โปรดอัพเดตเบราว์เซอร์

เบราว์เซอร์ที่คุณใช้เป็นเวอร์ชันเก่าซึ่งไม่สามารถใช้บริการของเราได้ เราขอแนะนำให้อัพเดตเบราว์เซอร์เพื่อการใช้งานที่ดีที่สุด

สุขภาพ

ดราม่าประกัน เมื่อ Co-Payment กลับกลายเป็นดาบคม ทิ่มแทงผู้ซื้อประกัน ?

BT Beartai

อัพเดต 11 ชั่วโมงที่ผ่านมา • เผยแพร่ 11 ชั่วโมงที่ผ่านมา
ดราม่าประกัน เมื่อ Co-Payment กลับกลายเป็นดาบคม ทิ่มแทงผู้ซื้อประกัน ?

จากประเด็นดราม่าที่ทำโซเชียลระอุกันในเวลานี้ กับประกันสุขภาพเจ้าหนึ่งที่มีการยื่นข้อเสนอขอปรับเบี้ยประกันเป็น 1.5 – 2.5 เท่า และมีผู้ประกันตนบางรายโดนบังคับให้เลือก Copayment 20% ทุกโรคทุกบิล โดยให้ระยะเวลา 30 วัน ถ้าไม่กดยอมรับก็จะหมดภาระบริษัท

บางคนเป็นโรคร้ายก็ไม่สามารถทำประกันที่ไหนได้ และบางผู้ประกันตนซื้อประกันมาร่วมระยะเวลา 10 ปี แต่มาป่วยในช่วงปี 2 ปีหลัง และไม่ได้มีการป่วยหนัก บางคนก็แทบไม่เคยเคลม จึงทำให้สังคมออกมาตั้งคำถามกันว่า ยุติธรรมแล้วจริงมั้ย บ้างก็ว่าแบบนี้ทิ้งคนป่วย รวมถึงทิ้งคนแก่ไว้ข้างทางรึเปล่า ? ไขข้อข้องใจไปกับบทความนี้กันค่ะ

จากกระแสโซเชียล เรียกร้องให้เราตั้งคำถามถึงระบบคุ้มครองสุขภาพของประเทศไทย อันดับแรกเราต้องเข้าใจก่อนว่า วัตถุประสงค์ของระบบ Co-Payment ที่แท้จริง คืออะไร ?

Co-Payment หรือการร่วมจ่ายค่ารักษาพยาบาลบางส่วนโดยผู้เอาประกันกลายเป็นแนวทางที่บริษัทประกันสุขภาพนำมาใช้ แนวคิดของ “Co-Payment” เกิดขึ้นเพื่อควบคุมภาระค่าใช้จ่ายในพอร์ตประกันสุขภาพ โดยเฉพาะกลุ่มที่มีพฤติกรรมเคลมบ่อยครั้งในกรณีเจ็บป่วยเล็กน้อย หรือโรคทั่วไป ซึ่งไม่ได้มีความรุนแรงมากนัก เพราะแม้จะเป็นโรคไม่ร้ายแรง แต่หากมีการเคลมบ่อยครั้งก็ทำให้ต้นทุนของระบบสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง

ระบบใหม่นี้จึงกำหนดเงื่อนไขไว้ว่า หากผู้เอาประกันเข้าเงื่อนไขต่อไปนี้ บริษัทสามารถเรียกเก็บ Co-Payment หรือให้ผู้เอาประกันร่วมจ่ายค่ารักษาบางส่วนได้ในปีต่อไป

1. หากเคลมโรคเล็กน้อย (Simple Diseases) เช่น ท้องเสีย ไข้หวัด ไข้ไม่สูง

– เคลมเกิน 3 ครั้งต่อปีกรมธรรม์ และมูลค่าการเคลมรวมเกิน 200% ของเบี้ยประกัน ผู้เอาประกันต้องจ่าย Co-Payment 30% ในปีถัดไป

2. หากเคลมโรคทั่วไป (ยกเว้นผ่าตัดใหญ่หรือโรคร้ายแรง) เช่น โรคภูมิแพ้ โรคข้อเสื่อม โรคความดันโลหิตสูง

– เคลมเกิน 3 ครั้งต่อปีกรมธรรม์ และมูลค่าการเคลมรวมเกิน 400% ของเบี้ยประกัน ผู้เอาประกันต้องจ่าย Co-Payment 30% ในปีถัดไป

3. หากเข้าเงื่อนไขทั้งสองข้อ ผู้เอาประกันต้องจ่าย Co-Payment 50% ในปีกรมธรรม์ถัดไป

Co-Payment ใครเป็นผู้ได้รับผลกระทบจริง ๆ

กลุ่มที่ได้รับผลกระทบหนัก (บางส่วน) คือผู้ที่มีการเคลมบ่อยหรือรักษาโรคร้ายแรง เช่น โรคมะเร็ง หรือโรคเรื้อรังอื่น โดยเฉพาะผู้ที่เคยเคลมเกิน 3 ครั้ง หรือเคลมเกิน 200–400% ของเบี้ยประกันต่อปี นั่นจึงกลายเป็นเงื่อนไขที่เปิดช่องให้บริษัทปรับเบี้ย หรือไม่ต่อสัญญาในปีถัดไปประกันCoPayment

บริษัทประกันมีสิทธิบิดเบือนหรือยกเลิกเงื่อนไขหรือไม่ ?

กรณีที่บริษัทประกันภัยจะเพิ่มเบี้ยประกัน หรือยกเลิกเงื่อนไขบางอย่าง เช่น การร่วมจ่าย (Co-payment) หรือยกเลิกความคุ้มครองบางส่วนนั้น ขึ้นอยู่กับเงื่อนไขของกรมธรรม์แต่ละฉบับ และนโยบายของบริษัทประกันภัยนั้น ๆ

โดยทั่วไปแล้ว บริษัทประกันอาจพิจารณาปรับเพิ่มเบี้ยประกัน หรือยกเลิกเงื่อนไขบางอย่างได้ หากมีการเรียกร้องค่าสินไหมทดแทนที่สูง หรือมีจำนวนครั้งที่มากผิดปกติ หรือหากมีการเปลี่ยนแปลงของความเสี่ยงที่เกี่ยวข้องกับสุขภาพของผู้เอาประกันภัย ทั้งนี้ บริษัทประกันจะต้องแจ้งให้ผู้เอาประกันภัยทราบล่วงหน้าก่อน

ในมุมผู้บริโภค ทำอย่างไรถึงจะไม่ตกเป็นฝ่ายเสียเปรียบ ?

แม้ว่า Co-Payment จะเป็นนโยบายที่หลายบริษัทเริ่มนำมาใช้ แต่ผู้เอาประกันยังมีสิทธิเลือก และสามารถวางแผนรับมือได้ ดังนี้

– ตรวจสอบเงื่อนไขในกรมธรรม์ โดยเฉพาะรายละเอียดการต่ออายุและการเปลี่ยนแปลงเบี้ย

– เปรียบเทียบแผนประกัน ที่มีการรับประกันต่อเนื่องโดยไม่มีเงื่อนไข Co-Payment หรือมีอายุสัญญาถึง 85–99 ปี

– วางแผนการใช้สิทธิ์อย่างมีสติ เคลมเฉพาะเมื่อจำเป็น เพื่อลดความเสี่ยงเข้าเงื่อนไข Co-Payment

– เตรียมเงินสำรองไว้เสมอ หากต้องเผชิญ Co-Payment หรือเบี้ยที่เพิ่มขึ้น

– ร้องเรียนต่อ คปภ. หากพบว่าบริษัทประกันมีการใช้เงื่อนไขที่ไม่เป็นธรรม

อย่างเคสที่มีปัญหาตอนนี้ เป็นเงื่อนไขการต่ออายุในปีต่อ ที่บริษัทประกันมีสิทธิ์ที่จะให้ลูกค้ามีส่วนร่วมจ่าย(Copayment)ไม่เกิน 30% ซึ่งเป็นเงื่อนไขการต่อสัญญาที่เกิดขึ้นก่อน NHS ปี64 และ ไม่ใช้วิธีคิด Copay ตามเงื่อนไข Copay ของ 20 มี.ค. 68

ดูข่าวต้นฉบับ
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...

ล่าสุดจาก BT Beartai

Sam Altman เตือนข้อมูลปลอมระบาดหนักในโลกยุค AI เสมือนคนจริง

8 ชั่วโมงที่ผ่านมา

Huawei ใกล้แซงหน้า Samsung ในตลาดสมาร์ตโฟนพับจอได้ทั่วโลก

12 ชั่วโมงที่ผ่านมา

วิดีโอแนะนำ

ข่าวและบทความสุขภาพอื่น ๆ

ข่าวและบทความยอดนิยม

Loading...