โปรดอัพเดตเบราว์เซอร์

เบราว์เซอร์ที่คุณใช้เป็นเวอร์ชันเก่าซึ่งไม่สามารถใช้บริการของเราได้ เราขอแนะนำให้อัพเดตเบราว์เซอร์เพื่อการใช้งานที่ดีที่สุด

ทั่วไป

เมืองใหญ่พร้อมใจกันทาสีสู้โลกร้อน สูตรพิเศษสะท้อนแสงอาทิตย์ ได้ถึง 95.5%

ไทยพับลิก้า

อัพเดต 1 ชั่วโมงที่ผ่านมา • เผยแพร่ 1 วันที่แล้ว
การทาบ้านเรือนด้วยน้ำปูนขาวซึ่งมีคุณสมบัติสะท้อนแสงแดดได้ดีเยี่ยม คือภูมิปัญญาทางสถาปัตยกรรมแบบดั้งเดิมที่ปรากฏให้เห็นตาม “หมู่บ้านสีขาว” ในแคว้นอันดาลูซิอา ทางตอนใต้ของสเปน ที่มาภาพ: https://www.villanovo.com/magazine/spain/andalusia/article-on-the-road-to-the-white-villages-in-andalusia-pueblos-blancos

ปัญหาโลกร้อนทวีความรุนแรงขึ้นทุกขณะ อุณหภูมิเฉลี่ยของโลกที่สูงขึ้นไม่เพียงส่งผลกระทบต่อระบบนิเวศและสภาพอากาศเท่านั้น แต่ยังสร้างปัญหาโดยตรงให้กับการใช้ชีวิตของผู้คนทั่วไป โดยเฉพาะในเขตเมืองที่ร้อนระอุเพราะปัญหาซ้ำซ้อนอย่างปรากฏการณ์เกาะความร้อนในเมือง (urban heat island effect) และโดมความร้อน (heat dome)

ภาระค่าใช้จ่ายด้านพลังงานที่เพิ่มสูงขึ้นของผู้บริโภค จึงกระตุ้นให้หลายฝ่ายพัฒนาแนวทางแก้ไขที่สามารถลงมือปฏิบัติได้เองอย่างฉับพลัน ซึ่งสีสะท้อนความร้อน (heat-reflective paint) เป็นหนึ่งในเทคโนโลยีที่น่าจับตามองในฐานะเครื่องมือที่ไม่ซับซ้อนแต่ทรงประสิทธิภาพ ในการต่อสู้กับความร้อนได้อย่างเป็นรูปธรรม

เมืองใหญ่ที่มีอาคารคอนกรีตและถนนจำนวนมาก มักจะมีอุณหภูมิสูงกว่าพื้นที่รอบนอกอย่างเห็นได้ชัด ปรากฏการณ์นี้เรียกกันว่า “เกาะความร้อนในเมือง” ลองนึกภาพว่าเมืองคือ “เกาะร้อน” ที่ลอยอยู่ท่ามกลาง “ทะเลเย็น” ซึ่งเป็นพื้นที่ธรรมชาติรอบๆ เมือง ก็จะเข้าใจได้ชัดเจนขึ้น โดยเกาะความร้อนในเมืองมักจะมีอุณหภูมิสูงกว่าพื้นที่ชานเมืองหรือชนบทรอบๆ ประมาณ 2-5 องศาเซลเซียส และในเวลากลางคืนอาจสูงกว่าถึง 10 องศาเซลเซียส

นอกจากปรากฏการณ์เกาะความร้อนในเมืองซึ่งคงอยู่ตลอดเวลาแล้ว บางครั้งเมืองใหญ่ยังถูกซ้ำเติมด้วยปัญหาโดมความร้อนอีกด้วย

ความร้อนถูกกักขัง

โดมความร้อน เป็นปรากฏการณ์ทางภูมิอากาศที่อาจปกคลุมพื้นที่เป็นวงกว้างเป็นเวลาหลายวันหรือหลายสัปดาห์ในบริเวณที่ร้อนอบอ้าว

มวลอากาศร้อนจะถูกเก็บกักไว้เหมือนถูกกดทับด้วยฝาครอบขนาดมหึมา โดยมีสาเหตุจากการที่มวลอากาศแรงดันสูงในชั้นบรรยากาศดันอากาศร้อนลงมาสู่พื้นดินด้านล่าง เมื่อถูกปิดล้อม มวลอากาศร้อนจึงไม่สามารถไหลเวียนได้ตามปกติและติดอยู่กับที่ พร้อมกับสะสมความร้อนเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ จนก่อตัวเป็นโดมความร้อน

เมื่ออากาศร้อนถูกกักไว้ ก็จะยิ่งจมตัวลงและถูกบีบอัด ทำให้มวลอากาศนั้นมีอุณหภูมิสูงขึ้นเรื่อยๆ

และโดมความร้อนยังปิดกั้นไม่ให้กระแสลมเย็นหรืออากาศจากที่อื่นเข้ามาในโดม และยังทำให้ท้องฟ้าโปร่งใส ไร้เมฆ แสงแดดจึงส่องลงมายังพื้นดินได้อย่างเต็มที่ ทำให้พื้นดินและอากาศร้อนสะสมอย่างต่อเนื่อง

โดมความร้อนเกิดขึ้นได้เป็นระยะๆ แต่ล่าสุด ในช่วงปลายเดือนมิถุนายนถึงต้นเดือนกรกฎาคม 2025 หลายประเทศในยุโรปตะวันตกและตอนกลาง รวมถึงสหราชอาณาจักร ต้องเผชิญกับปรากฏการณ์โดมความร้อนที่รุนแรง โดยเกิดจากโดมความร้อนที่กักมวลอากาศร้อนและแห้งจากแอฟริกาเหนือให้หยุดนิ่งอยู่เหนือทวีปยุโรป

ปรากฏการณ์ครั้งนี้ถือเป็นครั้งหนึ่งที่รุนแรงและเกิดขึ้นเร็วผิดปกติในช่วงต้นฤดูร้อน ส่งผลให้อุณหภูมิพุ่งสูงทำลายสถิติในหลายพื้นที่ และก่อให้เกิดผลกระทบเป็นวงกว้างทั้งต่อชีวิตผู้คน สิ่งแวดล้อม และเศรษฐกิจ

ในฝรั่งเศส อุณหภูมิสูงถึง 43 องศาเซลเซียสในบางพื้นที่ สเปนและโปรตุเกสเผชิญความร้อนรุนแรง แตะระดับ 46 องศาเซลเซียส แม้ว่าสหราชอาณาจักรจะอุณหภูมิไม่สูงเท่าเพื่อนบ้าน แต่ก็มีการประกาศเตือนภัยด้านสุขภาพในหลายพื้นที่ เช่นเดียวกับหลายเมืองใหญ่ เช่น ปารีส โรม มิลาน และอีกหลายเมืองในสเปน

ความต้องการใช้ไฟฟ้าพุ่งสูงจากการใช้เครื่องปรับอากาศอย่างหนัก ทำให้ราคาไฟฟ้าในบางประเทศเพิ่มขึ้นกว่าเท่าตัว การคมนาคมในบางพื้นที่หยุดชะงักเพราะพื้นถนนยางมะตอยละลาย รางรถไฟบิดงอเพราะความร้อน ขณะที่เกษตรกรในหลายพื้นที่ต้องปรับเวลาไปทำงานช่วงกลางคืนเพื่อหลีกเลี่ยงอากาศร้อนจัดในตอนกลางวัน

นอกจากนี้ มีรายงานผู้เสียชีวิตจากโรคลมแดดและภาวะที่เกี่ยวข้องกับความร้อนในหลายประเทศ เช่น อิตาลีและฝรั่งเศส และโรงพยาบาลมีจำนวนผู้ป่วยฉุกเฉินเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ สถาบันแกรนแทมแห่งอิมพีเรียลคอลเลจในลอนดอนระบุว่า การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศทำให้จำนวนผู้เสียชีวิตจากคลื่นความร้อนครั้งนี้เพิ่มขึ้นถึง 3 เท่า เมื่อเทียบกับช่วงที่โลกยังไม่เผชิญกับภาวะโลกร้อน

แนวทางแก้ไข

เมืองที่ร้อนเกินไปทำให้คุณภาพชีวิตแย่ลง สิ้นเปลืองพลังงานมากขึ้น และส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมอย่างรุนแรง การแก้ปัญหาจึงเป็นเรื่องสำคัญอย่างยิ่ง

แนวคิดพื้นผิวเย็น (cool surfaces) คือหนึ่งในกลยุทธ์สำคัญที่องค์กรพิทักษ์สิ่งแวดล้อมแห่งสหรัฐอเมริกา (U.S. Environmental Protection Agency หรือ EPA) แนะนำให้ใช้เพื่อต่อสู้กับความร้อนในเมือง

งานวิจัยและการจำลองสถานการณ์ชี้ว่า หากเมืองใหญ่ทั่วโลกเปลี่ยนหลังคา พื้นผิวถนน และทางเท้า ให้เป็นวัสดุสะท้อนความร้อนเพื่อลดอุณหภูมิในเมือง จะสามารถชดเชยการปล่อยคาร์บอนทั่วโลกได้เทียบเท่ากับการนำรถยนต์หลายร้อยล้านคันออกจากท้องถนนเป็นเวลาหลายปี

นอกจากนั้น การลดอุณหภูมิในเมืองยังไม่เพียงช่วยประหยัดพลังงาน แต่ยังช่วยลดความเสี่ยงที่ความร้อนส่งผลกระทบต่อสุขภาพ และช่วยปรับปรุงคุณภาพอากาศโดยรวมอีกด้วย

หลังคาเย็นและถนนเย็น

แนวคิดพื้นผิวเย็นของ EPA คือแนวคิดในการใช้วัสดุก่อสร้างสำหรับพื้นผิวต่างๆ ในเมือง (เช่น หลังคา ถนน ลานจอดรถ ทางเท้า) ที่มีคุณสมบัติพิเศษในการคงความเย็นได้ดีกว่าวัสดุแบบดั้งเดิมเมื่ออยู่ท่ามกลางแดดจัด

โดยคุณสมบัติหลักของวัสดุที่จะช่วยให้พื้นผิวเย็นมี 2 ประการด้วยกัน คือ มีคุณสมบัติในการสะท้อนรังสีจากแสงอาทิตย์สูง (high solar reflectance) และมีการคายความร้อนสูง (high thermal emittance)

วัสดุที่มีคุณสมบัติทั้งสองอย่างนี้ จะทำให้พื้นผิวมีอุณหภูมิต่ำกว่าวัสดุทั่วไปอย่างมีนัยสำคัญ ซึ่ง EPA มองว่าเป็นกลยุทธ์ที่มีประสิทธิภาพในการลดอุณหภูมิในเขตเมือง และการที่วัสดุต่างๆ จะมีคุณสมบัติที่ช่วยให้พื้นผิวเย็นได้นั้นทำได้ไม่ยาก ด้วยการใช้สีสะท้อนความร้อนทาฉาบภายนอกนั่นเอง

โดยปกติแล้ว เมื่อแสงอาทิตย์ส่องมายังพื้นผิวต่างๆ เช่น ผนัง หลังคา ถนน หรือทางเท้า พลังงานความร้อนส่วนใหญ่จะถูกดูดซับไว้ ทำให้อุณหภูมิสูงขึ้น แต่สีสะท้อนความร้อนถูกออกแบบมาเพื่อทำหน้าที่ตรงกันข้าม โดยมีหลากหลายรูปแบบที่สามารถเลือกใช้ได้ตามความเหมาะสม

หลักการทำงานสำคัญของสีประเภทนี้ก็คือ การสะท้อนรังสีจากดวงอาทิตย์ (solar reflectance) โดยเฉพาะรังสีอินฟราเรด ซึ่งเป็นตัวการหลักที่ทำให้เกิดความร้อนสะสม สีเหล่านี้มักมีส่วนประกอบของเม็ดสีและสารเติมแต่งพิเศษ ที่ช่วยสะท้อนพลังงานแสงอาทิตย์กลับสู่ชั้นบรรยากาศได้ในสัดส่วนที่สูง

ตัวอย่างที่โดดเด่นคือ สีขาวพิเศษอัลตราไวท์ (ultra-white paint) ที่พัฒนาโดยนักวิจัยจากมหาวิทยาลัยเพอร์ดู ซึ่งเป็นสีที่มีความขาวมากที่สุดในโลก และเป็นสีที่ช่วยให้พื้นผิวเย็นที่สุดด้วย

สีชนิดนี้สามารถสะท้อนแสงอาทิตย์ได้สูงถึง 95.5% ซึ่งเป็นอัตราที่สูงกว่าสีกันความร้อนทั่วไปที่ใช้ทาภายนอกตัวอาคาร ในขณะเดียวกัน ยังสามารถปล่อยความร้อนอินฟราเรดออกจากพื้นผิวได้ดีเยี่ยม จนทำให้พื้นผิวที่ทาสีนี้มีอุณหภูมิต่ำกว่าอุณหภูมิของอากาศโดยรอบได้เองแม้จะอยู่ท่ามกลางแดดจัดจ้า

จากแนวคิดสู่ปฏิบัติจริง

แนวคิด “พื้นผิวเย็น” ของ EPA ไม่ได้เป็นเพียงทฤษฎี แต่มีหลายประเทศที่นำไปปฏิบัติจริงจนได้ผลลัพธ์ที่น่าสนใจ

กรุงโตเกียว ประเทศญี่ปุ่นเลือกใช้วิธีเคลือบสีต้านความร้อนบนถนน (solar heat-blocking pavement) ของนิปปอนเพนต์ ซึ่งลดอุณหภูมิพื้นผิวถนนได้สูงสุดถึง 8 องศาเซลเซียส ในช่วงกลางวันฤดูร้อน อีกทั้งยังช่วยลดการปล่อยความร้อนในเวลากลางคืน โดยมีการนำไปใช้ในพื้นที่รอบสถานีรถไฟชินางาวะและพระราชวังอิมพีเรียล

สิงคโปร์เองก็ใช้สี COOL-TEC coatings ของนิปปอนเพนต์เพื่อฉาบทาผนังอาคารและพื้นถนนเช่นกัน ซึ่งลดอุณหภูมิอากาศโดยรอบได้ 2.49 องศาเซลเซียส โดยประมาณ

ส่วนเมลเบิร์น ในออสเตรเลีย กำลังทดลองแนวคิด “เส้นทางเย็นสบาย (cool routes)” เพื่อส่งเสริมการเดินทางที่ไม่ใช้เครื่องยนต์ เช่น การเดินและขี่จักรยาน ด้วยการทดลองใช้วัสดุเคลือบผิวหลากหลายชนิดที่มีสีอ่อนและคุณสมบัติสะท้อนความร้อนบนทางเท้าและทางจักรยาน เพื่อสร้างเส้นทางเย็นสบาย ที่เชื่อมต่อพื้นที่ต่างๆ ในเมือง

ในสหรัฐฯ เมืองใหญ่มากกว่า 13 แห่งบังคับใช้แนวทางหลังคาเย็น เช่น ฮิวสตัน เดนเวอร์ และชิคาโก ขณะที่นิวยอร์กซิตีพัฒนาโครงการ NYC CoolRoofs ซึ่งเป็นความร่วมมือระหว่างภาครัฐและอาสาสมัคร

ส่วนสำนักงานบริการถนนลอสแอนเจลิส เลือกใช้สารเคลือบถนนที่สะท้อนแสงอินฟราเรดจากดวงอาทิตย์เพื่อลดการดูดซับความร้อน โดยตั้งแต่ปี 2017 ทางสำนักงานเคลือบถนนไปแล้วเป็นระยะทางมากกว่า 181 ไมล์ พร้อมทั้งเคลือบพื้นที่มากกว่า 700,000 ตารางฟุต ในบริเวณอาคารพักอาศัย 10 แห่ง ลานจอดรถ สนามบาสเกตบอล และสนามเด็กเล่นในโรงเรียนประถม

ในยุโรป เมืองใหญ่หลายแห่ง เช่น มิลานและปารีส ส่งเสริมให้มีการใช้หลังคาสีขาวและวัสดุสะท้อนแสง และใช้สีเซรามิกและสีสะท้อนความร้อนเพื่อสะท้อนพลังงานจากแสงอาทิตย์

นอกเหนือจากเทคโนโลยีสมัยใหม่ แนวคิดนี้ยังหยั่งรากลึกอยู่ในภูมิปัญญาทางสถาปัตยกรรมแบบดั้งเดิม ดังจะเห็นได้จาก “หมู่บ้านสีขาว (pueblos blancos)” ในแคว้นอันดาลูซิอา ทางตอนใต้ของสเปน

การทาบ้านเรือนด้วยน้ำปูนขาว (limewash) ซึ่งมีคุณสมบัติสะท้อนแสงแดดได้เป็นอย่างดี คือกลยุทธ์การปรับตัวเพื่อใช้ชีวิตในสภาพอากาศที่ร้อนและแห้งแล้งมานานหลายศตวรรษ

โดยมีธรรมเนียมปฏิบัติที่สืบต่อกันมา ให้ชาวบ้านแถบอันดาลูซิอาทาสีบ้านใหม่ทุกๆ ปี เนื่องจากอาคารสีขาวจะดูดซับความร้อนน้อยกว่ามาก ทำให้อุณหภูมิภายในบ้านเย็นสบาย กลายเป็นตัวอย่างของการออกแบบสถาปัตยกรรมที่ยั่งยืนและสอดคล้องกับสภาพแวดล้อมอย่างสมบูรณ์

จากตัวอย่างทั่วโลกเหล่านี้ จะเห็นได้ว่าการใช้สีและวัสดุสะท้อนความร้อนเป็นแนวทางที่ทำได้จริง แม้จะมีข้อด้อยตรงที่นำไปประยุกต์กับพื้นที่ขนาดมโหฬารได้ยากในครั้งเดียว ต้องค่อยเป็นค่อยไป แต่ก็เป็นเครื่องมือที่พิสูจน์แล้วว่ามีประสิทธิภาพ และสามารถนำไปปรับใช้ให้เกิดประโยชน์ทั้งในมิติด้านพลังงาน สิ่งแวดล้อม และคุณภาพชีวิตของผู้คนในเมืองได้เป็นอย่างดี

ข้อมูลอ้างอิง:

ซีรี่ย์ Adaptation รับมือโลกเดือด……

ดูข่าวต้นฉบับ
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...

ล่าสุดจาก ไทยพับลิก้า

พรรคประชาชนแฉรัฐบาล ‘ลักหลับ’ เร่งเซ็น “สัญญาซื้อไฟ” โดยไม่เปิดเผยราคา จี้นายกฯ-รมว.พลังงานยกเลิก

1 ชั่วโมงที่ผ่านมา

GCNT ระดมพลังทุกภาคส่วน เตรียมจัดงาน “GCNT EXPO 2025 เร่งเปลี่ยนผ่านประเทศไทยสู่ความยั่งยืน

5 ชั่วโมงที่ผ่านมา

“ภูมิธรรม” ยังไม่ประกาศสงครามกับกัมพูชา – มอบอำนาจทหารปกป้องอธิปไตยอย่างเต็มที่

20 ชั่วโมงที่ผ่านมา

สื่อนานาชาติรายงานเหตุการณ์ชายแดนไทย-กัมพูชา

20 ชั่วโมงที่ผ่านมา

วิดีโอแนะนำ

ข่าวและบทความทั่วไปอื่น ๆ

ไฟไหม้โกดังเก็บผ้า ย่านทุ่งครุ เจ้าหน้าที่เร่งระดมดับ ครึ่งชั่วโมงกว่าจะเอาอยู่ เร่งสอบหาสาเหตุ

Khaosod

พิกัด กทม. สมุทรปราการ นนทบุรี ไฟฟ้าดับ วันหยุดวันนี้ 26-28 ก.ค.นี้

ฐานเศรษฐกิจ

วันหยุดยาว "วันเฉลิมพระชนมพรรษา 28 กรกฎาคม 2568"เช็กเลยได้หยุดกี่วัน

ฐานเศรษฐกิจ

สภาพอากาศวันนี้ -31 ก.ค.เหนือ อีสาน ฝนตกหนักมากบางแห่ง กทม.ฝน 40-60%

ฐานเศรษฐกิจ

ตัวแทนกองทัพจีนฝากถึงคนไทย ไม่เคยสนับสนุนอาวุธให้กัมพูชาใช้โจมตีไทย

PPTV HD 36

จากใจหนุ่มแรงงานกัมพูชาในไทย กลัวโดนล่า ฝากเพื่อนร่วมชาติ อย่าทำคนไม่รู้เรื่องเดือดร้อน

Khaosod

พรรคประชาชนแฉรัฐบาล ‘ลักหลับ’ เร่งเซ็น “สัญญาซื้อไฟ” โดยไม่เปิดเผยราคา จี้นายกฯ-รมว.พลังงานยกเลิก

ไทยพับลิก้า

ศปก.ทภ.2 แถลง ทหารกัมพูชาเสียชีวิต พื้นที่ภูผีประมาณ 100 นาย

The Bangkok Insight

ข่าวและบทความยอดนิยม

Loading...