โปรดอัพเดตเบราว์เซอร์

เบราว์เซอร์ที่คุณใช้เป็นเวอร์ชันเก่าซึ่งไม่สามารถใช้บริการของเราได้ เราขอแนะนำให้อัพเดตเบราว์เซอร์เพื่อการใช้งานที่ดีที่สุด

ธุรกิจ-เศรษฐกิจ

จับตาผลเจรจาภาษีสหรัฐฯ กระทบ GDP ไทยครึ่งปีหลัง-ปี 69 เสี่ยงชะลอแรง

PostToday

อัพเดต 19 ชั่วโมงที่ผ่านมา • เผยแพร่ 12 ชั่วโมงที่ผ่านมา

SCB EIC ประเมินเศรษฐกิจไทยปี 2568 จะยังขยายตัวใกล้เคียงมุมมองเดิมที่ 1.5% แม้ในกรณีที่ไทยเจรจาสหรัฐฯ ขอลดภาษีตอบโต้ลงได้บ้างภายในวันที่ 1 ส.ค.2568 แต่อัตราภาษีไทยสูงกว่าคู่แข่งหลัก ส่วนหนึ่งเพราะมีการเร่ง Front-loading สินค้าส่งออกก่อนสหรัฐฯ จะเริ่มเก็บภาษีนำเข้าสูงไว้แล้ว

อย่างไรก็ตาม ในช่วงครึ่งหลังปี 2568 การส่งออกจะได้รับผลกระทบรุนแรงขึ้นจาก Reciprocal tariffs ไทยที่อาจสูงกว่าคู่แข่งในตลาดสหรัฐฯ โดยในปัจจุบันพบว่า กำแพงภาษีสหรัฐฯ รายสินค้าเริ่มส่งผลลบต่อคู่ค้าที่เน้นส่งออกสินค้าที่ถูกเก็บ Specific tariffs แล้ว

สำหรับแนวโน้มเศรษฐกิจไทยในปี 2569 จะขยายตัวต่ำลงมากเหลือเพียง 1.2% จากการส่งออกและลงทุนภาคเอกชนที่จะหดตัวมากขึ้นจากกำแพงภาษีของสหรัฐฯ ที่จะมีผลต่อเนื่องไปถึงปีหน้า

สินค้าส่งออกสำคัญของไทยเผชิญความเสี่ยงจากการสูญเสียส่วนแบ่งตลาดในสหรัฐฯ ให้คู่แข่งที่ถูกเก็บภาษีตอบโต้ต่ำกว่า โดยเฉพาะกลุ่มอิเล็กทรอนิกส์และเครื่องใช้ไฟฟ้า มีแนวโน้มจะสูญเสียส่วนแบ่งตลาดให้คู่แข่งในอาเซียน, ญี่ปุ่น และเกาหลีใต้

นอกจากนี้ ไทยอาจเผชิญความเสี่ยงจากการถูกเก็บภาษีสินค้าสวมสิทธิ เช่นเดียวกับเวียดนาม ซึ่งจะยิ่งเพิ่มต้นทุนการค้า รวมถึงสินค้าไทยอาจต้องเผชิญมาตรการตรวจสอบแหล่งกำเนิดสินค้าของสหรัฐฯ ที่เข้มงวดขึ้น กระทบการส่งออกสินค้าไทยที่มีสัดส่วนการนำเข้า (Import content) สูงเพิ่มเติมอีกด้วย

สำหรับกรณีเลวร้ายหากไทยเจรจาไม่สำเร็จ (Worse case) สหรัฐฯ เก็บภาษีตอบโต้ไทย 36% เท่าเดิม เริ่มตั้งแต่วันที่ 1 ส.ค.2568 แต่คู่แข่งสำคัญในตลาดสหรัฐฯ เช่น เวียดนาม เสียภาษีตอบโต้ในอัตราต่ำกว่ามากอยู่ที่ 20% SCB EIC ประเมินว่า เศรษฐกิจไทยจะเติบโตเหลือเพียง 1.1% ในปีนี้ และขยายตัวต่ำลงมากเหลือ 0.4% ในปี 2569 จากการส่งออกและการลงทุนภาคเอกชนที่จะหดตัวมากต่อเนื่อง

ในระยะต่อไปต้องจับตาข้อเสนอใหม่ของไทยในการเจรจาการค้ากับสหรัฐฯ โดยปัจจุบันรัฐบาลยังคงพิจารณาการเปิดตลาดเสรีตามข้อเรียกร้องของสหรัฐฯ โดยเฉพาะภาคเกษตร เนื่องจากความกังวลเกี่ยวกับผลกระทบต่อเกษตรกรและผู้ประกอบการ

โดย SCB EIC ประเมินว่า อุตสาหกรรมเกษตรและปศุสัตว์ โดยเฉพาะสุกร, ไก่เนื้อ และข้าวโพด จัดอยู่ในกลุ่มที่มีความอ่อนไหวสูง หากไทยต้องเปิดตลาดเสรีให้สินค้าสหรัฐฯ เนื่องจาก (1) ต้นทุนการผลิตของไทยสูงกว่าสหรัฐฯ (รวมค่าขนส่งมาไทย) ค่อนข้างมาก

(2) ปัจจุบันไทยพึ่งพาผลผลิตในประเทศเป็นหลัก หากจะต้องพึ่งพาการนำเข้ามากขึ้น ภาครัฐจะต้องพิจารณาประเด็นความมั่นคงทางอาหารของประเทศอย่างสมดุล

และ (3) ผู้ผลิตและผู้เล่นที่เกี่ยวข้องในห่วงโซ่การผลิตในประเทศอาจได้รับผลกระทบในวงกว้าง โดยเฉพาะเกษตรกรรายย่อยที่มีต้นทุนผลิตสูงกว่า ดังนั้น หากไทยจะเปิดเสรีสินค้าเกษตรกับสหรัฐฯ ภาครัฐจะต้องเตรียมมาตรการรองรับเพื่อช่วยเหลือเยียวยาผู้ประกอบการและเกษตรกรที่ได้รับผลกระทบและช่วยให้สามารถปรับตัวได้อย่างเหมาะสม

นอกจากผลการเจรจาต่อรองการค้ากับสหรัฐฯ ที่ยังไม่แน่นอน เศรษฐกิจไทยในช่วงที่เหลือของปีนี้จะมีแรงกดดันเพิ่มเติมจากหลายปัจจัย คือ (1) การท่องเที่ยวไทยยังเผชิญปัจจัยเสี่ยงสูง แม้นักท่องเที่ยวจีนจะเริ่มฟื้นตัวดีขึ้นเล็กน้อย แต่เศรษฐกิจโลกยังมีความไม่แน่นอนจากกำแพงภาษีของสหรัฐฯ อาจส่งผลต่อการใช้จ่ายท่องเที่ยวในระยะข้างหน้า

(2) ความขัดแย้งระหว่างไทยและกัมพูชาที่จะกระทบเศรษฐกิจไทยได้ ขึ้นอยู่กับความรุนแรงของมาตรการตอบโต้ระหว่างกัน

และ (3) ความไม่แน่นอนทางการเมืองที่อาจกระทบต่อการเบิกจ่ายงบประมาณในปี 2568-2569

สำหรับมุมมองเศรษฐกิจโลกในปี 2569 ปรับดีขึ้นบ้าง หลังสหรัฐฯ เลื่อนเก็บภาษีตอบโต้เป็นวันที่ 1 ส.ค.2568 และการเจรจากับประเทศคู่ค้ามีความคืบหน้ามากขึ้น แต่ผลของกำแพงภาษีสหรัฐฯ จะชัดเจนมากขึ้นหลังเดือน ส.ค. และจะกดดันเศรษฐกิจโลกต่อเนื่องไปถึงปี 2569

โดยในช่วงครึ่งแรกของปีนี้ พบว่า เครื่องชี้กิจกรรมเศรษฐกิจของโลกยังขยายตัวได้ดี จากการเร่งผลิตเพื่อส่งออก เช่น เศรษฐกิจจีน ขยายตัวได้ดีกว่าคาดในไตรมาส 2 อยู่ที่ 5.2%YoY ส่วนหนึ่งจากการส่งออกที่ยังขยายตัวดี โดยเฉพาะในตลาดอาเซียนและยุโรป อย่างไรก็ดี การนำเข้าของสหรัฐฯ ในไตรมาส 2 เริ่มลดลงต่ำกว่าเทรนด์ปกติ หลังเร่งนำเข้าล่วงหน้า (Front-load) ไปมากตั้งแต่ช่วงปลายไตรมาส 4/2567 ต่อเนื่องมาถึงไตรมาส 1/2568

สหรัฐฯ เจรจาประเทศต่างๆ คืบหน้ามากขึ้น โดยเฉพาะหลังประธานาธิบดีทรัมป์ส่งจดหมายถึงคู่ค้าหลักกลุ่มแรกๆ แจ้งอัตราภาษีตอบโต้ (Reciprocal tariffs) ที่จะเริ่มเก็บตั้งแต่วันที่ 1 ส.ค.2568 พร้อมกับเร่งให้คู่ค้ายื่นข้อเสนอที่ดีและเป็นประโยชน์ต่อสหรัฐฯ มากขึ้น นอกจากนี้ สหรัฐฯ ยังขู่จะเริ่มเก็บภาษีรายสินค้า (Specific tariffs) เพิ่มอีกหลายรายการ เช่น ทองแดง, ยา และเซมิคอนดักเตอร์ ภายในปีนี้

นโยบายการเงินโลกยังมีแนวโน้มผ่อนคลายในปีนี้ แต่ความเสี่ยงจากสงครามการค้าจะมีผลต่อความไม่แน่นอนของนโยบายการเงินในระยะข้างหน้า เช่น Fed จะยังไม่เร่งปรับลดดอกเบี้ยในไตรมาส 3/2568 เนื่องจากตลาดแรงงานสหรัฐฯ ยังคงแข็งแกร่งและผลกระทบกำแพงภาษีต่อเงินเฟ้อยังไม่ชัดเจน ขณะที่ญี่ปุ่นมีแนวโน้มคงดอกเบี้ยนโยบายไว้ จากผลกำแพงภาษีที่อาจกระทบค่าจ้างและชะลอวัฏจักรเชิงบวกของเงินเฟ้อ

จากสถานการณ์โลกที่เปลี่ยนไป SCB EIC ประเมินว่า มีโอกาสมากขึ้นที่จะเห็นคณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) ปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายลงอีก 2 ครั้ง ในปีนี้ เพื่อให้สอดคล้องกับแนวโน้มเศรษฐกิจในระยะข้างหน้าที่จะแย่ลงกว่าที่ กนง. เคยประเมินไว้ แต่หากการเจรจากับสหรัฐฯ ไม่สำเร็จหรือเกิดผลกระทบจากปัจจัยเสี่ยงอื่นๆ เพิ่มเติม เศรษฐกิจไทยจะยิ่งเผชิญความเสี่ยงด้านต่ำสูงขึ้น อาจมีโอกาสเห็น กนง. ปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายลงมากกว่า 2 ครั้งในปีนี้

ดูข่าวต้นฉบับ
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...

ล่าสุดจาก PostToday

เปิดคำพิพากษาศาลทหารสูงสุดคดีซ้อมนักเรียนเตรียมทหาร

5 ชั่วโมงที่ผ่านมา

“อภิสิทธิ์” จี้รัฐหยุดวนลูปแจกเงิน แนะปฏิรูปรากเศรษฐกิจ กิโยตินกฎหมาย-เพิ่มทักษะคนไทย

5 ชั่วโมงที่ผ่านมา

"อภิสิทธิ์" ชี้ ศาลรธน.ตัดสินจริยธรรมการเมือง เหตุปัญหาจิตสำนึก

6 ชั่วโมงที่ผ่านมา

"อภิสิทธิ์"แนะใช้เวทีโลกเคลียร์วิกฤตชายแดนไทย-กัมพูชา

6 ชั่วโมงที่ผ่านมา

วิดีโอแนะนำ

ข่าวและบทความธุรกิจ-เศรษฐกิจอื่น ๆ

อดีตผู้ว่าททท.ถอดรหัสตลาดท่องเที่ยวไทย ย้ำเร่งกู้จีนเที่ยวไทย

ฐานเศรษฐกิจ

อายิโนะโมะโต๊ะ เผย 3 แผนใหญ่ ปี 68 หลังทำรายได้ 3.2 หมื่นล้าน

SMART SME

ผู้ช่วยฯ “จักรพล” เดินหน้ายกระดับธุรกิจที่พักเพื่อการท่องเที่ยว จับมือกระทรวงมหาดไทย ผลักดันแนวทางเชิงรุก หนุนผู้ประกอบการเข้าระบบ

สวพ.FM91

Thai economic sectors at risk without reforms amid US trade talks

Thai PBS World

Broker ranking 23 Jul 2025

Manager Online

'รองนายกฯพิชัย' หารือประธานฯ บริษัท MinebeaMitsumi Inc. หนุนลงทุนต่อเนื่องในไทย พร้อมผลักดันด้านโลจิสติกส์และพลังงาน

VoiceTV

“รัฐบาลไทย” เรียกทูตไทยประจำกัมพูชากลับประเทศ ลดระดับความสัมพันธ์

การเงินธนาคาร

“อภิสิทธิ์” จี้รัฐหยุดวนลูปแจกเงิน แนะปฏิรูปรากเศรษฐกิจ กิโยตินกฎหมาย-เพิ่มทักษะคนไทย

PostToday

ข่าวและบทความยอดนิยม

Loading...