โปรดอัพเดตเบราว์เซอร์

เบราว์เซอร์ที่คุณใช้เป็นเวอร์ชันเก่าซึ่งไม่สามารถใช้บริการของเราได้ เราขอแนะนำให้อัพเดตเบราว์เซอร์เพื่อการใช้งานที่ดีที่สุด

ธุรกิจ-เศรษฐกิจ

ดีลใหม่! สหรัฐฯ ยอม "NVIDIA" ส่งชิป AI ให้จีน

TNN ช่อง16

เผยแพร่ 12 ชั่วโมงที่ผ่านมา
การค้าแม่เหล็กหายากระหว่างจีนกับสหรัฐฯ กลับมาคึกคักอีกครั้ง หลังทั้งสองฝ่ายผ่อนคลายข้อจำกัดทางการค้า ส่งผลให้การนำเข้าแม่เหล็กจากจีนพุ่งขึ้นกว่า 6 เท่า

สหรัฐอเมริกา เร่งนำเข้าแม่เหล็กถาวรชนิดหายากจากประเทศจีนเร่งด่วน ตามข้อมูลจากสำนักงานศุลกากรของจีน ในเดือนมิถุนายนที่ผ่านมา ปริมาณการนำเข้าสินค้าดังกล่าวเพิ่มขึ้นกว่า 6 เท่า หรือ 660% เมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้า ซึ่งสะท้อนให้เห็นถึงความต้องการที่เพิ่มสูงขึ้นของบริษัทอเมริกัน หลังจีนเริ่มผ่อนคลายมาตรการควบคุมการส่งออกแม่เหล็กหายากบางประเภทภายใต้ข้อตกลงการค้าเบื้องต้นระหว่างสองประเทศ

ก่อนหน้านี้ จีนได้ประกาศข้อจำกัดการส่งออกแม่เหล็กถาวร ซึ่งเป็นวัสดุสำคัญในเทคโนโลยีขั้นสูง อาทิ รถยนต์ไฟฟ้า กังหันลม และเครื่องตรวจคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า MRI โดยกำหนดให้ผู้ผลิตต้องยื่นขอใบอนุญาตก่อนการส่งออก มาตรการดังกล่าวถูกมองว่าเป็นการตอบโต้ภาษีนำเข้าที่สหรัฐฯ ประกาศใช้ต่อสินค้าจีนภายใต้ยุคของประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์

จีนมีบทบาทสำคัญในอุตสาหกรรมแม่เหล็กถาวร โดยครองส่วนแบ่งตลาดราวร้อยละ 90 ของโลก ทั้งด้านการผลิตและการกลั่นแร่หายากซึ่งเป็นวัตถุดิบหลักในการผลิตแม่เหล็ก ส่งผลให้ประเทศต่าง ๆ ต้องพึ่งพาการนำเข้าอย่างมาก โดยเฉพาะในภาคยานยนต์ อิเล็กทรอนิกส์ และพลังงานหมุนเวียนของสหรัฐฯ

เดือนมิถุนายนที่ผ่านมา สหรัฐฯ นำเข้าแม่เหล็กหายากจากจีนประมาณ 353 เมตริกตัน แม้จะต่ำกว่าระดับของเดือนเดียวกันในปีก่อน แต่ก็ยังถือว่าเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ และทำให้สหรัฐฯ กลายเป็นประเทศผู้นำเข้าอันดับสองรองจากเยอรมนี

นอกจากสหรัฐฯ แล้ว ประเทศต่าง ๆ ทั่วโลกก็นำเข้าแม่เหล็กจากจีนเพิ่มขึ้นเช่นกัน โดยรวมแล้ว จีนส่งออกแม่เหล็กถาวรจำนวน 3,188 เมตริกตันในเดือนเดียว เพิ่มขึ้นเกือบ 2 เท่า หรือ 160% จากเดือนก่อนหน้า แม้จะลดลงร้อยละ 38 เมื่อเทียบกับปีก่อนหน้า

การส่งออกที่เพิ่มขึ้นเกิดขึ้นหลังทั้งสองชาติตกลงกรอบความร่วมมือทางการค้าใหม่ในเดือนที่ผ่านมา ซึ่งรวมถึงการผ่อนคลายข้อจำกัดในการส่งออกสินค้าจากจีน และการลดข้อจำกัดของสหรัฐฯ ต่อเทคโนโลยีบางประเภท เช่น ชิป AI โดยบริษัท Nvidia ของสหรัฐฯ ได้ประกาศเตรียมกลับมาส่งออกชิป H20 ให้กับจีนอีกครั้ง

ผู้ผลิตแม่เหล็กในจีนเริ่มได้รับใบอนุญาตส่งออกแล้วในเดือนที่ผ่านมา ทำให้ความล่าช้าในการขนส่งแม่เหล็กเริ่มคลี่คลาย ซึ่งนับเป็นผลดีต่ออุตสาหกรรมทั่วโลกที่เคยได้รับผลกระทบจากปัญหาขาดแคลน อาทิ ผู้ผลิตชิ้นส่วนรถยนต์ในยุโรปบางรายต้องหยุดสายการผลิตไปชั่วคราว ขณะที่บริษัท Tesla เคยประกาศว่าการผลิตหุ่นยนต์ Optimus ได้รับผลกระทบเช่นกัน

นักวิเคราะห์จาก Z-ben Advisors ชี้ว่าการผ่อนคลายข้อจำกัดด้านเทคโนโลยีของสหรัฐฯ เป็นสัญญาณสะท้อนอำนาจต่อรองที่จีนมีอยู่ในความสัมพันธ์ทางการค้าระหว่างสองประเทศ ซึ่งอาจส่งผลต่อทิศทางของอุตสาหกรรมเทคโนโลยีทั่วโลกในอนาคต

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ดูข่าวต้นฉบับ
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...

ล่าสุดจาก TNN ช่อง16

กรมสุขภาพจิต เตรียมทีม MCATT ดูแลจิตใจผู้ได้รับผลกระทบจากพายุโซนร้อน “วิภา”

1 ชั่วโมงที่ผ่านมา

แม่ทัพภาค 2 สั่งปิดด่านชายแดนไทย-กัมพูชา งดเข้าออก-ท่องเที่ยวทุกกรณี

4 ชั่วโมงที่ผ่านมา

สรุปรายชื่อทหารบาดเจ็บจากเหตุทุ่นระเบิดช่องอานม้า

4 ชั่วโมงที่ผ่านมา

เปิดแผนจักรพงษ์ภูวนารถ กับปฏิบัติการชายแดนไทย-กัมพูชา ปี 2568

5 ชั่วโมงที่ผ่านมา

วิดีโอแนะนำ

ข่าวและบทความธุรกิจ-เศรษฐกิจอื่น ๆ

อดีตผู้ว่าททท.ถอดรหัสตลาดท่องเที่ยวไทย ย้ำเร่งกู้จีนเที่ยวไทย

ฐานเศรษฐกิจ

อายิโนะโมะโต๊ะ เผย 3 แผนใหญ่ ปี 68 หลังทำรายได้ 3.2 หมื่นล้าน

SMART SME

ผู้ช่วยฯ “จักรพล” เดินหน้ายกระดับธุรกิจที่พักเพื่อการท่องเที่ยว จับมือกระทรวงมหาดไทย ผลักดันแนวทางเชิงรุก หนุนผู้ประกอบการเข้าระบบ

สวพ.FM91

Thai economic sectors at risk without reforms amid US trade talks

Thai PBS World

Broker ranking 23 Jul 2025

Manager Online

'รองนายกฯพิชัย' หารือประธานฯ บริษัท MinebeaMitsumi Inc. หนุนลงทุนต่อเนื่องในไทย พร้อมผลักดันด้านโลจิสติกส์และพลังงาน

VoiceTV

“รัฐบาลไทย” เรียกทูตไทยประจำกัมพูชากลับประเทศ ลดระดับความสัมพันธ์

การเงินธนาคาร

“อภิสิทธิ์” จี้รัฐหยุดวนลูปแจกเงิน แนะปฏิรูปรากเศรษฐกิจ กิโยตินกฎหมาย-เพิ่มทักษะคนไทย

PostToday

ข่าวและบทความยอดนิยม

สัญญาณลบ? "BYD" เลื่อนผลิตรถ EV โรงงานฮังการี

TNN ช่อง16

ทรัมป์กดดัน? "โค้ก" ปรับสูตร ลุยตลาดสหรัฐฯ

TNN ช่อง16

ยอดขายรถดิ่ง! "AVTOVAZ" รัสเซีย ดอกเบี้ยสูง-คู่แข่งจีน

TNN ช่อง16
ดูเพิ่ม
Loading...