โปรดอัพเดตเบราว์เซอร์

เบราว์เซอร์ที่คุณใช้เป็นเวอร์ชันเก่าซึ่งไม่สามารถใช้บริการของเราได้ เราขอแนะนำให้อัพเดตเบราว์เซอร์เพื่อการใช้งานที่ดีที่สุด

ธุรกิจ-เศรษฐกิจ

ค่าเงินบาทเปิดเช้านี้ 16ก.ค.“อ่อนค่าลง” ที่ระดับ 32.58 บาทต่อดอลลาร์

ฐานเศรษฐกิจ

อัพเดต 13 ชั่วโมงที่ผ่านมา • เผยแพร่ 9 ชั่วโมงที่ผ่านมา

ค่าเงินบาทเปิดเช้านี้ 16ก.ค.2568ที่ระดับ 32.58 บาทต่อดอลลาร์ “อ่อนค่าลง”จากระดับปิดวันที่ผ่านมา ณ ระดับ 32.40 บาทต่อดอลลาร์

นายพูน พานิชพิบูลย์ นักกลยุทธ์ตลาดเงินตลาดทุน Krungthai GLOBAL MARKETS ธนาคารกรุงไทย เปิดเผยว่าแนวโน้มของค่าเงินบาท แม้เราจะยังคงมุมมองเดิมว่า เงินบาทยังมีความเสี่ยงเผชิญแรงกดดันฝั่งอ่อนค่าได้ในช่วงนี้ ตามจังหวะการทยอยแข็งค่าขึ้นของเงินดอลลาร์ ที่ได้แรงหนุนจากทั้งการทยอยปรับลดความคาดหวังต่อแนวโน้มการลดดอกเบี้ยของเฟด

รวมถึงความไม่แน่นอนของการดำเนินนโยบายการค้าของสหรัฐฯ แต่การแข็งค่าขึ้นของเงินดอลลาร์อาจเป็นไปอย่างจำกัดก่อน เนื่องจากผู้เล่นในตลาดอาจรอลุ้นรายงานข้อมูลเศรษฐกิจสำคัญ อย่าง ยอดค้าปลีก (Retail Sales) ที่จะรับรู้ในช่วงวันพฤหัสฯ นี้

และเรามองว่า หากจะทำให้ผู้เล่นในตลาดปรับลดความคาดหวังต่อแนวโน้มการลดดอกเบี้ยของเฟดเพิ่มเติม จากโอกาสราว 74% ที่เฟดจะลดดอกเบี้ย 2 ครั้ง ในปีนี้ เหลือ 50% หรือต่ำกว่า อาจจะต้องเห็นรายงานข้อมูลตลาดแรงงานสหรัฐฯ ที่ออกมาสดใสและดีกว่าคาดชัดเจน ซึ่งจะเป็นช่วงต้นเดือนสิงหาคมมากกว่าในช่วงนี้

ทำให้เรามองว่า รายงานข้อมูลเศรษฐกิจสหรัฐฯ ในช่วงนี้ อาจไม่ได้ทำให้ผู้เล่นในตลาดปรับลดความคาดหวังต่อแนวโน้มการลดดอกเบี้ยของเฟดได้มากนัก (ขณะเดียวกัน ก็อาจทำให้ผู้เล่นในตลาดกลับมามั่นใจว่า เฟดจะลดดอกเบี้ย 2 ครั้ง ได้ หากข้อมูลออกมาแย่กว่าคาด กดดันให้เงินดอลลาร์พลิกกลับมาอ่อนค่าลงได้)

นอกจากนี้ เรามองว่า ราคาทองคำยังมีโอกาสทยอยปรับตัวสูงขึ้นจากโซนแนวรับระยะสั้น ซึ่งหากราคาทองคำทยอยรีบาวด์สูงขึ้นบ้าง ก็จะช่วยชะลอการอ่อนค่าของเงินบาท ทำให้โดยรวมเงินบาทก็อาจยังติดโซนแนวต้าน 32.60-32.70 บาทต่อดอลลาร์ ไปก่อนได้ แต่หากเงินบาทสามารถอ่อนค่าทะลุโซน 32.70 บาทต่อดอลลาร์ ได้อย่างชัดเจน เราถึงจะกลับมามั่นใจว่า เงินบาทได้กลับเข้าสู่แนวโน้มอ่อนค่าลงอีกครั้ง ตามการประเมินด้วยกลยุทธ์ Trend Following

เรายังคงมีความกังวลเดิม คือ ความผันผวนของเงินบาทที่อาจกลับมาสูงขึ้นได้ ท่ามกลางความไม่แน่นอนของการดำเนินนโยบายการค้าของสหรัฐฯ และสถานการณ์การเมืองไทย ซึ่งเรามองว่า ผู้เล่นในตลาดควรใช้กลยุทธ์ Options เพื่อช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการบริหารความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยน

มองกรอบเงินบาทในช่วง 24 ชั่วโมง คาดว่าจะอยู่ที่ระดับ 32.45-32.70 บาท/ดอลลาร์

โดยนับตั้งแต่ช่วงคืนที่ผ่านมา เงินบาท (USDTHB) พลิกกลับมาทยอยอ่อนค่าลง (แกว่งตัวในกรอบ 32.39-32.61 บาทต่อดอลลาร์) ตามการทยอยแข็งค่าขึ้นต่อเนื่องของเงินดอลลาร์ หลังผู้เล่นในตลาดทยอยปรับลดความคาดหวังต่อแนวโน้มการลดดอกเบี้ยของเฟด

จากเดิมผู้เล่นในตลาดมั่นใจว่า เฟดอาจลดดอกเบี้ยได้ 2 ครั้ง ในปีนี้ เป็น เฟดมีโอกาสราว 74% ที่จะลดดอกเบี้ยได้ในปีนี้ ตามรายงานอัตราเงินเฟ้อ CPI ของสหรัฐฯ เดือนมิถุนายน ที่ออกมาสูงขึ้นสู่ระดับ 2.7% (+0.3%m/m) สูงกว่าที่ตลาดคาดไว้ 2.6% (+0.1%m/m)

ทำให้ผู้เล่นในตลาดประเมินว่า เฟดอาจยังไม่เร่งรีบปรับลดดอกเบี้ยนโยบาย เพื่อรอประเมินผลกระทบจากนโยบายการค้าของสหรัฐฯ ต่อเศรษฐกิจและเงินเฟ้อให้แน่ชัด ซึ่งภาพดังกล่าวก็สอดคล้องกับถ้อยแถลงของบรรดาเจ้าหน้าที่เฟดในช่วงคืนที่ผ่านมาเช่นกัน

นอกจากนี้ การปรับลดความคาดหวังต่อแนวโน้มการลดดอกเบี้ยของเฟดยังได้หนุนให้บอนด์ยีลด์ 10 ปี สหรัฐฯ ปรับตัวสูงขึ้นเข้าใกล้โซน 4.50% ซึ่งการปรับตัวขึ้นของทั้งเงินดอลลาร์และบอนด์ยีลด์ 10 ปี สหรัฐฯ ได้กดดันให้ ราคาทองคำปรับตัวลดลงและเป็นอีกปัจจัยที่กดดันให้เงินบาทอ่อนค่าลง

บรรยากาศในฝั่งตลาดหุ้นสหรัฐฯ ยังคงอยู่ในภาวะปิดรับความเสี่ยง หลังรายงานอัตราเงินเฟ้อ CPI ล่าสุด ที่ออกมาสูงกว่าคาด ทำให้ผู้เล่นในตลาดกังวลว่าเฟดอาจยิ่งไม่รีบลดดอกเบี้ยตามที่เคยประเมินไว้

ขณะเดียวกัน รายงานผลประกอบการของบรรดาบริษัทจดทะเบียนต่างก็ออกมาผสมผสาน ทว่าตลาดหุ้นสหรัฐฯ ยังพอได้แรงหนุนบ้างจากการปรับตัวขึ้นของ Nvidia +4.0% หลังทางการสหรัฐฯ ได้แจ้งกับทางบริษัทว่าจะออกใบอนุญาตให้ส่งออกชิป AI ประสิทธิภาพสูงให้กับจีน ทำให้โดยรวมดัชนีหุ้นเทคฯ Nasdaq ปรับตัวขึ้น +0.18% ส่วนดัชนี S&P500 ปิดตลาด -0.40%

ทางฝั่งตลาดหุ้นยุโรป ดัชนี STOXX600 ปรับตัวลดลงต่อเนื่อง -0.37% กดดันโดยความกังวลแนวโน้มการเจรจาการค้าระหว่างสหรัฐฯ กับสหภาพยุโรป (EU) ซึ่งอาจกระทบต่อความเชื่อมั่นนักลงทุน หากสุดท้ายไม่มีข้อตกลงการค้าเกิดขึ้น จากการวิเคราะห์ของทาง ZEW ล่าสุด

อย่างไรก็ดี ตลาดหุ้นยุโรปยังพอได้แรงหนุนบ้างจากการปรับตัวขึ้นของหุ้นธีม AI/Semiconductor อย่าง ASML +2.7% ก่อนรับรู้ผลประกอบการ และสอดคล้องกับการปรับตัวขึ้นของหุ้นธีมดังกล่าวในฝั่งสหรัฐฯ

ส่วนในฝั่งตลาดบอนด์ บอนด์ยีลด์ 10 ปี สหรัฐฯ ปรับตัวสูงขึ้นเข้าใกล้โซน 4.50% อีกครั้ง หลังผู้เล่นในตลาดทยอยปรับลดความคาดหวังต่อแนวโน้มการลดดอกเบี้ยของเฟด ตามรายงานอัตราเงินเฟ้อ CPI ของสหรัฐฯ ที่ออกมาสูงกว่าคาด

โดยเฉพาะในส่วนของโมเมนตัมอัตราเงินเฟ้อ (%m/m) อนึ่ง เราคงมุมมองเดิมว่า การปรับตัวขึ้นของบอนด์ยีลด์ 10 ปี สหรัฐฯ ในช่วงนี้ ได้ทำให้บอนด์ระยะยาวสหรัฐฯ มีความน่าสนใจมากขึ้น

และเราคงคำแนะนำเดิมว่า ผู้เล่นในตลาดควรรอจังหวะบอนด์ยีลด์ระยะยาวสหรัฐฯ ปรับตัวสูงขึ้น ในการทยอยเข้าซื้อ หลัง Risk-Reward มีความน่าสนใจมากขึ้น โดยเฉพาะในช่วงโซน 4.50% ขึ้นไป สำหรับบอนด์ยีลด์ 10 ปี สหรัฐฯ

ทางด้านตลาดค่าเงิน เงินดอลลาร์ทยอยแข็งค่าขึ้นต่อเนื่อง หลังผู้เล่นในตลาดทยอยปรับลดความคาดหวังต่อแนวโน้มการลดดอกเบี้ยของเฟด ตามรายงานอัตราเงินเฟ้อ CPI ของสหรัฐฯ ล่าสุดที่ออกมาสูงกว่าคาด นอกจากนี้ เงินดอลลาร์ยังได้แรงหนุนจากการอ่อนค่าลงต่อเนื่องของบรรดาสกุลเงินหลัก

โดยเฉพาะ เงินเยนญี่ปุ่น (JPY) ที่มีจังหวะอ่อนค่าทดสอบโซน 149 เยนต่อดอลลาร์ ตามส่วนต่างบอนด์ยีลด์ 10 ปี สหรัฐฯ กับญี่ปุ่นที่ทยอยกว้างขึ้น และความกังวลต่อแนวโน้มสถานการณ์การเมืองของญี่ปุ่น ทำให้โดยรวมดัชนีเงินดอลลาร์ (DXY) ปรับตัวขึ้นสู่ระดับ 98.6 จุด (แกว่งตัวในกรอบ 97.9-98.7 จุด)

ในส่วนของราคาทองคำ จังหวะปรับตัวขึ้นของทั้งเงินดอลลาร์และบอนด์ยีลด์ 10 ปี สหรัฐฯ ยังคงกดดันให้ ราคาทองคำ (สัญญาทองคำตลาด COMEX ส่งมอบเดือน ส.ค. 2025) ปรับตัวลดลงราว -1% ทว่า ราคาทองคำยังพอได้แรงหนุนบ้าง จากความไม่แน่นอนของการดำเนินนโยบายการค้าของสหรัฐฯ และแรงซื้อ Buy on Dip ของผู้เล่นในตลาด ทำให้ราคาทองคำสามารถทรงตัวแถวโซน 3,330-3,340 ดอลลาร์ต่อออนซ์

สำหรับในช่วง 24 ชั่วโมงหลังจากนี้ ในฝั่งยุโรป ผู้เล่นในตลาดจะรอประเมินแนวโน้มการดำเนินนโยบายการเงินของธนาคารกลางอังกฤษ (BOE) ผ่านรายงานอัตราเงินเฟ้อ CPI เดือนมิถุนายน โดยล่าสุด ผู้เล่นในตลาดประเมินว่า BOE อาจลดดอกเบี้ยได้อีกราว 2 ครั้ง ในปีนี้

ส่วนในฝั่งเอเชีย ผู้เล่นในตลาดจะรอลุ้น ผลการประชุมธนาคารกลางอินโดนีเซีย (BI) โดยบรรดานักวิเคราะห์ต่างประเมินว่า BI อาจลดดอกเบี้ย 25bps สู่ระดับ 5.25% เพื่อช่วยประคองเศรษฐกิจจากผลกระทบของนโยบายการค้าของสหรัฐฯ

ขณะเดียวกันค่าเงินรูเปียะห์ (IDR) ก็มีเสถียรภาพมากขึ้น ส่วนในช่วงราว 6.50 น. ของเช้าวันพฤหัสฯ นี้ ตามเวลาประเทศไทย ผู้เล่นในตลาดจะรอติดตามรายงานยอดการค้าระหว่างประเทศ (Exports & Imports) ของญี่ปุ่น ในเดือนมิถุนายน

และในฝั่งสหรัฐฯ ผู้เล่นในตลาดจะรอลุ้น รายงานดัชนีราคาผู้ผลิต PPI เดือนมิถุนายน เพื่อประกอบการประเมินแนวโน้มอัตราเงินเฟ้อ PCE ในเดือนมิถุนายน ที่เฟดติดตามอย่างใกล้ชิด โดยข้อมูลดังกล่าวจะช่วยสะท้อนถึงผลกระทบจากนโยบายการค้าของสหรัฐฯ ในช่วงที่ผ่านมาได้

นอกจากนี้ ผู้เล่นในตลาดจะรอติดตามรายงานยอดผลผลิตอุตสาหกรรม (Industrial Production) ในเดือนมิถุนายน พร้อมกับ รอติดตามถ้อยแถลงของบรรดาเจ้าหน้าที่เฟด และรายงานสรุปสภาวะเศรษฐกิจจากบรรดาเฟดสาขาต่างๆ (Fed Beige Book) ซึ่งจะทยอยรับรู้ในช่วงราว 01.00 น. ของเช้าวันพฤหัสฯ นี้ ตามเวลาประเทศไทย

ศูนย์วิจัยกสิกรไทย ค่าเงินบาทปรับตัวอยู่ที่ระดับประมาณ 32.50-32.52 บาทต่อดอลลาร์ฯ ในช่วงเช้าวันนี้ (10.07 น.) อ่อนค่าลงเมื่อเทียบกับระดับปิดตลาดวานนี้ที่ 32.41 บาทต่อดอลลาร์ฯ

โดยเงินบาทอ่อนค่าลง สวนทางเงินดอลลาร์ฯ ที่กลับมาเพิ่มช่วงบวกได้ต่อ หลังจากที่ตัวเลขดัชนีราคาผู้บริโภคของสหรัฐฯ เดือนมิ.ย. ออกมาสูงกว่าที่คาด [CPI Inflation +2.7% YoY ในเดือนมิ.ย. สูงกว่าตลาดคาดที่ +2.6% YoY และสูงกว่า +2.4% YoY ในเดือนพ.ค.] ซึ่งทำให้ตลาดประเมินว่า เฟดอาจต้องระมัดระวังมากขึ้นในการประเมินจังหวะการปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายในระยะถัดๆ ไป

สำหรับกรอบการเคลื่อนไหวของเงินบาทในวันนี้ ประเมินเบื้องต้นไว้ที่ 32.40-32.70 บาทต่อดอลลาร์ฯ ขณะที่ปัจจัยสำคัญที่ต้องติดตาม ได้แก่ ประเด็นภาษีสินค้านำเข้าของสหรัฐฯ กับหลายๆ ประเทศคู่ค้า ฟันด์โฟลว์ของต่างชาติ ทิศทางราคาทองคำในตลาดโลก และตัวเลขเศรษฐกิจสหรัฐฯ อาทิ ดัชนีราคาผู้ผลิต ข้อมูลการผลิตภาคอุตสาหกรรมเดือนมิ.ย. และรายงาน Beige Book ของเฟด

ดูข่าวต้นฉบับ
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...

ล่าสุดจาก ฐานเศรษฐกิจ

ทีมไทยแลนด์ ถก สหรัฐฯ คืนนี้ ยื่นข้อเสนอภาษี 0% หลายหมื่นรายการ

34 นาทีที่แล้ว

ราคาน้ำมันพรุ่งนี้2568 (17 ก.ค. 68) บางจาก ปตท. อัปเดตราคาล่าสุด

35 นาทีที่แล้ว

ข่าวดี สพฐ. จ่อออกประกาศ 'ลดภาระครู' ไม่ต้องทำงานธุรการ-การเงิน-พัสดุ

36 นาทีที่แล้ว

คณะแพทยศาสตร์ รพ.รามาธิบดี ผนึก GSK ดันโมเดลรักษา “หืด-ปอดอุดกั้น”

40 นาทีที่แล้ว

วิดีโอแนะนำ

ข่าวและบทความธุรกิจ-เศรษฐกิจอื่นๆ

สหรัฐฯ ปิดดีลอินโดฯ เก็บภาษีสินค้า 19% แลกซื้อพลังงาน-เครื่องบินโบอิ้ง

SMART SME

TOA เดินหน้า Net Zero ผ่าน CFO รับรอง 6 ปีซ้อน

หุ้นวิชั่น

ข้อมูลซื้อขายสกุลเงินดิจิทัล วันที่ 16 ก.ค.68

สยามรัฐ

กสทช.ทบทวนโครงสร้างค่ามือถือกด ‘แพจเกจธงฟ้า’ต่ำกว่า 240 บาท

The Better

“กัมพูชา” อัปเดตรายการสินค้าห้ามนำเข้าจากไทย เหลือแค่ผัก-ผลไม้-เชื้อเพลิง

การเงินธนาคาร

กกพ. เตรียมเปิดรับฟังความเห็น กำหนดค่าไฟเดือนก.ย.-ธ.ค. งวดสุดท้ายของปีนี้

Khaosod

อีก 3 เดือนข้างหน้าก็ยังไม่ดี ดัชนีเชื่อมั่นอุตฯดิ่งต่อเนื่อง ปัญหาด่านเขมร-ภาษีสหรัฐ

ประชาชาติธุรกิจ

ไม่ลงทุน = ไม่เสี่ยง? ความเชื่อผิดๆ ที่อาจสร้างความลำบากในอนาคต

TODAY Bizview

ข่าวและบทความยอดนิยม

Loading...
Loading...
Loading...
Loading...