โปรดอัพเดตเบราว์เซอร์

เบราว์เซอร์ที่คุณใช้เป็นเวอร์ชันเก่าซึ่งไม่สามารถใช้บริการของเราได้ เราขอแนะนำให้อัพเดตเบราว์เซอร์เพื่อการใช้งานที่ดีที่สุด

สุขภาพ

โอกาสใหม่ 'อุตสาหกรรมยาไทย' รับมือสหรัฐเก็บภาษีนำเข้ายา 200%

กรุงเทพธุรกิจ

อัพเดต 1 วันที่แล้ว • เผยแพร่ 10 ชั่วโมงที่ผ่านมา

การประกาศขึ้น อัตราภาษีนำเข้ายา 200% ของสหรัฐ โดยประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ ซึ่งมีเป้าหมายหลักในการปกป้องอุตสาหกรรมยาภายในประเทศสหรัฐ ได้ส่งผลกระทบต่อผู้ค้าและผู้ผลิตยาจากหลายประเทศทั่วโลก อาทิ แคนาดา ยุโรป ญี่ปุ่น และอินเดีย แม้ประเทศไทยจะส่งออกยาไปยังสหรัฐ ในสัดส่วนที่น้อยมาก (ต่ำกว่า 0.5%ของกำลังการผลิตรวม) และไม่ได้รับผลกระทบโดยตรงจากภาษีดังกล่าว แต่อุตสาหกรรมยาไทยก็ต้องเตรียมพร้อมรับมือกับ ผลกระทบทางอ้อม ที่จะเกิดขึ้นด้วยเช่นกัน

เป็นการเตรียมรับมือแรงกดดันจากตลาดอาเซียนที่เปลี่ยนแปลงไป โดยเฉพาะผลกระทบทางอ้อมที่สำคัญคือ เมื่อประเทศที่เคยส่งออกยาไปยังสหรัฐ เสียตลาดไป พวกเขาจำเป็นต้อง แสวงหาตลาดใหม่ โดยมุ่งเป้ามายังประเทศในภูมิภาคอาเซียน ซึ่งรวมถึงประเทศไทยที่เป็นตลาดเปิดกว้างและมีกฎเกณฑ์ในการป้องกันการนำเข้าที่ไม่ใช่ภาษีที่ต่ำ สถานการณ์นี้จะทำให้ การแข่งขันในตลาดภายในประเทศรุนแรงขึ้น โดยเฉพาะจากผู้ผลิตต่างชาติที่นำเข้ายาในราคาที่ถูกกว่า หรือมีต้นทุนการผลิตที่ดีกว่า เช่น ยาจากอินเดีย ซึ่งปัจจุบันยาจากอินเดียก็เข้ามาในตลาดไทยอยู่แล้ว และมีแนวโน้มที่จะเข้ามามากขึ้นอีก

ข่าวที่เกี่ยวข้อง:

‘BLC’ ดัน ‘สมุนไพรนวัตกรรม’เสนอภาครัฐทำงานร่วม เพิ่มมูลค่าทางเศรษฐกิจ

'อัยย์ไทย' SME สมุนไพรร่วมสมัย Soft Power ไทยศูนย์กลางสมุนไพรโลก

ผู้ประกอบการยาไทยต้องเร่งปรับตัว พัฒนาศักยภาพ

“ภก.สุรชัย เรืองสุขศิลป์” ประธานกลุ่มอุตสาหกรรมยา สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) ให้สัมภาษณ์ “กรุงเทพธุรกิจ” ว่า เพื่อรับมือกับความท้าทายนี้ ผู้ประกอบการยาไทยจำเป็นต้องเร่งปรับตัวและพัฒนาศักยภาพอย่างต่อเนื่อง ด้วยการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต ปรับปรุงกระบวนการผลิตเพื่อ ลดต้นทุน ให้ต่ำลง พัฒนายาสมัยใหม่และยาหมดสิทธิบัตร โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ยาที่พึ่งหมดสิทธิบัตร (off-patent drugs) หรือยาชื่อสามัญ (generic drugs) คือยาที่หมดอายุความคุ้มครองสิทธิบัตรแล้วทำให้ผู้ผลิตรายอื่นสามารถผลิตและจำหน่ายยาชนิดนั้นได้โดยไม่ต้องขออนุญาตจากผู้ที่เคยได้รับสิทธิบัตร

เพราะยาที่หมดอายุสิทธิบัตรทำให้เกิดการแข่งขันในตลาดมากขึ้น ส่งผลให้ราคายาอาจลดลงและผู้ป่วยเข้าถึงยาได้ง่ายขึ้น การทำเช่นนี้จะช่วยให้ผู้ประกอบการไทยสามารถสร้างมูลค่าเพิ่มและชดเชยส่วนแบ่งตลาดที่อาจสูญเสียไปจากการแข่งขันด้านราคายา กับยาที่ผู้ผลิตต่างชาติที่นำเข้ามาจำหน่ายในประเทศในราคาที่ถูกกว่า หรือมีต้นทุนการผลิตที่ดีกว่า ขณะเดียวกัน ผู้ประกอบการไทยควรต้องหาทางขยายตลาดใหม่ พิจารณาก้าวเข้าสู่ตลาดใหม่ในภูมิภาค โดยเฉพาะ ตลาดในอาเซียน เพื่อชดเชยส่วนที่อาจขาดหายไป

หนุนขึ้นทะเบียนยาใหม่ๆ รับภาษีนำเข้ายา 200%ของสหรัฐ

“แนวทางหนึ่งที่ภาครัฐให้การสนับสนุนภาคเอกชนในการปรับตัวเพื่อรับมือกับการประกาศขึ้นอัตราภาษีนำเข้ายา 200% ของสหรัฐก็คือ สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) ได้เข้ามามีบทบาทสำคัญในการสนับสนุนอุตสาหกรรมยาไทย ให้ความสำคัญการขึ้นทะเบียนยาใหม่ๆ ที่เพิ่งหมดสิทธิบัตรที่เรียกว่า “ยามุ่งเป้า” เป็นอันดับต้นๆโดยมี เป้าหมายหลักคือการ ลดการนำเข้ายาที่มีราคาสูงจากต่างชาติ หากสามารถผลิตยาเหล่านี้ทดแทนได้ จะช่วยให้ประเทศไทยมีรายได้และได้ตลาดเข้ามาทดแทนส่วนที่อาจมียานำเข้าราคาที่ถูกกว่า หรือมีต้นทุนการผลิตที่ดีกว่าตัดราคาในการแข่งขันในตลาดลงไปได้”

ประธานกลุ่มอุตสาหกรรมยา ส.อ.ท.อธิบายว่าปัจจุบันมี “ยามุ่งเป้า” ประมาณ 40-50 ชนิด ที่ถูกกำหนดเป็นเป้าหมายร่วมกันระหว่าง อย.และเอกชน.ที่จะมุ่งผลิต ยามุ่งเป้าที่มีความจำเป็นสูง แต่ยังไม่มีผู้ประกอบการไทยผลิตขึ้นมาทดแทนยาต่างชาติที่เพิ่งหมดสิทธิบัตร ซึ่งผู้ประกอบการไทยมีศักยภาพในการผลิตยาเหล่านี้ โดยมีบริษัทที่สนใจหรือสามารถทำได้ ไม่น้อยกว่า 15 บริษัท เช่น บริษัท ชุมชนเภสัชกรรมจำกัด (มหาชน) ได้ดำเนินการผลิตไปแล้ว 2 ชนิด และกำลังดำเนินการผลิตอีก 4 รวมเป็น 6 ชนิด

อย่างไรก็ตาม แม้ว่าอุตสาหกรรมยาไทยจะเผชิญกับความท้าทายจากการแข่งขันที่รุนแรงขึ้น แต่ประธานกลุ่มอุตสาหกรรมยา ส.อ.ท.มองว่า อุตสาหกรรมยาไทยก็มีโอกาสหาตลาดทดแทน รวมทั้งสร้างตลาดใหม่ๆ ผ่านการสนับสนุนจากภาครัฐ การพัฒนายาใหม่ และศักยภาพของผู้ประกอบการเอง ซึ่งถือเป็นสัญญาณบวกสำหรับอนาคตของอุตสาหกรรมยาไทย

ตลาดยาแผนปัจจุบันไทย270,000 ล้านบาท

สำหรับภาพรวมตลาดยาแผนปัจจุบันในประเทศไทยมีมูลค่าสูงถึง 270,000 ล้านบาท และยังคงมีอัตราการเติบโตที่ไม่ต่ำกว่า 7% ต่อปี ทั้งนี้ อุตสาหกรรมยาของไทยมีอัตราการเติบโตอย่างต่อเนื่อง โดยมีปัจจัยสนับสนุน จากการก้าวเข้าสู่สังคมสูงวัยอย่างสมบูรณ์ และตัวเลขของผู้ป่วยโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง (NCDs) ซึ่งต้องการยาที่มีคุณภาพมาทำการรักษาอย่างต่อเนื่อง

จึงเป็นโอกาสของผู้ประกอบการอุตสาหกรรมยาในไทย ในการยกระดับอุตสาหกรรมยาไปสู่ New S-Curve เพื่อสร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจ และก้าวไปสู่การเป็น Medical Hub ของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ซึ่งจะช่วยดึงเม็ดเงินเข้าสู่ระบบเศรษฐกิจของประเทศไทยในอนาคต

นอกจากนี้เขายังมองว่าการที่สหรัฐ เสนอเพิ่มสัดส่วนการผลิตภายในประเทศ(Local Content) เพื่อป้องกันการสวมสิทธิทางการค้า นั้นเป็นเรื่องที่ดี เพราะเป็นการช่วยสร้างงานและรายได้ภายในประเทศ สำหรับอุตสาหกรรมยา ตัวเลขเฉลี่ยของ Local Content อยู่ที่ประมาณ 40% โดยส่วนใหญ่ของวัตถุดิบ 60% ยังคงต้องนำเข้าจากต่างประเทศ โดยเฉพาะจีนและอินเดีย

"ในอนาคตจะมีการประกาศ ดัชนีอุตสาหกรรมสุขภาพ เป็นประจำทุกเดือน ซึ่งดัชนีนี้จะช่วยสะท้อนภาพรวมและสถานการณ์ของอุตสาหกรรมสุขภาพ ซึ่งรวมถึงยาและความงาม ซึ่งภาครัฐต้องการผลักดันให้เป็นหนึ่งในอุตสาหกรรมหลักที่ขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศต่อไปอีกทางหนึ่งด้วย"

สิทธิบัตรยา 190 ฉบับ จะหมดอายุในทศวรรษหน้า

ข้อมูลจากเว็บไซต์ Drug Diacovery & Development ระบุว่าบริษัทผลิตยา 50 แห่งที่ใหญ่ที่สุดมีมูลค่าตลาดรวมกัน 4.7 ล้านล้านดอลลาร์ในจำนวนนี้ บริษัทเภสัชกรรมของสหรัฐ คือ Eli Lilly ถือเป็นบริษัทที่มีมูลค่าสูงที่สุดในโลก เป็นที่รู้จักในด้านยารักษาโรคเบาหวานและยาลดน้ำหนักที่เพิ่งเปิดตัว รายได้ของบริษัทเภสัชกรรมขนาดใหญ่ทั่วโลกเติบโตขึ้นมากกว่าครึ่งล้านล้านดอลลาร์ตั้งแต่ปี 2012 จากปัจจัยประชากรโลกที่อายุมากขึ้น

รายงานข่าวแจ้งว่า ในปี 2025 Merck & Co. มีรายได้ประมาณ 64,170 ล้านดอลลาร์ในปีงบประมาณ 2024 ซึ่งเคยครองตำแหน่งสูงสุดเมื่อปีก่อน ส่วน Pfizer ยังคงอยู่ในอันดับที่สองในปีงบประมาณ 2024 ด้วยรายได้ 63,630 ล้านดอลลาร์แม้ว่าจะขึ้นเป็นอันดับหนึ่งในปีงบประมาณ 2022 ด้วยรายได้มากกว่า 100,000 ล้านดอลลาร์จากช่วง COVID-19

อย่างไรก็ตาม “สิทธิบัตรยา 190 ฉบับ” จะหมดอายุในทศวรรษหน้า ข้อมูลจากเว็บไซต์ Drug Patent Watch ระบุว่าเมื่อสิทธิบัตรยาหมดอายุลง ถือเป็นจุดเปลี่ยนที่สำคัญที่สุด ตั้งแต่การลดราคาอย่างมากที่เป็นประโยชน์ต่อระบบการดูแลสุขภาพ ไปจนถึงกลยุทธ์ที่ซับซ้อนที่บริษัทยาใช้เพื่อรับมือกับการเปลี่ยนแปลงที่ท้าทายเหล่านี้

ดูข่าวต้นฉบับ
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...

ล่าสุดจาก กรุงเทพธุรกิจ

ยูเครนฝันค้าง? ต้องรอลุ้นยุโรปยอมสละ 'แพทริออต' ช่วยต่อกรรัสเซีย

17 นาทีที่แล้ว

เปิดโผ 5 หุ้น น่าลงทุน รับอานิสงส์ โครงการเที่ยวไทยคนละครึ่ง

19 นาทีที่แล้ว

ก.ล.ต.แจ้งเตือนผู้ถือหุ้นกู้ EA257A ใช้สิทธิประชุมผู้ถือหุ้นกู้ 18 ก.ค.นี้

33 นาทีที่แล้ว

‘สุริยะ’ เผย ครม. ยังไม่เคาะ งบฯท้องถิ่น กระจุกตัว เหตุ เอกสารไม่ตรง

45 นาทีที่แล้ว

วิดีโอแนะนำ

ข่าวและบทความสุขภาพอื่น ๆ

โรคพิษสุนัขบ้า (1 ม.ค.-2 ก.ค. 68) พบผู้ป่วย 7 ราย เสียชีวิตทั้ง 7 ราย

Amarin TV

นิทรรศการสัญจร 'FAKE OR FRESH?' สู้ภัยบุหรี่ไฟฟ้า ปลูกภูมิคุ้มกันเด็ก

กรุงเทพธุรกิจ

คณะแพทยศาสตร์ รพ.รามาธิบดี ผนึก GSK ดันโมเดลรักษา “หืด-ปอดอุดกั้น”

ฐานเศรษฐกิจ

ธุรกิจความงามโตสวนเศรษฐกิจ TRP ทุ่ม 630 ล้าน เปิด “รพ.ธีรพร” ศัลยกรรมเฉพาะ

ฐานเศรษฐกิจ

น่าห่วง! 'เด็กไทย 41%' ถูกบูลลี่ออนไลน์ สูงกว่าชาติอื่น

กรุงเทพธุรกิจ

สปสช. เปิดเวทีฟังความเห็น ร่างประกาศฯบริหาร บัตรทอง ปี 69

ฐานเศรษฐกิจ

'จิตแพทย์' แนะชาวโซเซียลเบามือเมนต์ 'สีกากอล์ฟ' หวั่นกระทบจิตใจลูก

กรุงเทพธุรกิจ

สปสช. เปิดบริการรถรับ-ส่งผู้ป่วยมะเร็ง เข้ารักษา 3 เทคโนโลยีขั้นสูง

PPTV HD 36

ข่าวและบทความยอดนิยม

Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...