โปรดอัพเดตเบราว์เซอร์

เบราว์เซอร์ที่คุณใช้เป็นเวอร์ชันเก่าซึ่งไม่สามารถใช้บริการของเราได้ เราขอแนะนำให้อัพเดตเบราว์เซอร์เพื่อการใช้งานที่ดีที่สุด

ธุรกิจ-เศรษฐกิจ

กูรูชี้งบแบงก์ Q2/68 หด! สะท้อนเศรษฐกิจอ่อนตัว ชี้โอกาสปันผลสูงยังมี

ฐานเศรษฐกิจ

อัพเดต 11 ชั่วโมงที่ผ่านมา • เผยแพร่ 10 ชั่วโมงที่ผ่านมา

กลับเข้าสู่ช่วงบริษัทจดทะเบียน (บจ.) ทยอยประกาศผลการดำเนินงานประจำไตรมาส 2/68 ซึ่งแน่นอนว่ากลุ่มแรกที่เริ่มต้นเปิดฤดูกาลแจ้งงบคือ กลุ่มธนาคารพาณิชย์ (แบงก์) ซึ่งล่าสุด บริษัท ทิสโก้ไฟแนนเชียลกรุ๊ป จำกัด (มหาชน) หรือ TISCO ได้เปิดผลการดำเนินงานเป็นรายแรกในงวดนี้

โดยไตรมาส 2/68 TISCO มีกำไรสุทธิ 1,644 ล้านบาท ลดลง 6.2% เทียบกับไตรมาส 2/67 จากรายได้รวมที่อ่อนตัวลง 2.9% ตามการลดอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ให้สอดคล้องกับการลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายของธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) รวมถึงการลดภาระดอกเบี้ยให้แก่ลูกหนี้ในโครงการ “คุณสู้ เราช่วย”

นายกิจพณ ไพรไพศาลกิจ รองกรรมการผู้จัดการ ฝ่ายวิเคราะห์หลักทรัพย์ บริษัทหลักทรัพย์ ยูโอบี เคย์เฮียน (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) เปิดเผยว่า ประเมินการประกาศผลการดำเนินงานของหุ้นกลุ่มแบงก์ในไตรมาส 2/68 คาดการณ์ว่า จะลดลง -17% จากไตรมาสก่อน และหดตัว -9% เทียบช่วงเดียวกันกับปีก่อน

หลักๆ เป็นผลมาจากต้นทุนสินเชื่อที่คาดจะเพิ่มขึ้น ทั้งนี้ ทางฝ่ายให้น้ำหนักการลงทุน เท่าตลาด (market weight) โดยมีหุ้นเด่น คือ KBANK

หุ้นแบงก์กำไรสุทธิหดตัว 5%

นักวิเคราะห์ บล. เอเซีย พลัส เปิดมุมมองต่อผลประกอบการไตรมาส 2/68 ของหุ้นกลุ่มแบงก์ ว่า ฝ่ายวิจัยคาดกำไรสุทธิกลุ่มฯ (8 ธนาคาร ภายใต้ Cover ฝ่ายวิจัย) งวดไตรมาส 2/68 ที่ 6.3 หมื่นล้านบาท ลดลง 5% จากไตรมาสก่อน

เป็นผลจากจากรายได้ดอกเบี้ยรับสุทธิ (NII) รับผลกระทบจากการปรับลด M-Rate ช่วงที่ผ่านมา ประกอบกับทิศทางสินเชื่อกลุ่มฯ ลดลง 1% จากไตรมาสก่อน ลดลง -1.5% นับตั้งแต่ต้นปีถึงปัจจุบัน เป็นไปตามภาวะเศรษฐกิจ ส่งผลให้การดำเนินนโยบายสินเชื่อของธนาคารยังเป็นไปอย่า เข้มงวด

โดยประเมินส่วนใหญ่รายงานกำไรสุทธิลดลงจากไตรมาสก่อน ตามวงจรดอกเบี้ย (TISCO เพราะ Credit cost ขึ้น) มี เพียง BAY (คาด Credit cost ลด) และ KKP (จาก FVTPL หลังงวดก่อนมีฐานต่ำ เมื่อเทียบกับค่าเฉลี่ยในอดีต) ที่ กำไรสุทธิมีโอกาสเติบโตจากไตรมาสก่อน

ในขณะที่หากเทียบกำไรสุทธิกลุ่มฯ เมื่อเทียบช่วงเดียวกันกับปีก่อน เติบโต 2% เพราะ Credit cost มีแนวโน้มต่ำลงเทียบช่วงเดียวกันกับปีก่อน จากฐาน Credit cost สูงในปีก่อน โดย KKP มีอัตราการขยายตัวของกำไรสุทธิสูงสุดจากฐานกำไรต่ำปีก่อน และตามด้วย SCB หลังทิศทางการตั้งสำรองลดลง

ทางฝ่ายมอง 4 ประเด็นสำคัญงวดไตรมาส 2/68 ดังนี้

1. รายได้ดอกเบี้ยสุทธิ (NII) และ อัตรากำไรสุทธิจากดอกเบี้ย (NIM) ของกลุ่มฯ มีแนวโน้มลดลงจากไตรมาสก่อน (NII ลบ 2% จากไตรมาสก่อน และ NIM อยู่ที่ 3.26% จาก 3.33% งวดก่อน) ทั้งจากสินเชื่อและวงจรดอกเบี้ย

โดยเฉพาะ NIM ของแบงก์ใหญ่ อย่าง BBL และ KTB ซึ่งมีสัดส่วนสินเชื่อ Floating rate ที่ 91% และ 89% ตามลำดับ สูงกว่ากลุ่มฯ (ค่าเฉลี่ยสินเชื่ออิง Floating rate กลุ่มฯ อยู่ที่ ราว 78%)

ในทางตรงข้าม NIM ของ TISCO มีทิศทางฟื้นตัว เหตุเพราะสัดส่วนสินเชื่อราว 63% เป็น Fixed rate (เช่าซื้อรถยนต์และจำนำทะเบียน) ขณะที่ต้นทุนทางการเงินทยอยลดลง ตามการ Repricing ดอกเบี้ยเงินฝากประจำที่ครบกำหนดอายุ

2. รายได้ที่มิใช่ดอกเบี้ย (Non - NII) ของกลุ่มฯ ประเมินลดลง 8% จากไตรมาสก่อน เนื่องจากงวดก่อน BBL และ KTB มีฐาน กำไรจากการขายเงินลงทุนในตราสารหนี้สูง (BBL อยู่ที่ 2.9 พันล้านบาท และ KTB ที่ 1.7 พันล้านบาท ซึ่งทั้งคู่ค่าเฉลี่ยกำไรจากการขายเงินลงทุนปี 67 อยู่ที่ราว 200 ล้านบาทต่อไตรมาส)

แม้ Bond yield ไทย อายุ 1 ปี ณ สิ้นงวดไตรมาส 2/68 ปรับตัวลง 0.34% จากไตรมาสก่อน มาที่ 1.47% (สิ้นงวดไตรมาส 1/68 ปรับลง 0.17% จากไตรมาสก่อน มาอยู่ที่ 1.81%) หนุนราคาพันธบัตรรัฐบาลสูงขึ้นต่อเนื่อง

แต่ฝ่ายวิจัยยังคงประเมินรายการนี้อย่าง อนุรักษ์นิยมลดลงจากไตรมาสก่อน เพราะรายการนี้เป็นการบริหารจัดการสภาพคล่องส่วนเกิน ตาม นโยบายของแต่ละธนาคาร จึงยังไม่เป็นที่แน่ชัดว่าจะเกิดขึ้นอีกในไตรมาสนี้หรือไม่

ขณะที่อีกรายการที่สร้างความผันผวนให้กับ Non – NII (สัดส่วน 5% ของรายได้รวมและ 20% ของ NonNII) คือ FVTPL (Un / Realized gain / loss ทั้งหุ้นในตลาดและนอกตลาด ตราสารหนี้ รวมถึงธุรกรรม อนุพันธ์และ FX)

หากพิจารณา SET Index ณ สิ้นงวดไตรมาส 2/68 ปิดต่ำกว่าสิ้นงวดก่อนราว 6% มี แนวโน้มกดดันพอร์ตลงทุนในหุ้นไทยของแต่ธนาคาร น่าจะถูกชดเชยได้บางส่วนจากพอร์ต ลงทุนหุ้นต่างประเทศ หลัง MSCI World ปรับตัวขึ้น 11% จากสิ้นงวดไตรมาส 1/68

ฝ่ายวิจัยประเมิน FVTPL อย่างอนุรักษ์นิยมของแต่ละธนาคาร ลดลงจากไตรมาสก่อน ยกเว้น BBL และ TISCO ซึ่ง FVTPL งวดไตรมาส 2 ใน อดีตสูงกว่าไตรมาส 1 รวมทั้ง KKP หลังงวดก่อนมีฐานต่ำกว่าค่าเฉลี่ยในอดีต

สำหรับการดำเนินงานหลักอย่างรายได้ค่าธรรมเนียมฯ (สัดส่วน 17% ของรายได้รวม) คาดลดลง 3% จากไตรมาสก่อน จากทั้งค่าธรรมเนียมที่เกี่ยวกับสินเชื่อ ตามการชะลอตัวของสินเชื่อ ประกอบกับค่าธรรมเนียมกลุ่ม Capital market เป็นไปตามภาวะตลาด

3. ผลขาดทุนรถยึด (บักทึกในค่าใช้จ่ายดำเนินงาน, ECL หรือ Non – NII ขึ้นอยู่กับนโยบายบัญชีของแต่ละ ธนาคาร) สำหรับแบงก์ที่มีสินเชื่อเช่าซื้อรถยนต์ (KKP, TISCO, TTB, BAY และ SCB) น่าจะรับรู้ผล ขาดทุนรถยึดต่ำลง ทั้งในเชิงปริมาณขายรถยึด จากการดำเนินนโยบายสินเชื่อเช่าซื้อเข้มงวดในช่วงที่ผ่านมา ทำให้ NPL ใหม่ในสินเชื่อกลุ่มนี้ลดลง ประกอบกับ “คุณสู้ เราช่วย” เป็นอีกปัจจัยช่วยชะลอการถูก ยึดรถ ซึ่งปริมาณรถยึดในตลาดที่ลดลง ยังหนุนต่อเนื่องถึงราคารถยนต์มือสอง

4. คุณภาพสินทรัพย์กลุ่มฯ ฝ่ายวิจัยคาด NPL / Loan เพิ่มมาที่ 3.8% จาก 3.7% ณ สิ้นงวดก่อน (สิ้นปี 67 ที่ 3.6%) หลักๆ มาจากฐานสินเชื่อชะลอตัว ส่วนมูลหนี้ NPL ขยับขึ้น 1% จากไตรมาสก่อน ในขณะที่การบริหาร จัดการ NPL เชิงรุกผ่านการ Write-off และขาย NPL มองว่ายังคงดำเนินต่อเนื่อง

เพื่อลดแรงกดดัน NPL ข้างหน้า ตามภาวะเศรษฐกิจไทยฟื้นตัวอย่างค่อยเป็นค่อยไปและระยะถัดไปมีความไม่แน่นอนจากนโยบาย การค้าสหรัฐฯ จึงคาดการณ์ Coverage ratio กลุ่มฯ ทรงตัว จากไตรมาสก่อน ที่ 180% (คาด BBL และ KTB ระดับ Coverage ratio ยังสูงเป็นอันดับต้นของกลุ่มฯ)

ด้าน Credit cost มองว่าแบงก์ส่วนใหญ่ยังตั้งในระดับ ใกล้เคียงงวดก่อน (แต่ลดลงเทียบช่วงเดียวกันกับปีก่อน จากฐานสูงงวดเดียวกันปีก่อน) ยกเว้น TISCO ซึ่งสูงขึ้นทั้งจากไตรมาสก่อน และเทียบช่วงเดียวกันกับปีก่อน ตามนโยบายการตั้งสำรองกลับสู่ระดับปกติ (ราว 1% เทียบกับปี 2567 ที่ 0.6%)

ทิศทางครึ่งปีหลังดูท้าทายขึ้น

หากกำไรสุทธิไตรมาส 2/68 เป็นไปตามคาด จะทำให้กำไรสุทธิครึ่งแรกปีนี้ อยู่ที่ 1.29 แสนล้านบาท เพิ่มขึ้น 3% เทียบช่วงเดียวกันกับปีก่อน คิดเป็น สัดส่วน 53% ของประมาณการกำไรทั้งปีฝ่ายวิจัย (2.4 แสนล้านบาท ทรงตัวเทียบช่วงเดียวกันกับปีก่อน) และสัดส่วน 54% ของ BB Consensus (ณ 4 ก.ค. 68)

"มองว่าประมาณการยังสอดคล้องกับแนวโน้มครึ่งหลังปี 68 ที่ยังเผชิญกับความท้าทายทั้ง NII มีแรงกดดันจากโอกาสในการลดดอกเบี้ยนโยบายจากปัจจุบันที่ 1.75% ตามสมมติฐานฝ่ายวิจัยรองรับอัตราดอกเบี้ย นโยบายที่ 1.5% หลังอัตราการขยายตัวของ GDP ช่วงครึ่งหลังปีนี้ มีแนวโน้มแผ่วเบากว่าครึ่งแรกปี อันเป็นผลจากภาษี การค้าสหรัฐฯ ที่เก็บกับประเทศทั่วโลกสูงขึ้นจากในอดีต ย่อมสร้างความไม่แน่นอนต่อภาคการส่งออกของไทย"

นอกจากนี้ ยังอาจมีแรงกดดันเพิ่ม หากการเบิกจ่ายงบประมาณปี 69 ของไทยติดขัด อีกทั้ง Bond yield ไทยอายุ 1 ปี ต่ำ กว่าดอกเบี้ยนโยบาย ดังที่กล่าวในช่วงก่อนหน้า สะท้อนความคาดหวังของตลาดว่าดอกเบี้ยนโยบายควรต่ำกว่าปัจจุบัน ขณะที่ทิศทางค่าใช้จ่ายดำเนินงาน (OPEX) ทำจุดสุดของปีในงวดไตรมาส 4 จากค่าใช้จ่ายการตลาดตามฤดูกาล

ด้าน Credit cost แม้ Coverage ratio อยู่ในระดับสูงกว่าอดีต และแบงก์มีการเร่งเก็บกวาด NPL ตั้งแต่ปี 65 (KTB และ KBANK) แต่ภายใต้ภาวะเศรษฐกิจที่ยังมีความไม่แน่นอนจากนโยบายการค้าสหรัฐฯ ตามความเห็นฝ่าย วิจัยการที่ Credit cost จะลดลงมากกว่าระดับปัจจุบันเป็นไปได้ยาก

ด้วยมุมมองต่อ NII และ Credit cost ตามข้างต้น ทำให้การบริหารจัดการเพื่อลดทอนผลกระทบ ขึ้นอยู่กับกำไรจาก การขายเงินลงทุนในตราสารหนี้(ดังงวดไตรมาส 1/68) และการควบคุม OPEX ให้สอดรับกับทิศทางรายได้ต่ำลง

ทั้งนี้ ภายใต้ Sensitivity Analysis พบว่าทุก 0.10% ของ NIM ที่เปลี่ยนแปลงจากสมมติฐาน และรับรู้ผลเต็มปี จะ กระทบกำไรสุทธิกลุ่มฯ ประมาณ 7% (ในอดีตการลดดอกเบี้ยนโยบาย 1 ครั้ง จะส่งผลให้ NIM กลุ่มฯ เปลี่ยนแปลง 0.05% อย่างไรก็ดีปัจจุบันการส่งผ่านดอกเบี้ยนโยบายไปยัง M-Rate ถือว่าต่ำกว่าในอดีต)

นโยบายการค้ากดดันแบงก์

ท่ามกลางสถานการณ์การค้าโลกยังมีความไม่แน่นอน เพราะภาษีการค้าสหรัฐฯ อาจสร้างความเสี่ยงต่อ ความสามารถในการชำระหนี้ของลูกค้าสินเชื่อธุรกิจ (รายใหญ่ + SME) ของแต่ละธนาคาร ทั้งที่อยู่ในภาคการ ส่งออก หรือ ขายสินค้าในประเทศก็ตาม (จากสินค้าราคาถูกจีน ถูกนำเข้ามาขายในไทย)

ทำให้สินเชื่อภาคการผลิต และการพาณิชย์จะเป็นกลุ่มที่มีแนวโน้ม Credit risk สูงขึ้นในระยะข้างหน้า โดย ธ.พ. ที่มีสัดส่วนสินเชื่อในกลุ่มนี้สูง 3 อันดับแรก ได้แก่ KBANK SCB และ BBL ตามลำดับ

ภายใต้ความเสี่ยงข้างต้น ในมุมฝ่ายวิจัยมองว่าแบงก์ที่มีระดับ Coverage ratio สูง อย่าง BBL และ KTB น่าจะรับมือ กับแรงกดดันได้ดีกว่ากลุ่มฯ และหากนำสัดส่วนสินเชื่อแยกรายอุตสาหกรรม มาประกอบการพิจารณา ประเมินว่า KTB ซึ่งมีสินเชื่อภาคการผลิตฯ ต่ำกว่ากลุ่มฯ และ Coverage ratio สูง ดูได้เปรียบกลุ่มฯ

ในทางตรงข้าม KBANK ที่มีสัดส่วนสินเชื่อภาคการผลิตฯ สูงสุดในกลุ่มฯ (และสัดส่วนสินเชื่อ SME สูงสุดในกลุ่มฯ) รวมถึง Coverage ratio น้อยกว่าแบงก์อื่นๆ ทำให้การรักษาระดับ Credit cost ให้อยู่ในกรอบเป้าหมาย 1.4% -1.6% (ปี 67 ที่ 1.9% และ สมมติฐานฝ่ายวิจัยปี 68 ที่ 1.8%) ค่อนข้างท้าทาย ตามความเห็นฝ่ายวิจัย

โดย Sensitivity Analysis ทุก 1% ของสินเชื่อภาคการผลิตฯ ที่ไหลตกชั้นเป็น NPL และกำหนดสมมติฐานการตั้ง ECL ที่ 50% ของมูลหนี้ที่ไหลตกชั้นเป็น NPL พบว่า KBANK จะมีภาระการตั้งราว 5.2 พันล้านบาท ตามด้วย BBL ราว 3.6 พันล้านบาท SCB ประมาณ 3.3 พันล้านบาท KTB 2.6 พันล้านบาท และ TTB ที่ 1.5 พันล้านบาท

ยังมีปันผลปลอบใจ

แม้เมฆหมอกดูปกคลุมกลุ่มฯ แต่ภาพดังกล่าวทำให้ ธ.พ. ระมัดระวังการปล่อยสินเชื่อใหม่ ภายใต้ระดับเงินกองทุน Tier-1 ซึ่งสูงเกินเกณฑ์ขั้นต่ำของ ธปท. พอควร (รูปด้านล่าง) เปิดทางให้กลุ่มฯ สามารถบริหารโครงสร้างเงินทุน ผ่านการเพิ่มนโยบายปันผล รวมถึงการซื้อหุ้นคืน (KKP, TTB ได้ดำเนินการไปก่อนหน้านี้แล้ว ส่วน KTB และ KBANK อยู่ระหว่างการพิจารณา)

แม้ปกติแล้ว การจ่ายเงินปันผลงวด ครึ่งแรกปีจะไม่สูงเท่าครึ่งปีหลัง แต่เมื่อเทียบกับบริษัทอื่นๆ ใน SET ที่ส่วนใหญ่แล้วจ่าย ปันผลปีละครั้ง มองว่าการเข้าสู่ฤดูกาลการจ่ายปันผลระหว่างกาลยังเป็นปัจจัยขับเคลื่อนราคาหุ้นในกลุ่มฯ ระยะถัดไป

ทั้งนี้ ฝ่ายวิจัยคาดเงินปันผลต่อหุ้นงวดครึ่งแรกปี 68 ใกล้เคียงกับรอบเดียวกันปีก่อน หากเป็นไปตามคาดการณ์ TTB จะเด่นสุดในรอบปันผลระหว่างกาล จาก Div Yield งวดครึ่งแรกปี 68 ที่ 3.4% สูงสุดในกลุ่มฯ

อย่างไรก็ตาม การเข้าสู่ช่วงปันผลระหว่างกาลและโอกาสในการ บริหารโครงสร้างเงินทุนผ่านการซื้อหุ้นคืน (KTB และ KBANK) คาดหนุนการฟื้นตัวของราคาหุ้นในกลุ่มฯ ช่วง ถัดไป (หรือจำกัด Downside ต่อราคาหุ้น) โดยคงชอบ KTB ตามด้วย BBL

นอกจากมุมมองด้านคุณภาพ สินทรัพย์ตามที่ได้กล่าวในช่วงก่อนหน้า ยังมาจากระดับ Earning yield สูงเป็นอันดับต้นของกลุ่มฯ สะท้อนความ น่าสนใจในเชิง Valuation อีกทั้งการออกจากแผนฟื้นฟูของ THAI และกลับเข้าซื้อขายใน SET ของ THAI (คาดอยู่ ในช่วง ส.ค. 68) ในส่วนของหนี้ที่ยังเหลือจากการแปลงหนี้เป็นทุน (ประเมินทั้งคู่มีสินเชื่อให้กับ THAI เหลืออยู่ราว 3 พันล้านบาท) หากชำระหนี้ได้ต่อเนื่องตามแผนฯ จะลดระดับ NPL / Loan ได้ราว 0.1% จากสิ้นงวดไตรมาส 1/68

ด้านพอร์ตลงทุนของทั้ง 2 ธนาคาร ในหุ้น THAI จะรับรู้กำไร หากราคาหุ้น THAI หลังกลับเข้าซื้อขายใน SET อยู่สูง กว่าราคาแปลงหนี้เป็นทุนที่ 2.5452 บาทต่อหุ้น ทั้งนี้ การเปลี่ยนแปลงของราคาหุ้น THAI จะบันทึกเข้างบกำไร ขาดทุนหรือส่วนของผู้ถือหุ้น ขึ้นอยู่กับการจัดประเภทเงินลงทุนของธนาคาร ซึ่งปกติจะไม่มีการเปิดเผยข้อมูลในส่วนนี้

SCB-KKP กำไรเด่นเหนือกลุ่ม

บล.หยวนต้า (ประเทศไทย) ให้มุมมองต่อหุ้นกลุ่มแบงก์ว่า คาดกำไรสุทธิในไตรมาส 2/68 ของกลุ่มธนาคารที่ 53,044 ล้านบาท ทรงตัวเทียบช่วงเดียวกันกับปีก่อน แต่ลดลง 9.2% จากไตรมาสก่อน กดดันจาก NIM ที่ปรับตัวลง และสินเชื่อที่ชะลอตัว ส่วนการตั้งสำรองและค่าใช้จ่ายดำเนินงานคาดปรับตัวลง

ทั้งนี้ มองว่าธนาคารที่คาดกำไรสุทธิในไตรมาส 2/68 จะเด่นกว่ากลุ่มคือ SCB ที่มีค่าใช้จ่ายลดลง และ KKP ที่ฟื้นตัวจากฐานต่ำ สำหรับในช่วงครึ่งหลังปี 68 คาดผลดำเนินงานกลุ่มทรงตัวเทียบช่วงเดียวกันกับปีก่อน แต่ลดลงเมื่อเทียบกับช่วงครึ่งแรกปีนี้ ซึ่งเป็นไปตามปัจจัยฤดูกาล

ทางฝ่ายคงน้ำหนักลงทุนหุ้นกลุ่มธนาคารเท่ากับตลาด แม้แนวโน้มผลดำเนินงานชะลอตัวลง แต่ยังอยู่ในระดับที่ไม่น่ากังวล อีกทั้งคาดเงินปันผลของทั้งปียังโดดเด่น อย่างไรก็ตาม ปกติธนาคารต่างๆ จะจ่ายปันผลระหว่างกาลไม่มาก และไปเพิ่มขึ้นมากตอบจ่ายปันผลประจำปี

โดยหุ้น Top Pick ยังชอบ TTB ราคาเป้าหมาย 2.12 บาท จากความต่อเนื่องของ Capital Return (เงินปันผล + ซื้อหุ้นคืน) สูงที่ 10.7% สูงที่สุดในอุตสาหกรรม และคาดให้เงินปันผลระหว่างกาลคิดเป็น Div. Yield ที่ 3%

ส่วนคุณภาพสินทรัพย์ยังอยู่ในระดับที่แข็งแรง อีกทั้งคาดเป็นธนาคารที่ได้รับผลกระทบจากดอกเบี้ยขาลงน้อยกว่าธนาคารใหญ่และมีลูกหนี้บริษัทใหญ่ไม่มาก ทำให้ความเสี่ยงที่จะต้องเร่งสำรองในช่วงสั้นๆ ค่อนข้างต่ำ

สินเชื่อภาครัฐหนุน KTB

บล.ทิสโก้ ระบุว่า คาดการณ์กำไรรวมไตรมาส 2/68 ที่ 5.7 หมื่นล้านบาท (-4.9% เทียบช่วงเดียวกันกับปีก่อน และ -11.3% จากไตรมาสก่อน) สำหรับธนาคาร 7 แห่งที่อยู่ภายใต้การวิเคราะห์ของทางฝ่าย การลดลงของกำไรที่คาดการณ์สะท้อนการลดลงของส่วนต่างรายได้ดอกเบี้ยสุทธิ (NIM) และสินเชื่อที่หดตัว

รายได้รวมคาดว่าจะอ่อนแอลงเนื่องจากการหดตัวของ NIM (-7bps จากไตรมาสก่อน) จากการปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายและมาตรการ "คุณสู้ เราช่วย" โดยคาดการณ์สินเชื่อจะลดลงต่อไปอีก -1.9% เทียบช่วงเดียวกันกับปีก่อน เนื่องจากธนาคารใช้แนวทางที่ระมัดระวัง

ในบรรดาธนาคารภายใต้การวิเคราะห์ของทางฝ่าย KTB โดดเด่นเป็นธนาคารเดียวที่คาดว่าจะมีการเติบโตของสินเชื่อเชิงบวกเทียบช่วงเดียวกันกับปีก่อน (+4.5% เทียบช่วงเดียวกันกับปีก่อน) ได้รับการสนับสนุนหลักจากส่วนงานสินเชื่อภาครัฐ

ดังนั้น รายได้ดอกเบี้ยสุทธิ (NII) น่าจะแสดงความอ่อนแอบางส่วน ลดลง -7.8% เทียบช่วงเดียวกันกับปีก่อน รายได้ค่าธรรมเนียมสุทธิก็คาดว่าจะยังคงอยู่ภายใต้แรงกดดัน (-4.1% เทียบช่วงเดียวกันกับปีก่อน)

ด้านต้นทุน คาดว่าจะมีการควบคุมค่าใช้จ่ายปฏิบัติการมากขึ้น เพราะรายได้รวมที่อ่อนแอลง การเติบโตของค่าใช้จ่ายปฏิบัติการของภาคคาดว่าจะลดลงเล็กน้อย (-1.9% เทียบช่วงเดียวกันกับปีก่อน)

ด้วยการปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบาย กำไรจากการลงทุนจากพอร์ตพันธบัตรรัฐบาลช่วยเพิ่มรายได้รวมในไตรมาสที่แล้ว โดยเฉพาะที่ BBL และ KTB สิ่งนี้อาจเกิดขึ้นอีกครั้งในไตรมาสนี้ แต่ทางฝ่ายคงการคาดการณ์ไว้อย่างระมัดระวังและถือว่าปัจจัยนี้เป็นความเสี่ยง

ทั้งนี้ KBANK ได้จัดประเภทพันธบัตรรัฐบาลบางส่วนใหม่จากการวัดมูลค่าตามราคาทุนตัดจำหน่ายเป็นมูลค่ายุติธรรมผ่านกำไรขาดทุนเบ็ดเสร็จอื่น (FVOCI) และอาจส่งผลต่อรายได้รวมในไตรมาสนี้ด้วย

ในเรื่องของคุณภาพสินทรัพย์ คาดว่าอัตราส่วน NPL จะเพิ่มขึ้นเล็กน้อย เนื่องมาจากการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจที่ซบเซา ดังนั้น credit cost ของกลุ่มคาดว่าจะคงที่ จากไตรมาสก่อน ที่ 154bps (เทียบกับ 152bps ในไตรมาส 1/68) แนวโน้มในอนาคต ทางฝ่ายเห็นความเสี่ยงเชิงลบที่อาจเกิดขึ้นในคุณภาพสินทรัพย์จากภาษีของสหรัฐฯ และสภาวะเศรษฐกิจที่ไม่เอื้ออำนวย

ชู KTB/TTB เป็นหุ้นแนะนำ

เงินปันผลสูงน่าจะช่วยรองรับผลการดำเนินงานด้านราคาในช่วงตลาดผันผวน ทางฝ่ายยังคงท่าทีเป็นกลางต่อภาคธนาคาร หุ้นแนะนำ ของทางฝ่ายคือ KTB (คุณภาพสินทรัพย์มั่นคง) และ TTB (ผลประโยชน์ทางภาษี) ทั้งนี้ คงคำแนะนำซื้อ โดยมูลค่าที่เหมาะสมเท่ากับ 26.00 และ 2.20 บาท ตามลำดับ

ดูข่าวต้นฉบับ
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...

ล่าสุดจาก ฐานเศรษฐกิจ

"ดร.รุ่ง" ย้ำพร้อมคุมดอกเบี้ยเชิงรุก–จับมือรัฐบาลใกล้ชิด

13 นาทีที่แล้ว

TOA เดินหน้า Net Zero เต็มสูบ ผ่านการรับรอง CFO ลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกทั้งองค์กรได้สำเร็จต่อเนื่องเป็นปีที่ 6

31 นาทีที่แล้ว

ฉันทวิชญ์ ถก ทูตสหรัฐฯ ยกระดับส่งออก-ป้องกันสวมสิทธิ์สินค้า

35 นาทีที่แล้ว

ทีมไทยแลนด์ ถก สหรัฐฯ คืนนี้ ยื่นข้อเสนอภาษี 0% หลายหมื่นรายการ

50 นาทีที่แล้ว

วิดีโอแนะนำ

ข่าวและบทความธุรกิจ-เศรษฐกิจอื่นๆ

หุ้นไทยปิดลบ 3.38 จุด วอลุ่ม 4.2 หมื่นล้าน พักตัวหวั่นเฟดชะลอลดดอกเบี้ยหลังเงินเฟ้อสูงกว่าคาด ลุ้นเจรจาภาษีทรัมป์

สยามรัฐ

“ฉันทวิชญ์” ถกทูตสหรัฐฯ เร่งเจรจาปรับสมดุลการค้าไทย-สหรัฐฯ ชู RVC ป้องกันสวมสิทธิ์สินค้า

สยามรัฐ

กทพ.แจ้งปิด”ด่านดาวคะนอง”และทางลงพระราม2,ดาวคะนอง ช่วง3 ทุ่ม-ตี 5 ตั้งแต่ 16 ก.ค. 68

Manager Online

BLACKPINK WATER และ 5 วิธีจัดคอนฯ แบบใส่ใจสิ่งแวดล้อม

Amarin TV

สหรัฐฯ ปิดดีลอินโดฯ เก็บภาษีสินค้า 19% แลกซื้อพลังงาน-เครื่องบินโบอิ้ง

SMART SME

TOA เดินหน้า Net Zero ผ่าน CFO รับรอง 6 ปีซ้อน

หุ้นวิชั่น

ข้อมูลซื้อขายสกุลเงินดิจิทัล วันที่ 16 ก.ค.68

สยามรัฐ

6 เดือน นทท.จีนเที่ยวไทยลดลงกว่า 34% เปิดอินไซต์เที่ยวไทยจาก Agoda

Amarin TV

ข่าวและบทความยอดนิยม

Loading...
Loading...
Loading...
Loading...