ประเทศไทยกับเดิมพันใหญ่ฉากทัศน์ท่ามกลาง ‘กฎแห่งป่า’
1. ความไร้สมดุลมนุษย์กับธรรมชาติ (Bio physical Sphere) เรากำลังเผชิญวิกฤติภูมิอากาศ ความขัดแย้งแย่งชิงทรัพยากร และปัญหาสิ่งแวดล้อมที่บางประเทศเลือกแก้ด้วยวิธี “ส่งต่อภาระ” โรงงานบางแห่งย้ายไปประเทศที่กติกาสิ่งแวดล้อมต่ำกว่า, การแย่งชิงแร่หายากในแอฟริกาและเอเชีย, เกษตรเชิงเดี่ยวที่สร้างผลตอบแทนเร็วแต่ทำลายความหลากหลายทางชีวภาพ
ตัวอย่างที่เป็น “สังคมเทคโน-จริยธรรม” จริง ๆ: แผนปฏิรูปยุโรปสีเขียวของสหภาพยุโรป (EU Green Deal) และมาตรการปรับราคาคาร์บอนก่อนข้ามพรมแดนของสหภาพยุโรป (CBAM) ใช้กติกาการค้าให้โลกต้องปรับตัวตามมาตรฐานคาร์บอน, ประเทศคอสตาริกาที่เลือกพัฒนาแบบ “ประเทศสีเขียว” กลายเป็นแบรนด์ดึงดูดการลงทุนและการท่องเที่ยวคุณภาพสูง
บทเรียน : เราสามารถใช้มาตรฐานการค้าและซอฟต์พาวเวอร์ของความยั่งยืน “บังคับ” โลกให้ขยับตามเราได้
2. ความไร้สมดุลมนุษย์กับมนุษย์ (Geopolitical Sphere)
ความขัดแย้งทางภูมิรัฐศาสตร์ไม่ได้อยู่แค่ในสนามรบอีกต่อไป แต่เป็นสงครามลูกผสม (ไฮบริด วอร์) เช่น รัสเซีย–ยูเครน/ อิสราเอล-อิหร่าน สู้กันทั้งในสนามรบและในโลกไซเบอร์, สหรัฐ–จีนแข่งกันในเทคโนโลยีขั้นสูง ตั้งแต่เซมิคอนดักเตอร์ จนถึงเอไอ, การคว่ำบาตรกลายเป็นอาวุธทางเศรษฐกิจ
ตัวอย่าง ท่าม กลางความขัดแย้ง : ประเทศกลุ่มนอร์ดิก เช่น เดนมาร์ก ฟินแลนด์ ไอซ์แลนด์ นอร์เวย์ และสวีเดน สร้างประชาธิปไตยดิจิทัล (Digital Democracy), การสร้างความสามารถในการเตรียมตัว ตอบสนองต่อภัยคุกคามทางไซเบอร์ (Cyber‑Resilience) แม้เผชิญภัยคุกคาม ไต้หวัน สร้างความร่วมมือระหว่างภาครัฐ และเอกชน รับมือความขัดแย้งในพื้นที่สีเทา, เกาหลีใต้ออกกฎหมายการพัฒนาเอไอ (AI Ethics Guideline) เพื่อสร้างเรื่องเล่าว่า “เราแข่งขันด้วยคุณค่า”
บทเรียน : ความไร้สมดุลมนุษย์กับมนุษย์ ไม่ใช่การอ่อนแอ แต่คือ “ความแกร่งแบบมีหลักการ”, ต้องลงทุนในเทคโนโลยีการป้องกันทางจริยธรรม และความสมบูรณ์ของข้อมูล เพื่อยืนหยัดในโลกที่ขัดแย้ง
3. ความไร้สมดุลมนุษย์กับเทคโนโลยี (Tech‑Moral Society)
การแข่งขันพัฒนาเอไอ และเทคโนโลยีขั้นสูง กำลังนำโลกไปสู่ภาวะที่บางคนเรียกว่า “AI Hegemony” หรืออำนาจคลอบงำของเอไอ เช่น กลุ่มบริษัทเทคโนโลยี ใช้ข้อมูลจากประเทศกำลังพัฒนาโดยไม่โปร่งใส, การแข่งขันทางอาวุธเอไอ (AI Arms Race) ทำให้เกิดอาวุธอัตโนมัติไร้กรอบจริยธรรม, และสงครามทางความคิด (Cognitive Warfare) บ่อนทำลายความไว้วางใจของผู้คน
ตัวอย่างในมิตินี้ : พระราชบัญญัติเอไอของสหภาพยุโรป (อียู) วางมาตรฐานเอไอ ระดับโลก แม้ถูกมองว่าทำให้นวัตกรรมช้าลง, แคนาดา สิงคโปร์ สร้างใบรับรองจริยธรรมของเอไอ ให้บริษัท, ยูเครน ใช้เอไอ ในสงครามแต่ยังมีการกำกับดูแล ไม่ให้ละเมิดกฎหมายมนุษยธรรม
บทเรียน : การป้องกันไม่ให้เทคโนโลยีครอบงำ ต้องสร้างโครงสร้างพื้นฐานด้านจริยธรรม และเป็นผู้กำหนดมาตรฐานก่อนใคร ถ้าโลกภายนอกยังอยู่ในกฎแห่งป่า หรือ Law of the Jungle
คำถามสำคัญคือ…แล้วถ้าโลกภายนอกไม่เดินตามแนวทาง Tech‑Moral Society ด้วยล่ะ? คำตอบอยู่ที่การคิดแบบสมมุติฐาน (Scenario Planning) และการวางแผนแบบ “แก้ปัญหาเป็นจริงในเชิงยุทธศาสตร์”
สมมุติฐานA : โลกแข่งกันแบบใครแกร่งกว่าชนะสังคมเทคโน-จริยธรรม(Tech‑Moral) อาจดูอ่อนแอในระยะสั้น
ยุทธศาสตร์คู่ขนาน (Dual Strategy) : แข็งแกร่งด้าน Defense Tech พร้อมขับเคลื่อน Moral Standard และใช้ Soft Power บังคับตลาด
สมมุติฐานB : Hybrid War และTech War ขยายวงความเสี่ยงสูง ต้องสร้างภูมิคุ้มกันสร้างอธิปไตยทางข้อมูล Data Sovereignty, ระบบนิเวศความปลอดภัยทางไซเบอร์ Cybersecurity Ecosystem, การสร้างฐานการผลิตและดำเนินการผลิตตลอดทั้งห่วงโซ่การผลิตภายในประเทศพันธมิตรของตนเอง Friend‑Shoring
สมมุติฐานC : AI Hegemony ครอบงำโลกถ้าไม่พัฒนาเองจะถูกDictate ลงทุนในFrontier AI + Moral Framework และสร้างพันธมิตรภูมิภาค
บทสรุปเชิงยุทธศาสตร์สำหรับไทย แม้โลกภายนอกยังเป็นแบบ Law of the Jungle หรือ Hybrid War ประเทศที่กล้าลุกขึ้นสร้าง Tech‑Moral Society จะได้ First‑Mover Advantage ทางจริยธรรม ระยะสั้น : อาจแลกกับ Efficiency บางส่วน ระยะยาว : กลายเป็นผู้สร้างมาตรฐานใหม่ที่โลกต้องตาม เพราะวิกฤติในทั้ง 3 Spheres ไม่มีใครหลบเลี่ยงได้
ดังนั้น ไทยต้อง : สร้างนวัตกรรมที่ผสาน Technological Capability + Moral Responsibility, ลงทุนใน Resilience และ Ethical Tech เพื่อยืนหยัดได้แม้ใน Worst‑Case Scenario, ใช้ Soft Power และกติกาการค้า ผลักดันให้โลกหันมาสนใจมาตรฐานที่เรายึดถือ นี่ไม่ใช่แค่การสร้างสังคมที่ดีกว่า แต่คือยุทธศาสตร์เพื่อให้ไทยอยู่รอด และโดดเด่นในโลกใหม่ที่ผันผวน Tech‑Moral Society คือคำตอบที่ Pragmatic และ Visionary ไปพร้อมกัน.