โปรดอัพเดตเบราว์เซอร์

เบราว์เซอร์ที่คุณใช้เป็นเวอร์ชันเก่าซึ่งไม่สามารถใช้บริการของเราได้ เราขอแนะนำให้อัพเดตเบราว์เซอร์เพื่อการใช้งานที่ดีที่สุด

ธุรกิจ-เศรษฐกิจ

ค่าเงินบาทเปิดเช้านี้ 23ก.ค.“แข็งค่าขึ้น”ที่ระดับ 32.17 บาทต่อดอลลาร์

ฐานเศรษฐกิจ

อัพเดต 16 ชั่วโมงที่ผ่านมา • เผยแพร่ 11 ชั่วโมงที่ผ่านมา

ค่าเงินบาทเปิดเช้านี้ 23ก.ค.2568 ที่ระดับ 32.17 บาทต่อดอลลาร์ “แข็งค่าขึ้น”จากระดับปิดวันที่ผ่านมา ณ ระดับ 32.29 บาทต่อดอลลาร์

นายพูน พานิชพิบูลย์ นักกลยุทธ์ตลาดเงินตลาดทุน Krungthai GLOBAL MARKETS ธนาคารกรุงไทย เปิดเผยว่าแนวโน้มของค่าเงินบาท เงินบาทยังคงได้แรงหนุนฝั่งแข็งค่าขึ้น ตามแนวโน้มการทยอยอ่อนค่าลงของเงินดอลลาร์ ที่มาพร้อมกับการปรับตัวขึ้นต่อเนื่องของราคาทองคำ อีกทั้ง ในช่วงนี้ บรรดานักลงทุนต่างชาติก็ทยอยกลับเข้าซื้อหุ้นไทย

อย่างไรก็ดี เรามองว่า การแข็งค่าขึ้นของเงินบาท แม้จะยังมีโมเมนตัมอยู่บ้าง ก็อาจเป็นไปอย่างจำกัด โดยในส่วนของราคาทองคำนั้น เรามองว่า หากบรรดาประเทศคู่ค้าต่างๆ ทยอยบรรลุข้อตกลงการค้า ลดระดับอัตราภาษีนำเข้าลงจากที่ทางการสหรัฐฯ ได้ขู่ไว้ ก็อาจทำให้ บรรดาผู้เล่นในตลาดทยอยคลายกังวลแนวโน้มการดำเนินนโยบายการค้าของสหรัฐฯ ได้

ขณะเดียวกัน หากรายงานผลประกอบการของบรรดาบริษัทจดทะเบียนสหรัฐฯ ออกมาสดใส โดยเฉพาะหุ้นเทคฯ ใหญ่ ก็น่าจะยิ่งทำให้บรรยากาศในตลาดการเงินเริ่มกลับมาอยู่ในภาวะเปิดรับความเสี่ยงมากขึ้น ซึ่งควรจะกดดันราคาทองคำให้ย่อตัวลง

โดยเฉพาะในจังหวะที่ราคาทองคำได้ปรับตัวขึ้นเข้าใกล้โซนแนวต้าน อย่างไรก็ดี เรายอมรับว่า ในภาพดังกล่าว ราคาทองคำก็อาจพอได้แรงหนุนบ้าง หรือไม่ได้ปรับตัวลดลงหนัก หากเงินดอลลาร์ย่อตัวลงหรือแกว่งตัว Sideways (จนกว่าตลาดจะปรับเปลี่ยนมุมมองต่อแนวโน้มดอกเบี้ยเฟดอย่างชัดเจน)

ทั้งนี้ จากการคำนวณของเราล่าสุด พบว่า เงินบาทมีความอ่อนไหว (Beta) กับการเปลี่ยนแปลงของราคาทองคำอยู่ราว 0.3 ทำให้ หากราคาทองคำมีการย่อตัวลงมาทดสอบโซนแนวรับอีกครั้ง ก็อาจกดดันให้เงินบาทอ่อนค่าลงได้บ้าง

นอกเหนือจากปัจจัยข้างต้น เรามองว่า เงินดอลลาร์อาจยังพอได้แรงหนุนอยู่ หากรายงานข้อมูลเศรษฐกิจสหรัฐฯ ยังคงทยอยออกมาสดใส รวมถึง รายงานผลประกอบการของบรรดาบริษัทจดทะเบียนสหรัฐฯ ออกมาดีกว่าคาด และหนุนการปรับตัวขึ้นของตลาดหุ้นสหรัฐฯ

นอกจากนี้ เรามองว่า บรรดาผู้เล่นในตลาดบางส่วน โดยเฉพาะฝั่งผู้นำเข้า อาจรอทยอยเข้าซื้อเงินดอลลาร์บ้าง หากเงินบาทแข็งค่าขึ้นทดสอบโซนแนวรับ 32.10 บาทต่อดอลลาร์ หรือแข็งค่าทะลุโซนดังกล่าว และจากการประเมินค่าเงินบาทในเชิง Valuation โดยใช้ทั้ง โมเดล REER และ BEER ของเรา

พบว่า เงินบาทได้แข็งค่าขึ้นมาพอสมควรในระดับมากกว่า +1.0 SD ซึ่งมักจะสะท้อนว่า เงินบาทยังมีความเสี่ยงทยอยอ่อนค่าลงมาได้บ้าง หากไม่มีการเปลี่ยนแปลงของปัจจัยที่ส่งผลกระทบอย่างมีนัยสำคัญ ทำให้ เรามองว่า การแข็งค่าขึ้นของเงินบาทควรจะเป็นไปอย่างจำกัด และมีโอกาสที่เงินบาทเสี่ยงทยอยอ่อนค่าลงได้บ้างจากระดับปัจจุบัน ในช่วงระยะสั้นนี้

เรายังคงมีความกังวลเดิม คือ ความผันผวนของเงินบาทที่อาจกลับมาสูงขึ้นได้ ท่ามกลางความไม่แน่นอนของการดำเนินนโยบายการค้าของสหรัฐฯ และสถานการณ์การเมืองไทย ซึ่งเรามองว่า ผู้เล่นในตลาดควรใช้กลยุทธ์ Options เพื่อช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการบริหารความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยน

มองกรอบเงินบาทในช่วง 24 ชั่วโมง คาดว่าจะอยู่ที่ระดับ 32.10-32.30 บาท/ดอลลาร์

โดยนับตั้งแต่ช่วงคืนที่ผ่านมา เงินบาท (USDTHB) ยังคงทยอยแข็งค่าขึ้นต่อเนื่อง เข้าใกล้โซนแนวรับ 32.10 บาทต่อดอลลาร์ (แกว่งตัวในกรอบ 32.15-32.31 บาทต่อดอลลาร์) สอดคล้องกับการทยอยอ่อนค่าลงของเงินดอลลาร์ ที่เผชิญแรงกดดันจากจังหวะการปรับตัวลดลงบ้างของบอนด์ยีลด์ 10 ปี สหรัฐฯ หลังบรรยากาศในตลาดการเงินยังคงอยู่ในภาวะระมัดระวังตัวท่ามกลางความไม่แน่นอนของการดำเนินนโยบายการค้าของสหรัฐฯ

(ใกล้ถึงกำหนดเส้นตาย 1 สิงหาคม ที่สหรัฐฯ ขู่จะขึ้นภาษีนำเข้ารอบใหม่ที่ได้ประกาศไป หากไม่มีการบรรลุข้อตกลงการค้ากับบรรดาประเทศคู่ค้า) นอกจากนี้ เงินดอลลาร์ยังเผชิญแรงกดดันเพิ่มเติม ในช่วงเช้าของตลาดการเงินฝั่งเอเชีย หลังเงินเยนญี่ปุ่น (JPY)

ทยอยแข็งค่าขึ้น เข้าใกล้โซน 146 เยนต่อดอลลาร์ ตอบรับข่าวสหรัฐฯ บรรลุข้อตกลงการค้ากับญี่ปุ่น ลดอัตราภาษีนำเข้าเหลือ 15% จาก 25% ซึ่งภาพดังกล่าวยังหนุนให้ผู้เล่นในตลาดปรับเพิ่มความคาดหวังการเดินหน้าขึ้นดอกเบี้ยของธนาคารกลางญี่ปุ่น (BOJ) ในปีนี้ บ้าง

โดยล่าสุด ผู้เล่นในตลาดมอง BOJ มีโอกาส 75% ที่จะเดินหน้าขึ้นดอกเบี้ยอีก 1 ครั้ง ในปีนี้ (ในการประชุมปลายปี) และนอกเหนือจากการทยอยอ่อนค่าลงของเงินดอลลาร์ เงินบาทยังได้อานิสงส์จากการปรับตัวขึ้นต่อเนื่องของราคาทองคำ (XAUUSD) สอดคล้องกับจังหวะการปรับตัวลดลงของทั้งเงินดอลลาร์และบอนด์ยีลด์ 10 ปี สหรัฐฯ ทำให้ ราคาทองคำปรับตัวสูงขึ้นเข้าใกล้โซนแนวต้าน 3,450 ดอลลาร์ต่อออนซ์

บรรดาผู้เล่นในตลาดหุ้นสหรัฐฯ ยังไม่กล้าเดินหน้าเปิดรับความเสี่ยงมากนัก เพื่อรอลุ้นผลการเจรจาการค้าระหว่างสหรัฐฯ กับบรรดาประเทศคู่ค้า และรายงานผลประกอบการของบรรดาบริษัทจดทะเบียนโดยเฉพาะ หุ้นเทคฯ ใหญ่ ทำให้โดยรวมดัชนี S&P500 ปิดตลาด +0.06%

างฝั่งตลาดหุ้นยุโรป ดัชนี STOXX600 ปรับตัวลดลงต่อเนื่อง -0.41% กดดันโดยรายงานผลประกอบการของบรรดาบริษัทจดทะเบียนฝั่งยุโรปส่วนใหญ่ที่ออกมาน่าผิดหวัง นอกจากนี้ ผู้เล่นในตลาดต่างกังวลว่า สหรัฐฯ กับสหภาพยุโรป (EU) อาจไม่สามารถบรรลุข้อตกลงการค้าได้ก่อนกำหนด 1 สิงหาคม และอาจนำไปสู่การใช้มาตรการตอบโต้จากฝั่งสหภาพยุโรป ซึ่งอาจกระทบต่อแนวโน้มเศรษฐกิจยุโรปได้

ส่วนในฝั่งตลาดบอนด์ บรรดาผู้เล่นในตลาดต่างทยอยเข้าซื้อบอนด์ระยะยาวเพิ่มเติม ท่ามกลางความไม่แน่นอนของการดำเนินนโยบายการค้าของสหรัฐฯ แม้ว่าโดยรวมบรรดาผู้เล่นในตลาดจะยังไม่ได้ปรับเปลี่ยนมุมมองต่อแนวโน้มการลดดอกเบี้ยของเฟดอย่างมีนัยสำคัญก็ตาม ส่งผลให้บอนด์ยีลด์ 10 ปี สหรัฐฯ ย่อตัวลงบ้าง สู่ระดับ 4.36%

ทั้งนี้ เราคงมุมมองเดิมว่า ผู้เล่นในตลาดควรรอจังหวะบอนด์ยีลด์ระยะยาวสหรัฐฯ ปรับตัวสูงขึ้น ในการทยอยเข้าซื้อ หลัง Risk-Reward มีความน่าสนใจมากขึ้น โดยเฉพาะในช่วงโซน 4.50% ขึ้นไป สำหรับบอนด์ยีลด์ 10 ปี สหรัฐฯ

โดยจังหวะการทยอยเข้าซื้อดังกล่าวอาจกลับมาอีกครั้ง ในช่วงสัปดาห์ต้นเดือนสิงหาคมที่ตลาดจะรับรู้ แนวโน้มการดำเนินนโยบายการค้าของสหรัฐฯ และรายงานข้อมูลตลาดแรงงานสหรัฐฯ อย่าง ยอดการจ้างงานนอกภาคเกษตรกรรม (Nonfarm Payrolls)

ทางด้านตลาดค่าเงิน เงินดอลลาร์ทยอยอ่อนค่าลง สอดคล้องกับจังหวะปรับตัวลดลงของบอนด์ยีลด์ 10 ปี สหรัฐฯ นอกจากนี้ เงินดอลลาร์ยังถูกกดดันเพิ่มเติม จากการทยอยแข็งค่าขึ้นของเงินเยนญี่ปุ่น (JPY) โดยเฉพาะในช่วงเช้าของตลาดการเงินเอเชีย ตอบรับข่าวสหรัฐฯ กับญี่ปุ่น บรรลุข้อตกลงการค้า ลดอัตราภาษีนำเข้าเหลือ 15% จาก 25% ทำให้โดยรวมดัชนีเงินดอลลาร์ (DXY) ได้ปรับตัวลงสู่ระดับ 97.4 จุด (แกว่งตัวในกรอบ 97.3-97.9 จุด)

ในส่วนของราคาทองคำ จังหวะการปรับตัวลดลงของทั้งเงินดอลลาร์และบอนด์ยีลด์ 10 ปี สหรัฐฯ กอปรกับความต้องการถือทองคำ ในช่วงตลาดเผชิญความไม่แน่นอนของการดำเนินนโยบายการค้าของสหรัฐฯ ได้ช่วยหนุนให้ ราคาทองคำ (สัญญาทองคำตลาด COMEX ส่งมอบเดือน ส.ค. 2025) สามารถปรับตัวสูงขึ้น สู่โซน 3,440-3,450 ดอลลาร์ต่อออนซ์ อีกครั้ง

สำหรับในช่วง 24 ชั่วโมงหลังจากนี้ ในฝั่งสหรัฐฯ ผู้เล่นในตลาดจะรอติดตามรายงานข้อมูลตลาดบ้านสหรัฐฯ ทั้งยอดการยืนขอสินเชื่อบ้าน (Mortgage Applications) และยอดขายบ้านมือสอง (Existing Home Sales) ในเดือนมิถุนายน นอกจากนี้ ผู้เล่นในตลาดน้ำมัน ก็จะรอลุ้น รายงานยอดสต็อกน้ำมันคงคลังสหรัฐฯ โดย EIA

ส่วนในฝั่งยุโรป ผู้เล่นในตลาดจะรอติดตาม รายงานดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภค (Consumer Confidence) เดือนกรกฎาคม

และนอกเหนือจากรายงานข้อมูลเศรษฐกิจดังกล่าว ผู้เล่นในตลาดจะรอลุ้น รายงานผลประกอบการของบรรดาบริษัทจดทะเบียน โดยเฉพาะหุ้นเทคฯ ใหญ่ สหรัฐฯ อย่าง Alphabet และ Tesla ซึ่งรายงานผลประกอบการของบรรดาหุ้นเทคฯ ใหญ่ ดังกล่าว อาจส่งผลกระทบต่อบรรยากาศในตลาดการเงินได้

ศูนย์วิจัยกสิกรไทยระบุว่า เงินบาทปรับตัวอยู่ที่ระดับประมาณ 32.18-32.20 บาทต่อดอลลาร์ฯ ในช่วงเช้าวันนี้ (9.00 น.) เทียบกับระดับปิดตลาดวานนี้ที่ 32.31 บาทต่อดอลลาร์ฯ

ทั้งนี้ เงินบาทยังคงเคลื่อนไหวอยู่ใกล้ ๆ ระดับแข็งค่าสุดในรอบกว่า 9 เดือนครึ่งที่ 32.16 บาทต่อดอลลาร์ฯ ที่ทำไว้ช่วงตลาดต่างประเทศเมื่อคืนที่ผ่านมา โดยได้รับแรงหนุนจากการปรับตัวขึ้นของราคาทองคำในตลาดโลกที่กลับไปยืนเหนือแนว 3,400 ดอลลาร์ฯ ต่อออนซ์อีกครั้ง

ขณะที่ เงินดอลลาร์ฯ ที่อ่อนค่าลงตามการปรับตัวลงของบอนด์ยีลด์สหรัฐฯ ท่ามกลางความกังวลเกี่ยวกับผลกระทบจากมาตรการภาษีศุลกากรต่อแนวโน้มเศรษฐกิจสหรัฐฯ ในระยะข้างหน้า นอกจากนี้ตลาดยังคงจับตาการเจรจาการค้าระหว่างสหรัฐฯ และประเทศคู่ค้า ก่อนที่จะถึงกำหนดเส้นตายในวันที่ 1 ส.ค. ด้วยเช่นกัน

สำหรับกรอบการเคลื่อนไหวของเงินบาทในวันนี้ ประเมินเบื้องต้นไว้ที่ 32.00-32.30 บาทต่อดอลลาร์ฯ ขณะที่ปัจจัยสำคัญที่ต้องติดตาม ได้แก่ ประเด็นเกี่ยวกับการเจรจาการค้าระหว่างสหรัฐฯ และประเทศคู่ค้า (รวมไทย) ฟันด์โฟลว์ของต่างชาติ ทิศทางราคาทองคำในตลาดโลก และตัวเลขยอดขายบ้านมือสองเดือนมิ.ย. ของสหรัฐฯ

ดูข่าวต้นฉบับ
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...

ล่าสุดจาก ฐานเศรษฐกิจ

SET ตั้ง "ธนพิศาล-ไพบูลย์" นั่งบอร์ดตลท. มีผล 5 ส.ค.68 นี้

33 นาทีที่แล้ว

ด่วน! ทหารเหยียบกับระเบิดขาขาดอีก ที่ช่องอานม้า อ.น้ำยืน อุบลราชธานี

36 นาทีที่แล้ว

ค่าเงินบาทปิดตลาดวันที่ 23ก.ค.ที่ระดับ 32.16 บาทต่อดอลลาร์

58 นาทีที่แล้ว

Ads ประเทศไทย รั้งอันดับ 3 สื่อดิจิทัลในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก

1 ชั่วโมงที่ผ่านมา

วิดีโอแนะนำ

ข่าวและบทความธุรกิจ-เศรษฐกิจอื่นๆ

การประกวด ASEAN Youth Speech Contest 2025 หัวข้อ Future of ASEAN : Thriving Together in a Changing World

WeR NEWS

Thai economic sectors at risk without reforms amid US trade talks

Thai PBS World

THAI คัมแบ็ค! "การบินไทย" พ้นเหตุเพิกถอน กลับมาเทรด 4 ส.ค.นี้

PostToday

Meta ยกระดับโซลูชันการส่งข้อความสำหรับธุรกิจ เพิ่มประสิทธิภาพ เร่งกำไรสูงสุดให้ธุรกิจไทย

Positioningmag

SET ตั้ง "ธนพิศาล-ไพบูลย์" นั่งบอร์ดตลท. มีผล 5 ส.ค.68 นี้

ฐานเศรษฐกิจ

“R3 Life Wellness Center” ชวนเปิดมุมมองการลงทุนกับการดูแลสุขภาพเชิงป้องกัน ในงาน STAYGOLD MEETUP 3 วันนี้คุณลงทุนดูแลตัวเองมากพอหรือยัง? สุขภาพดีแท้จริงต้อง 'ตรงจุด' เท่านั้น!

Manager Online

ส.อ.ท. ฝากการบ้าน “วิทัย” ผู้ว่าแบงก์ชาติคนใหม่ ทั้งเรื่องเร่งด่วนที่สุดและ เรื่องที่ต้องสานต่อ ชี้การครอบงำจากภาคการเมืองไม่ใช่เรื่องง่าย

BTimes

ก้าวไปข้างหน้าอีกขั้น “อายิโนะโมะโต๊ะ” เปิดแผนธุรกิจปี 68 หนุนคนไทย “กินดี มีสุข”

Positioningmag

ข่าวและบทความยอดนิยม

Loading...