมาธิการยุโรปได้กำหนดระเบียบปฏิบัติการทดสอบไมโครพลาสติกในน้ำดื่ม แต่ระเบียบปฏิบัตินี้ใช้เฉพาะกับน้ำเปล่าเท่านั้น ไม่รวมถึงเครื่องดื่มชนิดอื่น ๆ อย่างโซดา ชา หรือเบียร์

ทีมนักวิจัยของ ANSES ย้ำว่าการศึกษานี้ไม่ได้ให้ข้อสรุปทางพิษวิทยาใด ๆ แต่ให้แนวทางในการบรรเทาผลกระทบ โดยระบุว่าผู้ผลิตเครื่องดื่มสามารถลดปริมาณไมโครพลาสติกที่หลุดจากฝาจีบได้อย่างง่ายดาย ด้วยวิธีการล้างฝาแบบง่าย ๆ เช่น การเป่าลมและล้างด้วยเอทานอล

เนื่องจากไมโครพลาสติกมีอยู่ในเครื่องดื่มอยู่แล้ว เดอโฮต์กล่าวว่าผู้บริโภคจึงไม่สามารถจัดการกับการปนเปื้อนนี้ได้มากนัก อาจทำได้แค่เพียงหลีกเลี่ยงการดื่มเครื่องดื่มในขวดแก้วที่ใช้ฝาจีบ เขากล่าวว่าผลการวิจัยชี้ให้เห็นถึงความจำเป็นในการตรวจสอบและหลีกเลี่ยงการปนเปื้อน ตั้งแต่เริ่มการกระบวนการผลิต

“เราควรตรวจสอบสิ่งเหล่านี้ แต่ไม่ต้องหวาดระแวง” เดอโฮต์กล่าว

ทีมวิจัยหวังว่าผลการวิจัยนี้จะกระตุ้นให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในอุตสาหกรรมเครื่องดื่ม โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อประชาชนมีความตระหนักรู้และต้องการตรวจสอบกฎระเบียบเกี่ยวกับไมโครพลาสติกอย่างต่อเนื่อง

ที่มา: Phys, New Food Magazine, The Guardian, ZME Science

ดูข่าวต้นฉบับ
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...

ล่าสุดจาก กรุงเทพธุรกิจ

‘อภิสิทธิ์’ กางสูตรผ่าทางตัน ทำ กม.ศักดิ์สิทธิ์-ฉันทามติแก้ รธน.

28 นาทีที่แล้ว

ด่วน! ‘รัฐบาล’ ไล่ทูตกัมพูชา เรียกทูตไทยกลับ ลดระดับความสัมพันธ์

1 ชั่วโมงที่ผ่านมา

ไพบูลย์ -ธนพิศาล รับเลือกบอร์ดตลท. โควต้าจากฝั่งโบรกเกอร์ มีผล 5 ส.ค.

1 ชั่วโมงที่ผ่านมา

‘ศาลรธน.’ ไฟเขียว ‘แพทองธาร’ ขอขยายเวลาแจง คลิป ‘ฮุน เซน’ ถึง31ก.ค.

1 ชั่วโมงที่ผ่านมา

วิดีโอแนะนำ

ข่าวและบทความไลฟ์สไตล์อื่น ๆ

การกินกระเทียมเพื่อลดไขมันแบบเห็นผล

Manager Online

บทเพลง รอยสัก ความรัก และ Dept ย้อนดูความทรงจำผ่านบทเพลง ก่อนฝังเป็นรอยสัก

ONCE

“ไพน์เฮิร์สท” ของดีเมืองปทุมฯ ครบทั้งกอล์ฟและไลฟ์สไตล์!

สยามรัฐวาไรตี้

ค่าใช้จ่ายศูนย์รับเลี้ยงเด็กอ่อน ต้องรู้อะไรบ้างก่อนวางแผนฝากลูก

new18

มูลนิธิรามาธิบดีฯ จับมือ 5 ศิลปินดัง ส่งต่อ “ความสุขไม่มีที่สิ้นสุด”

Manager Online

รู้จัก "นัตโตะ" ถั่วเน่าญี่ปุ่น ที่ประโยชน์ล้นเหลือ กินอย่างไรให้อร่อย แถมดีต่อสุขภาพ

Thairath - ไทยรัฐออนไลน์

Ozzy Osbourne ตำนานเจ้าชายความมืดแห่งวงการดนตรีเฮฟวีเมทัล

LSA Thailand

2 ไส้กรอกไทย ไส้กรอกอีสาน ไส้อั่ว ติดท็อป 5 สุดยอดไส้กรอกแห่งเอเชีย

GM Live

ข่าวและบทความยอดนิยม

Loading...
Loading...
Loading...
Loading...