โปรดอัพเดตเบราว์เซอร์

เบราว์เซอร์ที่คุณใช้เป็นเวอร์ชันเก่าซึ่งไม่สามารถใช้บริการของเราได้ เราขอแนะนำให้อัพเดตเบราว์เซอร์เพื่อการใช้งานที่ดีที่สุด

ทั่วไป

เชียงใหม่-ลำพูน จับมือร่วมกับ วช. แก้ปัญหาน้ำและปัญหาฝุ่นด้วยงานวิจัย

THE STANDARD

อัพเดต 5 ชั่วโมงที่ผ่านมา • เผยแพร่ 5 ชั่วโมงที่ผ่านมา • thestandard.co
เชียงใหม่-ลำพูน จับมือร่วมกับ วช. แก้ปัญหาน้ำและปัญหาฝุ่นด้วยงานวิจัย

‘เชียงใหม่’ ถือเป็นจังหวัดที่มีขนาดใหญ่เป็นอันดับที่ 2 ของประเทศไทย ด้วยขนาดพื้นที่ 20,107.057 ตารางกิโลเมตร และจำนวนประชากรที่อาศัยอยู่เยอะมาก จังหวัดเชียงใหม่จึงเป็นจังหวัดที่ได้รับความนิยมสำหรับการท่องเที่ยวอย่างมาก แต่อุปสรรคที่เชียงใหม่ต้องเผชิญคือ วิกฤตการณ์จากภัยธรรมชาติ ไม่ว่าจะเป็นปัญหาน้ำที่ในช่วงหน้าแล้งก็มีความแห้งแล้งอย่างมาก ในช่วงที่น้ำท่วมก็จะเห็นได้ว่าอาจเกิดน้ำท่วมได้หนักหนาสาหัส ดังเช่นที่เกิดขึ้นเมื่อปี 2024 ที่ผ่านมา รวมถึงปัญหาอากาศที่ไม่สะอาดจากการสะสมของฝุ่นควัน ก็ได้สร้างผลกระทบให้กับสุขภาพของคนในพื้นที่ และกระทบต่อเศรษฐกิจโดยรวมของจังหวัด

ภาคเหนืออีกหลายจังหวัดก็มักจะประสบกับปัญหาทางด้านน้ำและอากาศไม่ต่างกันกับจังหวัดเชียงใหม่ อย่างเช่น ในจังหวัดลำพูน โดย วิวัฒน์ อินทร์ไทยวงศ์ ผู้ว่าราชการจังหวัดลำพูนได้เล่าว่า แม้จังหวัดลำพูนจะไม่ได้เป็นเป้าหมายแรกที่นักท่องเที่ยวเลือกเดินทางมา แต่ก็เป็นจังหวัดที่มีนักท่องเที่ยวเดินทางต่อเนื่องกันมาจากการเที่ยวจังหวัดเชียงใหม่ เมื่อภัยธรรมชาติกระทบกับการท่องเที่ยวในจังหวัดเชียงใหม่ ย่อมส่งผลกระทบสู่จังหวัดลำพูนด้วย

สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม จึงได้จัดพิธีลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ พร้อมเสวนา ‘มุ่งเป้าอนาคตประเทศไทยเพื่ออากาศสะอาด น้ำมั่นคง’ เพื่อผลักดันประเทศไทยให้ปลอดภัยจาก PM2.5 และน้ำมั่นคง ไม่ท่วม ไม่แล้ง ตามยุทธศาสตร์ วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม เมื่อวันที่ 2 กรกฎาคม 2025 ณ โรงแรมเซ็นทารา ริเวอร์ไซด์ เชียงใหม่ จังหวัดเชียงใหม่

บรรยากาศการลงนามแก้ปัญหาน้ำและปัญหาฝุ่นด้วยงานวิจัย

เมื่อเดือนมีนาคม 2025 ช่างภาพข่าว THE STANDARD เดินทางไปยังบริเวณรอบอำเภอเมืองเชียงใหม่ เพื่อเก็บภาพบรรยากาศในวันที่จังหวัดเชียงใหม่ติดอันดับ 1 ใน 3 เมืองที่มีมลพิษทางอากาศสูงที่สุดในโลก จากการวัดค่าดัชนีคุณภาพอากาศจากเว็บไซต์ AQI โดยความเข้มข้นของฝุ่น PM2.5 ในหลายอำเภอเกินมาตรฐานเฉลี่ยที่ 100-200 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร ซึ่งผลกระทบต่อประชาชนทุกกลุ่ม และปีนี้ไม่ใช่ปีแรกที่เกิดปัญหาการสะสมของฝุ่นละอองในอากาศ แต่ในปีที่ผ่านๆ มาจังหวัดเชียงใหม่ยังเคยเป็นอันดับ 1 เมืองที่มี ‘คุณภาพอากาศแย่ที่สุดในโลก’ หลายครั้ง

รวมถึงในปี 2024 ที่ผ่านมา จังหวัดเชียงใหม่ก็ประสบปัญหาน้ำท่วมหนัก โดยในย่านเศรษฐกิจถูกน้ำท่วมหนักมาก ระดับน้ำที่สถานีตรวจวัด P.1 สะพานนวรัฐ ขึ้นถึง 5.28 เมตร นับเป็นระดับน้ำสูงที่สุดในประวัติศาสตร์ ทำลายทุกสถิติน้ำท่วมในตัวเมืองเชียงใหม่ ถือว่ากระทบหนักสุดในรอบ 50 ปี ทำให้จังหวัดเชียงใหม่ต้องจ่ายค่าชดเชยเยียวยา รวมถึงค่าล้างโคลนมากถึง 1,200 ล้านบาท

นิรัตน์ พงษ์สิทธิถาวร ผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงใหม่ ได้กล่าวว่า “ผมรู้สึกขอบคุณที่สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ หรือ วช. เลือกจังหวัดเชียงใหม่เป็นพื้นที่ดำเนินการในการขับเคลื่อนเป้าหมายตามยุทธศาสตร์วิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรม (ววน.) ในประเด็น ประเทศไทยปลอดภัยจาก PM.25 เป้าหมาย 8 จังหวัดภาคเหนือตอนบน เพราะเชียงใหม่จำเป็นต้องอาศัยข้อมูลงานวิจัยทางวิทยาศาสตร์” เนื่องจากงานวิจัยทางวิทยาศาสตร์เป็นส่วนหนึ่งในการหาวิธีการแก้ไขปัญหาในเรื่องฝุ่น PM2.5 รวมทั้งยังสามารถเพิ่มประสิทธิภาพให้การรับมือกับภัยน้ำท่วมและน้ำแล้งได้ดีขึ้นด้วย เป็นการประหยัดงบประมาณแล้วเพิ่มประสิทธิภาพในการจัดการให้มากขึ้น

พิธีลงนามข้อตกลงในวันที่ 2 กรกฎาคมที่ผ่านมานั้น มีการลงนามข้อตกลงสำหรับทั้ง 2 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดเชียงใหม่ และจังหวัดลำพูน โดยผู้มีส่วนเกี่ยวข้องในการเซ็นข้อตกลงสำหรับจังหวัดเชียงใหม่ประกอบไปด้วย

  • ดร.วิภารัตน์ ดีอ่อง ผู้อำนวยการสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ
  • นิรัตน์ พงษ์สิทธิถาวร ผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงใหม่
  • อนันต์ เพ็ชรหนู ผู้อำนวยการสำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ ภาค 1
  • ดร.วิชาญ อิงศรีสว่าง ผู้อำนวยการสำนักงานพัฒนาการวิจัยการเกษตร (องค์การมหาชน)
  • วีรยุทธ ปิ่นแก้ว รองปลัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดเชียงใหม่
  • ชัชวาล ทองดีเลิศ ประธานสภาลมหายใจจังหวัดเชียงใหม่
  • วัลลภ นามางศ์พรหม รองประธานสภาวัฒนธรรมจังหวัดเชียงใหม่
พิธีลงนามข้อตกลงความร่วมมือระหว่างเชียงใหม่-ลำพูน และสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ เพื่อแก้ปัญหาฝุ่นพิษและน้ำท่วม

ส่วนการเซ็นข้อตกลงสำหรับจังหวัดลำพูนประกอบไปด้วย

  • ดร.วิภารัตน์ ดีอ่อง ผู้อำนวยการสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ
  • วิวัฒน์ อินทร์ไทยวงศ์ ผู้ว่าราชการจังหวัดลำพูน
  • อนันต์ เพ็ชรหนู ผู้อำนวยการสำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ ภาค 1
  • ดร.วิชาญ อิงศรีสว่าง ผู้อำนวยการสำนักงานพัฒนาการวิจัยการเกษตร (องค์การมหาชน)
  • วีระเดช ภู่พิสิฐ นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดลำพูน
  • พงษ์เทพ มนัสตรง ประธานสภาวัฒนธรรมจังหวัดลำพูน
  • ภาณุพงศ์ ไชยวรรณ์ ประธานสภาลมหายใจจังหวัดลำพูน

วิวัฒน์ อินทร์ไทยวงศ์ ผู้ว่าราชการจังหวัดลำพูน กล่าวไว้ว่า “พื้นที่การเกษตรของจังหวัดลำพูนมีประมาณ 800,000 ไร่ แต่ได้งบประมาณการไถกลบมาแค่ 300 กว่าไร่เท่านั้น จึงต้องมีการผนึกกำลังขับเคลื่อนทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคประชาสังคม” เห็นได้ว่า เรื่องการจัดสรรงบประมาณยังคงเป็นปัญหากับการดำเนินการแก้ไขมลพิษทางอากาศ เพราะงบประมาณจากภาครัฐที่ไม่เพียงพอต่อการไถกลบ ทำให้ภาคเอกชนในด้านเกษตรกรรมกลับมาทำการเผาพื้นที่การเกษตรจนเกิดฝุ่นควัน การแก้ปัญหาเพื่อผลักดันให้ภาคเหนือมีอากาศสะอาดสำหรับหายใจ จึงต้องเกิดจากความร่วมมือของหลายฝ่ายในการหาวิธีอื่นในการแก้ปัญหา

ส่วนในเรื่องของปัญหาน้ำ รศ. ชูโชค อายุพงศ์ หัวหน้าศูนย์ความเป็นเลิศด้านการจัดการภัยพิบัติทางธรรมชาติ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ซึ่งเป็นในตัวแทนของฝั่งนักวิจัยก็เปิดเผยว่า ความแม่นยำของระบบพยากรณ์น้ำท่วม มีการปรับปรุงไปเรื่อยๆ โดยในส่วนการพยากรณ์นั้นบอกว่าปริมาณน้ำจะมีมากเท่าไหร่ แต่สิ่งสำคัญที่การเตือนภัยทุกจังหวัดขาดคือการบอกความเสี่ยงให้ประชาชนแต่ละพื้นที่ว่าเสี่ยงขนาดไหน และน้ำจะท่วมสูงขนาดไหน เพื่อให้ประชาชนสามารถเตรียมการรับมือ เช่น ยกของขึ้นที่สูง หรือพาผู้ป่วยติดเตียงหนีน้ำท่วมได้ทันท่วงที

ดร.วิภารัตน์ ดีอ่อง ผู้อำนวยการสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ กล่าวว่า “การลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือในครั้งนี้ เป็นหนึ่งในกลไกสำคัญที่จะมุ่งเป้าอนาคตประเทศไทย เพื่ออากาศสะอาดและน้ำมั่นคง โดยใช้เรื่องของวิทยาศาสตร์และงานวิจัย โดยจะมีการกลับเข้ามาทำงานร่วมกันเป็นระยะๆ ในรูปแบบของการติดตาม ทั้งในเชิงนโยบาย และการทำงานร่วมกันกับภาคประชาสังคมอีกหลายส่วน คาดว่าการทำความร่วมมือในครั้งนี้ทำให้เกิดเป้าหมายในการขับเคลื่อนอนาคตประเทศไปได้สำเร็จตามเจตนารมณ์”

นิทรรศการส่งเสริมการมุ่งเป้าอนาคตประเทศไทย

ภายในบริเวณจัดงานที่ โรงแรมเซ็นทารา ริเวอร์ไซด์ เชียงใหม่ จังหวัดเชียงใหม่ มีการจัดนิทรรศการจากนักวิจัย และเอกชน ซึ่งมีผลงานที่เกี่ยวข้องกับการแก้ปัญหาน้ำและปัญหาฝุ่นในพื้นที่ภาคเหนือ ทั้งระดับจังหวัด และระดับชุมชน โดยผลงานต่าง ๆ จะเกี่ยวโยงกับการแก้ไขปัญหาในหลายจังหวัด ไม่ใช่เฉพาะจังหวัดเชียงใหม่ หรือจังหวัดลำพูน

ผศ. ดร.ภูดินันท์ สิงห์คําฟู นักวิจัยจากมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เป็นหนึ่งในผู้จัดแสดงผลงานวิจัยพัฒนาแผนที่และข้อมูลความสูงของพื้นที่ความแม่นยำสูงพิเศษจากภาพถ่ายทางอากาศด้วยอากาศยานไร้คนขับ หรือ โดรน เพื่อใช้ต่อยอดสำหรับการบริหารจัดการน้ำท่วมในจังหวัดเชียงใหม่ โดยทีมวิจัยกำลังพัฒนาแบบจำลองแผนที่สามมิติของพื้นที่น้ำท่วมในเชียงใหม่ เพื่อแทนที่แบบจำลองจากดาวเทียมที่ไม่สามารถประเมินความสูงได้ เนื่องจากสามารถบอกความสูงได้ละเอียดที่สุดแค่เพียง 1 เมตร โดยปกติแล้ววิธีการวัดความสูงของระดับน้ำเป็นการใช้ Flood Mark ที่เป็นเสาปักริมน้ำ แล้วมีขีดบอกระดับน้ำในระดับเซนติเมตร แต่ข้อมูลความสูงระดับน้ำที่วัดจาก Flood Mark สามารถรู้ได้เฉพาะในพื้นที่ที่มีการปักเท่านั้น อาจครอบคลุมไม่ไกล การวิจัยในโครงการนี้จึงสร้างแบบจำลองใน City Scale ซึ่งทีมวิจัยเริ่มต้นจากการทำแบบจำลอง 150 ตารางกิโลเมตร ในพื้นที่ 21 ตำบลในเชียงใหม่ แล้วจะมีการขยายผลต่อเพื่อสนับสนุนการแก้ไขปัญหาน้ำท่วมในระดับจังหวัดให้ดีมากยิ่งขึ้น

นพคุณ แก้วสิงห์ ผู้อำนวยการศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช ก็มีการนำเสนอผลงานวิจัยที่สนับสนุนการลดค่า PM2.5 โดยการสร้างฐานข้อมูลเพื่อนำมาวิเคราะห์ตำแหน่งของจุดความร้อน หรือ Hotspot ซึ่งทางทีมวิจัยสามารถหาตำแหน่งได้ด้วยค่าความถูกต้องประมาณ 90% โดยตำแหน่งที่ถูกต้องจะมีประโยชน์กับเจ้าหน้าที่ที่เข้าไปยับยั้งการเกิดไฟป่า เพื่อไม่ให้เกิดการลุกลาม โดยในฤดูไฟป่าในช่วงต้นปี 2025 มีการทดลองใช้งานวิจัยนี้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพให้เจ้าหน้าที่ในการควบคุมไฟป่า ทำให้ Hotspot ในพื้นที่ที่รับผิดชอบลดลงอย่างมีนัยสำคัญ จนได้รับการชื่นชมจากนานาประเทศ

ในภาคเอกชนอย่าง HAZE Free Thailand ก็มีการนำเสนอการทำงานของบริษัท ที่จัดตั้งขึ้นมาด้วยวัตถุประสงค์ว่าต้องการเป็น วิสาหกิจเพื่อสังคมไร้ควัน โดยการขับเคลื่อนวิธีการดำเนินงานของเกษตรกรเพื่อลดการเผาที่ทำให้เกิดฝุ่นละอองขนาดเล็กลอยขึ้นสู่อากาศ โดยการทำงานของบริษัทดังกล่าวประกอบไปด้วยโครงการปลูกป่าวนเกษตร เพื่อส่งเสริมการใช้ประโยชน์ที่ดินของเกษตรกรที่ว่างเว้น หรือเคยใช้ในการปลูกพืชเชิงเดี่ยว ในการปลูกต้นไม้ที่ช่วยลดแก๊สเรือนกระจกแทน โดยโครงการนี้เคยได้รับทุนสนับสนุนจากบริษัท เซ็ท เอสอี จำกัด ที่ร่วมดำเนินงานต้นแบบการปลูกป่าที่จังหวัดน่านและจังหวัดเชียงใหม่

อีกส่วนที่น่าสนใจจากงานของ HAZE Free Thailand คือระบบที่ดูแลติดตามการทำงานของเกษตรกรอย่างใกล้ชิด รวมถึงมีการกำกับดูแลปริมาณการใช้ปุ๋ยด้วย ซึ่งสถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ (NARIT) เคยเปิดเผยว่า การเผาไม่ใช่สาเหตุหลักเพียงสาเหตุเดียวที่ทำให้เกิดฝุ่น PM2.5 แต่ยังมีผลจากการคมนาคมทั้งทางบกและทางน้ำ รวมถึงการใช้ปุ๋ยไนโตรเจนที่มากเกินไปจนเกิดสารประกอบไนโตรเจนลอยขึ้นไปทำปฏิกิริยาในอากาศและเกิดฝุ่นได้เช่นกัน การกำกับดูแลกระบวนการทำงานของเกษตรกรจึงเป็นการแก้ปัญหาการเกิดฝุ่นควันได้จากหลายสาเหตุ

ก้าวต่อไปของงานวิจัย เพื่ออากาศสะอาด-น้ำมั่นคง

การลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ “มุ่งเป้าอนาคตประเทศไทยเพื่ออากาศสะอาด น้ำมั่นคง” เป็นเพียงจุดเริ่มต้นของการมุ่งเป้าที่การแก้ปัญหาด้านสิ่งแวดล้อมในจังหวัดภาคเหนือจากการจับมือกันของหลายภาคส่วน การร่วมมือกันแก้ปัญหาทั้งในด้านของงานวิจัยทางวิทยาศาสตร์ การออกนโยบายเชิงสังคม รวมถึงการพัฒนาคุณภาพชีวิตของเกษตรกรและประชาชนในพื้นที่ให้ดีขึ้น ซึ่งถ้าหากพื้นที่ภาคเหนือสามารถแก้ปัญหาได้จริงอย่างมีประสิทธิภาพ โครงการดังกล่าวจะกลายเป็นต้นแบบให้จังหวัดอื่น ๆ เริ่มทำตาม โดยจากนี้สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม จะคอยติดตามการดำเนินงานเพื่อให้ผลลัพธ์ของโครงการออกมาดีที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้

ดูข่าวต้นฉบับ
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...

ล่าสุดจาก THE STANDARD

ทรัมป์ขู่ขึ้นภาษี 10% กับประเทศที่จะเข้าร่วม BRICS ส่งผลกระทบในระบบเศรษฐกิจโลกอย่างไรบ้าง?

1 ชั่วโมงที่ผ่านมา

คอนเสิร์ต BLACKPINK ที่ Goyang Stadium มีคนดูรวม 2 วันทะลุ 78,000 คน

1 ชั่วโมงที่ผ่านมา

ถอดรหัส! ข้อเสนอไทยเจรจาลดภาษีสหรัฐฯ ‘ฉบับปรับปรุง’ ต่างจากฉบับเดิมอย่างไร

1 ชั่วโมงที่ผ่านมา

โอกาสมาแล้ว! ทีมคาดิลแลคเปิดรับสมัครงาน 52 อัตราลุยศึก F1 2026

1 ชั่วโมงที่ผ่านมา

วิดีโอแนะนำ

ข่าวและบทความทั่วไปอื่น ๆ

วิดีโอ

สรุปข่าวรอบวัน 7 กรกฎาคม 2568

สยามรัฐ

จับหนุ่ม 21 ขายบุหรี่ไฟฟ้า น้ำกระท่อมผสมยา เจอฟันหลายข้อหาหนัก

Khaosod

9 ทันโลก : เห็ดพิษมรณะ ฆาตกรรมอำพรางออสเตรเลีย

สำนักข่าวไทย Online
วิดีโอ

เนวิน ฟ้องหมิ่นประมาท เรียก 10 ล้าน ปมโพสต์กล่าวหาเอี่ยวแก๊งคอล แอบบันทึก-ปล่อยคลิปเสียงอิ๊งค์กับฮุนเซน

BRIGHTTV.CO.TH

สุดอันตราย! ครอบครัวเมียนมา เล่าเหตุผล กระเตงลูก ขี่ จยย. ซ้อน 7

คมชัดลึกออนไลน์

เมกาส่งดีอีเอ เข้าพบ มท.2 หลังแลกเปลี่ยนข้อมูล หลังพบสถิติจับยาฯ พื้นที่ติดประเทศเพื่อนบ้านที่พุ่งสูง

Manager Online
วิดีโอ

จอนนี่ มือปราบ บินด่วนเข้ากรุงเทพฯ เตรียมออกรายการ แฉข้าราชการลิ่วล้อการเมือง แจ้งความเอาผิด

BRIGHTTV.CO.TH

ท้าทาย รัฐมนตรีแรงงาน คนใหม่! นันทนา โพสต์ กองทุนประกันสังคมจะรอดจากการล้มละลาย หรือไม่?

TOJO NEWS

ข่าวและบทความยอดนิยม

วิมุตครบรอบ 4 ปี ตั้งเป้าโต 40% ในปี 2568 ชูธงโรงพยาบาลมิติใหม่ ลุยเปิดศูนย์สุขภาพปอด รับมือ PM2.5 และ โรคซับซ้อน

THE STANDARD

AROMA GROUP ปักธงเชียงใหม่ เปิดตัวโรงงานกาแฟหางดง พร้อมจัดแข่ง COE เฟ้นหากาแฟชั้นเลิศประจำปี [ADVERTORIAL]

THE STANDARD

ชมคลิป: สัญญาณแห่งโอกาสจากบ้านดอยเวียง จ.เชียงใหม่

THE STANDARD
ดูเพิ่ม
Loading...