โปรดอัพเดตเบราว์เซอร์

เบราว์เซอร์ที่คุณใช้เป็นเวอร์ชันเก่าซึ่งไม่สามารถใช้บริการของเราได้ เราขอแนะนำให้อัพเดตเบราว์เซอร์เพื่อการใช้งานที่ดีที่สุด

ทั่วไป

ถอดรหัส! ข้อเสนอไทยเจรจาลดภาษีสหรัฐฯ ‘ฉบับปรับปรุง’ ต่างจากฉบับเดิมอย่างไร

THE STANDARD

อัพเดต 4 ชั่วโมงที่ผ่านมา • เผยแพร่ 4 ชั่วโมงที่ผ่านมา • thestandard.co
ถอดรหัส! ข้อเสนอไทยเจรจาลดภาษีสหรัฐฯ ‘ฉบับปรับปรุง’ ต่างจากฉบับเดิมอย่างไร

พิชัย ชุณหวชิร รองนายกฯ และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ในฐานะหัวหน้าคณะเจรจาแก้ไขปัญหากำแพงภาษีกับสหรัฐอเมริกา เปิดเผยว่า ได้ยื่นข้อเสนอ (Proposal) ฉบับปรับปรุงให้กับสหรัฐฯ ไปแล้วในคืนวันอาทิตย์ (6 กรกฎาคม) ที่ผ่านมา

โดย THE STANDARD WEALTH ได้รวบรวมการเปลี่ยนแปลง หรือจุดที่แตกต่างกับข้อเสนอฉบับที่รัฐบาลเคยสื่อสารมาก่อนการเดินทางไปเจรจากับสหรัฐฯ อย่างเป็นทางการ เมื่อต้นเดือนที่ผ่านมา พบว่า มีการปรับปรุง ดังนี้

  • ยอมให้ภาษี 0% และยกเลิก NTB สินค้าสหรัฐฯ ‘เยอะพอสมควร’

โดยจากการให้สัมภาษณ์กับ Bloomberg พิชัย กล่าวว่า หากสหรัฐฯ ยอมรับข้อเสนอนี้ ไทยจะยกเลิก (Waive) ภาษีศุลกากรหรือมาตรการกีดกันทางการค้าอื่นๆ ที่ไม่ใช่ภาษี (Non-Tariff Barriers : NTBs) กับสินค้าส่วนใหญ่ที่นำเข้ามาจากสหรัฐฯ ส่วนสินค้าอื่นๆ (ส่วนน้อย) จะค่อยๆ ลดมาตรการกีดกันต่างๆ ลงอย่างช้าๆ (Gradually)

โดยในวันนี้ พิชัยตอบคำถามผู้สื่อข่าวเพิ่มเติมเกี่ยวกับรายการสินค้าที่ไทยจะยกเลิก หรือเก็บจากสหรัฐฯ ในอัตรา 0% ว่า ไทยอาจจะต้องให้อัตราภาษีนำเข้ากับสินค้าสหรัฐฯ 0% ‘เยอะพอสมควร’ แต่คงไม่ได้ให้ทั้งหมดทุกรายการ

  • ลดการเกินดุลกับสหรัฐฯ ลง 70% ภายใน 5 ปี (เดิมลดแค่ 50%)

โดยในข้อเสนอที่มีการปรับปรุง (Revised Proposal) พิชัยเปิดเผยว่า ได้ปรับเป้าหมายการลดการเกินดุลการค้า เพิ่มเป็นลดลง 70% ภายใน 5 ปี จากเดิมมีเป้าหมายลดการเกินดุลการค้ากับสหรัฐฯ ให้ได้ 50% ภายใน 5 ปี

  • ตั้งเป้า ‘สมดุล’ ทางการค้ากับสหรัฐฯ ภายใน 7-8 ปี (เดิมภายใน 10 ปี)

ส่วนเป้าหมายปรับดุลการค้าระหว่างไทยกับสหรัฐฯ ให้ไปสู่ ‘สมดุล’ พิชัยเปิดเผยว่า ในข้อเสนอที่มีการปรับปรุง (Revised Proposal) ได้ปรับเป้าหมาย ‘สมดุลทางการค้า’ เป็นภายใน 7-8 ปี ซึ่งเร็วกว่าข้อเสนอเดิมที่ยื่นไปก่อนหน้านี้ที่ 10 ปี

  • เพิ่มการเข้าถึงตลาดไทยให้ ‘มากขึ้น’ สำหรับสินค้าเกษตร-อุตสาหกรรมจากสหรัฐฯ

ในการสัมภาษณ์กับ Bloomberg พิชัยยังเปิดเผยว่า ในข้อเสนอที่มีการปรับปรุง (Revised Proposal) จะมีการยอมให้สินค้าเกษตร-อุตสาหกรรมจากสหรัฐฯ เข้าถึงตลาดในประเทศไทยให้ ‘มากขึ้น’

แต่ยืนยันว่า “เกษตรกรและผู้ผลิตชาวไทยจะไม่ได้รับผลกระทบมากนัก” เนื่องจากเป็นการนำเข้าสินค้าที่ ‘ขาดแคลน’ ในไทยเป็นส่วนใหญ่

  • เพิ่มแผนจัดซื้อพลังงาน โดยเฉพาะ LNG และเครื่องบินโบอิ้ง

พิชัยเปิดเผยอีกว่า ในข้อเสนอที่มีการปรับปรุง (Revised Proposal) ไทยยังได้ปรับแผนการซื้อพลังงานจากสหรัฐฯ โดยเฉพาะก๊าซธรรมชาติเหลว (LNG) และเครื่องบินโบอิ้ง ‘ในเชิงรุก’ (Aggressive) มากขึ้น เพื่อหวังว่า ความไม่สมดุลทางการค้าระหว่างไทยและสหรัฐฯ จะลดลงได้อย่างมาก

“เราได้ยื่นข้อเสนอที่เป็นประโยชน์ร่วมกันทั้งสองฝ่าย ซึ่งสหรัฐฯ จะสามารถค้าขายกับเราได้มากขึ้น เนื่องจากไทยจะลดขั้นตอนการค้าให้ยุ่งยากน้อยลง” พิชัยย้ำ

ทั้งนี้ ข้อเสนอที่ถูกปรับปรุงนี้เกิดขึ้นหลังการหารืออย่างเป็นทางการครั้งแรก ระหว่างพิชัย และ เจมีสัน เกรียร์ (Jamieson Greer) ผู้แทนการค้าสหรัฐฯ พร้อมกับ ไมเคิล ฟอล์คเคนเดอร์ (Michael Faulkender) รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลังสหรัฐฯ เมื่อวันพฤหัสบดีที่ 3 กรกฎาคมที่ผ่านมา

พิชัยกล่าวอีกว่า 10% ถือเป็นอัตราภาษีที่ดีที่สุดที่ไทยตั้งเป้าไว้ แต่ก็เสริมว่า ยังยอมรับได้หากอยู่ในช่วง 10-20% แต่สิ่งที่เลวร้ายที่สุด คือได้ข้อตกลงที่แย่กว่าประเทศเพื่อนบ้าน

ไทยยื่นข้อเสนอ 0% ไม่น่ากังวลใจเท่าไหร่

ดร.กอบศักดิ์ ภูตระกูล ประธานกรรมการสภาธุรกิจตลาดทุนไทย (FETCO) กรรมการรองผู้จัดการใหญ่และเลขานุการบริษัท ธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน)ให้สัมภาษณ์กับ THE STANDARD WEALTH โดยมองว่า การยื่นข้อเสนอภาษี 0% ไม่ถือว่าเป็นปัญหากับไทย เนื่องจากสินค้านำเข้าที่ผลิตในสหรัฐฯ หรือ Made in USA นั้น ส่วนใหญ่เป็นสินค้าไฮเทค หรือไวน์ ซึ่งไทยไม่ได้ผลิตอยู่แล้ว จึงไม่น่ากังวลใจเท่าไหร่นัก

ดร.กอบมองไทยได้ 10% ยาก ย้ำไม่ควรสูงกว่า 25%

ดร.กอบศักดิ์มองว่า เนื่องจากสหรัฐฯ เคาะภาษีศุลกากรจากเวียดนามในอัตรา 20% สำหรับสินค้าทุกชนิดและ 40% สำหรับสินค้า ‘สวมสิทธิ์’ ด้วยข้อตกลงนี้ ‘เป็นดีลที่ดีพอสมควร’ ดังนั้น ไทยจึงไม่ควรได้ข้อตกลงที่สูงกว่า 25% เพราะอาจส่งผลต่อภาคการส่งออก และการลงทุน รวมถึงขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ

ดร.กอบศักดิ์มองว่า เป็นไปได้ยากที่ไทยจะสามารถได้ภาษีในอัตรา 10% เนื่องจากประเทศส่วนใหญ่ที่ได้ในอัตรานี้ เช่น สิงคโปร์ อังกฤษ ล้วนแล้วแต่เป็นประเทศที่สหรัฐฯ เกินดุลทั้งสิ้น

ด้วยเหตุนี้ ดร.กอบศักดิ์จึงมองว่า การเจรจาให้ได้ข้อตกลงที่ดี เพื่อเปิดทางให้ภาคการส่งออก จึง ‘สำคัญกว่า’ ความพยายามในการปกป้องอุตสาหกรรมในประเทศ โดยยกตัวอย่างเทียบกับจีน ที่ยอมให้ Tesla เข้ามาทำธุรกิจในช่วงการพัฒนารถยนต์ EV ของชาติ จนเกิดเป็น BYD ที่ตอนนี้เติบโตแซง Tesla แล้วในที่สุด

เปิดมุมมองดร.กอบศักดิ์ต่อข้อเสนอที่ถูกปรับปรุงใหม่

ดร.กอบศักดิ์ก็ยังมองว่า จากข้อเสนอที่ไทยปรับปรุงไปใหม่ “ยากที่จะรับประกัน ว่าไทยจะได้ข้อตกลงที่ดี” เนื่องจากสหรัฐฯ ต้องการสิ่งที่เป็นรูปธรรม จับต้องได้อย่างชัดเจน เช่น ลดภาษี ซื้อสินค้าเพิ่ม หรือเพิ่มการลงทุนในอเมริกา รวมถึงแก้ปัญหาสินค้าสวมสิทธิ์ (Rules of Origin)

สุดท้ายนี้ แม้ว่า สหรัฐฯ จะประกาศอัตราภาษีนำเข้าสินค้าจากไทยตอนนี้เลยก็ตาม ดร.กอบศักดิ์เชื่อว่า น่าจะมีการเจรจาใหม่ได้อีก หรือที่เรียกว่า Re-Negotiation อย่างไรก็ตาม ดร.กอบศักดิ์มองว่า ถ้าเลือกได้ ไทยก็ควรเจรจาให้ดีแต่แรกดีกว่า

KResearch มองภาษีไทย ไม่น่าต่ำเท่าเวียดนาม

บุรินทร์ อดุลวัฒนะ กรรมการผู้จัดการ และ Chief Economist บริษัท ศูนย์วิจัยกสิกรไทย จำกัด (KResearch) ให้ความเห็นกับ THE STANDARD WEALTH โดยระบุว่า ต้องจับตาดูว่า ไทยให้อัตราภาษี 0% กับสินค้านำเข้าจากสหรัฐฯ ในกลุ่มใดบ้าง อย่างไรก็ตาม มองว่า ไทยน่าจะมีสินค้าหลายตัวที่ไม่ยอมเปิด เช่น ตลาดเนื้อหมู เนื้อไก่ เนื้อวัว และอาหารสัตว์บางประเภท เป็นต้น

นอกจากนี้ ยังคงมองว่า ภายใต้หลักการ Win-Win ที่ประเทศไทยยึดจึงเป็นไปได้ยากที่ไทยจะได้อัตราภาษี 20% เท่าเวียดนาม ซึ่งลดภาษีสินค้าทุกชนิดที่นำเข้าจากสหรัฐฯ เหลือ 0%

“ไม่เห็นแนวทางที่ชัดเจนว่าจะเป็น Win-Win ได้อย่างไร เพราะสิ่งที่ประเทศไทยนำเสนอยังไม่เป็นไปตามที่สหรัฐฯ ต้องการ” บุรินทร์ กล่าว พร้อมทั้งอธิบายอีกว่า ตามรายงานของ USTR สหรัฐฯ ต้องการให้มีการเปิดตลาดหลายด้าน เช่น ตลาดรถยนต์หรือลดภาษีรถยนต์ การผ่อนคลายกฎหมาย Foreign Business Act การเปิดตลาดสินค้าเกษตร เช่น เนื้อหมู เนื้อไก่ อาหารสัตว์ และพิจารณาเรื่องใบอนุญาตนำเข้าต่างๆ

“เมื่อเปรียบเทียบกับเวียดนามแล้ว มาตรการและข้อเสนอของไทยยังไม่เข้มข้นเท่า” บุรินทร์กล่าว

ไทยมีลุ้นเป็น 12 ประเทศแรกที่ทรัมป์จ่อร่อนจดหมายส่ง

สำหรับข้อเสนอการลดการเกินดุล บุรินทร์มองว่า สหรัฐฯ ไม่ได้สนใจเพียงแค่ตัวเลขดุลการค้า แต่คงสนใจประเด็นอื่นๆ ด้วย เช่น การสวมสิทธิ์เห็นได้จากระงับการส่งชิปบางประเภทมายังประเทศไทยและมาเลเซีย เนื่องจากกังวลว่าสินค้าจะถูกส่งต่อไปยังจีน นอกจากนี้ ยังมีหลายเรื่องที่สหรัฐฯ ไม่พอใจอยู่แล้ว เช่น ประเด็นเรื่องอุยกูร์ (Uyghur) ซึ่งเป็นเรื่องละเอียดอ่อนและสหรัฐฯ ให้ความสำคัญอย่างมาก

ด้วยปัจจัยต่างๆ ที่กล่าวมา บุรินทร์จึงมองว่า ประเทศไทย มีโอกาสจะอยู่ในรายชื่อ 12 ประเทศแรก ที่ประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ จะส่งจดหมายโดยระบุถึงอัตราภาษีศุลกากรให้ นอกจากนี้ ไทยอยู่ในกลุ่ม 15 ประเทศแรกที่มีการเกินดุลการค้ากับสหรัฐฯ มากที่สุดด้วย

อ้างอิง:

ดูข่าวต้นฉบับ
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...

ล่าสุดจาก THE STANDARD

ทรัมป์ขู่ขึ้นภาษี 10% กับประเทศที่จะเข้าร่วม BRICS ส่งผลกระทบในระบบเศรษฐกิจโลกอย่างไรบ้าง?

3 ชั่วโมงที่ผ่านมา

คอนเสิร์ต BLACKPINK ที่ Goyang Stadium มีคนดูรวม 2 วันทะลุ 78,000 คน

3 ชั่วโมงที่ผ่านมา

วิดีโอแนะนำ

ข่าวและบทความทั่วไปอื่น ๆ

‘รักษาการนายกฯ’ไร้อำนาจกดปุ่ม? ชิงตัดหน้า‘ยุบสภา’ยิ่งยุ่งเหยิง

ไทยโพสต์

‘ตุลย์’ค้านผบ.ตร. ปูนบำเหน็จ2นพ. จี้ตั้งกก.ฟันวินัย

ไทยโพสต์

ฉบับวันที่ 8 กรกฎาคม 2568

ไทยโพสต์

จ่อลดภาษีนำเข้า0%ให้สหรัฐ

ไทยโพสต์

กฤษฎีกาขวางยุบสภา รักษาการนายกฯไร้อำนาจ พท.โวมี‘ชัยเกษม’ขึ้นแทน

ไทยโพสต์

ภูมิใจไทย-พรรคประชาชน คู่แข่งใหม่เข้มข้น !?

Manager Online

จ.สุรินทร์ รถบรรทุกชนกับรถจักรยานยนต์ กลางถนนเส้นบ้านโคกไทร-บ้านดาร์ มีผู้บาดเจ็บอาการสาหัส ก่อนไปเสียชีวิตที่โรงพยาบาล

สวพ.FM91

เปิดรางวัลทหารไทยชุดลาดตระเวน ทนยั่วยุจากทหารกัมพูชาถือหัวปลี

TNews

ข่าวและบทความยอดนิยม

เงินเฟ้อไทยติดลบ 3 เดือนต่อเนื่อง ลดลง 0.25% ในเดือน มิ.ย. ยังรั้งท้ายอาเซียน กระทรวงพาณิชย์ย้ำ ยังไม่เข้าสู่ภาวะเงินฝืด

THE STANDARD

ไทยเสี่ยงหนัก! หลังสหรัฐฯ- เวียดนามดีลภาษีการค้าลงตัว คาดฉุด GDP และภาคเกษตรไทย

THE STANDARD

เชียงใหม่-ลำพูน จับมือร่วมกับ วช. แก้ปัญหาน้ำและปัญหาฝุ่นด้วยงานวิจัย

THE STANDARD
ดูเพิ่ม
Loading...