โปรดอัพเดตเบราว์เซอร์

เบราว์เซอร์ที่คุณใช้เป็นเวอร์ชันเก่าซึ่งไม่สามารถใช้บริการของเราได้ เราขอแนะนำให้อัพเดตเบราว์เซอร์เพื่อการใช้งานที่ดีที่สุด

Others

ประกันรถยนต์-บ้าน-ไข้เลือดออก-เดินทาง ตัวช่วยรับภัย หน้าฝน ลดภาระค่าใช้จ่าย

การเงินธนาคาร

อัพเดต 14 ชั่วโมงที่ผ่านมา • เผยแพร่ 21 ชั่วโมงที่ผ่านมา

คอลัมน์ Insurance : วารสารการเงินธนาคารฉบับเดือนกรกฎาคม 2568 (ฉบับที่ 519)

บริษัทประกันภัยแนะนำเครื่องมือบริหารความเสี่ยงภัย เพื่อรับมือกับช่วง หน้าฝน พร้อมช่วยลดภาระค่าใช้จ่าย ทั้งประกันภัยรถยนต์ บ้านที่อยู่อาศัย คอนโดมิเนียม สถานประกอบการ โรคร้ายจากยุงลายอย่างไข้เลือดออก และประกันการเดินทาง

ชี้ภัยหน้าฝนที่ต้องระวัง ประกันภัยรถยนต์สำคัญที่สุด

[caption id="attachment_185590" align="aligncenter" width="751"]

นายสุรชัย ไตรวิทยางกูร ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการ บริษัท วิริยะประกันภัย จำกัด (มหาชน)[/caption]

นายสุรชัย ไตรวิทยางกูร ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการ บริษัท วิริยะประกันภัย จำกัด (มหาชน) แนะนำแก่ผู้ขับขี่รถยนต์ว่า การทำประกันภัยรถยนต์เป็นสิ่งจำเป็นที่รถทุกคันควรมีไว้ตลอดเวลา ไม่ใช่แค่เฉพาะช่วงหน้าฝนเท่านั้น เพราะโอกาสในการเกิดอุบัติเหตุ ไม่ว่าจะจากรถของเราเองหรือรถของผู้อื่น สามารถเกิดขึ้นได้ตลอดเวลา

อย่างไรก็ตาม ความเสี่ยงหลักที่เพิ่มเข้ามาในช่วงฤดูฝนที่แตกต่างจากฤดูอื่นคือ ภัยน้ำท่วม ซึ่งประกันภัยรถยนต์ที่ให้ความคุ้มครองภัยน้ำท่วมด้วยคือ ประกันภัยรถยนต์ประเภท 1 และ/หรือ ประกันภัยรถยนต์ประเภท 5 (2+, 3+) ที่มีการขยายความคุ้มครองภัยน้ำท่วม โดยเหตุผลที่รถยนต์ทุกคันควรทำประกันภัยก็เพื่อคุ้มครองความเสียหายที่เกิดขึ้นจากอุบัติเหตุ ซึ่งภัยที่ทำให้รถยนต์เสียหายหลักๆ มาจาก 2 สาเหตุ คือ

  • ภัยน้ำท่วม จากสภาพน้ำท่วมขังรอการระบายในหลายพื้นที่ ซึ่งอาจทำให้รถยนต์เสียหายจากการที่น้ำวมเข้าถึงเครื่องยนต์ หรือภายในตัวรถยนต์ โดยเฉพาะการขับรถลุยน้ำ
  • ภัยจากการชน เมื่อฝนตก สภาพถนนและเส้นทางสัญจรจะเปียกลื่น และทัศนวิสัยไม่ดี มักส่งผลต่อการควบคุมรถยนต์ โดยเฉพาะรถที่ระบบช่วงล่างหรือระบบเบรกไม่ได้รับการดูแลที่ดี ก็มีโอกาสที่จะสูญเสียการควบคุมจนเกิดอุบัติเหตุได้ง่าย นอกจากนี้ ในช่วงที่ฝนตก การจราจรมักจะหนาแน่น ซึ่งยิ่งส่งผลให้โอกาสในการเฉี่ยวชนเพิ่มสูงขึ้นกว่าปกติ

สำหรับกรณีรถยนต์ไฟฟ้า (EV) นายสุรชัยแนะนำว่า แม้จะได้รับการรับรองมาตรฐานกันน้ำไม่ต่ำกว่า IP67 ซึ่งหมายความว่า สามารถกันฝุ่นได้ และป้องกันน้ำได้โดยการจมน้ำในระดับ 1 เมตร ไม่เกิน 30 นาที แต่ก็ควรหลีกเลี่ยงการขับลุยน้ำท่วมที่มีระดับสูงเกินครึ่งล้อ เนื่องจากความสามารถในการป้องกันน้ำตามมาตรฐานมีข้อจำกัดหลายประการ ทั้งจากสภาพรถยนต์ และสภาพแวดล้อม เช่น รถยนต์เก่าอาจมีการเสื่อมสภาพของการป้องกันน้ำ หรือการขับรถลุยน้ำที่เกิดแรงดันน้ำมากกว่าปกติ อาจส่งผลให้น้ำสามารถเข้าสู่ภายในตัวรถ และทำความเสียหายให้ระบบต่างๆ ของรถยนต์ได้

นายสุรชัยกล่าวเสริมว่า ยอดขายประกันภัยรถยนต์โดยรวมของประเทศไม่ได้ขึ้นอยู่กับฤดูกาล เนื่องจากประกันภัยรถยนต์เป็นประกันภัยที่ควรมีตลอดเวลา ซึ่งมักกระจายการจัดซื้อใกล้เคียงกับช่วงเวลาที่ต้องต่อภาษีทะเบียนรถยนต์ในแต่ละปี แต่ในมุมของการเกิดอุบัติเหตุอาจสูงขึ้นในช่วงฤดูฝนเทียบกับช่วงฤดูอื่นๆ ตามเหตุผลที่กล่าวมาข้างต้น ซึ่งบริษัทประกันภัยก็จะมีการเตรียมความพร้อมในการให้บริการกับลูกค้าที่อาจจะเกิดอุบัติเหตุให้เหมาะสม โดยอ้างอิงจากสถิติที่ผ่านมา

ดังนั้น สิ่งที่เจ้าของ/ผู้ใช้รถควรดำเนินการในช่วงหน้าฝนคือ การตรวจสอบสภาพรถให้พร้อมใช้งานอยู่เสมอ โดยเฉพาะยางรถยนต์ ระบบเบรก ที่ปัดน้ำฝน และระบบไฟส่องสว่าง และหากขับขี่ในช่วงที่ฝนตก หรือฝนเพิ่งหยุดตก ต้องเพิ่มความระมัดระวังในการขับขี่ให้มากขึ้น หากมีการขับรถลุยน้ำท่วมขัง ควรตรวจสอบระบบเบรกและย้ำเบรกเพื่อไล่น้ำออกจากระบบเบรก เพื่อให้ระบบเบรกกลับมาทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ หากพบว่ามีน้ำเข้าภายในตัวรถ ต้องรีบทำความสะอาด และนำพรม/หรือแผ่นรองพื้นตากแห้ง เปิดระบายอากาศรถ เพื่อป้องกันกลิ่นอับและเชื้อรา

ประกันบ้าน-คอนโดฯ รับมือภัยธรรมชาติ

ด้านบริษัท กรุงเทพประกันภัย จำกัด (มหาชน) แนะนำว่า สำหรับช่วงหน้าฝน เจ้าของที่พักอาศัยประเภทต่างๆ รวมถึงสถานประกอบการ ควรมีการทำ ประกันภัยบ้าน คอนโด และสถานประกอบการ ไว้ เพื่อช่วยลดความเสียหายที่อาจเกิดขึ้นกับชีวิตและทรัพย์สินที่เกิดจากภัยธรรมชาติต่างๆ อาทิ น้ำท่วม แผ่นดินไหว พายุฝน หรือเหตุการณ์อื่นๆ ที่อาจเกิดขึ้นโดยไม่ทันตั้งตัว โดยการทำประกันภัยเป็นอีกหนึ่งตัวช่วยในการคุ้มครองความเสียหายของทรัพย์สินทั้งภายในและภายนอกตัวบ้าน

ทั้งนี้ เพื่อช่วยกระจายความเสี่ยงและแบ่งเบาภาระค่าใช้จ่ายที่อาจเกิดขึ้น บริษัทจึงได้นำเสนอผลิตภัณฑ์ประกันภัยสำหรับบ้านอยู่อาศัยอย่าง แผนประกันภัยรักษ์บ้าน ซึ่งเป็นประกันอัคคีภัยที่ให้ความคุ้มครองที่อยู่อาศัยทั่วไป ทั้งบ้าน ทาวน์เฮาส์ และคอนโดมิเนียม ครอบคลุมภัยสำคัญ เช่น ไฟไหม้ ฟ้าผ่า ภัยระเบิด ภัยจากยานพาหนะและอากาศยาน รวมถึงภัยเนื่องจากน้ำ และภัยธรรมชาติอย่างลมพายุ น้ำท่วม ลูกเห็บ แผ่นดินไหว และภูเขาไฟระเบิด

พร้อมขยายความคุ้มครองไปถึงทรัพย์สินมีค่า เช่น เครื่องใช้ไฟฟ้า โบราณวัตถุ และศิลปวัตถุ อีกทั้งยังให้ความคุ้มครองครอบคลุมถึงสิ่งปลูกสร้างหลัก โรงรถและอาคารย่อย กำแพง รั้ว ประตู และส่วนปรับปรุงต่อเติม รวมถึงฐานราก ระบบไฟฟ้า ระบบประปา ระบบระบายน้ำ และทรัพย์สินภายในสิ่งปลูกสร้าง เช่น เฟอร์นิเจอร์ สิ่งติดตั้งตรึงตรา เครื่องมือ เครื่องใช้ อุปกรณ์ไฟฟ้า และทรัพย์สินอื่นๆ เพื่อการอยู่อาศัย

โดยแผนประกันภัยนี้ยังช่วยแบ่งเบาภาระค่าใช้จ่ายเพิ่มเติมที่อาจเกิดขึ้น เช่น ค่าใช้จ่ายของเจ้าหน้าที่ดับเพลิง ค่าค้ำยัน รื้อถอน และขนย้ายซากทรัพย์สิน รวมถึงค่าเช่าที่พักชั่วคราวระหว่างซ่อมแซมอาคาร ซึ่งสามารถเลือกทำประกันภัยได้ตั้งแต่ระยะเวลา 1 ปี จนถึง 10 ปี

“ขอแนะนำให้ผู้เอาประกันภัยพิจารณาเลือกความคุ้มครองให้เหมาะสมกับมูลค่าทรัพย์สินของตนเอง เพื่อให้ได้รับความคุ้มครองที่ครอบคลุมและคุ้มค่าที่สุด”

นอกจากนี้ บริษัทยังได้นำเสนอ แผนประกันภัยพร้อมสรรพสำหรับเจ้าบ้าน ที่ให้ความคุ้มครองครอบคลุมภัยพื้นฐานและภัยธรรมชาติต่างๆ แบบประกันภัยรักษ์บ้าน แต่ยังเพิ่มความคุ้มครองประกันภัยอุบัติเหตุส่วนบุคคลให้แก่ผู้เอาประกันภัยและสมาชิกในครอบครัวจากอุบัติเหตุที่เกิดขึ้นภายในที่อยู่อาศัย รวมถึงประกันภัยโจรกรรมที่คุ้มครองภัยจากการลักทรัพย์ที่ปรากฏร่องรอยงัดแงะ การชิงทรัพย์หรือปล้นทรัพย์ภายในบ้าน และการประกันความรับผิดตามกฎหมายต่อบุคคลภายนอก

ขณะเดียวกัน บริษัทยังได้นำเสนอ แผนประกันภัยทรัพย์สินภายในคอนโดฯ เพื่อเจาะกลุ่มลูกค้าไลฟ์สไตล์ยุคใหม่ ที่ให้ความคุ้มครองเฉพาะทรัพย์สินภายในห้องชุดของผู้เอาประกันภัย ไม่ว่าจะเป็นความเสียหายจากอัคคีภัย น้ำรั่วไหล น้ำท่วม ลมพายุ แผ่นดินไหว หรือภัยเนื่องจากน้ำ รวมถึงความเสียหายจากการถูกโจรกรรม และความรับผิดตามกฎหมายต่อบุคคลภายนอก

โดยทรัพย์สินที่ได้รับความคุ้มครองมีทั้งเฟอร์นิเจอร์ เครื่องใช้ไฟฟ้า อุปกรณ์ไฟฟ้า รวมถึงทรัพย์สินอื่นๆ เพื่อการอยู่อาศัย ตลอดจนทรัพย์สินที่ผู้เอาประกันภัยต้องรับผิดชอบตามกฎหมายต่อความเสียหายที่เกิดขึ้นกับบุคคลภายนอกหรือพื้นที่ส่วนกลาง เช่น กรณีเกิดน้ำรั่วไหลจากห้องชุดไปทำความเสียหายต่อห้องอื่นๆ หรือทรัพย์สินส่วนกลางของอาคาร ซึ่งมักจะเป็นเหตุการณ์ไม่คาดคิดและมีค่าใช้จ่ายสูง

นอกจากนี้ ยังคุ้มครองทรัพย์สินภายในห้องชุดจากการลักทรัพย์ปรากฏร่องรอยงัดแงะ การชิงทรัพย์ หรือปล้นทรัพย์ โดยสามารถเลือกซื้อความคุ้มครองได้ง่ายๆ ด้วยเบี้ยประกันภัยเริ่มต้นเพียง 1,290 บาทต่อปี

ทั้งนี้ นอกจากประกันภัยสำหรับบ้านอยู่อาศัยและคอนโดมิเนียมแล้ว บริษัทยังได้นำเสนอ แผนประกันภัยร้านค้าอุ่นใจ ที่ให้ความคุ้มครองอุบัติภัยหลากหลายรูปแบบไว้สำหรับเจ้าของธุรกิจ และประกันอัคคีภัยสำหรับสถานประกอบการ เช่น คลินิก หอพัก โรงเรียน หรือบ้านที่ตกแต่งเป็นร้านค้าและสำนักงาน โดยให้ความคุ้มครองครอบคลุมทั้งสิ่งปลูกสร้าง เครื่องตกแต่ง อุปกรณ์ไฟฟ้า ตลอดจนเครื่องมือ อุปกรณ์และสินค้าภายในร้าน

พร้อมด้วย ประกันภัยสำหรับธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม SME Total ที่ครอบคลุมกลุ่มธุรกิจมากถึง 66 ประเภท เพื่อรองรับอุบัติภัยต่างๆ ที่อาจเกิดขึ้นกับธุรกิจได้อย่างครอบคลุม

ประกันภัยไข้เลือดออก ตัวช่วยยามหน้าฝน

สำหรับช่วงหน้าฝน หนึ่งในโรคที่ต้องเฝ้าระวังอันดับ 1 ใน 5 คือ โรคไข้เลือดออก โดยพบมากในประเทศเขตร้อนและเขตอบอุ่น ที่มียุงลายเป็นพาหะนำโรค และระบาดในช่วงฤดูฝนของทุกปี เห็นได้จากข้อมูลขององค์การอนามัยโลกพบว่าในแต่ละปีมีผู้ป่วยสูงถึง 100-400 ล้านคน ขณะที่ในประเทศไทยนั้น ในปี 2566 กรมควบคุมโรครายงานว่า มีผู้ป่วยโรคไข้เลือดออก 59,000 คน และเสียชีวิต 49 คน กว่า 50% โดยพบมากที่สุดในกลุ่มเด็กถึงวัยทำงานตั้งแต่อายุ 5-24 ปี ทั่วทุกภูมิภาคในประเทศไทย

แม้ว่าประกันสุขภาพจะครอบคลุมค่ารักษาพยาบาลโรคนี้อยู่แล้ว แต่ยังมีคนบางกลุ่มที่อาจไม่สามารถเข้าถึงประกันสุขภาพได้ ดังนั้น บริษัทประกันภัยจึงได้พัฒนา แบบประกันภัยยุงลาย ผ่านช่องทางออนไลน์ จ่ายเบี้ยประกันหลักร้อย คุ้มครองสูงสุดหลักแสน อาทิ

  • บริษัท แอกซ่าประกันภัย จำกัด (มหาชน) นำเสนอประกันไข้เลือดออกและโรคร้ายจากยุง รับประกันตั้งแต่อายุ 15 วัน - 69 ปี คุ้มครองการเจ็บป่วยจากโรคไข้เลือดออกหรือไข้เดงกี โรคชิคุนกุนยา โรคไข้ปวดข้อยุงลาย โรคมาลาเรีย/ไข้จับสั่น โรคไข้สมองอักเสบ และโรคติดเชื้อไวรัสซิกา รับผลประโยชน์แบบเจอ จ่าย จบ เมื่อตรวจเจอโรค ด้วยเงินก้อนสูงสุด 30,000 บาท จ่ายเบี้ยประกันเริ่มต้นเพียง 146 บาท/ปี
    • บริษัท ทิพยประกันภัย จำกัด (มหาชน) นำเสนอ ประกันไข้เลือดออก เจ็บไข้ สบายกระเป๋า รับประกันที่อายุ 1-99 ปี คนละ 1 กรมธรรม์ คุ้มครองค่ารักษาพยาบาลจากการเจ็บป่วยสำหรับโรคไข้เลือดออก หลังจาก 15 วันนับจากวันที่กรมธรรม์มีผลบังคับครั้งแรก ครอบคลุมทั้งผู้ป่วยใน (IPD) และผู้ป่วยนอก (OPD) จ่ายเบี้ยประกันเริ่มต้น 260 บาท/ปี วงเงินสูงสุด 150,000 บาท
    • บริษัท เมืองไทยประกันภัย จำกัด (มหาชน) นำเสนอ ประกันไข้เลือดออก รับประกันตั้งแต่อายุ 1-70 ปี คนละ 1 กรมธรรม์ คุ้มครองการบาดเจ็บจากอุบัติเหตุทันที หากเจ็บป่วยด้วยโรคไข้เลือดออก จะให้ความคุ้มครองเมื่อพ้น 15 วันนับจากวันที่กรมธรรม์มีผลบังคับครั้งแรก ให้ความคุ้มครองค่ารักษาจากการเจ็บป่วยด้วยโรคไข้เลือดออกครอบคลุมทั้งผู้ป่วยใน (IPD) และผู้ป่วยนอก (OPD) วงเงินสูงสุด 310,000 บาท พร้อมรับเงินชดเชยรายได้กรณีนอนรักษาตัวในโรงพยาบาลสูงสุด 30 วัน เบี้ยประกันเริ่มต้น 619 บาท/ปี

ตัวช่วยเมื่อเครื่องดีเลย์ ประกันภัยการเดินทาง

สำหรับผู้ที่เดินทางต่างประเทศบ่อยๆ คงต้องเจอกับปัญหาเครื่องดีเลย์ หรือการที่เครื่องจะออกเดินทางช้ากว่าเวลาที่กำหนด ซึ่งการที่เครื่องดีเลย์มาจากหลายสาเหตุ เช่น ปัญหาสภาพอากาศ เครื่องบินเสียหรือขัดข้อง ปัญหาจากไฟลท์บินขาเข้าล่าช้า การตรวจพบสิ่งผิดปกติ เป็นต้น

ดังนั้น เพื่อช่วยลดปัญหาที่เกิดขึ้นให้กับนักเดินทางให้ได้รับค่าชดเชยจากการเสียเวลา และค่าใช้จ่ายที่เพิ่มขึ้น บริษัทประกันภัยจึงได้นำเสนอ แผนประกันภัยการเดินทาง เพื่อช่วยบรรเทาค่าใช้จ่ายระหว่างการเดินทางจากหลายสาเหตุ เช่น ความเจ็บป่วยระหว่างที่อยู่ต่างประเทศ ที่มีค่ารักษาสูงมาก โดยประกันเดินทางจะช่วยรับผิดชอบในค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นให้ รวมถึงมีบริการช่วยเหลืออื่น อาทิ การติดต่อสถานพยาบาล ติดต่อแพทย์ การช่วยเหลือกรณีฉุกเฉิน เป็นต้น

นอกจากนี้ ยังคุ้มครองค่ารักษาพยาบาลจากการเกิดอุบัติเหตุ หรือเสียชีวิต ความล่าช้าของเที่ยวบิน ความล่าช้าของการรับกระเป๋าเดินทาง ทรัพย์สินมีค่าสูญหาย การบอกเลิกหรือลดจำนวนวันเดินทาง เป็นต้น ดังนั้น หากมีการทำประกันภัยการเดินทางก่อนจะออกเดินทางทุกครั้ง เมื่อเกิดปัญหาเครื่องดีเลย์ สามารถดำเนินการตามขั้นตอนการเคลมเครื่องดีเลย์ดังนี้

  • ติดต่อ Call Center ของสายการบิน เพื่อให้ออกเอกสารรับรองชัดเจนว่าสาเหตุเกิดจากอะไร
  • ถ่ายภาพหลักฐาน เช่น เหตุการณ์ที่เครื่องบินยกเลิกไฟลท์อย่างละเอียด ชัดเจน
  • เก็บเอกสารต่างๆ ให้ครบ เช่น ตั๋วเครื่องบิน, ค่าที่พักที่จองล่วงหน้า, ค่ากิจกรรมที่จ่ายล่วงหน้า, ค่าอาหารระหว่างรอไฟล์ทดีเลย์, ค่าใช้จ่ายอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง
  • แจ้งเคลมกับสายการบินและบริษัทประกันภัย ที่ทำประกันภัยการเดินทางไว้

“อย่างไรก็ตาม ไม่ว่าจะเป็นภัยจากธรรมชาติหรือเหตุการณ์ไม่คาดฝัน การมีประกันภัยที่เหมาะสมไว้เป็นเครื่องมือบริหารความเสี่ยง ที่จะช่วยให้อุ่นใจและลดภาระค่าใช้จ่ายที่อาจเกิดขึ้นได้ในทุกสถานการณ์ ทั้งยังเป็นส่วนสำคัญในการวางแผนการเงินเพื่อความมั่นคงในระยะยาวด้วย”

ติดตามอ่านคอลัมน์อื่น ๆ ได้ในวารสารการเงินธนาคารฉบับเดือนกรกฎาคม 2568 ฉบับที่ 519 ในรูปแบบดิจิทัล : https://goo.gl/U6OnIi

รวมช่องทางการสั่งซื้อวารสารการเงินธนาคาร ทั้งฉบับปัจจุบันและฉบับย้อนหลัง ครบจบที่นี่ที่เดียว : https://moneyandbanking.co.th/2023/18250/

ดูข่าวต้นฉบับ
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...

ล่าสุดจาก การเงินธนาคาร

ทีทีบี สานต่อ “ปีแห่งการช่วยเหลือลูกหนี้” เผยช่วยไปแล้วกว่า 5 หมื่นบัญชี

26 นาทีที่แล้ว

“ธนาคารกลางอังกฤษ” เล็งชะลอแผนออก “เงินปอนด์ดิจิทัล” หลังประเมินประโยชน์ลดลง

34 นาทีที่แล้ว

ครม.เคาะ “วิทัย รัตนากร” นั่งผู้ว่าธปท. ลำดับที่ 25

51 นาทีที่แล้ว

บลูบิค ย้ายเทรด SET วันแรก ตั้งเป้า 3 ปี ดันองค์กรเข้า SET100

56 นาทีที่แล้ว

วิดีโอแนะนำ

ข่าวและบทความOthersอื่น ๆ

ธุรกิจเดลิเวอรีกับปัญหาแย่งพื้นที่ถนน

Capital

61 ปีแห่งแรงบันดาลใจ “นิวซิตี้” เสริมแกร่งแบรนด์ “Cherilon” สู่อนาคต ด้วย Deep Care Collagen นวัตกรรมที่เข้าใจผู้หญิงอย่างแท้จริง

Marketing Oops

ซีเจ มอร์ สานต่อ “ปันแต้ม ปันน้ำใจ” ร่วมกับมูลนิธิยุวพัฒน์ ชวนสมาชิกสบายการ์ด ส่งต่อ #การให้ที่ไม่จบแค่มื้ออาหาร ผ่านโครงการ FOOD FOR GOOD

Marketing Oops

GULF มอบเงิน 1.2 ล้าน ช่วยเหลือทหารเหยียบกับระเบิด

The Bangkok Insight

งานประชุมสัมมนามันสำปะหลังโลก ปี 2568 (World Tapioca Conference 2025)

Businesstoday

มินิ มิลเลนเนียม ออโต้ ฉลองครบรอบ 25 ปี เดินหน้าทำความดี ‘Big Love & Charity’ สานต่อความรักเพื่อเพื่อน 4 ขา

สยามคาร์ - Siamcar

หนุ่มเก็บเงินทั้งชีวิต ซื้อรถหรูในฝัน ขับได้ 5 วันเจอปัญหา เก็บเงินทั้งชีวิต ตอนนี้ยังจอดอยู่ที่ศูนย์ ยังไม่ได้ซ่อม

สยามคาร์ - Siamcar

ZEEKR (ประเทศไทย) ออกโรงชี้แจงรถยนต์ที่จำหน่ายในไทยเป็นรถใหม่ทุกคันเเน่นอน!

สยามคาร์ - Siamcar

ข่าวและบทความยอดนิยม

Loading...