โปรดอัพเดตเบราว์เซอร์

เบราว์เซอร์ที่คุณใช้เป็นเวอร์ชันเก่าซึ่งไม่สามารถใช้บริการของเราได้ เราขอแนะนำให้อัพเดตเบราว์เซอร์เพื่อการใช้งานที่ดีที่สุด

สุขภาพ

สถาบันมะเร็งแห่งชาติ เผยปัจจัยเสี่ยงผู้หญิงไทย "ป่วยมะเร็งปอด" top 2 ของโลก

ฐานเศรษฐกิจ

อัพเดต 1 วันที่แล้ว • เผยแพร่ 15 ชั่วโมงที่ผ่านมา

เรืออากาศเอกนายแพทย์สมชาย ธนะสิทธิชัย ผู้อำนวยการสถาบันมะเร็งแห่งชาติ เปิดเผยว่า สถานการณ์เร่งด่วนของโรคมะเร็งปอดในประเทศไทย บนเวทีเสวนาที่จัดขึ้นเนื่องในโอกาสวันงดสูบบุหรี่โลก โดยอ้างอิงข้อมูลระหว่างปี 2562 – 2564 ชี้ให้เห็นว่า มะเร็งปอดยังคงเป็นสาเหตุการเสียชีวิตอันดับ 1 ในผู้ป่วยมะเร็ง และคาดการณ์ว่าในปี 2568 นี้ จะมีผู้เสียชีวิตจากมะเร็งปอดสูงถึง 41 คนต่อวัน และมีผู้ป่วยรายใหม่เฉลี่ยวันละ 57 ราย

สถานการณ์ดังกล่าวได้ผลักดันให้ภาครัฐ สมาคมแพทย์ และภาคีด้านสุขภาพ ต้องผนึกกำลังกันอย่างจริงจัง เพื่อเร่งผลักดันกลไกนโยบายในการเพิ่มการเข้าถึงนวัตกรรมการรักษาและการคัดกรองให้ครอบคลุมมากยิ่งขึ้น

ศ.ดร.นพ. ศรายุทธ ลูเซียน กีเตอร์ สมาคมอุรเวชช์แห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ กล่าวว่า ปัจจุบันมะเร็งปอดพบมากเป็นอันดับ 1 ในผู้ชาย และอันดับ 4 ในผู้หญิง ผู้ป่วยส่วนใหญ่มักตรวจพบโรคในระยะลุกลาม (ระยะที่ 4) ซึ่งทำให้โอกาสหายขาดลดลง และต้องเข้าสู่การรักษาแบบประคับประคอง

ปัจจัยเสี่ยงสำคัญของมะเร็งปอด

  • การสูบบุหรี่
  • มลพิษทางอากาศ (PM2.5)
  • พันธุกรรม

โดยผู้ป่วยมะเร็งปอดมีแนวโน้มพบได้ในผู้ป่วยอายุน้อยลงเรื่อย ๆ และประเทศไทยยังมีผู้หญิงที่ไม่สูบบุหรี่เป็นมะเร็งปอดสูงเป็นอันดับ 2 ของโลก

ในบางประเทศมีแนวทางคัดกรองกลุ่มผู้ที่มีสมาชิกในครอบครัวป่วยด้วยโรคมะเร็งปอด แม้จะไม่เกี่ยวข้องโดยตรงกับพันธุกรรม แต่เกิดจากการใช้ชีวิตในสิ่งแวดล้อมเดียวกัน สะท้อนว่าแนวทางการคัดกรองจำเป็นต้องปรับให้สอดคล้องกับบริบทและข้อมูลเชิงพื้นที่

ปัจจุบันความก้าวหน้าในการรักษามะเร็งปอดมีความก้าวหน้าอย่างมาก ทั้งด้านการผ่าตัดผ่านกล้อง การฉายรังสีแบบแม่นยำ และการใช้ยามุ่งเป้า แต่การเข้าถึงนวัตกรรมเหล่านี้ยังคงมีข้อจำกัด สำหรับระบบหลักประกันสุขภาพของประเทศไทย

ทั้งนี้ หน่วยงานภาครัฐกำลังอยู่ระหว่างการทบทวนเกณฑ์ความคุ้มค่า (Cost-Effectiveness Threshold) ที่ใช้พิจารณายาและนวัตกรรมสุขภาพ เพื่อให้สอดคล้องกับสถานการณ์โรคที่มีความรุนแรงสูง เช่น มะเร็งปอด ซึ่งการพิจารณาปรับเกณฑ์นี้มีเป้าหมายเพื่อเพิ่มโอกาสให้ผู้ป่วยเข้าถึงนวัตกรรมที่มีประสิทธิภาพมากขึ้น โดยยังรักษาความสมดุลของงบประมาณระบบสุขภาพโดยรวม

ในงานเสวนาวันงดสูบบุหรี่โลก ยังมีการเสนอแนวทางบริหารจัดการ เช่น การจัดซื้อรวม การตั้งงบประมาณเฉพาะด้าน เพื่อลดต้นทุนและเพิ่มโอกาสการเข้าถึงยานวัตกรรม ซึ่งจะช่วยให้โรงพยาบาลสามารถดำเนินการรักษาได้โดยไม่เพิ่มภาระทางการเงิน

การส่งเสริมให้เกิด ‘Stage Shift’ หรือการตรวจพบโรคในระยะแรกเริ่ม แทนระยะลุกลาม จะช่วยเพิ่มโอกาสในการรักษาหาย ลดต้นทุนในระยะยาว และทำให้ประชาชนมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น มุ่งสู่ระบบสุขภาพที่ครอบคลุมและยั่งยืน

อย่างไรก็ตาม สิ่งสำคัญที่สุดของการคัดกรองคือ ‘Stage Shift’ หรือการย้ายระยะของโรค หากการคัดกรองจะทำให้ผู้ป่วยส่วนใหญ่ถูกตรวจพบในระยะที่ 1 แทนที่จะเป็นระยะที่ 4 สามารถเปลี่ยน ‘Mode of Death’ หรือวิธีการเสียชีวิตของผู้ป่วยจากมะเร็งปอดไปเป็นการเสียชีวิตตามวัยชราภาพได้

ด้านนพ. จักรกริช โง้วศิริ ผู้ทรงคุณวุฒิ สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ระบุว่า โรคมะเร็ง โดยเฉพาะมะเร็งปอด เป็นค่าใช้จ่ายสำคัญของระบบสุขภาพ ซึ่งต้องอาศัยการบริหารจัดการอย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อให้เกิดผลลัพธ์ด้านสุขภาพที่ชัดเจน เช่น อัตราการรอดชีวิตที่สูงขึ้น หรือภาวะแทรกซ้อนที่ลดลง

ทั้งนี้ ภาครัฐไม่ได้เน้นเฉพาะการรักษาเมื่อป่วย แต่ยังให้ความสำคัญกับการส่งเสริมสุขภาพ การป้องกันโรค และการคัดกรองระยะเริ่มต้น ซึ่งจะช่วยลดภาระค่าใช้จ่ายในภาพรวมได้ในระยะยาว

การแก้ปัญหามะเร็งปอดอย่างยั่งยืน จึงต้องอาศัยความร่วมมือจากทุกภาคส่วน ทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคประชาชน ในการกำหนดแนวทางที่ยืดหยุ่นและยั่งยืน ทั้งในด้านการเข้าถึงนวัตกรรม เทคโนโลยี และการประเมินความคุ้มค่าทางเศรษฐศาสตร์สุขภาพอย่างต่อเนื่อง

ดูข่าวต้นฉบับ
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...

ล่าสุดจาก ฐานเศรษฐกิจ

เปิดเงื่อนไขใหม่ บัตรเดบิต ออมสิน อุ่นใจ ทำไมสิทธิประโยชน์ลดลง

17 นาทีที่แล้ว

พม. เปิดตัวแอป “DepFund” กู้ยืมเงินคนพิการดอกเบี้ย 0% ผ่านมือถือ

53 นาทีที่แล้ว

ครม.ถกลับปมร้อน “นายกฯรักษาการ” มีอำนาจยุบสภาได้หรือไม่?

57 นาทีที่แล้ว

ด่วน! “คณะอนุฯ ราคาน้ำนมโค” มีมติปรับราคาน้ำนมดิบลง 80 สตางค์ เป็น 21.95 บาทต่อกิโลกรัม

1 ชั่วโมงที่ผ่านมา

วิดีโอแนะนำ

ข่าวและบทความสุขภาพอื่นๆ

COSMOTALKS 2025 ชี้เทรนด์! ความงามยุคใหม่ เน้น AI-สุขภาพยั่งยืน

กรุงเทพธุรกิจ

เคลื่อน 'ชุมชน' สร้าง 'ระบบสุขภาพ'ใหม่ เท่าทันพื้นที่-ยุคสมัย

กรุงเทพธุรกิจ

ฝุ่นPM2.5 เอี่ยวมะเร็งปอดในคนไม่สูบบุหรี่ กลายพันธุ์เพิ่มขึ้น

TNN ช่อง16

โชว์ 7 นวัตกรรมสิทธิบัตรทอง @ World Expo 2025 ญี่ปุ่นเลิฟรากฟันเทียม

กรุงเทพธุรกิจ

ยิ่งเครียดนาน ภูมิแพ้ยิ่งรุนแรง แก้อย่างไร

TNN ช่อง16

LDCT การคัดกรองโรคปอด ด้วยปริมาณรังสีน้อยกว่าการทำ CT Scan

TNN ช่อง16

รักพังเพราะพฤติกรรม Phubbing เมินคนรักเพราะติดมือถือ

TNN ช่อง16

เบาหวานรักษาไม่หายแต่ควบคุมได้ เช็ก 7 วิธีป้องกันภาวะแทรกซ้อนอันตราย!

PPTV HD 36

ข่าวและบทความยอดนิยม

Loading...