มองเศรษฐกิจไทย ผ่านมุมของ ‘พิธา ลิ้มเจริญรัตน์’
เมื่อ ‘ความไม่แน่นอน’ กลายเป็นบรรทัดฐานใหม่ของ ‘สังคมในยุคปัจจุบัน’ ทั้งในเรื่องของ ความขัดแย้งระหว่างประเทศ สงครามการค้า กำแพงภาษีที่ยังไม่แน่นอนของสหรัฐอเมริกาว่าจะส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจและการค้าไทยเท่าไร
หลายสำนักทางเศรษฐกิจ ต่างพร้อมใจกันลดการคาดการณ์เศรษฐกิจไทยในปี 68 ชะลอตัวต่ำลงกว่า 2% และปัจจัยสำคัญที่ฉุดรั้งเศรษฐกิจคือ ‘กำแพงภาษี’ ของประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ ที่กำลังจะชี้ชะตาเศรษฐกิจไทย
ประเทศเพื่อนบ้านในอาเซียนอย่างเวียดนาม ‘ดีล(ไม่ลับ)’ อัตราภาษีปิดจบที่ 20% จาก 46% ที่เคยโดนขู่ไว้ ส่วนประเทศไทยนั้นนายพิชัย ชุณหวชิร รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ได้เข้าเจรจากับฝั่งสหรัฐอเมริกาเป็นที่เรียบร้อย แต่ยอมรับว่ายังไม่สามารถปิดดีลได้สำเร็จ พร้อมยืนยันพร้อมทำงานหนักขึ้นเพื่อหาทางออกให้ดีที่สุดแก่ประเทศไทย
ทำเอาคนไทยอย่างเรายังคงต้องลุ้นกันนั่งไม่ติดเก้าอี้ ว่าเราเป็นเป็นประเทศที่ทรัมป์จะส่งจดหมายรักหรือเปล่า สุดท้ายแล้วดีลนี้จะจบลงอย่างแฮปปี้เอนดิ้งไหม เศรษฐกิจไทย ที่พึ่งพาการส่งออกจะได้รับผลกระทบมากแค่ไหน
ทีม SPOTLIGHT ได้มีโอกาสร่วมงานแถลงข่าวงานเปิดตัวหนังสือ “The Almost Prime Minister” และได้มีโอกาสสัมภาษณ์คุณพิธา ลิ้มเจริญรัตน์ ในมุมมองต่อเศรษฐกิจไทยที่กำลังเต็มไปด้วยความไม่แน่นอน
กังวลรัฐบาลไทยเจรจาภาษีกับทรัมป์ ลุ้นให้ดีกว่าเวียดนาม
คุณพิธา มองว่า “9 กรกฎาคม นี้เป็นวันครบการเจรจาเรื่องภาษีกับทรัมป์แล้ว จนถึงตอนนี้ก็ยังไม่รู้ว่ารัฐบาลไทยมีสมาธิแค่ไหนกับการเจรจา เพราะด้วยสถานการณ์การเมืองในประเทศ อย่างไรก็ตามอัตราภาษีของเวียดนามที่โดนไป 20% ทำให้ต้องมาลุ้นว่า สรุปแล้วดีลของประเทศเรามันจะดีกว่ามากน้อยแค่ไหน” พร้อมย้ำว่าหากเราไม่เร่งปิดจบดีล อาจทำให้ทุกอย่างช้าไปหมดซึ่งรวมถึงเศรษฐกิจไทยที่อาจโดนฟรีซไว้
เศรษฐกิจไทย จะไปรอดต้องทลายความกระจุก สร้างความกระจาย
สำหรับเศรษฐกิจของประเทศไทย คุณพิธา มองว่าเราพึ่งพิงการท่องเที่ยวเป็นหลักหลัก สัดส่วนราว20% ในการขับเคลื่อน GDP ของประเทศ แต่ปัญหาตอนนี้คือ เม็ดเงินที่อยู่ในอุสาหกรรมท่องเที่ยวกลับพบว่ามีการกระจุกตัวอยู่แค่ 5 จังหวัดเมืองใหญ่ๆ ได้แก่ กรุงเทพ ภูเก็ต เชียงใหม่ พัทยา และกระบี่ ซึ่งรวมๆแล้วประมาณ 70% ของการท่องเที่ยว จะเห็ีนได้ว่าเม็ดเงินเหล่านั้นไม่ได้กระจายลงไปถึงท้องถิ่น แต่กลับกระจุกตัวอยู่ที่ส่วนกลางด้วยซ้ำ
ดังนั้นทางรอดของการท่องเที่ยวไทย คือ ‘การจายความเสี่ยง’ เช่น ทำยังไงก็ได้ให้คนที่ไปเที่ยวเชียงใหม่ มีคมนาคมที่ดี ผู้คนสามารถเดินทางท่องเที่ยวต่อไปยัง ลำพูน ลำปาง แพร่ แม่ฮ่องสอนได้ สิ่งเหล่านี้หากเกิดขึ้นจะทำให้เกิดการการท่องเที่ยวที่ส่งผลเป็นวงกว้าง
เก้าอี้มี 4 ขา หวังพึงขาเดียวก็ล่มกันหมด
สำหรับนักท่องเที่ยวจีน ที่ถือว่าเป็นนักท่องเที่ยวหลักของประเทศไทยมานาน แต่หลังจากเศรษฐกิจในประเทศจีนไม่สู้ดี รัฐบาลจีนพยายามกระตุ้นให้ประชาชนเที่ยวในประเทศ เช่นเดียวกันกับภาพลักษณ์ของประเทศไทยที่นักท่องเที่ยวจีนขาดความเชื่อมั่นในเรื่องความปลอดภัย ส่งผลให้ในปีที่ผ่านมา นักท่องเที่ยวจีนลดลงอย่างน่าตกใจ
คุณพิธาได้เปรียบเทียบว่า การพึ่งพานักท่องเที่ยวแค่กลุ่มเดียวนั้นเหมือนกับ เก้าอี้ 4 ขา “ถ้าคุณจะพึ่งนักท่องเที่ยวแค่ประเทศเดียว เช่นประเทศจีน สุดท้ายหากเกิดอะไรขึ้น ที่เขาไม่มา เราจะทำอย่างไร เก้าอี้ยังต้องมีสี่ขามันต้องพึ่งทุกขาเพื่อให้เก้าอี้นี้สามารถยังอยู่ได้ เพราะถ้ามีแค่ 1-3 ขา สุดท้ายแล้วมันก็จะล่มเพราะขาดเสถียรภาพในที่สุด”
โจทย์ของรัฐบาลคือ นอกเหนือจากนักท่องเที่ยวจีนแล้ว เราจะเจาะกลุ่มไหน อย่างไร เช่น อาเซียน เอเชีย อเมริกัน หรือยุโรปเช่นเดียวกันกับกลยุทธ์การท่องเที่ยวไทย ที่จะขายแต่ sea sand sun อย่างเดียวไม่ได้แล้ว อาจจะต้องเปลี่ยนเป็นดึงดูดนักท่องเที่ยว long terms stay ให้มากขึ้น
“ท่องเที่ยวกระจุก ลูกค้ากระจุก จังหวัดกระจุก เศรษฐกิจกระจุก พอถึงเวลามันก็โรยราและน่าเบื่อไปในที่สุด”
การเมือง – เศรษฐกิจ –สังคม ตอนนี้เห็นแล้วว่ามันมาด้วยกัน เลี่ยงกันไม่ได้
คุณพิธา ได้ตั้งคำถามว่า แต่ก่อนเราคงมองว่า เรื่องการเมืองก็ส่วนการเมือง เศรษฐกิจก็ส่วนเศรษฐกิจ ปัญหาสังคมก็ส่วนปัญหาสังคม แต่ทุกวันนี้มันแสดงให้เราเห็นแล้วว่า 3 เรื่องนี้เป็นเรื่องที่ต่อเนื่องกัน จนกลายเป็นเรื่องเดียวกัน และไม่สามารถแยกมันออกจากกันได้
เช่นจังหวัดเชียงใหม่ ที่เป็นแหล่งท่องเที่ยวหลักของประเทศไทย แต่ผู้ประกอบการต้องเผชิญทั้งในเรื่องโควิด และ ปัญหา PM 2.5 ในช่วง 4 ปีที่ผ่านมา นักท่องเที่ยวหายไป ลองคิดดูว่าหากคุณเป็นเจ้าของร้านอาหาร 2 ปีโดนโควิด 2 ปีโดน PM 2.5 แม้ช่วง High Season เวลาแห่งการกอบโกย ก็ไม่สามารทำเงินได้มานานกว่า 4 ปีแล้ว
คุณพิธา ยังได้กล่าวปิดท้ายว่า จากปัญหาของจังหวัดเชียงใหม่ ก็แสดงให้เราเห็นแล้วว่า ถ้าการเมืองไม่ตอบโจทย์ สิ่งแวดล้อมไม่ตอบโจทย์ ต่อให้การท่องเที่ยวมียุทธศาสตร์ดีแค่ไหนก็ไม่สามารถทำให้รุ่งได้แบบยั่งยืน
สำหรับผู้ที่สนใจเรื่องราวของคุณพิธา ลิ้มเจริญรัตน์ สามารถซื้อหนังสือ The Almost Prime Minister ได้แล้สทั่วประเทศ ผ่านร้านหนังสือชั้นนำ อาทิ นายอินทร์ SE-ED , Kinokuniya , Asia Books และร้านหนังสืออิสระ
สั่งซื้อออนไลน์ได้ทาง https://avocadobooks.co/ และในรูปแบบ eBook สำหรับผู้อ่านต่างประเทศตั้งแต่วันที่ 1 กรกฎาคม ที่ Application
PINTO : https://pintobook.com/ebooks/68620c7fcebebd270c2842eb
MEB : https://www.mebmarket.com/ebook-378222-