โปรดอัพเดตเบราว์เซอร์

เบราว์เซอร์ที่คุณใช้เป็นเวอร์ชันเก่าซึ่งไม่สามารถใช้บริการของเราได้ เราขอแนะนำให้อัพเดตเบราว์เซอร์เพื่อการใช้งานที่ดีที่สุด

ต่างประเทศ

'จีน' ลุยสร้างเขื่อนยักษ์ 1.2 ล้านล้านหยวนในทิเบต ไม่สน 'กระทบธรรมชาติ-ขัดแย้งอินเดีย'

กรุงเทพธุรกิจ

อัพเดต 18 ชั่วโมงที่ผ่านมา • เผยแพร่ 11 ชั่วโมงที่ผ่านมา

แผนกระตุ้นเศรษฐกิจครั้งใหญ่และการส่งเสริมใช้พลังงานสะอาดจากงบประมาณสร้างเขื่อนขนาดมหึมาในทิเบต มูลค่า 1.2 ล้านล้านหยวน พิสูจน์แล้วว่าน่าสนใจมากพอที่จะทำให้บรรดาผู้นำจีนลืมความกังวลเกี่ยวกับความเสียหายต่อความหลากหลายทางชีวภาพและผลกระทบต่อความสัมพันธ์กับอินเดีย

หลี่ เฉียง นายกรัฐมนตรีจีน เปิดตัวโครงการก่อสร้างเขื่อนพลังงานน้ำในพื้นที่ตอนล่างของแม่น้ำยาร์ลุงซางโปเมื่อวันเสาร์ (19 ก.ค.) ซึ่งคาดว่าจะมีขนาดใหญ่กว่าเขื่อนสามผา (Three Gorges Dam) หรือชื่อจีนเรียกว่า เขื่อนซานเสียต้าป้า ถึงสามเท่า

ตามที่สำนักข่าวซินหัวรายงานนายกฯ จีน ยังได้เปิดเผยถึง ไชนา ยาเจียง กรุ๊ป บริษัทใหม่ที่จะเข้าไปจัดการการพัฒนาเขื่อน

แม้ตอนนี้ยังไม่มีข้อมูลเกี่ยวกับโครงการสร้างเขื่อนดังกล่าวมากนัก แต่ตัวเลขต้นทุนสร้างทำให้วิศวกรคาดว่าเขื่อนอาจมีขนาดใหญ่มหึมาซึ่งประมาณการไว้ว่าอาจใช้งบฯ มากกว่าที่ใช้ก่อสร้างเขื่อนสามผา 37,000 ล้านดอลลาร์ เมื่อปี 2009 ถึง 4 เท่า

งบประมาณดังกล่าว คาดว่าจะมีส่วนกระตุ้นภาคส่วนต่างๆ ของเศรษฐกิจจีน เช่น ภาคการก่อสร้าง ปูนซีเมนต์ และเหล็กกล้า และแหล่งพลังงานสะอาดที่สำคัญแห่งใหม่นี้อาจช่วยให้จีนบรรลุเป้าหมายการปล่อยมลพิษเป็นศูนย์ภายในปี 2060 ได้ในที่สุด

หุ้นของ Power Construction Corp. และ China Energy Engineering Corp. ปรับตัวสูงขึ้นถึงขีดจำกัด 10% ในตลาดหุ้นเซี่ยงไฮ้ ขณะที่หุ้นของ China Energy Engineering ในตลาดฮ่องพุ่ง 51%

ส่วนหุ้นของ Huaxin Cement Co. ก็ปรับตัวเพิ่มขึ้นมากกว่าสองเท่าในฮ่องกง ก่อนที่จะปรับตัวลดลง ขณะที่หุ้นของ Anhui Conch Cement Co. ปรับตัวเพิ่มขึ้นถึง 7.6% ในตลาดฮ่องกง

ด้านสัญญาซื้อขายแร่เหล็กและสินค้าโภคภัณฑ์ล่วงหน้าของจีนสำหรับเหล็กเส้นและเหล็กแผ่นรีดร้อนก็ปรับตัวสูงขึ้นเช่นกัน

อย่างไรก็ตาม แม้โครงการดูเหมือนจะกระตุ้นเศรษฐกิจแต่ก็มีความเสี่ยงเช่นกัน โดยเขื่อนอาจกลายเป็นปัจจัยที่สร้างความตึงเครียดระหว่างจีนและอินเดียมากขึ้น เนื่องจากแม่น้ำยาร์ลุงซางโปไหลจะผ่านรัฐอรุณาจัลประเทศทางตะวันออกเฉียงเหนือของอินเดีย และไหลลงสู่แม่น้ำพรหมบุตร จากนั้นไหลเข้าสู่บังกลาเทศ

เสี่ยงเติมเชื้อไฟความตึงเครียด 'อินเดีย-จีน'

รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศของอินเดีย กล่าวกับสมาชิกรัฐสภาในเดือนมีนาคมว่า อินเดียได้แสดงความกังวลต่อจีนเมื่อเดือนธ.ค. ปีก่อน และเสริมว่าโครงการสร้างเขื่อนดังกล่าวเป็นหัวข้อสำคัญในการหารือระหว่างสองประเทศเมื่อเดือน ม.ค. ที่ผ่านมา

การประกาศสร้างเขื่อนเมื่อวันอาทิตย์ของจีน มีขึ้นขณะที่สองประเทศขนาดใหญ่ที่สุดในโลกอยู่ในห้วงความสัมพันธ์ที่มีความซับซ้อน โดยความสัมพันธ์ทวิภาคีของจีนและอินเดียเริ่มมีเสถียรภาพมากขึ้นหลังจากหยุดชะงักมานานสี่ปี จากการปะทะบริเวณชายแดนในเดือนมิ.ย. 2020 ทำให้ชาวอินเดียเสียชีวิตประมาณ 20 ราย และชาวจีนเสียชีวิตอย่างน้อย 4 ราย

ขณะที่ปักกิ่งแต่งตั้งเอกอัครราชทูตประจำอินเดียคนใหม่ในปีที่แล้ว และเมื่อต้นปีนี้ทั้งสองประเทศเพิ่งตกลงที่จะฟื้นเที่ยวบินตรงระหว่างกัน และออกมาตรการอำนวยความสะดวกในการขอวีซ่า

อย่างไรก็ตาม จีนและอินเดียยังคงมีปัญหาความตึงเครียดระหว่างกันอีกหลายเรื่อง

อินเดียกำลังเล็งขึ้นเป็นตัวเลือกที่สำคัญในเอเชียแทนจีน ในด้านฮับการผลิต และความสัมพันธ์ที่ใกล้ชิดกับสหรัฐที่มากขึ้นในช่วงสองสามปีทีผ่านมาก็มีสาเหุตหลักมาจากการต่อต้านอิทธิพลของจีนในภูมิภาค

นิวเดลียังคงออกมาตรการจำกัดการลงทุนกับบริษัทจีนที่ย้ายเข้าไปทำธุรกิจในอินเดีย และบริษัทจีนก็เริ่มถอนพนักงานออกจากโรงงานบางแห่งในอินเดียแล้ว

ความขัดแย้งระหว่างอินเดียและปากีสถานเมื่อต้นปีก็ทำให้ความสัมพันธ์ระหว่างอินเดียและจีนตึงเครียดมากขึ้น หลังจากอิสลามาบัดใช้เครื่องบินรบของจีนยิงเครื่องบินรบของอินเดียร่วงหลายลำ ด้านกลุ่มวิจัยภายใต้กระทรวงกลาโหมอินเดียเผยว่า รัฐบาลปักกิ่งให้การสนับสนุนปากีสถานด้านการป้องกันทางอากาศและดาวเทียมในระหว่างเกิดความขัดแย้ง ซึ่งปากีสถาน ประเทศคู่อริกับอินเดียมาอย่างยาวนานนั้น เป็นพันธมิตรในภูมิภาคที่ใกล้ชิดจีนที่สุด

นอกจากนี้ยังมีข้อกังวลด้านสิ่งแวดล้อมเกี่ยวกับผลกระทบที่ไม่อาจฟื้นคืนกลับได้ของการสร้างเขื่อนในหุบเขายาร์ลุงซางโปซึ่งเป็นจุดที่แม่น้ำเริ่มลดระดับความสูงลงจาก 2,000 เมตร (6,560 ฟุต) เป็นระยะทาง 50 กิโลเมตร และพื้นดังกล่าวเป็นที่ตั้งของเขตอนุรักษ์ธรรมชาติแห่งชาติจีน และเป็นหนึ่งในพื้นที่ที่มีความหลากหลายทางชีวภาพที่สำคัญที่สุดของจีน

โครงการนี้ยังมีความซับซ้อนเนื่องจากมีความท้าทายในการขนส่งวัสดุและแรงงานไปยังไซต์ก่อสร้างที่อยู่ห่างไกล และมีต้นทุนสูงในการติดตั้งสายไฟฟ้าเพื่อส่งไฟฟ้าไปยังพื้นที่ทางตะวันออกของจีนที่มีประชากรหนาแน่นกว่า

นักลงทุนมองบวกโครงการสร้างเขื่อนในทิเบต

ซินหัวระบุว่า โครงการนี้ประกอบด้วยเขื่อนน้ำตก 5 แห่ง และจะตั้งอยู่รอบเมืองหลินจือ ทางตะวันออกเฉียงใต้ของเขตปกครองตนเองทิเบต และวิศวกรจะหาวิธีปรับโค้งแม่น้ำบางส่วนให้ตรง (ลดความคดเคี้ยวของแม่น้ำ) และเบี่ยงน้ำผ่านเข้าเขื่อนในจุดต่างๆ

วิศวกรของรัฐบาลจีนเผยว่า หุบเขาแห่งนี้มีศักยภาพในการผลิตไฟฟ้าได้ถึง 70 กิกะวัตต์ ซึ่งมากกว่ากำลังการผลิตไฟฟ้าทั้งหมดของโปแลนด์ และจะถือเป็นโครงการพลังงานที่ใหญ่ที่สุดในโลก

ตอนนี้ยังไม่แน่ชัดว่ายาเจียงกรุ๊ปจะจัดหาเงินทุนก่อสร้างโครงการโครงสร้างพื้นฐานที่มีค่าใช้จ่ายสูงที่สุดแห่งหนึ่งในโลกได้อย่างไร แต่เมื่อพิจารณาจากประวัติการปล่อยกู้ของจีนสำหรับการสร้างเขื่อนและความสามารถในการขายพลังงานไฟฟ้าพลังน้ำในอนาคตเพื่อนำรายได้มาชำระเงินกู้แล้ว ปัญหาการจัดหาเงินทุนจึงไม่น่าจะเกิดขึ้น

การประกาศโครงการดังกล่าวส่งผลให้สัญญาซื้อขายล่วงหน้าของพันธบัตรรัฐบาลจีนร่วงในวันจันทร์ เนื่องจากมีความเชื่อมั่นว่าโครงการดังกล่าวจะช่วยพัฒนาเศรษฐกิจ จึงบั่นทอนความน่าดึงดูดของสินทรัพย์ปลอดภัยอย่างตราสารหนี้รัฐบาล และสัญญาซื้อขายล่วงหน้าของพันธบัตรรัฐบาลจีน ระยะเวลา 30 ปี ร่วงลงมากถึง 0.5% สู่ระดับต่ำสุดนับตั้งแต่ต้นเดือนมิ.ย.

เมื่อต้นปีนี้ คณะกรรมการพัฒนาและปฏิรูปแห่งชาติ ได้บรรจุโครงการก่อสร้างเขื่อนในพื้นที่ตอนล่างของแม่น้ำยาร์ลุงซางโปในทิเบตและโครงการส่งไฟฟ้าจากพื้นที่ดังกล่าวไปยังฮ่องกงไว้ในรายงานประจำปีที่จะส่งไปยังสภาประชาชนแห่งชาติจีนต่อไป

อ้างอิง: Bloomberg

ดูข่าวต้นฉบับ
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...

ล่าสุดจาก กรุงเทพธุรกิจ

ไฮด์ เฮอริเทจ ทองหล่อ กระดับบริการตอบไลฟ์สไตล์ระดับลักชัวรี

3 ชั่วโมงที่ผ่านมา

5 ความท้าทายถาโถม 'ศุภชัย' ชี้ไทยถึงจุดขับเคลื่อน SDGs แบบไม่หันหลังกลับ

5 ชั่วโมงที่ผ่านมา

GCNT Expo 2025 งานมหกรรมความยั่งยืนระดับชาติ ขับเคลื่อน SDGs ด้วย 7Ts

6 ชั่วโมงที่ผ่านมา

รีวิว 'HONOR CHOICE Earbuds Clip' เครื่องประดับหรู สบายหู & เสียงดี

6 ชั่วโมงที่ผ่านมา

วิดีโอแนะนำ

ข่าวและบทความต่างประเทศอื่น ๆ

คนไทยรู้จักดี! "ราชาแห่งการบำรุงม้าม–กระเพาะ" ดีกว่ามันเทศ โภชนาการแซงเผือก

sanook.com

เหตุ ‘เหมืองหยก’ ถล่มในเมียนมา มีคนติดค้างราว 20 ราย

Xinhua

อินโดฯ เผยแบบสร้าง ‘อาคารต้านแผ่นดินไหว’ หวังบรรเทาภัยเสี่ยง

Xinhua

ชาวปาเลสไตน์รุมเบียดรับอาหารในกาซา

Xinhua

วารสารเนเจอร์ชี้ โมเดลเอไอจีน Kimi K2 ศักยภาพสูงเทียบเคียงดีปซีก

Xinhua

กองทัพ ‘ลาว-ไทย’ มุ่งเสริมแกร่งความร่วมมือการทหาร

Xinhua

พัฒนาการ ‘ทุเรียนซานย่า’ ก้าวหน้า สะท้อนคุณภาพการเกษตรเขตร้อนของจีน

Xinhua

จีนห้าม ‘ผู้บริหารธนาคารสหรัฐฯ’ ออกนอกจีนชั่วคราว หลังพัวพันคดีอาญา

Xinhua

ข่าวและบทความยอดนิยม

Loading...