เปิดโซลูชันดูแลผู้ป่วย “เบาหวาน” ในไทย พบสถิติสูงสุดอายุ 20-79 ปี
นายมิไฮ อีริเมสซู (Mihai Irimescu) กรรมการผู้จัดการแบริษัท โรช ไดแอกโนสติกส์ (ประเทศไทย) จำกัด กล่าวว่า โรคเบาหวานยังคงเป็นหนึ่งในความท้าทายด้านสาธารณสุขที่สำคัญที่สุด ทั้งในประเทศไทยและทั่วโลก จากข้อมูล Diabetes Atlas 2025 โดยสหพันธ์เบาหวานนานาชาติ (IDF) ระบุว่า ประมาณ 11.1% ของผู้ใหญ่ชาวไทยอายุ 20 ถึง 79 ปี หรือราว 6.5 ล้านคน กำลังเผชิญกับโรคเบาหวาน
น่าเป็นห่วงว่าเกือบ 40% ยังไม่ทราบว่าตนเองป่วย และในกลุ่มที่ได้รับการวินิจฉัยแล้ว หลายคนยังไม่สามารถควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดได้อย่างเหมาะสมเฉพาะในประเทศไทยกลุ่มโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง (NCDs) รวมถึงเบาหวาน ก่อให้เกิดภาระทางเศรษฐกิจสูงถึงเกือบ 1.6 ล้านล้านบาทต่อปี หรือประมาณ 9.7% ของ GDP ตัวเลขเหล่านี้ไม่ใช่เพียงสถิติ แต่สะท้อนถึงชีวิตจริงของผู้ป่วยและครอบครัวที่ต้องเผชิญกับความยากลำบากในแต่ละวัน
ส่วนในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกซึ่งมีประชากรถึง 60% ของโลก หรือประมาณ 4.8 พันล้านคน ซึ่งวินิจฉัยโรคมีอิทธิพลต่อการตัดสินใจทางการแพทย์มากถึง 70% แต่กลับได้รับงบประมาณเพียง 2–3% ของค่าใช้จ่ายด้านสาธารณสุข
ดังนั้น โรช ไดแอกโนสติกส์ เชื่อว่าทุกคนควรมีโอกาสในการเข้าถึงสุขภาพที่ดี และมีอำนาจในการตัดสินใจเกี่ยวกับสุขภาพของตนเองอย่างมีข้อมูลและความมั่นใจในทุกช่วงชีวิต จึงมุ่งมั่นผลักดันให้ทุกภาคส่วนตระหนักถึงความสำคัญการตรวจโรคเบาหวาน
โดยมีพันธกิจในการส่งมอบโซลูชันการวินิจฉัยที่มีความสำคัญ เพื่อสนับสนุนการตัดสินใจทางคลินิกในทุกขั้นตอน ตั้งแต่การตรวจคัดกรองเบื้องต้น ไปจนถึงการรักษาแบบเฉพาะเจาะจง โดยเชื่อว่าการดูแลผู้ป่วยจะมีประสิทธิภาพสูงสุด เมื่อแพทย์เข้าใจผู้ป่วยอย่างลึกซึ้ง จะสามารถตัดสินใจได้อย่างแม่นยำ รวดเร็ว และเป็นรายบุคคลได้
แนวทางสำคัญคือ การจัดการเบาหวานแบบเฉพาะบุคคลอย่างบูรณาการ (iPDM) ซึ่งรวมเอาอุปกรณ์ตรวจระดับน้ำตาลในเลือด (BGM) แอปพลิเคชันดิจิทัล สำหรับผู้ป่วยและบุคลากรทางการแพทย์ และทีมดูแลสุขภาพแบบสหสาขาเข้าด้วยกันในระบบที่มีโครงสร้างและนำไปใช้ได้จริง ด้วยข้อดีของโมเดลนี้ ได้แก่
● การเฝ้าติดตามค่าน้ำตาลในเลือด BGM (Blood Glucose Monitoring) เป็นวิธีที่ประหยัดทั้งเวลาและทรัพยากร ช่วยให้การดูแลเบาหวานในชีวิตประจำวันมีประสิทธิภาพ และลดภาระต่อระบบสุขภาพ
● การใช้ BGM ร่วมกับแอปดิจิทัล ช่วยควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดได้ดีขึ้น ปรับปรุงคุณภาพชีวิต และลดความเสี่ยงของภาวะแทรกซ้อนที่มีค่าใช้จ่ายสูง
● ด้วยอุปกรณ์และโซลูชันดิจิทัลของโรช ทั้งผู้ป่วยและบุคลากรทางการแพทย์สามารถมีส่วนร่วมในแผนการรักษาที่เฉพาะบุคคล มีโครงสร้าง และอิงหลักฐานทางวิทยาศาสตร์
ทั้งนี้ รองศาสตราจารย์ นายแพทย์เพชร รอดอารีย์ นายกสมาคมเครือข่ายโรคไม่ติดต่อไทย ได้ร่วมสนทนา แนวทางการมุ่งสู่ความเป็นผู้นำและความมุ่งมั่นในการพัฒนาการดูแลผู้ป่วยเบาหวานในประเทศไทย ซึ่งเป็นกำลังสำคัญที่ช่วยผลักดันและสามารถยกระดับสุขภาพของผู้ที่มีภาวะเบาหวานทั่วประเทศได้อย่างเป็นรูปธรรม
รวมถึงการร่วมสำรวจว่าเครื่องมือดิจิทัล เช่น การตรวจน้ำตาลอย่างมีโครงสร้าง แอปพลิเคชันมือถือ CGM แบบเรียลไทม์ และระบบติดตามทางไกล กำลังพลิกโฉมการดูแลผู้ป่วยเบาหวานในประเทศไทยอย่างไร ทำให้สามารถตรวจพบปัญหาได้เร็วขึ้น ตอบสนองได้ไวขึ้น และรักษาได้ตรงตามความต้องการเฉพาะบุคคลมากยิ่งขึ้น
นับเป็นความร่วมมือกับสมาคมโรคเบาหวานแห่งประเทศไทย ผู้ให้บริการทางการแพทย์ ภาครัฐ และชุมชนทางการแพทย์ในวงกว้าง เพื่อร่วมกันผลักดันอนาคตของการดูแลโรคเบาหวานแบบดิจิทัลที่มีความทันสมัย เฉพาะบุคคล ให้ประชาชนเข้าถึงได้อย่างเท่าเทียมสำหรับทุกคน ไม่ว่าจะอยู่ที่ไหน และการสนับสนุนอย่างต่อเนื่องด้วยพลังแห่งความร่วมมือ และนวัตกรรม จะทำให้แน่ใจว่าจะไม่มีใครมองข้ามเบาหวานได้อีกต่อไป