ชีวิตติด TECH- 5G ยึดโลก! 6.3 พันล้านคนใช้งาน 5 ปี ชี้ชะตาเทคโนโลยีไร้ขีดจำกัด!
ประเทศไทยเพิ่งจะมีการประมูลคลื่นความถี่ สำหรับกิจการโทรคมนาคมเคลื่อนที่สากล คลื่นความถี่ย่าน 850เมกะเฮิรตซ์1500และ เมกะเฮิรตซ์2100เมกะเฮิรตซ์2300เมกะเฮิรตซ์ ไปสดๆ ร้อนๆ เมื่อวันที่ 29 มิ.ย.ที่ผ่านมา โดยสำนักงาน กสทช.ที่เป็นหน่วยงานกำกับดูแลในเรื่องนี้
ทั้งนี้เพื่อนำคลื่นความถี่ดังกล่าวมาใช้งานรองรับในธุรกิจมือถือ ที่ความต้องการใช้งานเครือข่าย 5G โดยเฉพาะในด้านดาต้า หรือ อินเทอร์เน็ต ที่เพิ่มมากขึ้นอย่างต่อเนื่อง
วันนี้ คอลัมน์ “ชีวิตติด TECH” ได้มีรายงานเกี่ยวกับการใช้งาน 5 จี และ เครือข่ายมือถือ ของ Ericsson มาบอกเล่า ซึ่งจะฉายภาพให้เห็นว่า ทำไม? เครือข่ายและมือถือจึงมีความสำคัญในโลกยุคดิจิทัล!?!
ตัวเลขผู้ใช้ 5 จี ขยายตัวทั่วโลก
โดยรายงาน Ericsson Mobility ฉบับล่าสุด คาดการณ์ว่า ภายในสิ้นปี 2573 (ค.ศ. 2030) หรือ ในอีก 5 ปี ข้างหน้า ผู้ใช้บริการ 5G ทั่วโลก จะพุ่งแตะ 6.3 พันล้านราย และ เครือข่าย 5G จะครอบคลุมการใช้มือถือทั่วโลกถึง 80%
และเมื่อมองถึงแค่สิ้นปี 2568 ( ค.ศ. 2025) บัญชผู้ใช้ 5G ทั่วโลกจะเพิ่มเป็น 2.9 พันล้านราย หรือคิดเป็น 1 ใน 3 ของยอดผู้ใช้บริการมือถือทั้งหมด!
และเมื่อมองเพียงเฉพาะ ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และโอเชียเนีย ซึ่งรวมประเทศไทยด้วยนั้น คาดการณ์ว่า ในปี 2573 จำนวนบัญชีผู้ใช้บริการ 5G จะเพิ่มเป็น 630 ล้านราย คิดเป็นสัดส่วนประมาณ 49% ของจำนวนบัญชีผู้ใช้บริการมือถือทั้งหมดในภูมิภาคนี้
ยอดใช้ดาต้าบนเครือข่ายพุ่ง
รายงาน Ericsson Mobility ฉบับล่าสุด ยังได้สำรวจและคาดการณ์การใช้ ดาต้า หรือ อินเทอร์เน็ตบนมือถือด้วย โดยพบตัวเลขที่น่าสนใจ คือ ปริมาณการใช้ดาต้าเน็ตบนเครือข่ายมือถือทั่วโลกเพิ่มขึ้น 19% จากไตรมาสแรกของปี 2024 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปี 68นี้
ซึ่งถึงแม้อัตราการเติบโตจะลดลง แต่ปริมาณการใช้ดาต้ายังเพิ่มขึ้นทุกปี โดยในรายงาน Ericsson Mobility Report ยังคาดการณ์ว่ายอดการใช้ดาต้าเน็ตมือถือจะเพิ่มมากกว่าสองเท่าตลอดช่วงของการคาดการณ์จนถึงสิ้นปี 2573
และเมื่อสิ้นปี 2567 ที่ผ่านมา เครือข่าย 5G รองรับการใช้ดาต้าเน็ตมือถือทั่วโลกแล้วถึง 35% และคาดการณ์ว่าสิ้นปี 2573 ตัวเลขนี้จะขยับเพิ่มขึ้นเกินกว่า 80%
ทั้งนี้ เมื่อดูตัวเลขการปริมาณการใช้ดาต้าเน็ตต่อสมาร์ทโฟน ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และโอเชียเนีย ซึ่งรวมไทยด้วยนั้น พบว่า ค่าเฉลี่ยนการใช้ดาต้าเน็ตในปี 2567 ที่ผ่านมา ของผู้ใช้สมาร์ทโฟนอยู่ที่ 19 กิกะไบต์ต่อเดือน และคาดการณ์ว่าเมื่อถึงปี 2573 ปริมาณการใช้งานจะเพิ่มขึ้นเป็น 38 กิกะไบต์ต่อเดือน!!
การใช้ดาต้าเน็ตที่เพิ่มสูงขึ้นนั้น สำหรับประเทศไทย เครือข่าย 5G เป็นแรงขับเคลื่อนสำคัญของการบริโภคข้อมูลและการเพิ่มรายได้เฉลี่ยต่อผู้ใช้งาน (ARPU) ของผู้ให้บริการมือถือ
เครือข่าย 5G Mid-Band ครอบคลุม
ทั้งนี้ในรายงานยังระบุว่า เครือข่าย 5G Mid-Band ซึ่งเป็นคลื่นความถี่ 5G ในช่วง 1 GHz ถึง 6 GHz ซึ่งเป็นย่านความถี่ที่ได้รับความนิยมในการใช้งาน 5G นั้น เมื่อสิ้นปี 67 ที่ผ่านมา ได้ครอบคลุมเกิน 50% ของจำนวนประชากรในทวีปยุโรป แต่ถึงแม้ว่าความครอบคลุมของเครือข่าย 5G Mid-Band ในภูมิภาคนี้จะอยู่ในระนาบเดียวกับค่าเฉลี่ยของโลก แต่ยังตามหลังประเทศผู้นำต่าง ๆ อาทิ อเมริกาเหนือที่นำ 5G Mid-Band มาใช้งานครอบคลุมเกินกว่า 90% ของประชากรแล้ว ขณะที่ประเทศอินเดียที่มีจำนวนประกาศสูงในอันดับต้นๆของโลกนั้น ก็ใช้ 5G Mid-Band ครอบคลุมถึง 95% ของประชากร
โลกอยู่ในจุดเปลี่ยนสำคัญ
“แอนเดอร์ส เรียน” ประธานบริษัท อีริคสัน ประเทศไทย บอกว่า เราอยู่ในจุดเปลี่ยนสำคัญ ที่เครือข่าย 5G และระบบนิเวศมีความพร้อมที่จะปลดปล่อย A Wave of Innovation หรือ “คลื่นแห่งนวัตกรรม” เพราะด้วยความก้าวหน้าของเครือข่าย 5G Standalone (SA) ประกอบกับพัฒนาการในอุปกรณ์ที่รองรับ 5G ได้นำไปสู่ระบบนิเวศที่พร้อมสำหรับการปลดล็อกโอกาสเพื่อสร้างการเปลี่ยนแปลงใหม่ ๆ ในการเชื่อมต่อไอเดียสร้างสรรค์ และเพื่อให้ 5G ทำงานได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ สิ่งสำคัญที่จะต้องดำเนินการคือการนำเครือข่าย 5G SA มาใช้เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง และสร้างฐานย่านความถี่ Mid-Band เพิ่มเติม
“มียูสเคสการใช้งาน 5G ปัจจุบันและในอนาคตมากมายที่อาจสร้างการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ให้กับองค์กรต่าง ๆ ทั้งในการเพิ่มประสิทธิภาพ เตรียมพร้อมสำหรับอนาคต และมีความยั่งยืนมากยิ่งขึ้น ความเป็นไปได้ของ 5G ไม่เพียงช่วยให้องค์กรสามารถตอบสนองความต้องการของโลกยุคใหม่ได้อย่างรวดเร็วเท่านั้น แต่ยังสนับสนุนการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของประเทศไทยควบคู่ไปด้วยกัน” “แอนเดอร์ส เรียน ระบุ
การใช้ 5G SA ที่ได้รับการพัฒนาเพิ่มขึ้นจะเป็นรากฐานที่แข็งแกร่งยิ่งขึ้นสำหรับการนำไปปรับใช้และขับเคลื่อนยูสเคสการใช้งานใหม่ ๆ ให้กับทั้งองค์กรและผู้บริโภค
GenAI มาต้องพัฒนาคุณภาพบริการ
อย่างไรก็ตามในรายงานยังระบุว่า จากปัจจุบันที่ อุปกรณ์ generative AI หรือ GenAI กำลังเป็นที่แพร่หลายและแอปฯ AI มีความซับซ้อนยิ่งขึ้น ผู้ให้บริการแอปพลิเคชันและผู้ให้บริการด้านการสื่อสารจึงต้องให้ความสำคัญกับความสามารถในการอัปลิงก์ (Uplink) และระยะเวลาแฝงในการรับ-ส่งข้อมูล (Latency) มากขึ้น
ซึ่งตามรายงาน Ericsson Mobility Report ระบุถึงอุปกรณ์ 5G ที่เป็นนวัตกรรมอื่น ๆ นอกเหนือจาก GenAI ที่ฝังอยู่ในสมาร์ทโฟนรุ่นไฮเอนด์ อาทิ เช่น แว่นตาอัจฉริยะที่ขับเคลื่อนด้วย AI และใช้ประสิทธิภาพจากการโต้ตอบด้วยเสียง รวมถึงการนำประสิทธิภาพการเชื่อมต่อที่แตกต่างกัน (Differentiated Connectivity) มาใช้มากขึ้นในแอปพลิเคชันใหม่ ๆ สำหรับผู้บริโภคและสำหรับองค์กร โดย Differentiated Connectivity จะเป็นกุญแจสำคัญมอบประสบการณ์คุณภาพสูงให้กับผู้ใช้ สำหรับ AI Agent ที่ออกแบบมาเฉพาะบุคคลและแอปพลิเคชันการสนทนาอื่น ๆ
การเชื่อมต่อด้วยเทคโนโลยี 5 G ที่เพิ่มขึ้น จะเป็นตัวเร่งที่ช่วยขับเคลื่อนโลก รวมถึงประเทศไทยไปสู่ยุคเศรษฐกิจและสังคมดิจิทัล!?!
Cyber Daily