'จิตแพทย์' แนะชาวโซเซียลเบามือเมนต์ 'สีกากอล์ฟ' หวั่นกระทบจิตใจลูก
นพ.ณชารินทร์ พิภพทรรศนีย์ จิตแพทย์ผู้ใหญ่ โรงพยาบาลแบงค็อก เมนทัล เฮลท์ (BMHH) เปิดเผยมุมมองทางจิตวิทยาต่อกรณี "สีกากอล์ฟ" ที่กำลังเป็นที่สนใจของสังคมในขณะนี้ว่า โดยหลักการจิตแพทย์ไม่สามารถวินิจฉัยคนที่ไม่ได้มาตรวจวินิจฉัยโรคได้ อีกทั้งไม่ได้มีการพูดคุยและไม่ได้รับความยินยอมในการแสดงความคิดเห็น รวมถึงพฤติกรรมต่างๆ เห็นตามข่าวทั้งนั้น ซึ่งไม่สามารถสรุปได้ว่ามีภาวะทางด้านสุขภาพจิตหรือไม่
ส่วนพฤติกรรมทางเพศ จากการนำเสนอว่ามีความเกี่ยวข้องกับพระสงฆ์หลายท่านนั้น เรื่องนี้ก็ไม่สามารถสรุปได้เช่นเดียวกันว่าเกิดอะไร เพราะการมีพฤติกรรมทางเพศอาจเป็นเรื่องรสนิยม หรือพบเจอโรคทางจิตเวชได้ เช่น โรคอารมณ์สองขั้ว อาทิ บางคนมีพฤติกรรมนิ่ง เรียบร้อย ไม่ค่อยคุย แต่บางทีกลับมีพฤติกรรมคุยเก่งขึ้น มีความมั่นใจในตัวเองมากขึ้น กรณีที่เกิดขึ้นไม่สามารถวินิจฉัยได้ ทั้งในเชิงมารยาท จริยธรรม และข้อมูลที่ไม่เพียงพอ
ข่าวที่เกี่ยวข้อง:
เปิดโปงขบวนการ! 'สีกากอล์ฟ' พัวพันพระ 13 รูป กวาดเงิน 385 ล้านบาท
เจาะลึก 7 ข้อหา 'สีกากอล์ฟ' หลังถูกรวบ คดีเงินวัดสะเทือนผ้าเหลือง
สรุปไม่ได้ 'สีกากอล์ฟ' มีภาวะทางจิตหรือไม่?
"ความชื่นชอบของแต่ละคนไม่เหมือนกัน ซึ่งการที่ผู้คนชื่นชอบสิ่งใดสิ่งหนึ่งถือเป็นรสนิยม อาทิ ผู้หญิงที่ชื่นชอบคนในเครื่องแบบ หรือผู้ชายชื่นชอบพยาบาล มีแฟนเป็นพยาบาลมาโดยตลอด แต่หากจะเป็นความเจ็บป่วยหรือมีภาวะทางจิตได้ รสนิยมดังกล่าวต้องก่อให้เกิดความเดือดร้อนต่อบุคคลใดบุคคลหนึ่ง เช่น คนชอบมีเพศสัมพันธ์กับศพ ศพไม่สามารถให้ความยินยอมมีเพศสัมพันธ์ได้ หรือชอบมีเพศสัมพันธ์กับเด็กที่ต่ำกว่า 18 ปี อันนี้ถือเป็นการก่อความเดือดร้อนให้แก่สังคม แต่หากคนๆ นั้นชอบแต่งคอสเพลย์ เรื่องนี้ถือเป็นรสนิยมส่วนตัว"
ทั้งนี้ แม้จะไม่สามารถสรุปได้โดยปราศจากการวินิจฉัย แต่จิตแพทย์สามารถให้ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับลักษณะบางประการที่อาจพบในผู้ที่มีบุคลิกภาพต่อต้านสังคม ซึ่งอาจแสดงออกถึงการไม่แยแสต่อสิทธิผู้อื่น การขาดความสำนึกผิด หรือพฤติกรรมหลอกลวง อย่างไรก็ตาม พฤติกรรมเหล่านี้มักมีรากฐานมาจากการพัฒนาและปัจจัยแวดล้อมตั้งแต่ในวัยเด็ก รวมถึงการเลี้ยงดู
ความเชื่อมโยงกับภาวะไบโพลาร์ในระยะฟุ้งพล่าน (Mania): จิตแพทย์จะให้ข้อมูลเกี่ยวกับ โรคไบโพลาร์ โดยเฉพาะใน ระยะฟุ้งพล่าน (Mania) ซึ่งผู้ป่วยอาจมีการเปลี่ยนแปลงทางอารมณ์ พฤติกรรม และความคิดอย่างมาก รวมถึงการมีพลังงานสูง ความคิดที่แล่นเร็ว และการยับยั้งชั่งใจที่ลดลง ในบางกรณี ผู้ป่วยในระยะฟุ้งพล่านอาจมีความต้องการทางเพศที่เพิ่มขึ้นอย่างผิดปกติ ซึ่งอาจนำไปสู่พฤติกรรมทางเพศที่ไม่เหมาะสม หรือการแสวงหาความพึงพอใจทางเพศในรูปแบบที่สังคมไม่ยอมรับ เช่น การมีเพศสัมพันธ์กับเด็กหรือศพ (ในกรณีที่รุนแรงและพบได้น้อย)
มุมมองจิตแพทย์ กับกรณี "สีกากอล์ฟ"
ทำความรู้จักกับโรคหลงตัวเอง (Narcissistic Personality Disorder): จิตแพทย์จะอธิบายถึงลักษณะของผู้ป่วยโรคหลงตัวเอง ซึ่งมักมีความรู้สึกว่าตนเองสำคัญกว่าผู้อื่นอย่างมาก ต้องการการชื่นชมอย่างต่อเนื่อง ขาดความเห็นอกเห็นใจผู้อื่น และมักใช้ประโยชน์จากคนรอบข้างเพื่อบรรลุเป้าหมายของตนเอง พฤติกรรมเหล่านี้อาจเป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้เกิดการกระทำที่ส่งผลกระทบต่อผู้อื่นได้
มิติของการเสพติด (Addiction): จิตแพทย์สามารถให้มุมมองเพิ่มเติมในประเด็นการเสพติด ซึ่งอาจรวมถึงการเสพติดสารเสพติด หรือการเสพติดพฤติกรรมบางอย่าง เช่น การเสพติดทางเพศ หรือการเสพติดอำนาจ/ผลประโยชน์ การเสพติดเหล่านี้ส่งผลกระทบต่อการตัดสินใจ การควบคุมตนเอง และพฤติกรรมของผู้เสพติดอย่างรุนแรง ซึ่งอาจเป็นอีกหนึ่งปัจจัยที่นำไปสู่พฤติกรรมที่ไม่เหมาะสม
การแสวงหาผลประโยชน์ส่วนตน: พฤติกรรมดังกล่าวที่กล่าวมาข้างต้น ไม่ว่าจะเป็นในมิติของบุคลิกภาพต่อต้านสังคม ภาวะฟุ้งพล่านในโรคไบโพลาร์ โรคหลงตัวเอง หรือการเสพติด ท้ายที่สุดแล้วมักจะสามารถโยงไปถึงการแสวงหาผลประโยชน์เพื่อตนเอง ไม่ว่าจะเป็นผลประโยชน์ทางกายที่ได้จากการปลดปล่อยความต้องการทางเพศ หรือผลประโยชน์ทางทรัพย์สินจากพฤติกรรมที่หลอกลวงผู้อื่น
แนะชาวโซเซียล ยั้งคอมเมนต์ หวั่นกระทบลูก
นพ.ณชารินทร์ กล่าวต่อว่าคนไข้จิตเวชส่วนใหญ่ไม่ได้ก่ออาชญากรรม แต่เป็นเหยื่ออาชญากรรม ส่วนที่เห็นจำนวนคนไข้จิตเวชมากขึ้น และมองว่าจะก่ออาชญากรรมนั้น เป็นเพราะสังคมมีความตระหนักมากขึ้น อาทิ อดีตคนไปฆ่าพระ เขาจะมองว่าเป็นการฆ่าปกติ แต่ปัจจุบันมีการตระหนักมากขึ้นว่าเหตุการณ์แบบนี้อาจจะเป็นอาการหนึ่งของโรคทางจิตเวช หรือความเจ็บป่วย
"สิ่งที่น่าเป็นห่วงในขณะนี้ คือ ลูกของสีกากอล์ฟ เพราะจากกรณีของแม่ย่อมส่งผลต่อสุขภาพจิต สุขภาพกายกับเด็กอยู่แล้ว ยิ่งเด็กอายุน้อยยิ่งส่งผลต่อพัฒนาการของเด็กมาก เนื่องจากพฤติกรรมของแม่ เด็กอาจจะรู้สึกว่าแม่ไม่ได้ใส่ใจครอบครัวสนใจสิ่งข้างนอก อาจกระทบต่อการเรียน การปฎิสัมพันธ์กับคนรอบข้าง จากการเลี้ยงดูมาแบบนั้น เห็นพฤติกรรมซ้ำๆ และเมื่อมีข่าว มีการเข้าไปคอมเมนท์ในเพจต่างๆ เขาย่อมรู้สึกว่าต่อสังคม และสังคมต้องรู้สึกต่อเขา"นพ.ณชารินทร์ กล่าว
อย่างไรก็ตาม อยากฝากคนในสังคม ชาวโซเซียลมีเดีย ควรจะยั้งการคอมเมนต์ถึงแม่ของเด็ก เพราะเด็กไม่ได้รู้เรื่อง ไม่แฟร์กับเด็กที่ต้องมาเจออะไรแบบนี้ ขณะที่คนรอบข้าง ไม่ควรจะไปถามถึงเรื่องราวที่เกิดขึ้น พยายามให้เขาเห็นว่าทุกคนพร้อมอยู่ข้างๆ เขา
“เรื่องราวที่เกิดขึ้น เป็นเพียงหยิบมือหนึ่งของเข่งใบใหญ่พระสงฆ์ทั่วประเทศ มีพระอีกจำนวนมากที่ไม่ได้ทำอะไรผิด ต้องมองภาพใหญ่ ฉะนั้น คนที่เสพข่าวอยู่ในขณะนี้ หากมีภาวะจิตตก ต้องสำรวจตัวเองว่าจิตตกแบบไหน เพราะแต่ละคนจิตตกไม่เหมือนกัน บางคนอาจจะเหวี่ยง อาจจะเศร้า อาจจะหิว เราควรจับสัญญาณจิตตกของตัวเองให้เจอ และพาตัวเองไปอยู่ในสถานที่ หรือผู้คนที่ทำให้ตัวเองสบายใจ ไม่เครียด และทำในสิ่งที่ดีต่อตัวเอง” นพ.ณชารินทร์ กล่าว