โปรดอัพเดตเบราว์เซอร์

เบราว์เซอร์ที่คุณใช้เป็นเวอร์ชันเก่าซึ่งไม่สามารถใช้บริการของเราได้ เราขอแนะนำให้อัพเดตเบราว์เซอร์เพื่อการใช้งานที่ดีที่สุด

ธุรกิจ-เศรษฐกิจ

วัฒนธรรมในภูมิภาคไม่ใช่ของใครคนเดียว นักวิชาการ มธ. แนะ ‘ไทย’ ยื่นหลักฐาน แสดงบทบาทร่วมขึ้นทะเบียนกับ ‘ยูเนสโก’

SMART SME

อัพเดต 6 ชั่วโมงที่ผ่านมา • เผยแพร่ 6 ชั่วโมงที่ผ่านมา

นักวิชาการธรรมศาสตร์ ชี้ “กัมพูชา” ขึ้นทะเบียนละครรำกับยูเนสโก โดยหลักการไม่ถือเป็นการผูกขาดหรือประกาศความเป็นเจ้าของเหนือวัฒนธรรมใดๆ อย่างสมบูรณ์ แนะ “ไทย” ควรพิจารณายื่นเสนอชื่อในนามตัวเอง พร้อมแนบหลักฐานเพื่อแสดงให้เห็นถึงความเกี่ยวโยงทางวัฒนธรรมและบทบาทร่วมในฐานะสังคมที่มีรากวัฒนธรรมร่วมกันในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

จากกรณีที่เกิดกระแสวิพากษ์ในสังคมออนไลน์ เมื่อมีผู้ใช้งานจำนวนหนึ่งตั้งข้อสังเกตว่าประเทศกัมพูชาได้นำวรรณกรรมที่มีต้นทางจากไทยไปขึ้นทะเบียนเป็น “มรดกทางวัฒนธรรมที่จับต้องไม่ได้” กับองค์การเพื่อการศึกษา วิทยาศาสตร์ และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ (ยูเนสโก) หรือเมื่อ 17 ปีก่อน สร้างความกังวลในหมู่ประชาชนไทยบางส่วนเกี่ยวกับสิทธิในการใช้และเผยแพร่มรดกทางวัฒนธรรมดังกล่าวในระดับนานาชาติ กระทั่งล่าสุด เมื่อวันที่ 15 ก.ค. 2568 กระทรวงวัฒนธรรม (วธ.) ได้ชี้แจงว่า รายการที่กัมพูชานำไปขึ้นทะเบียนนั้นคือ “การแสดงละครรำแบบเขมร” ไม่ใช่วรรณกรรมตามที่มีความเข้าใจคลาดเคลื่อนในสังคม

ผศ. ดร.ธนภัทร ชาตินักรบ อาจารย์ประจำ ศูนย์กฎหมายระหว่างประเทศ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (มธ.) เปิดเผยว่า การขึ้นทะเบียนวัฒนธรรมกับยูเนสโกตามอนุสัญญาว่าด้วยการสงวนรักษามรดกทางวัฒนธรรมที่จับต้องไม่ได้ พ.ศ. 2546 (2003 Convention for the Safeguarding of the Intangible Cultural Heritage of Humanity) มีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมการอนุรักษ์วัฒนธรรมร่วมของมนุษยชาติ มิใช่การจำกัดสิทธิของประเทศใดประเทศหนึ่งในการใช้หรือสืบทอดวัฒนธรรมดังกล่าว และไม่ใช่การรับรองสิทธิแต่เพียงผู้เดียวหรือสิทธิในเชิงทรัพย์สินทางปัญญา

ความเข้าใจคลาดเคลื่อนในสังคมไทยส่วนหนึ่งเกิดจากการตีความว่า การขึ้นทะเบียนกับยูเนสโกเสมือนการได้รับลิขสิทธิ์ขาด ซึ่งไม่สอดคล้องกับเจตนารมณ์ของอนุสัญญาฯ ที่ไม่ได้มีบทบัญญัติใดระบุว่า การขึ้นทะเบียนจะกระทบต่อสิทธิของประเทศอื่นที่มีวัฒนธรรมร่วมกัน นักวิชาการธรรมศาสตร์ ระบุ

ทั้งนี้ หากประเทศไทยมีความกังวลต่อการขึ้นทะเบียนวัฒนธรรมของกัมพูชา อนุสัญญายูเนสโกฯ ได้เปิดทางให้รัฐภาคีสามารถยื่นข้อทักท้วงหรือแสดงความเห็นต่อรายการที่เสนอขึ้นทะเบียนได้ กรณีเห็นว่ามีองค์ประกอบที่เกี่ยวข้องกับวัฒนธรรมของตน สามารถยื่นข้อมูลหรือหลักฐานประกอบว่า วัฒนธรรมดังกล่าวมีต้นกำเนิดหรือพัฒนาการร่วมกับประเทศของตนอย่างไร ซึ่งหากยูเนสโกพิจารณาแล้วเห็นด้วยกับข้อเสนอดังกล่าว จะดำเนินการเพิ่มเติมอ้างอิงให้แก่ประเทศต้นทาง หรือระบุให้รายการดังกล่าวเป็นการขึ้นทะเบียนร่วมระหว่างสองประเทศในเอกสารประกอบอย่างเป็นทางการ

“วัฒนธรรมในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้นั้นมีความคล้ายคลึงกันสูง จนยากที่จะแยกขาดได้ว่าใดเป็นต้นฉบับแท้จริง โดยเฉพาะเมื่อมีประวัติศาสตร์การแลกเปลี่ยน การยืม และการดัดแปลงทางศิลปวัฒนธรรมมาอย่างต่อเนื่อง การดำเนินคดีหรือกล่าวหาว่าอีกฝ่ายละเมิดลิขสิทธิ์ทางวัฒนธรรมจึงเป็นไปได้ยากในทางปฏิบัติ สำหรับข้อเสนอในการแก้ไขความกังวลที่เกิดขึ้น หากประเทศไทยต้องการปกป้องหรือแสดงความเป็นเจ้าของต่อวัฒนธรรมของตน สิ่งที่ควรดำเนินการอาจไม่ใช่เพียงการวิพากษ์วิจารณ์เพียงอย่างเดียว แต่ควรเป็นการเตรียมข้อมูลเพื่อเสนอขึ้นทะเบียนในนามของตนเอง พร้อมทำความเข้าใจว่า วัฒนธรรมในภูมิภาคนี้ ไม่ใช่ของใครคนเดียว แต่มีรากฐานร่วมที่ควรได้รับการดูแลอย่างสมดุลร่วมกัน” ผศ. ดร.ธนภัทร กล่าว

ผศ. ดร.ธนภัทร กล่าวต่อไปว่า หากพิจารณาในเชิงข้อกฎหมาย อนุสัญญายูเนสโก 2003 ยังมีช่องโหว่ที่หลายประการที่จำแนกออกมาได้ 5 ประเด็น ได้แก่
1. ข้อความในอนุสัญญาฯ มีความคลุมเครือ ทำให้เกิดความเข้าใจผิดว่าการขึ้นทะเบียนคือการถือสิทธิแต่เพียงผู้เดียว เหมือนการจดลิขสิทธิ์ ซึ่งในความเป็นจริงไม่เป็นเช่นนั้น

2. ยังไม่มีแนวทางที่ชัดเจนในการประเมินว่ารัฐที่อ้างว่าเป็นผู้สืบทอดวัฒนธรรม มีความเข้าใจ หรือมีส่วนร่วมในการอนุรักษ์วัฒนธรรมดังกล่าวอย่างเป็นรูปธรรมภายหลังจากการขึ้นทะเบียน

  • ไม่มีเกณฑ์ในการระงับข้อพิพาทระหว่างประเทศที่ชัดเจน หากเกิดข้อพิพาทในกรณีวัฒนธรรมทับซ้อนกัน เช่น หากประเทศหนึ่งแอบอ้างวัฒนธรรมของอีกประเทศหนึ่งไปขึ้นทะเบียน ขณะนี้ อนุสัญญาฯ ยังไม่มีมาตรการทางกฎหมายที่ให้ประเทศต้นทางสามารถฟ้องร้องหรือเรียกร้องได้อย่างเป็นทางการ โดยประเทศต้นทางสามารถทำได้เพียงยื่นข้อคิดเห็นหรือขอรับรองความเป็นเจ้าของร่วมเท่านั้น
  • ความคลุมเครือในเรื่องสถานะความเป็นเจ้าของ หรือผู้ถือครองวัฒนธรรม เพราะแม้แต่กรณีโขนที่ไทยและกัมพูชาเคยเสนอขึ้นทะเบียนในฐานะศิลปะการแสดงของตน ก็ไม่ได้เกิดข้อขัดแย้ง เนื่องจากต่างฝ่ายต่างมีรายละเอียดทางวัฒนธรรมที่ปรับใช้ให้เข้ากับบริบทของตนเอง สะท้อนถึงการยอมรับโดยปริยายว่าบางวัฒนธรรมมีต้นกำเนิดร่วมกัน และสามารถดำรงอยู่ได้ในหลายพื้นที่
  • อนุสัญญาดังกล่าว ยังขาดความเชื่อมโยงกับระบบกฎหมายลิขสิทธิ์ในระดับสากลโดยตรง กล่าวคือ การขึ้นทะเบียนในรายการของยูเนสโกเป็นเพียงการส่งเสริมการมีส่วนร่วมของชุมชนในเชิงสัญลักษณ์ แต่ไม่มีผลทางกฎหมายในการปกป้องหรือบังคับใช้สิทธิในระดับระหว่างประเทศ และไม่มีบทลงโทษที่ชัดเจนกรณีมีการอ้างอิงวัฒนธรรมโดยไม่ระบุแหล่งที่มาอย่างเหมาะสม

ทั้งนี้ จากข้อเท็จจริงดังกล่าวสะท้อนให้เห็นว่า ข้อพิพาทที่เกิดขึ้นไม่ได้อยู่ที่การขึ้นทะเบียนของกัมพูชาเพียงฝ่ายเดียว แต่อยู่ที่การตีความเจตนารมณ์ของอนุสัญญาฯ และความเข้าใจของสาธารณชนต่อระบบการรับรองมรดกวัฒนธรรม และการสื่อสารในสาธารณะเกี่ยวกับบทบาทของการขึ้นทะเบียนวัฒนธรรมในระดับนานาชาติ

ดูข่าวต้นฉบับ
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...

ล่าสุดจาก SMART SME

‘คราฟต์ช็อกโกแลตไทย’ พลิกโฉมอุตสาหกรรมที่คนทั่วโลกต้องเหลียวมอง

6 ชั่วโมงที่ผ่านมา

กระทรวงพาณิชย์เปิด 10 ภารกิจเร่งด่วน แก้ปัญหาปากท้อง-ฟื้นความเชื่อมั่น-สร้างโอกาสให้ให้ประชาชน

11 ชั่วโมงที่ผ่านมา

วิดีโอแนะนำ

ข่าวและบทความธุรกิจ-เศรษฐกิจอื่น ๆ

ข่าวและบทความยอดนิยม

Loading...