โปรดอัพเดตเบราว์เซอร์

เบราว์เซอร์ที่คุณใช้เป็นเวอร์ชันเก่าซึ่งไม่สามารถใช้บริการของเราได้ เราขอแนะนำให้อัพเดตเบราว์เซอร์เพื่อการใช้งานที่ดีที่สุด

หุ้น การลงทุน

ถอดรหัสความสำคัญ IMF-WBG Annual Meetings 2026 ไทยได้อะไร ?

กรุงเทพธุรกิจ

อัพเดต 11 ชั่วโมงที่ผ่านมา • เผยแพร่ 4 ชั่วโมงที่ผ่านมา

ในปี 2569 ที่จะมาถึง สายตาของประชาคมโลกจะจับจ้องมายังประเทศไทยอีกครั้ง เมื่อประเทศไทยได้รับเลือกให้เป็นเจ้าภาพจัดการประชุมประจำปีของกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF) และกลุ่มธนาคารโลก (World Bank Group - WBG) หรือที่รู้จักกันในชื่อ IMF-WBG Annual Meetings 2026 ซึ่งนับเป็นครั้งที่สองในรอบ 35 ปีที่ไทยได้รับความไว้วางใจให้เป็นศูนย์กลางของการหารือทางเศรษฐกิจและการเงินระดับโลก หลังจากเคยเป็นเจ้าภาพมาแล้วในปี พ.ศ. 2534 การกลับมาครั้งนี้จึงนับเป็นการตอกย้ำศักยภาพ ความพร้อม และบทบาทสำคัญของประเทศไทยบนเวทีโลก

IMF และ WBG คืออะไร ทำไมการประชุมนี้จึงมีความสำคัญ

ก่อนที่เราจะเจาะลึกถึงประโยชน์ที่ไทยจะได้รับ มาทำความรู้จักกับสององค์กรยักษ์ใหญ่ระดับโลกนี้กันก่อน เริ่มจาก กองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF) ก่อตั้งขึ้นในปี พ.ศ.2537 มีภารกิจหลักในการส่งเสริมเสถียรภาพทางการเงินของโลก สนับสนุนการเติบโตทางเศรษฐกิจ และให้ความช่วยเหลือแก่ประเทศสมาชิกที่ประสบปัญหาวิกฤตเศรษฐกิจ ผ่านการให้คำปรึกษาทางการเงิน การสนับสนุนด้านนโยบาย และการฝึกอบรม ขณะที่ กลุ่มธนาคารโลก (WBG) ซึ่งก่อตั้งขึ้นในปีเดียวกัน มีพันธกิจหลักในการลดความยากจนและส่งเสริมการพัฒนาอย่างยั่งยืน โดยให้การสนับสนุนทางการเงิน โครงการพัฒนา และแบ่งปันองค์ความรู้ในหลากหลายมิติ ไม่ว่าจะเป็นการศึกษา สาธารณสุข โครงสร้างพื้นฐาน หรือสิ่งแวดล้อม

การประชุมประจำปีของทั้งสององค์กรนี้ จึงเป็นเวทีสำคัญที่ผู้นำด้านเศรษฐกิจ การเงิน และการพัฒนาจากกว่า 191 ประเทศทั่วโลก จะมารวมตัวกันเพื่อหารือประเด็นสำคัญและเร่งด่วนของเศรษฐกิจโลก ตั้งแต่การเติบโตทางเศรษฐกิจ เสถียรภาพทางการเงิน ไปจนถึงการลดความยากจนและการพัฒนาอย่างยั่งยืน

ทำไมต้องเป็นประเทศไทย

การที่ประเทศไทยได้รับเลือกให้เป็นเจ้าภาพ IMF-WBG Annual Meetings 2026 ซึ่งจะจัดขึ้นระหว่างวันที่ 12 – 18 ตุลาคม พ.ศ. 2569 ณ ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ ไม่ใช่เรื่องบังเอิญ แต่เป็นผลมาจากหลายปัจจัยที่สะท้อนถึงศักยภาพและความพร้อมของประเทศ:

  • ศักยภาพทางเศรษฐกิจและการเงิน: ประเทศไทยมีบทบาทสำคัญในฐานะศูนย์กลางทางเศรษฐกิจของภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ มีความมั่นคงทางการเงินและนโยบายที่เปิดกว้างต่อการลงทุน
  • ความพร้อมด้านโครงสร้างพื้นฐาน: ระบบการเดินทางคมนาคมที่ทันสมัย โรงแรมที่พักระดับมาตรฐาน และที่สำคัญคือ ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ ซึ่งเป็นสถานที่จัดงานประชุมที่พร้อมด้วยสิ่งอำนวยความสะดวก และเคยเป็นเจ้าภาพจัดการประชุมสำคัญอย่าง APEC 2022 มาแล้ว
  • ประสบการณ์และความน่าเชื่อถือ: การเคยเป็นเจ้าภาพในปี 2534 แสดงให้เห็นถึงประสบการณ์และความสามารถในการจัดการประชุมระดับนานาชาติขนาดใหญ่ได้อย่างราบรื่น

โอกาสทองของคนไทยทุกภาคส่วน

การเป็นเจ้าภาพ IMF-WBG Annual Meetings 2026 ไม่ใช่เป็นเพียงสิ่งเชิดหน้าชูตาให้กับประเทศ แต่คือ "โอกาสทอง" ที่จะสร้างผลเชิงบวกในหลากหลายมิติ ทั้งในระยะสั้นและระยะยาว ไม่ว่าจะเป็น

  • ยกระดับภาพลักษณ์และความเชื่อมั่น: การเป็นเจ้าภาพงานระดับโลกเช่นนี้ เป็นการแสดงศักยภาพของประเทศไทยในสายตาประชาคมโลก ทั้งในด้านเศรษฐกิจ วัฒนธรรม และการพัฒนา ตอกย้ำความพร้อมและความสามารถในการเป็นศูนย์กลางการประชุมและศูนย์กลางทางเศรษฐกิจของภูมิภาค
  • กระตุ้นเศรษฐกิจในระยะสั้น: คาดการณ์ว่าจะมีผู้เข้าร่วมงานกว่า 15,000 - 18,000 คน จาก 191 ประเทศทั่วโลก ซึ่งจะก่อให้เกิดการใช้จ่ายทั้งในภาคการท่องเที่ยว โรงแรม ร้านอาหาร การขนส่ง และธุรกิจบริการอื่น ๆ สร้างเม็ดเงินหมุนเวียนในระบบเศรษฐกิจ
  • ดึงดูดเม็ดเงินลงทุนและสร้างความร่วมมือ: เวทีนี้เปิดโอกาสให้ประเทศไทยได้พบปะกับนักลงทุน ผู้กำหนดนโยบาย และผู้บริหารระดับสูงจากทั่วโลก นำไปสู่การเจรจาทางการค้า การลงทุน และการสร้างความร่วมมือใหม่ ๆ ที่เป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาประเทศในระยะยาว
  • เผยแพร่ Soft Power ไทยสู่สายตาโลก: นี่คือโอกาสอันดีที่ประเทศไทยจะได้นำเสนอเอกลักษณ์และความงดงามของวัฒนธรรมไทยให้เป็นที่ประจักษ์ ไม่ว่าจะเป็นศิลปะการแสดง อาหารไทยขึ้นชื่ออย่างแกงมัสมั่น (ที่ CNN Travel ยกให้เป็นอันดับ 1 ของโลก) ผ้าไทยอันวิจิตร และศิลปวัฒนธรรมไทยซึ่งจะเป็นการนำเสนอ Soft Power ที่จะช่วยสร้างภาพลักษณ์เชิงบวกและดึงดูดนักท่องเที่ยวให้มาเยือนไทยมากขึ้นในอนาคต

โลโก้การประชุม สัญญะแห่งความเป็นไทยบนเวทีโลก

หนึ่งในความภาคภูมิใจของการเป็นเจ้าภาพครั้งนี้คือ โลโก้การประชุม IMF-WBG Annual Meetings 2026 ที่ออกแบบโดยคนไทย โดยนำลวดลายไทยอันเป็นเอกลักษณ์ที่ปรากฏบน เหรียญพดด้วง มาลดทอนรายละเอียดให้มีความทันสมัยและจดจำง่าย

โลโก้นี้ผสมผสานสัญลักษณ์สำคัญอย่าง ลายประจำยาม ซึ่งเป็นลวดลายมงคลที่พบในงานศิลปะไทย สื่อถึงการปกป้องคุ้มครองและความงดงามทางวัฒนธรรม ลายพระแสงจักร อันเป็นสัญลักษณ์แห่งอำนาจและความมั่นคง เชื่อมโยงกับตราประจำแผ่นดินไทยและเหรียญโบราณ สะท้อนบทบาทของไทยในฐานะเจ้าภาพระดับโลก และการออกแบบตัวอักษร "THAILAND" ที่นำ ICON ลายไทยมาตกแต่งตัวอักษร "I"อย่างมีเอกลักษณ์ แสดงถึงความทันสมัยและความภาคภูมิใจในความเป็นไทย พร้อมสื่อถึงการเปิดรับความร่วมมือระดับนานาชาติ

การออกแบบที่ผสานความดั้งเดิมเข้ากับความร่วมสมัยนี้ เป็นการประกาศให้โลกได้รับรู้ถึงรากเหง้าทางวัฒนธรรมอันแข็งแกร่งของไทย ควบคู่ไปกับการก้าวไปข้างหน้าอย่างไม่หยุดยั้ง

แนวคิดเบื้องหลังงานกราฟิก: สานสัมพันธ์ สื่อวัฒนธรรมไทย

งานกราฟิกที่ใช้ในการจัดงานครั้งนี้ ถือกำเนิดจากแนวคิดหลัก 4 ประการ ได้แก่ งานเฉลิมฉลอง (festive), ความน่าเชื่อถือ (reliable), ความสัมพันธ์ (relationship) และ วัฒนธรรม (cultural) เมื่อนำแนวคิดเหล่านี้มาผสมผสานและตีความให้เข้ากับเอกลักษณ์ความเป็นไทย จนได้แรงบันดาลใจจาก "การจักสาน" ซึ่งนอกจากจะสะท้อนถึงภูมิปัญญาและวัฒนธรรมไทยอันงดงามแล้ว ยังเป็นสัญลักษณ์ของการถักทอ ความร่วมมือร่วมใจ ซึ่งถือเป็นหัวใจสำคัญของการประชุมในครั้งนี้ นอกจากนี้ยังมีการใช้สีสันจากเงินตราที่สะท้อนบทบาทสำคัญของประเทศ สำหรับชุดสีที่เรานำมาใช้นั้น ได้แรงบันดาลใจโดยตรงจากสีของธนบัตรและเหรียญกษาปณ์ไทย เพื่อให้เกิดความหลากหลายและสื่อความหมายที่ลึกซึ้งยิ่งขึ้น สีเขียว จากธนบัตรชนิดราคา 20 บาท สีฟ้าและสีน้ำเงิน จากธนบัตรชนิดราคา 50 บาท สีชมพูม่วง จากธนบัตรชนิดราคา 100 บาท และ 500 บาท สีส้มเหลือง จากธนบัตรชนิดราคา 1000 บาท และสุดท้ายคือ สีขาวเงิน จากเหรียญกษาปณ์ไทย

การเลือกใช้ชุดสีนี้ยังเป็นการสื่อถึงความรับผิดชอบอันสำคัญของทั้งกระทรวงการคลังและธนาคารแห่งประเทศไทย ซึ่งมีบทบาทสำคัญในการดูแลเศรษฐกิจการเงินของประเทศ และทั้งสององค์กรยังเป็นเจ้าภาพหลักในการประชุม Annual Meetings ในปี 2569 ที่ประเทศไทยอีกด้วย

ความภาคภูมิใจของคนไทยทั้งชาติ

การเป็นเจ้าภาพ IMF-WBG Annual Meetings 2026 คือ หมุดหมายสำคัญที่ตอกย้ำสถานะและบทบาทของประเทศไทยบนเวทีโลก เพื่อการสร้างโอกาสทางเศรษฐกิจ การลงทุน การแลกเปลี่ยนองค์ความรู้ และการเผยแพร่วัฒนธรรมอันงดงามของไทยให้เป็นที่ประจักษ์ มาร่วมนับถอยหลังและภาคภูมิใจไปพร้อมกัน กับการที่ประเทศไทยจะได้ยกระดับบทบาทและศักยภาพบนเวทีโลก สร้างผลกระทบเชิงบวกแก่คนไทยทุกภาคส่วน และเปิดประตูสู่ความมั่งคั่งและยั่งยืนในอนาคต

###

สื่อมวลชนสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมกรุณาติดต่อ

โอกิลวี่ (ประเทศไทย)

  • เอกภพ พันธุรัตน์ (เอก)

โทร. 06-1154-4616

อีเมล: eakkapop.panthurat@ogilvy.com

  • จิตรทิวัส ราชคม (ก็อบ)

โทร. 06-2614-5692

อีเมล: jitthiwat.ratchakhom@ogilvy.com

ดูข่าวต้นฉบับ
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...

ล่าสุดจาก กรุงเทพธุรกิจ

Hanfu stylist อาชีพมาแรงในจีน ทางการผลักดันให้เด็กจบใหม่มีงานทำ

11 นาทีที่แล้ว

‘โมชิ โมชิ’ พร้อมรับมือคู่แข่งจีนรุกรีเทลไลฟ์สไตล์ในไทย - ทำแผนตั้งรับ ปรับสินค้า

37 นาทีที่แล้ว

TACP โอนหุ้นหลักทรัพย์ให้ TTB รับ 2 พันล้าน จำนวน 2,698 ล้านหุ้น สิ้นสุดบริษัทย่อย

1 ชั่วโมงที่ผ่านมา

'คณะรวมพลังแผ่นดิน' มอบ คปท. ไล่ 'แพทองธาร' รอเคลื่อนใหญ่ ส.ค.นี้

1 ชั่วโมงที่ผ่านมา

วิดีโอแนะนำ

ข่าวและบทความหุ้น การลงทุนอื่น ๆ

เปิด 6 “กองอสังหาฯ (Type1)” & 2 “กองโครงสร้างพื้นฐาน”...ในรอบ 1 ปี ยัง “ไร้ปันผล”

Wealthy Thai

ตกงานอย่าตกใจ! วิธีเอาตัวรอดเรื่องเงิน | Wealthy No หนี้ EP.2O

Wealth Me Up

‘พิชัย’ เร่งฟื้นความเชื่อมั่นตลาดหุ้น- ตลท.เดินหน้าสร้างโอกาสนักลงทุนเข้าถึงตลาดต่างประเทศ

The Bangkok Insight

ส่องทิศทางหุ้นไทยไตรมาส 3 คาดแกว่งกรอบ 1,050-1,180 จุด ระวัง!! แตะ 1,000 จุด

The Bangkok Insight

ค่าเงินบาทผันผวน ท่ามกลางความไม่แน่นอน การเมืองในประเทศ

ประชาชาติธุรกิจ

ดร.พิพัฒน์ ห่วงการเมืองสะดุด ฉุดงบฯ ปี'69 ไม่ผ่าน ทุบเศรษฐกิจติดลบ

ประชาชาติธุรกิจ

TACP โอนหุ้นหลักทรัพย์ให้ TTB รับ 2 พันล้าน จำนวน 2,698 ล้านหุ้น สิ้นสุดบริษัทย่อย

กรุงเทพธุรกิจ

TTB ทุ่ม 2,062 ล้าน ซื้อ บล.ธนชาต เข้าถือหุ้นใหญ่ 99.97%

ประชาชาติธุรกิจ

ข่าวและบทความยอดนิยม

Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...