โปรดอัพเดตเบราว์เซอร์

เบราว์เซอร์ที่คุณใช้เป็นเวอร์ชันเก่าซึ่งไม่สามารถใช้บริการของเราได้ เราขอแนะนำให้อัพเดตเบราว์เซอร์เพื่อการใช้งานที่ดีที่สุด

ทั่วไป

OECD-นักวิชาการหนุนไทยใช้ AI เชื่อมข้อมูลป้องกันคอร์รัปชัน

ฐานเศรษฐกิจ

อัพเดต 12 ชั่วโมงที่ผ่านมา • เผยแพร่ 5 ชั่วโมงที่ผ่านมา

นายเอลโลดี เบ็ธ ซอ (Ms. Elodie Beth Seo) ผู้จัดการอาวุโสแผนกต่อต้านการทุจริต ประจำองค์การเพื่อความร่วมมือทางเศรษฐกิจและการพัฒนา (Senior Manager in the OECD Anti-Corruption Division) เปิดเผยในเสวนา “Corruption Disruptors: Empowering AI to Fight Corruption” ว่า ถึงแม้เทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ (AI) จะเป็นเครื่องมือที่ช่วยพัฒนาระบบ แต่ก็สามารถถูกใช้ในทางที่ผิด เช่น การฟอกเงินผ่านคริปโทเคอร์เรนซี ซึ่งปัจจุบันกว่า 23% ของธุรกรรมที่เกี่ยวข้องเป็นธุรกรรมผิดกฎหมาย เป็นต้น

ทั้งนี้ ปัจจุบันมีหลายประเทศได้นำ AI มาช่วยเสริมการทำงานภาครัฐ เช่น เกาหลีใต้ ใช้ระบบจัดซื้อจัดจ้างอิเล็กทรอนิกส์ (KONEPS) บราซิล พัฒนาแพลตฟอร์ม LabContus เพื่อตรวจสอบความผิดปกติ สหรัฐฯ และสหราชอาณาจักร ใช้ AI วิเคราะห์ข้อมูลเรียลไทม์ ตรวจจับพฤติกรรมต้องสงสัย ฮ่องกง เปิดหลักสูตรอบรมเจ้าหน้าที่รัฐให้ใช้ AI ต้านโกง อินโดนีเซีย ใช้ระบบ One Data Indonesia ร่วมมือเปิดเผยและแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างหน่วยงานรัฐ เป็นต้น

อย่างไรก็ดี ที่ผ่านมา OECD ได้ร่วมมือกับประเทศไทยแล้ว โดยร่วมมือกับ World Justice Project ซึ่งมีความก้าวหน้าหลายอย่าง เช่น แพลตฟอร์ม ACT AI ที่เชื่อมโยงข้อมูลจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐกับข้อมูลนิติบุคคล และรายชื่อผู้มีอิทธิพลทางการเมือง (PEPs) เพื่อคัดกรองความเสี่ยงการทุจริต เป็นต้น

อย่างไรก็ดี ที่ผ่านมา OECD ได้ร่วมมือกับประเทศไทยแล้ว โดยร่วมมือกับ World Justice Project ซึ่งมีความก้าวหน้าหลายอย่าง เช่น แพลตฟอร์ม ACT AI ที่เชื่อมโยงข้อมูลจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐกับข้อมูลนิติบุคคล และรายชื่อผู้มีอิทธิพลทางการเมือง (PEPs) เพื่อคัดกรองความเสี่ยงการทุจริต เป็นต้น

OECD-นักวิชาการหนุนไทยใช้ AI เชื่อมข้อมูลป้องกันคอร์รัปชัน

อย่างไรก็ตาม ยังมีจุดที่ต้องพัฒนาเพิ่ม เช่น เสริมความโปร่งใสในกระบวนการทำงาน ผลักดันการเปิดข้อมูล (Open Data) พัฒนากฎหมายการลงโทษสินบน ลดความซ้ำซ้อนของหน่วยงานตรวจสอบ การส่งเสริมความร่วมมือภายในและระหว่างประเทศ

ดร.มานะ นิมิตรมงคล ประธานองค์กรต่อต้านคอร์รัปชัน (ประเทศไทย) กล่าวว่า ACT AI เป็นจุดเริ่มต้นของระบบตรวจสอบที่มีประสิทธิภาพ แต่จะทำงานได้ต้องมีฐานข้อมูลที่ดี เปิดเผย และบูรณาการร่วมกันทุกภาคส่วน ACT AI เข้ามาช่วยตรวจสอบวิเคราะห์ความถูกต้องของกรณีการทุจริตคอรัปชั่น แม้หลายคนจะพูดว่าระบบ AI เข้ามาช่วยทำให้โจรทำงานง่ายขึ้น สิ่งที่ทั้งภาครัฐและเอกชนต้องทำ คือ การใช้ AI ให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด

นายพันธ์ศักดิ์ เสตเสถียร Risk Partner, PwC Thailand กล่าว่าว่า Data Governance หรือการกำกับดูแลข้อมูล คือ หัวใจของการใช้ข้อมูลอย่างมีประสิทธิภาพ ต้องเปิดเผย อัพเดต และเข้าถึงได้ทุกคน โดยต้องมีกฎกติกาการใช้ข้อมูล ที่มีธรรมาภิบาลมีความโปร่งใส ข้อมูลต้องมีความสอดคล้องซึ่งกันและกัน และต้องมีหลายมิติ อย่างไรก็ตาม ข้อมูลไม่มีใครเป็นเจ้าของ ข้อมูลคือ ทรัพยากรของชาติ (National Resources) มันคือ Open Data ที่ทุกคนสามารถเข้าถึงได้ และ Data Governance ต้องถูกนำมาใช้ประโยชน์ได้ เพื่อการป้องกันการทุจริตคอรัปชั่น

รศ.ดร.ต่อภัสสร์ ยมนาค ผู้อำนวยการศูนย์ความรู้เพื่อความร่วมมือในการต่อต้านคอร์รัปชัน และส่งเสริมธรรมาภิบาลในระดับภูมิภาค (KRAC) กล่าวว่า หากต้องการให้ AI ทำงานได้จริง ต้องทำให้ข้อมูลจากทุกหน่วยงานเชื่อมโยงกันได้ มาตรฐานเดียวกัน และเข้าถึงง่าย นอกจากนี้ ยังต้องเป็นข้อมูลที่มีความเป็นมาตรฐาน โดยการบูรณาการการทำงานของแต่ละหน่วยงานเข้าด้วยกัน

นายลามินี (Ms.LAMINI) Senior Anti-Corruption Analyst at the Directorate of Information Management จากอินโดนีเซีย กล่าวว่า “One Data Indonesia” ช่วยให้หน่วยงานรัฐสามารถแชร์ข้อมูลเพื่อป้องกันการทุจริตได้อย่างมีประสิทธิภาพ ไม่ว่าจะเป็นการจัดซื้อจัดจ้าง เรื่องเกี่ยวกับทรัพย์สิน หรือการระบุทรัพย์สินที่ผิดปกติ

ศาสตราจารย์ (พิเศษ) ดร.กิตติพงษ์ กิตยารักษ์ ประธานสถาบันเพื่อการยุติธรรมแห่งประเทศไทย (TIJ) กล่าวว่า การจับคนโกงอย่างเดียวไม่พอ ต้องออกแบบระบบไม่ให้โกงได้ตั้งแต่ต้นทาง หรือที่เรียกว่า Integrity by Design ซึ่งที่ผ่านมามีตัวอย่างความสำเร็จของนโยบาย Open Government สมัยประธานาธิบดีโอบามา ที่เปิดเผยข้อมูลให้ประชาชนเข้าถึงได้ง่าย ดังนั้นจึงเสนอให้ไทยนำแนวคิดนี้มาปรับใช้ เช่น การปลดล็อกข้อมูลภาครัฐในรูปแบบที่วิเคราะห์ได้ เป็นต้น

อย่างไรก็ตามแม้การเปลี่ยนแปลงระดับนโยบายอาจใช้เวลา แต่ผู้ร่วมเสวนาทุกคนเห็นตรงกันว่า พลังของภาคประชาชนคือจุดเริ่มต้นสำคัญ หากรวมพลังกับกลไกที่ถูกต้อง เช่น ตัวชี้วัดของ OECD ก็สามารถเปลี่ยนระบบให้ใสสะอาดขึ้นได้

ดูข่าวต้นฉบับ
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...

ล่าสุดจาก ฐานเศรษฐกิจ

ตลาดหุ้นไทยดีดไม่หยุด บวก 36 จุด ยืน 1,193.63 จุด พบ DELTA-AOT ราคาพุ่ง

39 นาทีที่แล้ว

เช็คข้อมูลบริการ รถรับ-ส่งผู้ป่วยมะเร็ง สิทธิบัตรทอง ทั่วประเทศฟรี

50 นาทีที่แล้ว

ข่าวดี! ไทยส่งออกไก่พื้นเมือง ไปอินโดนีเซียครั้งแรกในประวัติศาสตร์

54 นาทีที่แล้ว

17 กรกฎาคม ‘วันอีโมจิโลก’ สัญลักษณ์ดิจิทัลที่เปลี่ยนโลกการสื่อสาร

55 นาทีที่แล้ว

วิดีโอแนะนำ

ข่าวและบทความทั่วไปอื่นๆ

“สีกากอล์ฟ” ปฏิเสธข้อหารีดทรัพย์-ทำให้เสื่อมเสียเสรีภาพ อ้างแค่ยืมเงิน

สำนักข่าวไทย Online

‘สีกากอล์ฟ’ ปฏิเสธทุกข้อกล่าวหา หลังกองปราบปรามแจ้งข้อหารีดเอาทรัพย์และทำให้เสื่อมเสียเสรีภาพ ปมอดีตผู้ช่วยเจ้าอาวาสวัดโสธรฯ

THE STANDARD
วิดีโอ

กัมพูชาเล่นแรง เร่งตรวจสอบทุนระเบิด ในพื้นที่เนิน 481 คาดลอบวางใหม่ – ไม่ใช่ของเก่า พื้นที่เคยประกาศปลอดภัยแล้ว

BRIGHTTV.CO.TH

เกษตรฯ ดันส่งออกล็อตแรก ไก่พื้นเมืองมีชีวิต ไปอินโดนีเซีย

The Better

‘นิพิฏฐ์’ ย้อนเส้นทางชีวิต ยันไม่ใช่ชนชั้น ‘อีลิท’ อยู่โรงเรียนวัด เติบโตจากความพยายาม

เดลินิวส์

เปิดแผนประทุษกรรม “สีกากอล์ฟ” ดำรงชีวิตอยู่ได้ด้วยเงินพระ

ข่าวช่องวัน 31

"ทรัมป์" มีเลขภาษีในใจ ไทยเจรจาแค่ไหนก็ไม่ต่ำ "เวียดนาม-อินโดนีเซีย" ?

TNN ช่อง16

นักวิทย์ฯชี้สภาพอากาศสุดขั้ว กำลังกลายเป็น “เรื่องปกติ”

TNN ช่อง16

ข่าวและบทความยอดนิยม

Loading...