โปรดอัพเดตเบราว์เซอร์

เบราว์เซอร์ที่คุณใช้เป็นเวอร์ชันเก่าซึ่งไม่สามารถใช้บริการของเราได้ เราขอแนะนำให้อัพเดตเบราว์เซอร์เพื่อการใช้งานที่ดีที่สุด

ทั่วไป

มาจากนอกระบบสุริยะ และทำตัวเหมือนดาวหาง: สรุปข้อมูลที่เรารู้ เกี่ยวกับดาว 3I/ATLAS ผู้มาเยือนจากแดนไกลหลายปีแสง

THE STANDARD

อัพเดต 12 ชั่วโมงที่ผ่านมา • เผยแพร่ 12 ชั่วโมงที่ผ่านมา • thestandard.co
มาจากนอกระบบสุริยะ และทำตัวเหมือนดาวหาง: สรุปข้อมูลที่เรารู้ เกี่ยวกับดาว 3I/ATLAS ผู้มาเยือนจากแดนไกลหลายปีแสง

เมื่อวันที่ 1 กรกฎาคม 2025 นักดาราศาสตร์ได้ค้นพบวัตถุใหม่ ที่มีวิถีวงโคจรแปลกไปจากบรรดาดาวเคราะห์น้อย หรือวัตถุที่เรารู้จักในระบบสุริยะ จนทำให้หน่วยงานอวกาศทั่วโลกต่างเร่งศึกษาดาวดวงดังกล่าวแทบจะในทันที

เพียงเวลาไม่นาน วัตถุที่มีชื่อชั่วคราวว่า A11pl3Z ก็ได้รับการยืนยันว่ามีต้นกำเนิดมาจากนอกระบบสุริยะ หรือเป็น Interstellar Objects ผู้เดินทางมาเยือนจากแดนไกลหลายปีแสง โคจรโฉบเข้ามาในระบบดาวของเราเพียงชั่วคราว และเป็นการค้นพบวัตถุประเภทนี้เพียงดวงที่สามในประวัติศาสตร์เท่านั้น พร้อมกับได้รับชื่อใหม่อย่างเป็นทางการว่า 3I/ATLAS ตามลำดับการค้นพบ และกล้องโทรทรรศน์ที่ตรวจเจอ

Davide Farnocchia วิศวกรด้านระบบนำทางของ JPL ระบุว่า “เรารวบรวมข้อมูลการสำรวจจากเครือข่ายกล้อง ATLAS มากกว่า 100 ครั้ง ซึ่งพบจุดดังกล่าวเคลื่อนที่ไป เมื่อเทียบกับตำแหน่งของดาวฤกษ์ในพื้นหลัง จนทราบได้ถึงความเร็วและวิถีวงโคจรของดาวดวงนี้ ทำให้เรารู้ได้ว่ามันมีที่มาจากนอกระบบสุริยะ”

ในตอนนี้ 3I/ATLAS อยู่ห่างจากดวงอาทิตย์ประมาณ 670 ล้านกิโลเมตร กำลังเคลื่อนตัวเข้ามาสู่ระบบสุริยะชั้นในด้วยความเร็ว 60 กิโลเมตร/วินาที (ประมาณ 210,000 กิโลเมตร/ชั่วโมง) มากกว่าความเร็วของวัตถุใด ๆ ก็ตามที่อยู่ในระบบสุริยะ โดยจะเร่งความเร็วขึ้นเรื่อย ๆ จนเฉียดใกล้ดวงอาทิตย์ที่สุดในวันที่ 29 ตุลาคม 2025 และโคจรไปจากระบบสุริยะตลอดกาล ไม่หวนกลับมาอีกแล้ว

Farnocchia เปิดเผยเพิ่มว่า “จากภาพถ่ายที่เรามี พบว่าวัตถุดังกล่าวมีหางฝุ่นปรากฏอยู่ห้อมล้อมนิวเคลียส เป็นสัญญาณบ่งชี้ว่า 3I/ATLAS อาจเป็นดาวหาง ซึ่งทำให้เป็นเรื่องยากที่จะประมาณการขนาดของดาวดวงนี้ได้อย่างแม่นยำ ด้วยข้อมูลที่มีอยู่ในปัจจุบัน” โดยนักดาราศาสตร์คาดว่ามันอาจมีขนาดใหญ่ถึง 20 กิโลเมตร เป็นวัตถุผู้มาเยือนจากนอกระบบสุริยะที่ใหญ่ที่สุด เท่าที่มีการค้นพบได้

ก่อนหน้านี้ นักดาราศาสตร์เคยค้นพบวัตถุจากนอกระบบสุริยะ ที่เข้ามาเฉียดผ่านใกล้ดวงอาทิตย์ได้เพียงสองดวงเท่านั้น ประกอบด้วย 1I/‘Oumuamua วัตถุขนาดใหญ่ประมาณ 1 กิโลเมตร ตรวจเจอครั้งแรกในปี 2017 และ 2I/Borisov ดาวหางจากนอกระบบสุริยะดวงแรก มีขนาดไม่เกิน 1 กิโลเมตรเช่นกัน ถูกพบในปี 2019

หากวัตถุนี้เป็นดาวหางจริง ๆ มีความเป็นไปได้ว่า 3I/ATLAS คือดาวหางที่เคยเป็นส่วนหนึ่งของระบบดาวอื่น เช่นเดียวกับบรรดาดาวหางในระบบสุริยะ ก่อนถูกอิทธิพลแรงโน้มถ่วงบางอย่างดีดออกมา จนมันลอยเคว้งอยู่ในพื้นที่ห้วงอวกาศระหว่างดาวฤกษ์เป็นเวลานานหลายล้านปี และได้โฉบผ่านเข้ามาในระบบสุริยะของเราโดยบังเอิญ

ดาวหางเหล่านี้ เป็นดั่งไทม์แคปซูลที่หลงเหลือมาจากการก่อกำเนิดของระบบดาว ซึ่งอาจนำพาองค์ประกอบที่ให้กำเนิดดาวเคราะห์นอกระบบสุริยะ เฉียดมาใกล้กับหลังบ้านของพวกเราอีกด้วย เพราะแม้อาจต้องใช้เวลาอีกหลายร้อยปีก่อนที่มนุษย์จะได้เดินทางไปเยี่ยมเยือนระบบดาวอื่น แต่การศึกษาดาวหาง หรือซากวัตถุผู้มาเยือนจากนอกระบบสุริยะ อาจช่วยให้นักดาราศาสตร์ได้เรียนรู้ถึงความหลากหลายของเพื่อนบ้านที่อยู่ไกลออกไปหลายปีแสง โดยไม่ต้องออกไปจากระบบดาวของเราด้วยซ้ำ

สำหรับระบบดาวที่เป็นต้นกำเนิดของดาวหาง 3I/ATLAS ยังไม่สามารถระบุได้ชัดเจนด้วยข้อมูล ณ ตอนนี้ แต่พบว่ามันมีทิศมาจากกลุ่มดาวคนยิงธนู (Sagittarius) หรือบริเวณใจกลางของกาแล็กซีทางช้างเผือก

อย่างไรก็ตาม 3I/ATLAS จะเข้ามาเฉียดใกล้ดวงอาทิตย์ ในตำแหน่งเกือบตรงกันข้ามกับโลกพอดี โดยมีจุดใกล้โลกสุดด้วยระยะห่าง 240 ล้านกิโลเมตร หรือประมาณ 1.6 เท่าของระยะโลก-ดวงอาทิตย์ ซึ่งแน่นอนว่าไม่สามารถมองเห็นได้ด้วยตาเปล่า แต่จะมีช่วงที่เฉียดใกล้ดาวอังคารด้วยระยะห่าง 28 ล้านกิโลเมตร ซึ่งอาจเพียงพอให้ยานอวกาศในวงโคจรรอบดาวอังคาร ได้ร่วมสำรวจเช่นเดียวกับทัพกล้องโทรทรรศน์จากโลกของเรา ก่อนที่ผู้มาเยือนดวงนี้จะโคจรจากออกไปตลอดกาล

แม้ชาวโลกจะพลาดโอกาสในการมองเห็น และเรียนรู้เกี่ยวกับดาวหางดวงนี้เพิ่มเติม แต่องค์การอวกาศยุโรป หรือ ESA ระบุว่ามีแผนส่งยาน Comet Interceptor ขึ้นไปประจำการอยู่ในวงโคจร L2 ระหว่างโลก-ดวงอาทิตย์ เพื่อเตรียมความพร้อมพุ่งไปศึกษาดาวหางดวงสำคัญต่าง ๆ ทั้งดวงที่มาจากหมู่เมฆออร์ตของระบบสุริยะ ไปจนถึงดาวหางผู้มาเยือนจากระบบดาวอื่น อย่างเช่นกรณีของ 3I/ATLAS โดยปัจจุบันมีกำหนดขึ้นบินในปี 2029 นี้

นอกจากนี้ หอดูดาว Vera C. Rubin ที่กำลังเริ่มภารกิจถ่ายภาพมุมกว้างของท้องฟ้ายามค่ำคืน ก็อาจมีบทบาทสำคัญในการร่วมค้นพบวัตถุผู้มาเยือนจากนอกระบบสุริยะได้เพิ่มมากขึ้น เช่นเดียวกับการตรวจพบดาวเคราะห์น้อยดวงใหม่ในระบบสุริยะเพิ่มอีก 1 ล้านดวง ในช่วงสองปีแรกของการสำรวจท้องฟ้าอีกด้วย

เนื้อหาที่เกี่ยวข้อง:

การค้นพบในครั้งนี้ ทำให้เราได้เห็นตำแหน่งของมนุษย์ และโลกของเราในจักรวาลแห่งนี้ ว่าพวกเราเป็นเพียงดาวเคราะห์ดวงหนึ่งของระบบดาวแห่งหนึ่ง ในชุมชนของระบบดาวมากกว่าแสนล้านแห่งของกาแล็กซีทางช้างเผือก ซึ่งก็เป็นหนึ่งในกาแล็กซี หรือดาราจักรจำนวนมากในเอกภพ แน่นอนว่ายังมีอีกหลายเรื่องที่เรายังไม่รู้ และคงมีการค้นพบที่น่าสนใจอีกมากที่รอคอยเราอยู่…

อ้างอิง:

ดูข่าวต้นฉบับ
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...

ล่าสุดจาก THE STANDARD

‘เท้ง-โรม’ ลงพื้นที่อรัญประเทศ พบแก๊งคอลเซ็นเตอร์ปอยเปตยังขยายตัวต่อเนื่อง เผยมีพิกัด 60 แห่งทั่วกัมพูชา

5 ชั่วโมงที่ผ่านมา

รมว.คลัง ยืนยันข่าวลืออัตราภาษีสหรัฐฯ 18-36% ไม่จริง ย้ำยึดผลประโยชน์ชาติเป็นหลัก คาดหวังอัตราต่ำสุด

5 ชั่วโมงที่ผ่านมา

Global Vision – Local Heart สูตรลับอาณาจักรรีเทลหมื่นล้าน สยามโกลบอลเฮ้าส์

5 ชั่วโมงที่ผ่านมา

3 แนวคิด ‘ราชพฤกษ์โมเดล’ จาก Healing Environment สู่ธุรกิจสุขภาพที่เติบโตอย่างยั่งยืน

5 ชั่วโมงที่ผ่านมา

วิดีโอแนะนำ

ข่าวและบทความทั่วไปอื่น ๆ

กรุงเทพมหานคร นนทบุรี ไฟฟ้าดับวันนี้ 7-9 ก.ค. 68 อัปเดตที่นี่

ฐานเศรษฐกิจ

ระทึก!รถบรรทุก 6 ล้อบรรทุกถังก๊าซพุ่งชนตอม่อด่านเก็บเงิน ถังก๊าซกระเด็นเกลื่อน หวิดระเบิด

เดลินิวส์

สภาพอากาศวันนี้ - 12 ก.ค.ไทยฝนตกหนักถึงหนักมากบางแห่ง กทม.ฝน 60 - 70%

ฐานเศรษฐกิจ

อิสราเอลส่งคณะเจรจาไปกาตาร์ แม้ไม่ยอมรับข้อเรียกร้องของฮามาส

JS100

ปูนบำเหน็จชั้น14สองหมอใหญ่ได้ดี

ไทยโพสต์

ระทึก!ทรัมป์ส่งจม.ภาษีถึง12ปท.

ไทยโพสต์

‘บัวแก้ว’โต้เขมร โพลซัด‘ฮุนเซน’

ไทยโพสต์

ภูมิธรรมลงนาม แบ่งอำนาจดูแล ‘พท.’คุมเรียบวุธ

ไทยโพสต์

ข่าวและบทความยอดนิยม

เจาะลึกภาพแรกจากหอดูดาว Vera C. Rubin เปิดศักราชใหม่แห่งการสำรวจจักรวาล

THE STANDARD

สรุปข้อมูล นักดาราศาสตร์พบสัญญาณชัดเจนที่สุด อาจมาจากชีวิตบนดาวเคราะห์มหาสมุทร K2-18b

THE STANDARD

นักดาราศาสตร์พบการปลดปล่อยเปลวไฟต่อเนื่อง จากหลุมดำมวลยิ่งยวดที่ใจกลางทางช้างเผือก

THE STANDARD
ดูเพิ่ม
Loading...