โปรดอัพเดตเบราว์เซอร์

เบราว์เซอร์ที่คุณใช้เป็นเวอร์ชันเก่าซึ่งไม่สามารถใช้บริการของเราได้ เราขอแนะนำให้อัพเดตเบราว์เซอร์เพื่อการใช้งานที่ดีที่สุด

สุขภาพ

รอยฟกช้ำเป็นแล้วไม่หายอาจเป็นสัญญาณเตือนโรคลูคีเมีย มะเร็งเม็ดเลือดขาว

Amarin TV

เผยแพร่ 6 ชั่วโมงที่ผ่านมา
รอยช้ำเป็นแล้วไม่หายอาจเป็นสัญญาณโรค

รอยช้ำเป็นแล้วไม่หายอาจเป็นสัญญาณโรค "ลูคีเมีย" หรือ "มะเร็งเม็ดเลือดขาว" โรคร้ายที่พราก "แจฮยอน" ไอดอลเกาหลี วัยเพียง 23 ปี

ปัจจุบันโรคมะเร็ง ยังคงเป็นหนึ่งในสาเหตุการเสียชีวิตอันดับต้นๆ ของประชากรทั่วโลก ซึ่งหนึ่งในโรคมะเร็งที่หลายคนอาจยังไม่ค่อยคุ้นเคยแต่มีความร้ายแรงไม่น้อยก็คือ โรคมะเร็งเม็ดเลือดขาว หรือที่หลายคนรู้จักในชื่อ“ลูคีเมีย” และโรคร้ายโรคนี้นี่เองที่พราก แจฮยอน วง F.able วัยเพียง 23 ปี สำนักข่าวเกาหลียืนยันข่าวเศร้า เมื่อวานนี้ (2 ก.ค. 2568)

บทความนี้จะพาคุณไปรู้จักกับมะเร็งเม็ดเลือดขาวในทุกแง่มุม ตั้งแต่ความหมายของโรค สาเหตุและปัจจัยเสี่ยง อาการที่ควรสังเกต การวินิจฉัย รวมถึงแนวทางการรักษาที่ใช้ในทางการแพทย์ในปัจจุบัน เพื่อให้ทุกคนสามารถรับรู้ เข้าใจ และเฝ้าระวังโรคนี้ได้อย่างถูกต้องและทันเวลา

มะเร็งเม็ดเลือดขาว ลูคีเมีย คืออะไร

มะเร็งเม็ดเลือดขาว หรือ ลูคีเมีย (Leukemia) คือภาวะที่เซลล์ต้นกำเนิดเม็ดเลือดในไขกระดูกเกิดการกลายพันธุ์และแบ่งตัวผิดปกติ ทำให้ร่างกายผลิตเซลล์เม็ดเลือดขาวที่ไม่สมบูรณ์ในปริมาณมากจนไปรบกวนการสร้างเม็ดเลือดปกติอื่นๆ ได้แก่ เม็ดเลือดแดงและเกล็ดเลือด จึงทำให้เกิดอาการผิดปกติต่างๆ ตามมา

มะเร็งเม็ดเลือดขาว สามารถแบ่งออกได้หลายชนิด ตามลักษณะของเซลล์ต้นกำเนิดที่ผิดปกติและระยะเวลาการดำเนินโรค เช่น

• ชนิดเฉียบพลัน (Acute Leukemia) : โรคดำเนินเร็ว มีอาการรุนแรง ต้องรักษาทันที

• ชนิดเรื้อรัง (Chronic Leukemia) : โรคดำเนินช้า อาการค่อยเป็นค่อยไป

แบ่งตามชนิดของเซลล์มะเร็งเม็ดเลือดขาว

• มะเร็งเม็ดเลือดขาวชนิดลิมโฟซิติก (lymphocytic leukemia) เป็นมะเร็งชนิดที่ส่งผลกระทบต่อเซลล์ในน้ำเหลืองและก่อตัวขึ้นในต่อมน้ำเหลือง เนื้อเยื่อของต่อมน้ำเหลืองช่วยให้ระบบภูมิคุ้มกันทำงานได้อย่างถูกต้อง

• มะเร็งเม็ดเลือดขาวชนิดไมอีโลจีนัส (myelogenous leukemia) เป็นมะเร็งเม็ดเลือดขาวที่ส่งผลกระทบต่อเซลล์สายไมอีโลจีนัสซึ่งช่วยสร้างเซลล์เม็ดเลือดแดง เม็ดเลือดขาวชนิดต่างๆ และเซลล์ผลิตเกล็ดเลือด

สาเหตุและปัจจัยเสี่ยงของมะเร็งเม็ดเลือดขาว

แม้ว่าสาเหตุที่แท้จริงของโรคจะยังไม่สามารถระบุได้แน่ชัดในทุกกรณี แต่งานวิจัยทางการแพทย์พบว่ามีปัจจัยหลายประการที่อาจเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดมะเร็งเม็ดเลือดขาว ดังนี้

1. การกลายพันธุ์ทางพันธุกรรม

• การเปลี่ยนแปลงของ DNA ในเซลล์ต้นกำเนิดเม็ดเลือดอาจกระตุ้นให้เซลล์แบ่งตัวผิดปกติ

2. พันธุกรรมและกรรมพันธุ์

• แม้ว่าโรคนี้ไม่ใช่โรคที่สืบทอดโดยตรงจากพ่อแม่สู่ลูกในรูปแบบที่ชัดเจน แต่ผู้ที่มีสมาชิกในครอบครัวเป็นโรคนี้มีความเสี่ยงเพิ่มขึ้นเล็กน้อย

• กลุ่มอาการพันธุกรรมบางชนิดเพิ่มความเสี่ยง เช่น โรคดาวน์ซินโดรม ผู้ป่วยโรคไขกระดูกเสื่อม หรือภาวะภูมิคุ้มกันบกพร่อง

3. รังสีและสารเคมี

• การได้รับรังสีในระดับสูง เช่น จากการฉายรังสีรักษามะเร็ง หรือผู้รอดชีวิตจากระเบิดปรมาณู

• การสัมผัสสารเคมี เช่น เบนซีน (benzene) ซึ่งพบในโรงงานอุตสาหกรรมหรือบุหรี่

4. การรักษามะเร็งบางชนิดในอดีต

• การได้รับยาเคมีบำบัดหรือรังสีรักษาในอดีตสำหรับมะเร็งอื่น ๆ อาจเพิ่มความเสี่ยงในการเกิดโรคมะเร็งเม็ดเลือดขาวภายหลัง

5. ระบบภูมิคุ้มกันบกพร่อง

• ผู้ป่วยที่ได้รับการปลูกถ่ายอวัยวะและใช้ยากดภูมิ

• โรคภูมิคุ้มกันบกพร่องแต่กำเนิด

มะเร็งเม็ดเลือดขาวมีอาการผิดปกติอย่างไร

อาการของมะเร็งเม็ดเลือดขาวอาจแตกต่างกันไปตามชนิดของโรค แต่โดยทั่วไปจะมีอาการดังต่อไปนี้

1. อาการจากเม็ดเลือดแดงลดลง (โลหิตจาง)

• เหนื่อยง่าย อ่อนเพลีย

• เวียนศีรษะ หน้ามืด

• ผิวซีด

2. อาการจากเกล็ดเลือดลดลง

• เลือดออกง่าย หรือมีจ้ำเลือดตามตัว

• เลือดกำเดาออก หรือมีเลือดออกตามไรฟัน

3. อาการจากเม็ดเลือดขาวผิดปกติ

• มีไข้หรือติดเชื้อบ่อย

• ต่อมน้ำเหลืองโต

• ตับหรือม้ามโต ทำให้แน่นท้องหรือรู้สึกอิ่มเร็ว

4. อาการอื่นๆ ที่พบได้

• ปวดกระดูกหรือข้อ

• น้ำหนักลดโดยไม่ทราบสาเหตุ

• เหงื่อออกตอนกลางคืน

วิธีการรักษา

• วิธีแรก คือ การให้ยาเคมีบำบัด ซึ่งจะให้เป็นชุดๆ ต่อเนื่องกันเป็นระยะเวลานานพอสมควร บางทีอาจจะใช้เวลา 1-2 ปีเป็นอย่างน้อย ในปัจจุบันก็จะมีวิธีใหม่มารักษา

• วิธีที่ 2 คือการปลูกถ่ายในไขกระดูก แต่วิธีนี้ค่อนข้างยุ่งยาก มีค่าใช้จ่ายสูงและมีโรคแทรกซ้อนสูงพอสมควร และต้องใช้ไขกระดูกของพี่น้องที่เข้ากันได้อีก ฉะนั้น การรักษาวิธีที่ 2 ต้องพิจารณาเป็นรายๆ ไป ซึ่งหลักใหญ่ในการรักษาก็จะมี 2 วิธีดังที่กล่าวมา

มะเร็งเม็ดเลือดขาว มีโอกาสหายขาดไหม

ปัจจุบันมีความก้าวหน้าของยาเคมีบำบัด และการปลูกถ่ายไขกระดูกมีความก้าวหน้า เพราะฉะนั้นจัดได้ว่ามะเร็งเม็ดเลือดขาวมีวิธีการรักษาให้หายขาดได้ โดยเฉพาะในเด็กอายุต่ำกว่า 12 ขวบ อัตราการรักษาให้หายขาดค่อนข้างสูง คงขึ้นอยู่กับการมาพบแพทย์ รักษาอย่างรวดเร็วและมาพบตั้งแต่เริ่มต้น มีบางกลุ่มที่ไม่ทราบและปล่อยปละละเลยให้อาการเป็นมากขึ้น

มะเร็งเม็ดเลือดขาวเป็นโรคร้ายแรงที่เกิดจากความผิดปกติของเซลล์ต้นกำเนิดในไขกระดูก แม้จะยังไม่ทราบสาเหตุที่แน่ชัด แต่มีปัจจัยหลายประการที่เพิ่มความเสี่ยง รวมถึงพันธุกรรม การสัมผัสสารเคมี และการกลายพันธุ์ของเซลล์ การตรวจพบโรคตั้งแต่ระยะแรกเริ่มและการเข้ารับการรักษาอย่างต่อเนื่องสามารถช่วยยืดอายุและเพิ่มคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยได้อย่างมาก

แหล่งอ้างอิง

si.mahidol.ac.th

nakornthon.com

American Cancer Society - What Is Leukemia?

Mayo Clinic - Leukemia: Symptoms and causes

National Cancer Institute - Leukemia (Patient Version)

ดูข่าวต้นฉบับ
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...

ล่าสุดจาก Amarin TV

ตำรวจไซเบอร์ รวบ ยูทูบเบอร์ วัย 19 ปี โพสต์อวดปืน-ซุกปืนเถื่อนเพียบ

42 นาทีที่แล้ว

ตำรวจไซเบอร์รวบเว็บพนัน ใช้AI ตัน อิชิตัน หลอกคนเล่นพนันออนไลน์

1 ชั่วโมงที่ผ่านมา

ตลาดสัตว์เลี้ยงไทยโตไม่สะดุด ทาสพร้อมเปย์ 50,500 บาท/ปี กินหรู เข้าสปา

1 ชั่วโมงที่ผ่านมา

ด่วน! ล่า “นักโทษซอยจุ๊” แหกคุก เรือนจำบุรีรัมย์

1 ชั่วโมงที่ผ่านมา

วิดีโอแนะนำ

ข่าวและบทความสุขภาพอื่น ๆ

COSMOTALKS 2025 ชี้เทรนด์! ความงามยุคใหม่ เน้น AI-สุขภาพยั่งยืน

กรุงเทพธุรกิจ

เคลื่อน 'ชุมชน' สร้าง 'ระบบสุขภาพ'ใหม่ เท่าทันพื้นที่-ยุคสมัย

กรุงเทพธุรกิจ

ฝุ่นPM2.5 เอี่ยวมะเร็งปอดในคนไม่สูบบุหรี่ กลายพันธุ์เพิ่มขึ้น

TNN ช่อง16

โชว์ 7 นวัตกรรมสิทธิบัตรทอง @ World Expo 2025 ญี่ปุ่นเลิฟรากฟันเทียม

กรุงเทพธุรกิจ

ยิ่งเครียดนาน ภูมิแพ้ยิ่งรุนแรง แก้อย่างไร

TNN ช่อง16

LDCT การคัดกรองโรคปอด ด้วยปริมาณรังสีน้อยกว่าการทำ CT Scan

TNN ช่อง16

รักพังเพราะพฤติกรรม Phubbing เมินคนรักเพราะติดมือถือ

TNN ช่อง16

เบาหวานรักษาไม่หายแต่ควบคุมได้ เช็ก 7 วิธีป้องกันภาวะแทรกซ้อนอันตราย!

PPTV HD 36

ข่าวและบทความยอดนิยม

ด่วน! ศาลอาญาไม่ให้ประกันตัว บอสวิน ดิไอคอน หลังป่วยมะเร็งเม็ดเลือดขาว

Amarin TV

อันตรายของซีเซียม 137 ทำลาย DNA ก่อมะเร็ง ใช้เวลาสลายไม่ต่ำกว่า 100 ปี

Amarin TV

วอนผู้ใจบุญช่วยเหลือหนูน้อยวัย 13 ปี ป่วยมะเร็งเม็ดเลือดขาว

Amarin TV
ดูเพิ่ม
Loading...