โปรดอัพเดตเบราว์เซอร์

เบราว์เซอร์ที่คุณใช้เป็นเวอร์ชันเก่าซึ่งไม่สามารถใช้บริการของเราได้ เราขอแนะนำให้อัพเดตเบราว์เซอร์เพื่อการใช้งานที่ดีที่สุด

ทั่วไป

ดีป้า ยกระดับเกษตรกรชาวสวนทุเรียนทั่วประเทศ ประยุกต์ใช้แพลตฟอร์มดิจิทัล

ไทยโพสต์

อัพเดต 18 กรกฎาคม 2568 เวลา 3.33 น. • เผยแพร่ 5 ชั่วโมงที่ผ่านมา

ดีป้า ผนึกกำลังเครือข่ายพันธมิตรขยายผลโครงการ OTOD ทุเรียนดิจิทัล ลุยส่งเสริม 10,000 เกษตรกรชาวสวนทุเรียนไทยประยุกต์ใช้แพลตฟอร์มดิจิทัล

เมื่อเร็วๆนี้ ดีป้า ร่วมกับเครือข่ายพันธมิตรขยายผลการส่งเสริมเกษตรกรชาวสวนทุเรียน ภายใต้โครงการ OTOD ทุเรียนดิจิทัล รุกส่งเสริมการประยุกต์ใช้แอปพลิเคชันจดบันทึกข้อมูลและติดตามย้อนกลับการเพาะปลูก พร้อมเพิ่มคุณสมบัติข้อมูลการลดและกักเก็บก๊าซเรือนกระจกโดยใช้บริการดิจิทัล เพื่อการจัดเก็บคาร์บอนฟุตพรินต์ ต่อยอดแพลตฟอร์มกลางเก็บข้อมูลเพาะปลูก ตั้งเป้ายกระดับชาวสวนทุเรียน ทั่วประเทศ 10,000 ราย ขับเคลื่อนภาคเกษตรกรรมไทยสู่เกษตรอัจฉริยะ และพลิกทุเรียนไทยกลับมายืนหัวแถวอาเซียน

ผศ.ดร.ณัฐพล นิมมานพัชรินทร์ ผู้อำนวยการใหญ่ สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล หรือ ดีป้า พร้อมด้วย นายสุริยะ คำปวง รองอธิบดีกรมส่งเสริมการเกษตร นายสุรชัย ยุทธชนะ รองเลขาธิการสำนักงานการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม ผศ.พวงเพ็ชร์ นิธยานนท์ นายกสมาคมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีทางอาหารแห่งประเทศไทย และ นางสาวณิชนันทน์ บุญเพิ่มพูล Manager of Seasonal Fruit - CP Fresh บริษัท ซีพี แอ็กซ์ตร้า จำกัด (มหาชน) ร่วมแถลงแนวทางการขยายผลโครงการ One Tambon One Digital: OTOD ทุเรียนดิจิทัล พร้อมประกาศความร่วมมือการดำเนินโครงการดังกล่าว ณ อาคาร ดีป้า (สำนักงานใหญ่) ซอยลาดพร้าว 10 เขตจตุจักร

ผศ.ดร.ณัฐพล เปิดเผยว่า ดีป้า เริ่มดำเนินโครงการ OTOD ทุเรียนดิจิทัล ในปี 2567 โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมและสนับสนุนให้เกษตรกรชาวสวนทุเรียนไทยนำแพลตฟอร์มดิจิทัล (แอปพลิเคชัน) มาประยุกต์ใช้จดบันทึกข้อมูลและติดตามย้อนกลับการเพาะปลูกทุเรียน ซึ่งแอปพลิเคชันดังกล่าวได้รับการพัฒนาโดยดิจิทัลสตาร์ทอัพสัญชาติไทยที่ได้รับมาตรฐาน dSURE และผ่านการขึ้นทะเบียนบนบัญชีบริการดิจิทัล มาพร้อมกับคุณสมบัติที่ช่วยอำนวยความสะดวกในการจดบันทึกข้อมูลและติดตามย้อนกลับการเพาะปลูก ไม่ว่าจะเป็น การเก็บข้อมูลเกษตรกรเพื่อรวบรวมเป็น Big Data การจัดการข้อมูลเพื่อยื่นขอรับรองมาตรฐาน GAP (Good Agricultural Practices) การจัดการคุณภาพผลผลิต การจัดการการตลาด ฯลฯ ซึ่งโครงการดังกล่าวได้รับผลตอบรับเป็นอย่างดีจากเกษตรกรชาวสวนทุเรียน โดยช่วงที่ผ่านมา โครงการดังกล่าวช่วยลดต้นทุนการผลิตให้พี่น้องเกษตรกรได้ไม่น้อยกว่า 180 ล้านบาท และเพิ่มมูลค่าให้ผลผลิตทุเรียนมากกว่า 1,280 ล้านบาท

ผศ.ดร.ณัฐพล กล่าวต่อว่า ดีป้า มุ่งหวังให้เกษตรกรชาวสวนทุเรียนไทยตระหนักถึงคุณประโยชน์ของการนำเทคโนโลยีดิจิทัลมาประยุกต์ใช้กับการบริหารจัดการการเพาะปลูก ด้วยเหตุนี้ ดีป้า และเครือข่ายพันธมิตรจึงมุ่ง
ขยายผลโครงการ OTOD ทุเรียนดิจิทัล โดยเปิดโอกาสให้เกษตรกรเลือกใช้แอปพลิเคชันที่หลากหลายยิ่งขึ้น อีกทั้งมีการเพิ่มคุณสมบัติ Greenhouse Gas Information หรือข้อมูลการลดและกักเก็บก๊าซเรือนกระจกโดยใช้บริการดิจิทัลเพื่อการจัดเก็บคาร์บอนฟุตพรินต์ (Carbon Footprint) ซึ่งโครงการดังกล่าวจะช่วยต่อยอดแพลตฟอร์มกลางเก็บข้อมูลเพาะปลูกเพื่อเป็น Big Data ด้านการเพาะปลูกทุเรียนที่ใหญ่ที่สุดของประเทศ

พร้อมกันนี้ ดีป้า ยังได้รับความร่วมมือจากเครือข่ายพันธมิตรในการดำเนินโครงการ ไม่ว่าจะเป็น กรมส่งเสริมการเกษตร ในการร่วมคัดเลือกเกษตรกรเข้าร่วมโครงการ สมาคมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีทางอาหารแห่งประเทศไทย ร่วมยกระดับบริการดิจิทัลด้านการเกษตรสัญชาติไทยให้ได้มาตรฐาน dSURE พร้อมผลักดันเข้าสู่บัญชีบริการดิจิทัล และ บมจ.ซีพี แอ็กซ์ตร้า ในการขยายช่องทางตลาดเพื่อกระจายผลผลิตทุเรียนของเกษตรกรทั้งในประเทศและต่างประเทศ

“ดีป้า ตั้งเป้ายกระดับศักยภาพเกษตรกรชาวสวนทุเรียนไทยทั่วประเทศรวม 10,000 ราย พร้อมต่อยอดสู่การนำเทคโนโลยี IoT บริหารจัดการน้ำอัจฉริยะมาช่วยควบคุมการเปิด – ปิด การรดน้ำ ในสวนทุเรียน ผ่านแอปพลิเคชันบนโทรศัพท์มือถือที่สามารถควบคุมการทำงานทั้งแบบการตั้งค่าเวลาและแบบอัตโนมัติผ่านชุดเซนเซอร์วัดความชื้นและวัดอุณหภูมิในพื้นที่สวนทุเรียน นอกจากนี้ ดีป้า ยังมีการมอบคูปองดิจิทัลให้กับเกษตรกรชาวสวนทุเรียนที่มีการบันทึกข้อมูลสม่ำเสมอ 500 รางวัล เพื่อให้เกษตรกรได้เลือกซื้อสินค้าและบริการดิจิทัลด้านการเกษตรบนบัญชีบริการดิจิทัล มูลค่า 10,000 บาท โดย ดีป้า ประเมินว่า โครงการ OTOD ทุเรียนดิจิทัล จะช่วยลดต้นทุนการผลิตให้พี่น้องเกษตรกรชาวสวนทุเรียนราว 1,700 ล้านบาท และเพิ่มมูลค่าผลผลิตทุเรียน 11,700 ล้านบาท ซึ่งการดำเนินงานทั้งหมดถือเป็นหนึ่งก้าวสำคัญในการเตรียมความพร้อมเกษตรกรไทยให้ก้าวไปสู่เกษตรอัจฉริยะ (Smart Farm) รองรับเศรษฐกิจและสังคมดิจิทัลของประเทศ อีกทั้งเพิ่มขีดความสามารถทางการแข่งขันในตลาดสากล และพลิกฟื้นทุเรียนไทยให้กลับมายืนหัวแถวของภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้อีกครั้ง” ผู้อำนวยการใหญ่ ดีป้า กล่าว

สำหรับเกษตรกรที่สนใจสามารถสมัครเข้าร่วมโครงการได้ตั้งแต่วันนี้ - 31 สิงหาคมนี้ ผ่านแอปพลิเคชันทางรัฐ โดยพิมพ์ค้นหาคำว่า ‘ทุเรียน ดิจิทัล’ และกดสมัครได้เลย สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ ฝ่ายส่งเสริมและสนับสนุนการพัฒนาการเกษตรสมัยใหม่ ดีป้า โทร 06 1423 9055 และ 09 2955 9478 หรือ Line OA: @durian_digital

ดูข่าวต้นฉบับ
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...

ล่าสุดจาก ไทยโพสต์

คุกเพราะ ๑๑๒ ใครต้องรับผิดชอบ

1 ชั่วโมงที่ผ่านมา

ไม่อาจให้อภัย?

1 ชั่วโมงที่ผ่านมา

เจอเรื่องร้อนเลย

1 ชั่วโมงที่ผ่านมา

ปชน.แค้น!ไม่นิรโทษคดี112 คปท.โต้พรรคส้มยุทะลุธง

1 ชั่วโมงที่ผ่านมา

วิดีโอแนะนำ

ข่าวและบทความทั่วไปอื่น ๆ

“หมอเจด” เปิด 15 สัญญาณเตือนมะเร็ง! ท้องผูก–ตกขาว–ไอเรื้อรัง อาจไม่ใช่แค่อาการธรรมดา

เดลินิวส์

ยอมสึกแล้ว เจ้าอาวาสวัดใหญ่จอมปราสาท อ้างเพื่อความสบายใจ ยังปัดไม่ปาราชิก

Khaosod

ทุนสำรองทองคำจากเหมืองในประเทศ หนุนเศรษฐกิจ–ท้าทาย Net Zero

ฐานเศรษฐกิจ

พิกัด กทม. สมุทรปราการ นนทบุรี ไฟฟ้าดับวันนี้ 18-20 ก.ค.นี้

ฐานเศรษฐกิจ

หมอชี้อาการนี้เป็นสัญญาณเงียบก่อนพาร์กินสัน อาจเตือนล่วงหน้าได้เป็นสิบปี!

เดลินิวส์

ผู้เชี่ยวชาญวิเคราะห์ ทุ่นระเบิดเขมร จับตาเป็นของใหม่ชัวร์มั้ย

BRIGHTTV.CO.TH

‘อุ๊งอิ๊ง’ เดือด! พระประพฤติผิดวินัย สั่งเร่งฟื้นฟูเชื่อมั่น เปิดรับ-ปรับตัวอย่างมีสติ!

The Bangkok Insight

สภาพอากาศวันนี้ -23 ก.ค.ไทยฝนฉ่ำ เตรียมรับมือฝนเพิ่ม ระวังน้ำท่วมฉับพลัน

ฐานเศรษฐกิจ

ข่าวและบทความยอดนิยม

Loading...