โปรดอัพเดตเบราว์เซอร์

เบราว์เซอร์ที่คุณใช้เป็นเวอร์ชันเก่าซึ่งไม่สามารถใช้บริการของเราได้ เราขอแนะนำให้อัพเดตเบราว์เซอร์เพื่อการใช้งานที่ดีที่สุด

ธุรกิจ-เศรษฐกิจ

TTB งบไตรมาส 2/68 กำไรสุทธิ 5,004 ล้าน ลดลง 7.2% รายได้ดอกเบี้ยลดลง

PostToday

อัพเดต 12 ชั่วโมงที่ผ่านมา • เผยแพร่ 5 ชั่วโมงที่ผ่านมา

นายปิติ ตัณฑเกษม ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร ธนาคารทหารไทยธนชาต จำกัด (มหาชน) หรือ TTB เปิดเผยว่า ผลการดำเนินงานไตรมาส 2/2568 ธนาคารและบริษัทย่อย มีกำไรสุทธิ 5,004 ล้านบาท ลดลง 7.2% จากไตรมาสเดียวกันปีก่อน และลดลง 1.8% จากไตรมาสก่อน มีสาเหตุหลักจากรายได้ดอกเบี้ยสุทธิที่ลดลงตามทิศทางดอกเบี้ยนโยบาย และสะท้อนผลจากการปรับลดดอกเบี้ยเพื่อช่วยเหลือลูกค้าภายใต้โครงการต่างๆ ส่งผลให้งวด 6 เดือนแรก ปี 2568 ธนาคารมีกำไรสุทธิอยู่ที่ 10,100 ล้านบาท ลดลง 6.2% จากช่วงเดียวกันปีก่อน

ในด้านรายได้ รายได้ที่มิใช่ดอกเบี้ย ปรับตัวดีขึ้น 9.1% จากไตรมาสก่อน หนุนโดยการฟื้นตัวของรายได้ค่าธรรมเนียมแบงก์แอสชัวรันส์จากการออกผลิตภัณฑ์ใหม่ และรายได้อื่นๆ เช่น เงินปันผล อย่างไรก็ดี รายได้ดอกเบี้ยสุทธิ ลดลง 3.6% จากไตรมาสก่อน จากอัตราผลตอบแทนที่ลดลงตามการปรับลดดอกเบี้ยนโยบายและการลดดอกเบี้ยเพื่อช่วยเหลือลูกค้า ส่งผลให้รายได้จากการดำเนินงานรวมอยู่ที่ 16,381 ล้านบาท ลดลง 1.0% จากไตรมาสก่อน และรายได้จากการดำเนินงานรวม 6 เดือน อยู่ที่ 32,934 ล้านบาท ลดลง 6.0% จากช่วงเดียวกันปีก่อน

ค่าใช้จ่ายในการดำเนินงาน อยู่ที่ 7,271 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 2.4% จากไตรมาสก่อน ส่วนหนึ่งเป็นผลจากค่าใช้จ่าย one-time เกี่ยวกับการ write-off ระบบไอที รวม 6 เดือน ค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานอยู่ที่ 14,369 ล้านบาท ยังคงลดลง 2.1% จากไตรมาสก่อน ขณะที่อัตราส่วนต้นทุนต่อรายได้รอบ 6 เดือน ปี 2568 อยู่ที่ 43.7% เป็นไปตามเป้าหมาย และสะท้อนกลยุทธ์การบริหารต้นทุนอย่างมีประสิทธิภาพ

สำหรับการตั้งสำรองฯ มีจำนวน 4,294 ล้านบาท ในไตรมาส 2/2568 ลดลง 6.2% จากไตรมาสก่อน รวม 6 เดือน ตั้งสำรองฯ ทั้งสิ้น 8,874 ล้านบาท ลดลง 14.6% จากช่วงเดียวกันปีก่อน สะท้อนคุณภาพพอร์ตสินเชื่อที่ดีขึ้น โดยหนี้เสียอยู่ที่ 39,164 ล้านบาท ลดลง 0.9% จากไตรมาสก่อน และอัตราส่วนสินเชื่อด้อยคุณภาพลดลงมาอยู่ที่ 2.73% อย่างไรก็ดี แม้ตั้งสำรองฯ ลดลง แต่อัตราส่วนสำรองฯ ต่อสินเชื่อด้อยคุณภาพยังคงทรงตัวในระดับสูงที่ 149%

สินเชื่อ ณ สิ้นไตรมาส 2/2568 อยู่ที่ 1,206 พันล้านบาท ค่อนข้างทรงตัวเมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน และชะลอลง 2.8% จากสิ้นปี 2567 เป็นผลจากการเติบโตสินเชื่ออย่างรอบคอบและการชำระคืนหนี้ของลูกค้า โดยธนาคารยังคงดำเนินการปรับโครงสร้างสินเชื่อไปยังกลุ่มสินเชื่อรายย่อยเพื่อเพิ่มอัตราผลตอบแทน ผ่านการนำเสนอสินเชื่อให้กับกลุ่มลูกค้า Ecosystem ได้แก่ กลุ่มคนมีบ้าน คนมีรถ พนักงานเงินเดือน และลูกค้า Wealth ส่งผลให้สินเชื่อกลุ่มเป้าหมายยังคงขยายตัวต่อเนื่อง ไม่ว่าจะเป็นสินเชื่อบ้านแลกเงิน (+2% จากไตรมาสก่อน) สินเชื่อเล่มแลกเงิน (+15% จากไตรมาสก่อน) และบัตรเครดิต (+1% จากไตรมาสก่อน)

ด้านเงินฝากอยู่ที่ 1,289 พันล้านบาท ลดลง 0.7% จากไตรมาสก่อน และ 3.0% จากสิ้นปี 2567 สอดคล้องกับทิศทางสินเชื่อและเป็นไปตามแผนบริหารสภาพคล่อง โดยการลดลงส่วนใหญ่มาจากกลุ่มเงินฝากประจำระยะยาวที่ครบกำหนด ทั้งนี้ จากการปรับกลยุทธ์เชิงผลิตภัณฑ์เพื่อขยายฐานลูกค้า Wealth ส่งผลให้เงินฝากกลุ่มบัญชีเงินฝากเงินตราต่างประเทศและเงินฝากไม่ประจำ ttb no-fixed ขยายตัวได้ดี ด้านอัตราส่วนสินเชื่อต่อเงินฝาก (LDR) ซึ่งสะท้อนสถานะสภาพคล่องยังคงอยู่ในระดับสูงที่ 94% ยังคงสร้างความยืดหยุ่นในการบริหารต้นทุนทางการเงินในระยะถัดไป

ด้านฐานะเงินกองทุน ยังคงอยู่ในระดับสูงและมีเสถียรภาพ โดย ณ สิ้นไตรมาส 2/68 อัตราส่วนเงินกองทุนรวม (CAR) และอัตราส่วนเงินกองทุนชั้นที่ 1 (Tier 1) อยู่ที่ 20.0% และ 17.8% ตามลำดับ ยังคงสูงเป็นลำดับต้นๆ ของอุตสาหกรรม และสูงกว่าเกณฑ์ขั้นต่ำของธนาคารกลุ่ม D-SIBs ที่ธปท.กำหนดไว้ที่ 12.0% สำหรับ CAR และ 9.5% สำหรับ Tier 1

“ภาวะเศรษฐกิจในไตรมาส 2/2568 ยังคงเต็มไปด้วยความไม่แน่นอนจากปัจจัยทั้งภายในและภายนอก อย่างไรก็ดี จากการที่ธนาคารเน้นย้ำการดำเนินธุรกิจอย่างรอบคอบมาโดยตลอด จึงมีสถานะทางการเงินที่แข็งแกร่ง มีความพร้อมในการรับมือกับภาวะเศรษฐกิจ และสามารถดำเนินการตามแผนงานด้านต่างๆ ได้ตามเป้าหมาย” นายปิติ กล่าว

ทั้งนี้ สิ่งที่ธนาคารให้ความสำคัญเป็นลำดับต้นๆ ยังคงเป็นเรื่องของการให้ความช่วยเหลือลูกค้า การเพิ่มมูลค่าให้กับผู้ถือหุ้นตามแผนบริหารส่วนทุน และการดูแลคุณภาพสินทรัพย์ให้มีเสถียรภาพท่ามกลางปัจจัยเสี่ยงที่เพิ่มขึ้นในระบบเศรษฐกิจ

สำหรับการช่วยเหลือลูกค้าภายใต้โครงการต่างๆ นำโดยโครงการ “คุณสู้ เราช่วย” ซึ่ง ณ สิ้นไตรมาส 2/2568 มีลูกค้าทั้งรายย่อย และ SMEs เข้าร่วมโครงการแล้วกว่า 54,000 ราย หรือคิดเป็นยอดสินเชื่อราว 31,000 ล้านบาท

นอกจากนี้ ธนาคารยังมีโปรแกรมปรับโครงสร้างหนี้รูปแบบอื่นๆ เพื่อให้ครอบคลุมลูกค้าทุกกลุ่ม ซึ่งหนึ่งในโครงการที่ธนาคารได้ดำเนินการมาอย่างต่อเนื่อง ได้แก่ บริการ “รวบหนี้” ซึ่งมีลูกค้าเข้าร่วมกว่า 53,650 ราย ในปัจจุบัน เพิ่มขึ้นจาก 37,470 ราย ในปี 2567 และ 17,000 รายในปี 2566 หรือเทียบเท่ากับว่าสามารถช่วยลูกค้าลดภาระดอกเบี้ยไปได้กว่า 2,510 ล้านบาท

โดยล่าสุดธนาคารได้เปิดตัวโปรแกรมใหม่ “ผ่อนดี มีรางวัล” เพื่อตอบแทนกลุ่มลูกค้าสินเชื่อบ้าน สินเชื่อรถ และสินเชื่อบุคคล ที่มีวินัยทางการเงินและมีประวัติการผ่อนชำระอย่างสม่ำเสมอ

สำหรับความคืบหน้าของแผนการบริหารส่วนทุนเพื่อสร้างผลตอบแทนให้กับผู้ถือหุ้นนั้น ณ สิ้นไตรมาส 2/2568 ธนาคารเสร็จสิ้นการซื้อหุ้นในบริษัทหลักทรัพย์ ธนชาตเป็นที่เรียบร้อยแล้ว และพร้อมเดินหน้าสร้างความร่วมมือระหว่างกันเพื่อต่อยอด Wealth Ecosystem เพื่อพัฒนาการให้บริการอย่างครบวงจร ด้านโครงการซื้อหุ้นคืน ดำเนินการไปแล้วกว่า 3,876 ล้านบาท จากกรอบงบประมาณ 7,000 ล้านบาท ในปี 2568

ขณะเดียวกัน การดูแลคุณภาพสินทรัพย์ เป็นสิ่งที่ธนาคารเน้นย้ำมาตลอดและสามารถสร้างผลลัพธ์ได้ตามเป้าหมายทั้งในระยะสั้นและยาว โดยหากมองในช่วง 12 เดือนที่ผ่านมา ธนาคารสามารถควบคุมอัตราส่วนสินเชื่อด้อยคุณภาพ (NPL ratio) ให้ทรงตัวที่ 2.6-2.7% ถือเป็นหนึ่งในธนาคารที่มี NPL ratio ต่ำที่สุดในอุตสาหกรรม

หากมองภาพระยะยาวนับตั้งแต่วิกฤตโควิด-19 ธนาคารสามารถลดยอดหนี้เสียได้ราว 12% จากประมาณ 44,000 ล้านบาท มาอยู่ที่ระดับ 39,000 ล้านบาท สะท้อนผลสำเร็จจากการบริหารจัดการเชิงรุกและการปรับกลยุทธ์ให้สอดคล้องกับภาวะเศรษฐกิจและปัจจัยเสี่ยงที่เกิดขึ้นใหม่ รวมไปถึงการแก้หนี้เสียเชิงรุกและการช่วยลูกค้าแก้ปัญหาหนี้อย่างเหมาะสม ซึ่งส่งผลให้อัตราการผิดนัดชำระหนี้ลดลงและพอร์ตสินเชื่อมีคุณภาพดีขึ้น

ส่วนในช่วงที่เหลือของปี 2568 ธนาคารจะยังคงเน้นย้ำการดำเนินธุรกิจอย่างรอบคอบต่อไป เพื่อรักษาเสถียรภาพและความแข็งแกร่งทางการเงินควบคู่กับการบริหารจัดการด้านต้นทุนอย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อรักษาความสามารถในการกำไร ทั้งนี้ ด้วยฐานะเงินกองทุนที่แข็งแกร่ง ธนาคารมั่นใจว่าจะสามารถคงอัตราการจ่ายเงินปันผลในระดับสูงได้แม้เศรษฐกิจจะฟื้นตัวช้ากว่าที่คาดก็ตาม ขณะที่ประเมินว่าโครงการซื้อหุ้นคืน 3 ปี วงเงิน 21,000 ล้านบาท จะช่วยลดผลกระทบจากความผันผวนในตลาดทุนที่มีต่อมูลค่าของผู้ถือหุ้นได้เช่นกัน

ธนาคารยังคงสนับสนุนโครงการ “คุณสู้ เราช่วย” เฟส 2 รวมทั้งโครงการอื่นๆ อย่างต่อเนื่อง ตอกย้ำความมุ่งมั่นในการสนับสนุนการแก้หนี้อย่างยั่งยืน และแนวทางการให้สินเชื่ออย่างรับผิดชอบและเป็นธรรม (Responsible Lending) ซึ่งสอดคล้องกับเป้าหมายของธนาคารในการทำให้ลูกค้ามีชีวิตทางการเงินที่ดีขึ้น

ดูข่าวต้นฉบับ
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...

ล่าสุดจาก PostToday

หุ้นไทยเด้งแรง! เซียนกราฟเตือนอย่าหวังยาว รอชัดเจน ‘ภาษี-การเมือง’ เน้นเทรดสั้นตามเกม

45 นาทีที่แล้ว

KTC โชว์กำไรครึ่งแรก 3,755 ล้าน โต 3.5% ส่วนแบ่งตลาดโตทุกผลิตภัณฑ์

1 ชั่วโมงที่ผ่านมา

EA จ่อปลดเครื่องหมาย DNP-CB หลังผู้ถือหุ้น EA257A ผ่านมติท่วมท้น

1 ชั่วโมงที่ผ่านมา

เหนือ 1,200! SET ปิดบวก 8.47 จุด ต่างชาติกลับเข้ามาซื้อหุ้นไทย

2 ชั่วโมงที่ผ่านมา

วิดีโอแนะนำ

ข่าวและบทความธุรกิจ-เศรษฐกิจอื่น ๆ

KTC กำไรครึ่งปีแรก 68 ทะลุ 3,755 ล้านบาท พอร์ตสินเชื่อทะลุ 1 แสนล้านบาท

การเงินธนาคาร

เห่อผงมัทฉะทั่วไทย นำเข้าแซงใบชาเขียวครั้งแรกในรอบ 4 ปี | คุยกับบัญชา | 3 ก.ค. 68

BTimes

BAY ไตรมาส 2/68 กำไร 8,295 ล้าน ดันครึ่งปีแรก กำไร 15,829 ล้าน โต 0.5%

PostToday

"สินเชื่อสร้างเครดิต" ออมสิน ประวัติดีได้เงินกู้เพิ่ม 5 หมื่น เช็คเงื่อนไข

ฐานเศรษฐกิจ

กรุงศรีเผยผลกำไรครึ่งแรกของปี 2568 จำนวน 15.83 พันล้านบาท-เพิ่มขึ้น 0.5%

Manager Online

คอนโดฯกทม. Q2 เปิดใหม่ต่ำสุดรอบ 16 ปี สัญญาณวิกฤตโอกาสใหม่ตลาดอสังหาฯ?

MATICHON ONLINE

หุ้นไทยเด้งแรง! เซียนกราฟเตือนอย่าหวังยาว รอชัดเจน ‘ภาษี-การเมือง’ เน้นเทรดสั้นตามเกม

PostToday

เริ่มวันนี้ รฟม. เปิดให้บริการลานจอด 24 ชม.แล้ว เช็กอัตราค่าจอดรถ สายสีน้ำเงิน-สีม่วง

MATICHON ONLINE

ข่าวและบทความยอดนิยม

Loading...