วิธีรับมือเมื่อเหตุการณ์รุนแรงส่งผลกระทบต่อสุขภาพจิต
วิธีรับมือเมื่อเหตุการณ์รุนแรงส่งผลกระทบต่อสุขภาพจิต
“ไม่จำเป็นต้องอ่านทุกอย่างที่เห็น
เพียงติดตามจากแหล่งที่เชื่อถือได้
และควรมีเว้นช่วงให้ใจได้พัก”
คำแนะนำดังกล่าวเป็นหนึ่งในหลาย ๆ คำแนะนำจาก Thammasat Well Being Center ที่ระบุว่าเราไม่จำเป็นต้องหมกมุ่นกับสถานการณ์และสิ่งที่กำลังเกิดขึ้นมากนักก็ได้ มีเวลาให้หัวจิตหัวใจเราได้พักบ้าง
กรมสุขภาพจิต เคยออกมาเตือนเรื่องนี้ไว้ว่าเมื่อเราเสพข่าวมากไปอาจก่อให้เกิดภาวะเครียด ‘Headline Stress Disoder’ ส่งผลเสียต่อสุขภาพจิต และอาจนำไปสู่การเกิดโรคบางอย่าง เช่น ความดันโลหิตสูง วิตกกังวล หรือแม้แต่ซึมเศร้า ซึ่งกรมสุขภาพจิตเองก็ออกมาบอกเหมือนกันว่า #ต้องจำกัดเวลาในการเสพข่าว
ผู้เขียนขอแนะนำเสริมว่านอกจากจะจำกัดเวลาในการเสพข่าวแล้วเราต้องเลือกเสพข่าวที่มีความน่าเชื่อถือสูงด้วยในช่วงเวลาแบบนี้ พยายามเช็คแหล่งที่มาจากที่รายงาน และแยกให้ออกว่าอะไรคือข้อเท็จจริง อะไรคือข้อคิดเห็น
และอีก 5 ข้อต่อไปนี้คือคำแนะนำเพิ่มเติมจาก Thammasat Well Being Center สรุปสาระสำคัญได้ดังนี้
เมื่อเหตุการณ์รุนแรงส่งผลกระทบต่อสภาพจิตใจ รับมืออย่างไร ?
ยอมรับความรู้สึกที่เกิดขึ้น : ความรู้สึกต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นล้วนเกิดขึ้นเป็นปกติ เพราะเราเป็นมนุษย์
อย่าปล่อยให้ตนเครียดเพียงลำพัง : พูดคุยแบ่งปันความรู้สึกกับคนที่เราไว้ใจหรือคนข้าง ๆ กายบ้าง
กลับมาอยู่กับสิ่งที่เราควบคุมได้ : เตรียมกระเป๋า เตรียมยาที่จำเป็นกับเรา และจดเบอร์ฉุกเฉินหากจำเป็น
อย่าลืมที่จะดูแลร่างกาย : รับประทานอาหาร หรือลุกมาขยับตัวเป็นครั้งคราวด้วย หรือแม้แต่อย่าลืมที่จะมีเวลาให้ตัวเอง เรื่องนี้ Reporter Jouney มีคำแนะนำดังนี้
อย่าลืมว่าตนสามารถขอความช่วยเหลือได้เสมอ : ไม่ใช่แค่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ที่มีเบอร์ฉุกเฉิน แต่สามารถโทรหาสายด่วนสุขภาพจิตได้เหมือนกันที่เบอร์ 1323
แต่รู้หรือไม่ ท่ามกลางสถานการณ์แบบนี้ไม่เพียงแต่เราต้องรับมือกับผลกระทบที่เกิดกับจิตใจเรา เรายังต้องรับมือจากข่าวที่มารอบทิศทางด้วย หนึ่งในข่าวที่น่ากลัวคือข่าวปลอม เราจะรับมือเรื่องนี้อย่างไร สรุปสาระสำคัญจาก สสส ได้ดังนี้
และในสถานการณ์แบบนี้เราจะจัดการกับข่าวปลอมอย่างไร ?
ลองเลื่อนลงมาล่างสุดของบทความ เพื่อดูว่ามีแหล่งอ้างอิง หรือมาจากผู้เชี่ยวชาญคนไหน
พิจารณาจากรูปภาพ หลาย ๆ ครั้งคนเราเชื่อในภาพที่เราเห็น แต่ข่าวปลอมอาจนำเอาภาพจริงแต่คนละบริบท (เช่น ภาพสงคราม ภาพเหตุการณ์จากที่อื่น) มาผสมกับข่าวที่เขียนขึ้น แนะนำให้ลองเอาภาพไปเสิชใน Google อักครั้งเพื่อเช็ค
เปรียบเทียบข่าวจากแหล่งอื่น ๆ ก่อน อย่าพึ่งแชร์ อย่าพึ่งเชื่ออะไรก็ตามที่พึ่งเห็นครั้งแรก
สังเกตสิ่งที่ผิดปกติที่เราเห็นตรงหน้า เว็บไซต์ข่าวปลอมหลายแห่งมักสะกดคำผิดหรือมีการจัดวางรูปแบบที่ดูไม่เป็นมือาชีพ หากเห็นลักษณะเหล่านี้ควรอ่านข่าวอย่างระมัดระวัง
และถ้าในเวลานี้เราพยายามจะเว้นช่วงให้หัวใจได้พัก จะต้องทำอย่างไร ทีม Reporter Journey ขอแนะนำดังนี้
5 วิธีอยู่ด้วยตัวคนเดียวให้ดี
เข้าใจก่อนว่ายิ่งเราเครียด เรายิ่งมีโอกาสที่จะละเลยการรักตัวเอง
อย่าอยู่แค่ในห้องของเรา ในเมื่อเราเว้นช่วงที่จะเสพข่าว ก็ลองออกไปทำกิจกรรมข้างนอกบ้าง
หาโอกาสสัมผัสประสบการณ์ใหม่ ๆ บ้าง ไม่ว่าจะจากการกิน การฟังเพลงใหม่ ๆ
เวลาที่ดีที่สุดในการลงมือทำคือตอนนี้ไม่ก็เย็นนี้
เหมือนที่หลาย ๆ สถาบันแนะนำ มีลิมิตให้หัวใจตัวเองในการรับข่าวสารบ้าง
ชีวิตนี้ยังมีเรื่องอื่นนอกจากข่าวอันตึงเครียดให้ทำอีกเยอะ
วางโทรศัพท์ไว้ให้ไกลตัวบ้างก็ได้ในช่วงเวลาแบบนี้ คงไม่มีอะไรเสียหาย
อ้างอิง
คำแนะนำถึงการรักตัวเองและอยู่คนเดียวให้ดี ท่ามกลางสถานการณ์ที่ตึงเครียด