คณะแพทยศาสตร์ รพ.รามาธิบดี ผนึก GSK ดันโมเดลรักษา “หืด-ปอดอุดกั้น”
คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล จับมือกับบริษัท แกล็กโซสมิทไคล์น (ประเทศไทย) จำกัด หรือ GSK และภาคีเครือข่ายทั้งภาครัฐและเอกชน ประกาศเปิดตัวโครงการ “Value-Based Healthcare (VBHC) Policy Community” เพื่อพัฒนาโมเดลการบริบาลสุขภาพสำหรับผู้ป่วยโรคหืดและโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง (COPD)
ที่เน้น "คุณค่า" และ "ผลลัพธ์ที่ดีของผู้ป่วย" เป็นศูนย์กลาง โดยมีเป้าหมายลดการเข้ารักษาในโรงพยาบาลให้น้อยที่สุด เสริมสร้างคุณภาพชีวิต และลดภาระด้านการเงินของทั้งผู้ป่วยและระบบสุขภาพของประเทศในระยะยาว
ศ.คลินิก นพ.อาทิตย์ อังกานนท์ คณบดีคณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี กล่าวว่า โครงการนี้สะท้อนความตั้งใจของภาคการแพทย์ไทยในการเปลี่ยนแปลงเชิงระบบอย่างยั่งยืน โดยใช้หลัก Value-Based Healthcare ที่ให้ความสำคัญกับ "ผลลัพธ์สุขภาพที่ดี" มากกว่าเพียงการเข้าถึงบริการ “เพียงพอ” หรือ “มากเท่าใด” ซึ่งจะช่วยยกระดับคุณภาพการรักษาผู้ป่วยโรคระบบทางเดินหายใจ พร้อมบริหารต้นทุนการรักษาอย่างมีประสิทธิภาพ
คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล จับมือกับบริษัท แกล็กโซสมิทไคล์น (ประเทศไทย) จำกัด หรือ GSK และภาคีเครือข่ายทั้งภาครัฐและเอกชน ประกาศเปิดตัวโครงการ “Value-Based Healthcare (VBHC) Policy Community” เพื่อพัฒนาโมเดลการบริบาลสุขภาพสำหรับผู้ป่วยโรคหืดและโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง (COPD)
ที่เน้น "คุณค่า" และ "ผลลัพธ์ที่ดีของผู้ป่วย" เป็นศูนย์กลาง โดยมีเป้าหมายลดการเข้ารักษาในโรงพยาบาลให้น้อยที่สุด เสริมสร้างคุณภาพชีวิต และลดภาระด้านการเงินของทั้งผู้ป่วยและระบบสุขภาพของประเทศในระยะยาว
ศ.คลินิก นพ.อาทิตย์ อังกานนท์ คณบดีคณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี กล่าวว่า โครงการนี้สะท้อนความตั้งใจของภาคการแพทย์ไทยในการเปลี่ยนแปลงเชิงระบบอย่างยั่งยืน โดยใช้หลัก Value-Based Healthcare ที่ให้ความสำคัญกับ "ผลลัพธ์สุขภาพที่ดี" มากกว่าเพียงการเข้าถึงบริการ “เพียงพอ” หรือ “มากเท่าใด” ซึ่งจะช่วยยกระดับคุณภาพการรักษาผู้ป่วยโรคระบบทางเดินหายใจ พร้อมบริหารต้นทุนการรักษาอย่างมีประสิทธิภาพ
นพ.กฤช ลี่ทองอิน ผู้ทรงคุณวุฒิจาก สปสช. ชี้ว่าโครงการนี้ตอบโจทย์ยุทธศาสตร์การปฏิรูประบบจ่ายค่าบริการสาธารณสุขของไทย โดย สปสช. เริ่มนำร่อง “Value-Based Payment” หรือการจ่ายเงินตามผลลัพธ์มาใช้อย่างเป็นรูปธรรมแล้วในเดือนมิถุนายนที่ผ่านมา เพื่อจูงใจให้หน่วยบริการพัฒนาแนวทางดูแลผู้ป่วยที่ยั่งยืนและเห็นผลจริง
ในขณะที่ นพ.รักษ์พงศ์ เวียงเจริญ จากกระทรวงสาธารณสุข เสริมว่า กระทรวงฯ ได้เตรียมขยายคลินิกคุณภาพสำหรับโรคเหล่านี้ไปยังพื้นที่ต่าง ๆ ทั่วประเทศ ด้วยโมเดลจากโครงการนี้ที่เป็นต้นแบบเพื่อความเท่าเทียมในการเข้าถึงการดูแลสุขภาพคุณภาพ
รศ.นพ.วัชรา บุญสวัสดิ์ ประธานเครือข่าย Easy Asthma COPD Clinic (EACC) สรุปว่า เรากำลังเข้าใกล้เป้าหมาย ‘Admission near 0’ หรือการลดอัตราการนอนโรงพยาบาลให้น้อยที่สุดอย่างเป็นรูปธรรม เพราะการดูแลเชิงรุก การเข้าถึงยา และความรู้ของผู้ป่วย จะทำให้การป้องกันอาการกำเริบเป็นจริงได้ในทุกพื้นที่