ไม่ลงทุน = ไม่เสี่ยง? ความเชื่อผิดๆ ที่อาจสร้างความลำบากในอนาคต
‘การวางแผนทางการเงิน ไม่ใช่แค่กดเครื่องคิดเลข แต่มันคือการออกแบบชีวิต’
คือคำพูดของ ดร.ณชา อนันต์โชติกุล หัวหน้าฝ่ายพัฒนาผลิตภัณฑ์เงินฝาก ธนาคารเกียรตินาคินภัทร (KKP) ไม่ได้สะท้อนเพียงหลักคิดเชิงการเงิน แต่ยังตีแผ่ความจริงของชีวิตในยุคที่ความไม่แน่นอนกลายเป็นเรื่องปกติของทุกวัน
[ เมื่อเศรษฐกิจไม่แน่นอน การวางแผนยิ่งต้องชัดเจน ]
ปี 2568 คือปีแห่งความท้าทาย ไม่ว่าจะเป็นผลกระทบจากภาษีนำเข้าของสหรัฐฯ ที่มีโอกาสพุ่งแตะ 36% นักท่องเที่ยวจีนที่หายวับไปจากตลาดไทย หรือการบริโภคภาคครัวเรือนที่ชะลอตัวจากภาวะเศรษฐกิจและเครดิตที่เข้าถึงยาก ปัจจัยเหล่านี้ทำให้ค่าใช้จ่ายโดยรวมของประเทศหดตัวลง
การลงทุนในตลาดหุ้นไทยก็ไม่น่าชื่นใจเท่าไร ครึ่งปีแรก SET Index ร่วงกว่า 20% ซึ่งสะท้อนสภาวะเศรษฐกิจที่ไร้แรงขับเคลื่อน ต่างชาติทยอยถอนทุนออกจากตลาดทุนไทยต่อเนื่องมาเกือบทศวรรษ นับตั้งแต่ปี 2017 เงินทุนต่างชาติไหลออกแล้วกว่า 8 แสนล้านบาท
ในแง่ของชีวิตประชาชน ตัวเลขการปิดกิจการ SMEs ยังคงสูงถึง 100 แห่งต่อเดือน อัตราการเลิกจ้างสูงติดลบมากกว่า 10% YoY ต่อเนื่องกว่า 7 เดือน ขณะที่ผู้มีงานทำก็มีชั่วโมงงานที่ลดลง และเด็กจบใหม่ก็หางานได้ยากขึ้นกว่าเดิมอย่างชัดเจน
[ อย่าปล่อยอนาคตไว้กับโชคชะตา จงวางแผนอย่างมีทิศทาง ]
ดร.ณชา ย้ำว่า ‘การวางแผนทางการเงินคือการดึงอนาคตมาลงมือทำวันนี้’
การไม่มีแผนก็เหมือนการขับรถโดยไม่รู้จุดหมายปลายทาง อาจขับไปเรื่อยๆ แล้วน้ำมันหมดกลางทาง
แต่ถ้ารู้ว่ารถเรารุ่นอะไร จุดหมายอยู่ตรงไหน จะต้องแวะพักเมื่อไหร่ มีแผนสำรองอะไรบ้าง นั่นแหละคือการเดินทางที่ปลอดภัยและคุ้มค่า
การวางแผนที่ดีจะช่วยให้เรา:
• ตระหนักรู้เพื่อเดินไปสู่เป้าหมาย
• เตรียมพร้อมสำหรับเหตุการณ์ไม่คาดฝัน
• สร้างความมั่งคั่งในระยะยาว
• ลดความเครียดจากภาระการเงิน
• มีกรอบชัดเจนในการตัดสินใจ
[ 7 ความผิดพลาดที่คนส่วนใหญ่มักเจอ ]
1. ไม่วางแผนการเงินเลย
2. วางแผนเกษียณตอนใกล้เกษียณ
3. มองข้ามความไม่แน่นอนของรายได้
4. ไม่มีประกันหรือการป้องกันความเสี่ยง
5. ลืมคิดเรื่องเงินเฟ้อหรือค่าใช้จ่ายฉุกเฉิน
6. ไม่ลงทุนเลย คิดว่าไม่ลงทุนคือไม่เสี่ยง (แต่จริงๆ เสี่ยงเพราะเงินฝืด)
7. ไม่กระจายความเสี่ยง
แม้จะมีคนที่คิดเรื่องการวางแผนมากถึง 60% แต่มีเพียง 20% เท่านั้นที่ ‘ทำจริง’ ขณะที่ข้อมูลจากตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยระบุว่า คนไทยเพียง 30% เท่านั้นที่ ‘พร้อมสำหรับการเกษียณ’
[ ความเสี่ยงที่มักมองข้าม ]
• อายุยืนกว่าที่คิด
• ต้องเกษียณเร็วกว่าที่คาด เช่น ป่วย โดนเลย์ออฟ หรือมีภาระดูแลครอบครัว
• ทักษะไม่อัปเดตจนไม่สามารถหารายได้เท่าเดิม
• ภาวะเงินเฟ้อที่ค่าครองชีพเพิ่มขึ้นทุกปี โดยเฉพาะในเมืองใหญ่
• ค่าใช้จ่ายลูก ค่ารักษาพยาบาล ค่าเทอม ฯลฯ
ทั้งหมดนี้ล้วนเป็นปัจจัยที่บั่นทอนความมั่นคง หากไม่มีการเตรียมพร้อม
[ EDGE by KKP: ที่ปรึกษาชีวิตครบวงจร ]
EDGE by KKP เป็นบริการวางแผนทางการเงินครบวงจรที่ไม่ได้จำกัดเฉพาะลูกค้ามั่งคั่ง แต่ยังมีบริการฟรีให้กับทุกคนผ่าน KKP Mobile ไม่มีค่าธรรมเนียม โดยสามารถปรึกษาได้ทั้งเรื่อง:
• การลงทุน
• การออม
• การวางแผนเกษียณ
• การวางแผนครอบครัว
• การประกันและการบริหารความเสี่ยง
บริการนี้เริ่มต้นมาตั้งแต่ 8 ปีก่อน โดยยึดหลัก ‘ผลประโยชน์ลูกค้าเป็นที่ตั้ง’ ไม่ได้เสนอเฉพาะผลิตภัณฑ์ของ KKP แต่เลือกสิ่งที่เหมาะกับเป้าหมายของลูกค้ามากที่สุด
ปัจจุบัน KKP มีลูกค้ากว่า 70,000 ราย และตั้งเป้าแตะ 100,000 รายภายในสิ้นปี 2568 ผ่านกลยุทธ์เข้าถึงกลุ่ม Middle Class โดยเฉพาะกลุ่มพ่อแม่โรงเรียนนานาชาติ ผ่านแคมเปญ ‘Planning for Your Child’
[ เงินฝากไม่ใช่แค่เรื่องดอกเบี้ย ]
หนึ่งในผลิตภัณฑ์ที่ได้รับความนิยมสูงคือ ‘KKP Savvy’ ที่ออกแบบดอกเบี้ยเป็นขั้นบันได:
• ต่ำกว่า 10,000 บาท: 0.50%
• 10,000 – 200,000 บาท: 1.50%
• 200,000 – 2,000,000 บาท: 1.55%
• 2,000,000 – 5,000,000 บาท: 1.75%
• มากกว่า 5,000,000 บาท: 1.80%
ถึงแม้แนวโน้มดอกเบี้ยเงินฝากจะลดลงจากทิศทางดอกเบี้ยขาลงของระบบธนาคาร แต่ KKP ยังมีจุดแข็งเรื่องผลิตภัณฑ์ที่ยืดหยุ่น ทั้งเงินฝากไม่ประจำหรือเงินฝากออนไลน์ที่ยังให้ผลตอบแทนคุ้มค่า
[ เริ่มต้นยังไงดี? ]
• เริ่มจากการตั้งเป้าหมาย: อยากเกษียณเมื่อไหร่? อยากมีเงินก้อนเท่าไหร่? ลูกเรียนจบเมื่อไหร่?
• ประเมินรายได้-รายจ่ายของตัวเองอย่างจริงจัง
• แบ่งเงินออมเป็น 3 ส่วน: เงินสำรองฉุกเฉิน / เงินลงทุนระยะสั้น / เงินลงทุนระยะยาว
• เลือกลงทุนอย่างกระจายความเสี่ยง: หุ้น กองทุน ตราสารหนี้ ประกัน ฯลฯ
• อย่ามองแค่ตัวเลข ให้มองถึง ‘เป้าหมายชีวิต’ ว่าเราทำไปเพื่ออะไร
[ ความมั่นคงทางการเงิน เริ่มได้ที่เรา ]
‘Failing to plan = Planing to fail’
คำนี้ยังคงจริงเสมอ และในโลกที่ไม่แน่นอนแบบตอนนี้ ยิ่งต้องมีแผนชัดเจนขึ้นกว่าเดิม
ถ้าเราเริ่มวันนี้ แม้จะช้าไปบ้าง ก็ยังดีกว่าไม่เริ่มเลย และถ้าเราเดินไปในทิศทางที่ถูกตั้งแต่ตอนนี้ ในวันที่รายได้ไม่เหมือนเดิม หรือมีเหตุไม่คาดฝันเข้ามา เราก็ยังมี ‘ร่มกันฝน’ ที่ชื่อว่า ‘แผนการเงิน’ ช่วยบังเราไว้จากพายุ…