โปรดอัพเดตเบราว์เซอร์

เบราว์เซอร์ที่คุณใช้เป็นเวอร์ชันเก่าซึ่งไม่สามารถใช้บริการของเราได้ เราขอแนะนำให้อัพเดตเบราว์เซอร์เพื่อการใช้งานที่ดีที่สุด

ทั่วไป

ทรัมป์ขู่ขึ้นภาษี 10% กับประเทศที่จะเข้าร่วม BRICS ส่งผลกระทบในระบบเศรษฐกิจโลกอย่างไรบ้าง?

THE STANDARD

อัพเดต 3 ชั่วโมงที่ผ่านมา • เผยแพร่ 3 ชั่วโมงที่ผ่านมา • thestandard.co
ทรัมป์ขู่ขึ้นภาษี 10% กับประเทศที่จะเข้าร่วม BRICS ส่งผลกระทบในระบบเศรษฐกิจโลกอย่างไรบ้าง?

เมื่อวันที่ 7 กรกฎาคม 2025 โดนัลด์ ทรัมป์ ประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกา ประกาศว่าจะขึ้นภาษี 10% กับประเทศที่สนใจจะเข้าร่วมกลุ่ม BRICS ซึ่งเป็นการรวมกลุ่มของประเทศกำลังพัฒนาที่กำลังถูกจับตามองว่ามีอำนาจผงาดขึ้นมาใน “โลกใต้” (Global South) โดยทรัมป์มองว่ากลุ่ม BRICS มีนโยบายต่อต้านสหรัฐฯ อย่างชัดเจน

คำประกาศนี้มีขึ้นในห้วงเวลาเดียวกันกับการจัดการประชุมสุดยอดผู้นำกลุ่ม BRICS ครั้งที่ 17 ที่กรุงรีโอเดจาเนโรของบราซิล

ทำไมเรื่องนี้ถึงสำคัญ?

ภัยคุกคามจากทรัมป์เกี่ยวกับการขึ้นภาษี อาจดูเหมือนเป็นเรื่องเศรษฐกิจ แต่ในความเป็นจริง นี่คือเกมการเมือง และการฟื้นคืนชีพของหลักการ “อเมริกาต้องมาก่อน” (America First) ที่ไม่ได้มีเป้าหมายแค่ปกป้องอุตสาหกรรมแรงงานในประเทศเท่านั้น แต่ยังใช้ภาษีเป็นเครื่องมือในการบีบบังคับพันธมิตรทางการเมือง

ทรัมป์กำลังเปลี่ยนกรอบความสัมพันธ์ทางการค้าให้กลายเป็นคำถามทางอุดมการณ์ว่า “คุณอยู่ข้างเรา หรือข้างพวกเขา? หรือไม่?

ในปัจจุบัน กลุ่ม BRICS มีสัดส่วน GDP คิดตามกำลังซื้อ (PPP) ประมาณ 40% ของทั้งโลก และมีประชากรถึง 56% ของโลก หลังการขยายกลุ่มสมาชิกใหม่ การเติบโตของเศรษฐกิจในกลุ่ม BRICS ยังสูงกว่าค่าเฉลี่ยโลก โดยคาดว่าจะเติบโตที่ 3.4% ในปี 2025 เทียบกับค่าเฉลี่ยโลกที่ 2.8%

จีนและอินเดียกลายเป็นพันธมิตรด้านการค้า การลงทุน และโครงสร้างพื้นฐานที่สำคัญของหลายประเทศในแอฟริกา ลาตินอเมริกา และเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ทำให้ศูนย์กลางอิทธิพลเศรษฐกิจโลกเริ่มเบี่ยงจากชาติตะวันตกไปสู่ “โลกใต้” (Global South)

ขณะเดียวกัน BRICS ก็กำลังขยายบทบาทผ่านแนวทาง “ลดการพึ่งพาดอลลาร์”หรือ De-dollarization การสร้างระบบการเงินทางเลือก และเปิดรับประเทศกำลังพัฒนาเป็นสมาชิกใหม่

สำหรับสหรัฐฯ การเคลื่อนไหวนี้อาจไม่ใช่ความร่วมมือแบบสร้างสรรค์ แต่คือการท้าทายอำนาจของสหรัฐฯ อย่างเปิดเผย

การเชื่อมโยงการค้าระดับโลกของBRICS กับโลกใต้

เรามาดูภาพการค้าในแต่ละภูมิภาคผ่านกรณีศึกษาในแต่ละกรณี ว่าเส้นทางการค้าระดับโลกที่เชื่อม BRICS กับ “โลกใต้” (Global South) เป็นอย่างไรบ้าง

  • แอฟริกา:

ในภูมิภาคแอฟริกา จีนเป็นหุ้นส่วนการค้ารายใหญ่ที่สุดของแอฟริกา โดยลงทุนในโครงสร้างพื้นฐาน พลังงาน และเหมืองแร่

ขณะที่ แอฟริกาใต้ในฐานะสมาชิก BRICS ทำหน้าที่เป็นประตูสู่ทวีปสำหรับการค้าและการลงทุนจากประเทศสมาชิกอื่น ๆ

จากรายงานของ IOL สื่อท้องถิ่นของแอฟริกาใต้ และ The African Mining Market, แร่ของแอฟริกาใต้ เช่น ทองคำ แพลทินัม และ rare earths เป็นหัวใจหลักของเศรษฐกิจและส่งออกไปยังกลุ่ม BRICS

การเป็นสมาชิก BRICS ยังช่วยเพิ่มการลงทุนจากต่างชาติในภาคเหมือง และยกระดับโครงสร้างการผลิตของประเทศ

  • ลาตินอเมริกา:

ส่วนลาตินอเมริกา ที่มีบราซิลเป็นโต้โผใหญ่ หันไปส่งออกสินค้าเกษตร โดยเฉพาะ ถั่วเหลือง ไปยังจีนมากขึ้น โดยเฉพาะในช่วงที่สหรัฐฯ กับจีนมีความตึงเครียดทางการค้า

จากรายงานของ Reuters การทำสงครามการค้าระหว่างสหรัฐฯ–จีน และกลยุทธ์ของจีนในการกระจายความเสี่ยง ทำให้บราซิลกลายเป็นผู้ส่งออกถั่วเหลืองรายใหญ่ที่สุดของจีน

ในปี 2025 บราซิลมีผลผลิตถั่วเหลืองเกือบ 170 ล้านตัน และมีแนวโน้มเติบโตต่อเนื่อง

  • เอเชีย:

ส่วนเอเชีย อินเดียและจีนกำลังขยายการค้าในภูมิภาค โดยอินเดียส่งออกยาและเวชภัณฑ์ ส่วนจีนลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานขนาดใหญ่ในหลายประเทศ

ตามรายงานจาก OpenPR และ CNBC อินเดียเป็นผู้ผลิตยาอันดับ 3 ของโลกตามปริมาณ ทั้งส่งออกยาและวัคซีนราคาถูกไปยังประเทศกำลังพัฒนา

ภาคธุรกิจนี้เติบโตจากนโยบายรัฐและนวัตกรรม พร้อมเป็นยุทธศาสตร์เศรษฐกิจสำคัญของอินเดีย

นัยทางภูมิรัฐศาสตร์ มองอย่างไร?

ดีลเหล่านี้ไม่ใช่เพียงการค้ารายประเทศ แต่เป็นการจัดระเบียบโลกใหม่ ที่ประเทศเศรษฐกิจเกิดใหม่ไม่รอคอยกลุ่ม G7 กันอีกต่อไป

พวกเขากำลังสร้างกลไกของตัวเอง ผ่านการรวมกลุ่ม การลงทุนข้ามชาติ และระบบการเงินใหม่

ขณะที่ถ้ามองนัยทางภูมิรัฐศาสตร์ Eurasia วิเคราะห์ว่า การขู่ของทรัมป์ ต่อประเทศที่ “โน้มเอียง” เข้าหา BRICS อาจเป็นการเพิ่มความเสี่ยงใหม่ต่อประเทศกำลังพัฒนา ไม่ว่าจะเป็นการเพิ่มเงินเฟ้อ ความปั่นป่วนในซัพพลายเชน และบีบบังคับให้หลายประเทศต้อง “เลือกข้าง” ในโลกที่กำลังแบ่งเป็นขั้ว

แล้วจะเกิดอะไรขึ้นต่อไป?

  • เร่งการค้าโดยไม่ใช้ดอลลาร์ (Local Currency Trade)

ขณะนี้ กว่า 67% ของการค้าภายใน BRICS ใช้เงินสกุลท้องถิ่น เช่น หยวน รูปี และรูเบิล ขณะที่ดอลลาร์สหรัฐมีสัดส่วนการถูกใช้ลดลงเหลือเพียง 1 ใน 3

ตามรายงานของ Global Business Outlook หยวนของจีนจะครองส่วนแบ่ง 24% ของการชำระเงินในกลุ่ม BRICS ภายในปี 2025

นอกจากนี้ กลุ่ม BRICS ยังพัฒนาระบบการจ่ายเงินของตนเอง เช่น “BRICS Pay” เพื่อหลีกเลี่ยงการพึ่งพาระบบการเงินตะวันตก

มองต่อว่าถ้าหากเทรนด์นี้ถูกเร่งขึ้น หรือมีการแบนเทคโนโลยีจากสหรัฐฯ อาจส่งผลให้ดอลลาร์อ่อนอำนาจในการค้าโลก ต้นทุนธุรกรรมสูงขึ้น เงินเฟ้อเพิ่ม และตลาดการเงินโลกผันผวนมากขึ้น

  • กลุ่มอื่นจะตอบโต้อย่างไร?

แล้ว ASEAN จะรวมตัวตอบโต้หรือไม่? สหภาพแอฟริกาจะยืนหยัดหรือยอมถอย? ลาตินอเมริกาจะนิ่งเฉยหรือเผชิญหน้า?

Eurasia รายงานว่า มีหลายประเทศกำลังวางยุทธศาสตร์ “ถ่วงดุล” เช่น อินโดนีเซียที่เข้าร่วมทั้ง BRICS และกลุ่มอื่นๆ ที่นำโดยตะวันตก

ตามรายงานของ ASEAN Briefing ที่เผยแพร่เกี่ยวกับท่าทีว่าจะตอบโต้สหรัฐฯ เรื่องภาษีอย่างไร เมื่อวันที่ 10 เมษายนที่ผ่านมา ระบุว่า กลุ่มอาเซียนไม่ตอบโต้โดยตรง แต่จะเน้นเจรจาระดับสูง การค้าในภูมิภาค และการกระจายความเสี่ยง เพื่อหลีกเลี่ยงแรงกดดันจากมหาอำนาจ

แต่แรงกดดันจากสหรัฐฯ อาจทำให้สมาชิก ASEAN หันมารวมตัวเหนียวแน่นมากขึ้น เพื่อปกป้องอธิปไตยทางเศรษฐกิจหรือไม่

ส่วนประเทศที่มีรายได้ปานกลางอย่างไทย อินโดนีเซีย บราซิล หรือแม้แต่เคนยา อาจกำลังติดอยู่ในสนามรบที่ไม่ได้ยิงกระสุน แต่ใช้ “ภาษี” และ “เงื่อนไขทางการค้า” เป็นอาวุธ

แต่ละประเทศเองอยากได้ทั้งโครงสร้างพื้นฐานจากจีน เทคโนโลยีจากสหรัฐฯ และการเข้าถึงตลาดทั้ง BRICS และชาติตะวันตก

แต่กระสุนจากการขู่ขึ้นภาษีของทรัมป์อาจทำให้ต้องเลือกข้างและ “การเลือก” นั้น อาจกำหนดเส้นทางการพัฒนาของประเทศไปอีกหลายทศวรรษ

เพราะโลกกำลังเปลี่ยนจากขั้วเดียว สู่ระบบหลายขั้ว (multipolar order) ที่ขับเคลื่อนด้วยผลประโยชน์มากกว่าอุดมการณ์ และคำถามสำคัญอาจไม่ใช่ว่าใครจะได้มาก

แต่คือประเทศของเราแต่ละประเทศนั้นจะรอดพ้นแรงกดดันนี้ไปได้อย่างไร?

อ้างอิง:

ดูข่าวต้นฉบับ
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...

ล่าสุดจาก THE STANDARD

คอนเสิร์ต BLACKPINK ที่ Goyang Stadium มีคนดูรวม 2 วันทะลุ 78,000 คน

3 ชั่วโมงที่ผ่านมา

ถอดรหัส! ข้อเสนอไทยเจรจาลดภาษีสหรัฐฯ ‘ฉบับปรับปรุง’ ต่างจากฉบับเดิมอย่างไร

4 ชั่วโมงที่ผ่านมา

วิดีโอแนะนำ

ข่าวและบทความทั่วไปอื่น ๆ

‘รักษาการนายกฯ’ไร้อำนาจกดปุ่ม? ชิงตัดหน้า‘ยุบสภา’ยิ่งยุ่งเหยิง

ไทยโพสต์

‘ตุลย์’ค้านผบ.ตร. ปูนบำเหน็จ2นพ. จี้ตั้งกก.ฟันวินัย

ไทยโพสต์

ฉบับวันที่ 8 กรกฎาคม 2568

ไทยโพสต์

จ่อลดภาษีนำเข้า0%ให้สหรัฐ

ไทยโพสต์

กฤษฎีกาขวางยุบสภา รักษาการนายกฯไร้อำนาจ พท.โวมี‘ชัยเกษม’ขึ้นแทน

ไทยโพสต์

ภูมิใจไทย-พรรคประชาชน คู่แข่งใหม่เข้มข้น !?

Manager Online

จ.สุรินทร์ รถบรรทุกชนกับรถจักรยานยนต์ กลางถนนเส้นบ้านโคกไทร-บ้านดาร์ มีผู้บาดเจ็บอาการสาหัส ก่อนไปเสียชีวิตที่โรงพยาบาล

สวพ.FM91

เปิดรางวัลทหารไทยชุดลาดตระเวน ทนยั่วยุจากทหารกัมพูชาถือหัวปลี

TNews

ข่าวและบทความยอดนิยม

นายกฯ จีนชี้ BRICS ควรเป็นกองหน้า หนุนนำการปฏิรูปธรรมาภิบาลโลก

THE STANDARD

ทรัมป์ขู่เก็บภาษีเพิ่ม 10% จากประเทศที่เข้าร่วมกลุ่ม BRICS ชี้ต่อต้านนโยบายสหรัฐฯ

THE STANDARD

เจ้าสัวธนินท์ชี้ ‘ไทย’ ต้องรีบร่วม CPTPP ย้ำ ‘ไม่มีเหตุผล’ ที่ไม่เข้าร่วม! ชี้นโยบายกีดกันจากทรัมป์จะอยู่ไม่นาน

THE STANDARD
ดูเพิ่ม
Loading...