โปรดอัพเดตเบราว์เซอร์

เบราว์เซอร์ที่คุณใช้เป็นเวอร์ชันเก่าซึ่งไม่สามารถใช้บริการของเราได้ เราขอแนะนำให้อัพเดตเบราว์เซอร์เพื่อการใช้งานที่ดีที่สุด

สุขภาพ

รู้จักการถูก “Ghosting” อาการถูกทิ้ง ให้ไร้ตัวตน รับมือความสัมพันธ์แบบนี้อย่างไรดี

TNN ช่อง16

เผยแพร่ 8 ชั่วโมงที่ผ่านมา
รู้จักการถูก “Ghosting” อาการถูกทิ้ง ให้ไร้ตัวตน รับมือความสัมพันธ์แบบนี้อย่างไรดี ในมุมมองนักจิตวิทยา

กระวนกระวายเมื่อเขาหายไป ทำไมความเงียบจึงส่งผลต่อจิตใจขนาดนี้? แล้วในความสัมพันธ์ ทำไมเวลาอีกฝ่ายเงียบใส่ ทำเหมือนเราไม่มีตัวตน ถึงได้รู้สึกร้อนรน กังวล และอึดอัดมาก?

และสถานการณ์แบบนี้ ก็ไม่ได้เกิดแค่กับคู่รักหรือคนคุยเท่านั้น แต่การถูก “Ghosting” ที่พบเจอในชีวิตจริง ยังมีในรูปแบบเพื่อน สังคมที่ทำงาน และครอบครัวอีกด้วย ไม่ว่าจะเจอรูปแบบไหน วันนี้เรามีคำแนะนำจาก “เบญญารัศม์ จันทร์เปล่ง” นักจิตวิทยาคลินิก Me Center มาฝาก มาทำความเข้าใจและแก้ไขสถานการณ์นี้ไปด้วยกัน

Ghosting คืออะไร? เหตุใดถึงส่งผลกระทบต่อจิตใจและความสัมพันธ์

Ghosting คือ การหายจากการติดต่อ หายจากบทสนทนา หายจากหน้าจอ หรือหายจากกันและกันไปโดยไม่มีสาเหตุในทุกความสัมพันธ์ แบบไม่มีคำบอกลาหรือเหตุใด ๆ หายไปแบบไร้ร่องรอย ทิ้งให้อีกฝ่ายงง สับสน ค้างคา และเกิดคำถามต่าง ๆ ในใจ และอาจกลายเป็นปัญหาที่คั่งค้าง ที่ส่งผลกระทบต่อจิตใจของคนที่โดน Ghosting ได้ เพราะคนที่โดนอาจรู้สึกถูกหักหลัง ไม่กล้าไว้ใจคนอื่น ความมั่นใจลดลง ไม่กล้าสร้างความสัมพันธ์ใหม่ เพราะไม่แน่ใจว่าตนเองทำอะไรผิดจึงถูกกระทำคล้ายถูกทิ้ง ฯลฯ

พฤติกรรมที่แสดงว่าถูก Ghosting

-บทสนทนาสั้นลงเรื่อย ๆ แบบเห็นได้ชัด พลิกหน้ามือเป็นหลังมือแบบชัดเจน (ไม่ใช่ค่อย ๆ)

-ยกเลิกนัดบ่อยแบบไม่มีสาเหตุ หรือมีสาเหตุแปลก ๆ ไม่สมเหตุสมผล

หายไปทันทีทันใด

รับมือและจัดการตัวเองอย่างไร เมื่อพบว่าถูกทิ้งให้โดดเดี่ยว

ทบทวนสิ่งที่เกิดขึ้น ดูว่าเกิดจากอะไร หากเป็นที่ตัวเองให้ปรับปรุงแก้ไขในสิ่งที่ทำได้และเป็นผลดีกับตัวเอง แต่หากเป็นที่คนอื่นให้พยายามทำความเข้าใจสถานการณ์และเรียนรู้กับมัน

-รับรู้อารมณ์ตัวเอง อนุญาตให้ตัวเองรู้สึกไม่ดีได้

-ไม่โทษตัวเองมากเกินไป หากถูก Ghosting ให้เรียนรู้ และบอกตัวเองว่าเราแค่เจอความสัมพันธ์ที่ไม่ดี ไม่ใช่เราที่ไม่ดี

-หันกลับมาดูแลตัวเอง และเริ่มเรียนรู้ความสัมพันธ์ครั้งใหม่ ถ้าไม่สามารถ Move on ได้ ควรพาตัวเองไปพบผู้เชี่ยวชาญ อาจเป็นการพูดคุยกับนักจิตวิทยาคลินิกเพื่อขอคำปรึกษาและหาแนวทางรับมือที่สอดคล้องกับสถานการณ์ที่เจอ

หากสนใจปรึกษาจิตแพทย์ และนักจิตวิทยาคลินิก ติดต่อได้ที่

Me Center คริสตัล ดีไซน์ เซนเตอร์ (CDC) ชั้น 2

โทร 085-355-2255

Me Center ศูนย์สมองและสุขภาพจิต ชั้น 8 โรงพยาบาลอินทรารัตน์

โทร 02-481-5555 ต่อ 8300

Line Official: @mecenter (https://lin.ee/mCheDsu)

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ดูข่าวต้นฉบับ
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...

ล่าสุดจาก TNN ช่อง16

ต้นสังกัด “ไบร์ท วชิรวิชญ์” ร่อนจดหมายเอาผิดบุคคลที่หมิ่นประมาทศิลปิน

5 ชั่วโมงที่ผ่านมา

พลทหารธนพัฒน์ขอปลดประจำการ เลือกทำงาน อผศ. แทนรับราชการต่อ

8 ชั่วโมงที่ผ่านมา

วิดีโอแนะนำ

ข่าวและบทความสุขภาพอื่น ๆ

เช็กพิกัด จุดฉีดวัคซีนไข้หวัดใหญ่ฟรี 22-31 ก.ค.นี้ จำนวนจำกัด

ฐานเศรษฐกิจ

สื่อเผย งานวิจัย วัคซีนไฟเซอร์ อาจกระทบกระจกตา เสี่ยงปัญหาการมองเห็น แนะ ติดตามผลระยะยาว

Thaiger

เปิดโซลูชันดูแลผู้ป่วย “เบาหวาน” ในไทย พบสถิติสูงสุดอายุ 20-79 ปี

ฐานเศรษฐกิจ

รณรงค์ตรวจ IDA เด็กไทย 1 ใน 3 เสี่ยงภาวะโลหิตจาง กระทบพัฒนาการตามวัย

ฐานเศรษฐกิจ

เจาะลึก “ยาอิมครานิบ 100” รักษามะเร็งแบบมุ่งเป้าชนิดเม็ด เบิกได้ตามสิทธิสุขภาพ

PPTV HD 36

แก้ปัญหายาเสพติด 'ชัยชนะ' ชู 'สวนสราญรมย์โมเดล' ต้นแบบฟื้นฟู

ฐานเศรษฐกิจ

ข่าวและบทความยอดนิยม

"ภาวะซึมเศร้าในช่วงเย็น" (Evening Depression) อารมณ์เศร้าที่มาพร้อมกับฟ้ามืด

TNN ช่อง16

งานวิจัยพบ ตื่นเช้าแค่ 1 ชั่วโมง อาจช่วยลดความเสี่ยงซึมเศร้าได้ถึง 23%

TNN ช่อง16

Sweaty Detox บำบัดด้วยเหงื่อ เยียวยาใจแบบจัสติน บีเบอร์ เมื่อเหงื่อคือทางรอดจากความทุกข์

TNN ช่อง16
ดูเพิ่ม
Loading...