นักวิชาการ กังวลการเติบโต TikTok หวั่นผูกขาด รายเล็กอยู่ยาก
นายพรเทพ เบญญาอภิกุล อาจารย์คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ให้ความเห็นว่า การเติบโตของ TikTok ในฐานะแพลตฟอร์ม S-Commerce ถือเป็นปรากฏการณ์ที่น่าจับตา เพราะเป็นการผนวกธุรกิจโซเชียลมีเดียเข้ากับอีคอมเมิร์ซอย่างเต็มรูปแบบ แต่ก็เปิดช่องให้เกิดพฤติกรรมผูกขาดหรือกีดกันการแข่งขันได้ง่ายขึ้น
"การที่แพลตฟอร์มควบคุมทั้งเนื้อหา การโฆษณา ระบบการชำระเงิน และ ขนส่ง อาจส่งผลให้เกิดการแข่งขันที่ไม่เป็นธรรม โดยเฉพาะกับผู้เล่นรายเล็กที่ไม่สามารถต่อรองอะไรได้มาก และ สุดท้ายอาจต้องออกจากตลาด" นายพรเทพกล่าว
ขณะที่สหภาพยุโรปเริ่มกำหนดให้ TikTok เป็น Gatekeeper ภายใต้กฎหมาย Digital Markets Act (DMA) เพื่อจำกัดพฤติกรรมผูกขาดและเปิดตลาดให้แข่งขันอย่างเท่าเทียม คำถามสำคัญคือ ไทยจะเดินทางไหน จะปล่อยให้ตลาด S-Commerce ขยายตัวโดยไร้กติกา หรือจะเริ่มวางกรอบกำกับเพื่อปกป้องผู้บริโภคและผู้ค้าอย่างสมดุล
ในฐานะแพลตฟอร์ม S-Commerce ถือเป็นปรากฏการณ์ที่น่าจับตา เพราะเป็นการผนวกธุรกิจโซเชียลมีเดียเข้ากับอีคอมเมิร์ซอย่างเต็มรูปแบบ แต่ก็เปิดช่องให้เกิดพฤติกรรมผูกขาดหรือกีดกันการแข่งขันได้ง่ายขึ้น
ขณะที่ก่อนหน้านี้ นายดนันท์ สุภัทรพันธุ์ กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ไปรษณีย์ไทย จำกัด เปิดเผยว่า แม้ไปรษณีย์ไทยจะเริ่มให้บริการจัดส่งสินค้าบน TikTok มาตั้งแต่กลางปี 2567 แต่ก็ยังถือว่ามีส่วนแบ่งการตลาดต่ำมาก เพียง 1-2% เท่านั้น เนื่องจาก TikTok เลือกใช้บริการจากบริษัทขนส่งรายใหญ่ เช่น J&T Express เป็นหลัก
“เราไม่รู้ตัวเลขจริง เพราะ TikTok ไม่ได้เปิดเผยข้อมูลทั้งหมด สิ่งที่พอจะอ้างอิงได้คือการประมาณจากรายได้ของบริษัทขนส่งรายอื่น ซึ่งส่วนใหญ่มาจากอีคอมเมิร์ซทั้งนั้น” นายดนันท์กล่าว
อย่างไรก็ตามราชราชกิจจานุเบกษา เผยแพร่ประกาศสำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ หรือ ETDA ที่ ธพด. 4/2568 เรื่อง กำหนดรายชื่อบริการแพลตฟอร์มดิจิทัลประเภทตลาดสินค้า ที่ต้องปฏิบัติตามมาตรา 20 แห่งพระราชกฤษฎีกาการประกอบธุรกิจบริการแพลตฟอร์มดิจิทัล ที่ต้องแจ้งให้ทราบ พ.ศ.2568 ซึ่งมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 10 กรกฎาคม 2568 เป็นต้นไป
เปิดรายชื่อ 19 บริการแพลตฟอร์มดิจิทัล ดังนี้
- ช้อปปี้ (Shopee)
- ลาซาด้า (Lazada)
- ประกาศซื้อขายรถยนต์มือสอง (One2car.com)
- Grab
- ขายดี (Kaidee.com)
- SIA E-AUCTION SYSTEM
- LINE SHOPPING
- อาลีบาบา (Alibaba)
- Nocnoc
- อลีเอ็กซ์เพรส (AliExpress)
- ดิสช็อป (Thisshop)
- รักเหมา (Rakmao)
- Taobao
- เอสซีจีโฮม (SCGHome)
- วันสยาม แอพพลิเคชั่น (ONESIAM Application)
- เรดดี้พลาสติก อ๊อคชั่น (ReadyPlastic Auction)
- รูทส์แพลตฟอร์ม (ROOTS platform)
- เทอมู (TEMU)
- eBay
อ่านรายละเอียด :ประกาศสำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์