โปรดอัพเดตเบราว์เซอร์

เบราว์เซอร์ที่คุณใช้เป็นเวอร์ชันเก่าซึ่งไม่สามารถใช้บริการของเราได้ เราขอแนะนำให้อัพเดตเบราว์เซอร์เพื่อการใช้งานที่ดีที่สุด

ไอที ธุรกิจ

‘AI’ เปลี่ยนเกมตลาดแรงงาน ‘PwC’ ชี้ ช่วยเพิ่มค่าจ้าง 56%

กรุงเทพธุรกิจ

อัพเดต 2 วันที่แล้ว • เผยแพร่ 1 วันที่แล้ว

วันนี้ AI ไม่เพียงมีบทบาทสำคัญต่อการยกระดับภาคธุรกิจ แต่ยังมีอิทธิพลต่อตลาดแรงงาน ผลักดันให้เกิดการเปลี่ยนแปลงเชิงบวกในอย่างเป็นรูปธรรม…

พีดับบลิวซี (PwC) รายงานว่า AI มีบทบาทสำคัญขับเคลื่อนการผลิต และการดำเนินธุรกิจในหลากหลายอุตสาหกรรม ส่งผลให้ผลิตภาพโดยรวมของแรงงานเพิ่มสูงขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ รวมถึงค่าจ้างที่สูงขึ้นกว่าเดิม โดยเฉพาะอย่างยิ่งกลุ่มแรงงานที่มีทักษะด้าน AI มีแนวโน้มได้รับค่าตอบแทนสูงกว่าค่าเฉลี่ยอย่างเห็นได้ชัด และยังสามารถพัฒนาเส้นทางอาชีพไปสู่ตำแหน่งที่มีความรับผิดชอบสูงขึ้นต่อเนื่อง

รายงาน“Global AI Jobs Barometer 2025” โดย พีดับบลิวซี วิเคราะห์ข้อมูลประกาศรับสมัครงานเกือบหนึ่งพันล้านตำแหน่งจากหกทวีปทั่วโลก ระบุว่า ตั้งแต่มีการนำ Generative AI (GenAI) มาใช้แพร่หลายปี 2565 อุตสาหกรรมที่ประยุกต์ใช้ AI อย่างเข้มข้น เช่น บริการทางการเงิน และซอฟต์แวร์ มีการเติบโตของผลิตภาพ (productivity) เพิ่มขึ้นเกือบสี่เท่า ขยับจาก 7% ช่วงปี 2561-2565 เป็น 27% ในช่วงปี2561-2567

กลับกันกลุ่มอุตสาหกรรมที่มีการใช้ AI น้อยที่สุด เช่น เหมืองแร่ ธุรกิจโรงแรมและที่พัก พบว่า อัตราการเติบโตของผลิตภาพลดลงจาก 10% เหลือ 9% ในช่วงเวลาเดียวกัน

ข้อมูลปี 2567 ยังชี้ให้เห็นว่า อุตสาหกรรมที่ใช้ AI สูงสุด มีการเติบโตของรายได้ต่อพนักงานสูงกว่าอุตสาหกรรมที่มีการใช้งานน้อยที่สุดถึงสามเท่า

อาชีพที่ใช้ AI ขยายตัวต่อเนื่อง

'แครอล สตับบิงส์' ประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายพาณิชย์ระดับโลกของ พีดับบลิวซี กล่าวว่า เห็นถึงพลัง AI ในการขับเคลื่อนธุรกิจที่กำลังเกิดขึ้นจริง และยังเป็นเพียงจุดเริ่มต้นของการเปลี่ยนแปลง

ขณะที่ การนำ agentic AI มาใช้ในระดับองค์กร ทำให้เกิดการหลอมรวมระหว่างเทคโนโลยีกับวัฒนธรรม ซึ่งจะเปิดโอกาสใหม่ๆ ในการปรับมุมมองต่อการดำเนินงานและสร้างคุณค่าทางธุรกิจขององค์กร

พบด้วยว่า จำนวนตำแหน่งงานเกือบทุกสาขาอาชีพที่ใช้ AI ยังคงขยายตัว แม้ในกลุ่มงานที่สามารถแทนที่ได้ด้วยระบบอัตโนมัติ

แม้อาชีพที่มีการนำ AI มาใช้น้อยกว่าจะมีอัตราการเติบโตของตำแหน่งงานโดดเด่นถึง 65% ในช่วงปี 2562-2567 แต่อาชีพกลุ่มที่นำ AI มาใช้มากก็ยังคงมีอัตราการเติบโตที่แข็งแกร่งอยู่ที่ 38%

สำหรับอาชีพที่ใช้ AI อย่างเข้มข้น สามารถแยกย่อยได้เป็น “งานที่ถูกทำด้วยระบบอัตโนมัติ” เช่น งานที่ AI สามารถดำเนินการบางส่วนได้ และ“งานที่ถูกเสริมศักยภาพ” เช่น งานที่มนุษย์นำ AI มาช่วยเพื่อเพิ่มประสิทธิผล

ผลการศึกษาพบว่า จำนวนตำแหน่งงานในทั้งสองกลุ่มดังกล่าวยังคงเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องในทุกอุตสาหกรรมที่ถูกศึกษา โดยเฉพาะกลุ่มงานที่ได้รับการเสริมศักยภาพจาก AI ซึ่งมีอัตราการเติบโตสูงกว่ากลุ่มอื่น

ค่าจ้างเพิ่มขึ้นเป็นสองเท่า

พีดับบลิวซี ระบุว่า ค่าจ้างในอุตสาหกรรมที่มีการใช้ AI เพิ่มขึ้นเร็วกว่าอุตสาหกรรมที่ใช้งานน้อยกว่าถึงสองเท่า โดยค่าจ้างเพิ่มขึ้นทั้งในงานที่สามารถทำได้โดยระบบอัตโนมัติและงานที่ AI เข้ามาเสริมศักยภาพมนุษย์

ทั้งนี้ ตำแหน่งงานที่ต้องการทักษะด้าน AI ก็มีค่าตอบแทนสูงกว่างานในสายเดียวกันที่ไม่ต้องการทักษะ AI ในทุกอุตสาหกรรมที่ถูกวิเคราะห์

โดยค่าตอบแทนเฉลี่ยที่สูงกว่านี้อยู่ที่ 56% เพิ่มขึ้นจาก 25% ในปีที่แล้ว ขณะเดียวกัน งานที่ต้องใช้ทักษะ AI ยังคงเติบโตเร็วกว่าตำแหน่งงานอื่น ๆ โดยเพิ่มขึ้น 7.5% จากปีที่ก่อนในขณะที่ประกาศรับสมัครงานทั้งหมดลดลง 11.3%

ด้าน'โจ แอทคินสัน' ประธานเจ้าหน้าที่บริหารฝ่าย AI ระดับโลกของ พีดับบลิวซี กล่าวว่าเมื่อเทียบกับความกังวลที่ว่า AI อาจทำให้จำนวนงานลดลงมาก ผลศึกษาปีนี้ ชี้ว่า งานกำลังเติบโตในแทบทุกสาขาอาชีพที่เกี่ยวข้องกับ AI แม้แต่ในกลุ่มที่สามารถทำงานโดยอัตโนมัติได้สูง

AI กำลังเสริมศักยภาพ และเปิดโอกาสให้ความเชี่ยวชาญกลายเป็นสิ่งที่เข้าถึงได้มากขึ้น ช่วยให้พนักงานขยายขอบเขตในการเพิ่มผลลัพธ์และมุ่งเน้นที่ความรับผิดชอบในระดับสูงขึ้น ด้วยรากฐานที่เหมาะสม ทั้งบริษัทและพนักงานจะสามารถกำหนดบทบาทและอุตสาหกรรมใหม่ และก้าวขึ้นเป็นผู้นำในสายงานของตน โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อการประยุกต์ใช้งานในหลากหลายด้านเริ่มชัดเจนยิ่งขึ้น

สะเทือน ‘ทักษะ’ แรงงาน

แม้ว่า ภาพรวมในด้านประสิทธิภาพการผลิต ค่าจ้าง และงานจะเป็นไปในทิศทางบวก งานวิจัยนี้เน้นย้ำถึงความจำเป็นที่แรงงานและธุรกิจต้องปรับตัวให้ทันกับการเปลี่ยนแปลงที่รวดเร็วมากขึ้น

โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ความต้องการทักษะจากนายจ้างกำลังเปลี่ยนแปลงเร็วขึ้น 66% ในสายงานที่ใช้ AI มากที่สุด จากเดิม 25% เมื่อปีที่แล้ว

นอกจากนี้ สิ่งที่ต้องใช้ในการประสบความสำเร็จในงานที่เกี่ยวข้องกับ AI ก็กำลังเปลี่ยนแปลงไปในรูปแบบอื่นๆ เช่น ความต้องการวุฒิการศึกษาอย่างเป็นทางการจากนายจ้างลดลงสำหรับทุกตำแหน่งงาน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในงานที่เกี่ยวข้องกับ AI

'พีท บราวน์' หัวหน้ากำลังแรงงานระดับโลก พีดับบลิวซี กล่าวว่า การเติบโตอย่างรวดเร็วของ AI ไม่เพียงเปลี่ยนอุตสาหกรรมต่างๆ เท่านั้น แต่ยังพลิกโฉมแรงงานและทักษะที่จำเป็นอย่างสิ้นเชิง

นี่ไม่ใช่สถานการณ์ที่นายจ้างจะแก้ไขได้ง่ายด้วยการทุ่มเงิน แม้จะสามารถจ่ายค่าตอบแทนสูงเพื่อดึงดูดผู้มีทักษะด้าน AI ได้ แต่ทักษะเหล่านั้นก็สามารถล้าสมัยได้รวดเร็ว หากขาดการลงทุนในระบบที่ช่วยให้แรงงานได้เรียนรู้อย่างต่อเนื่อง

ช้าไม่ได้ ต้องเริ่มตั้งแต่ ‘วันนี้’

หากมองถึง ความจำเป็นทางธุรกิจสำหรับการใช้งาน AI หากธุรกิจต้องการเร่งการเติบโตและใช้ประโยชน์จากโอกาสที่ AI มอบให้ พวกเขาควรให้ความสำคัญกับ AI ตั้งวันนี้

โดยมี 5 แนวทางสำคัญสำหรับภาคธุรกิจ ประกอบด้วย 1. ใช้ AI เพื่อขับเคลื่อนการเปลี่ยนแปลงทั่วทั้งองค์กร 2. มอง AI เป็นกลยุทธ์การเติบโต ไม่ใช่แค่กลยุทธ์ด้านประสิทธิภาพ 3. ให้ความสำคัญกับ agentic AI 4. พัฒนาและส่งเสริมทักษะแรงงานให้พร้อมใช้ประโยชน์จากพลังของ AIและ 5. ปลดล็อกศักยภาพการเปลี่ยนแปลงของ AI ด้วยการสร้างความไว้วางใจ

ภิรตา ภักดีสัตยพงศ์ หุ้นส่วนสายงานที่ปรึกษา บริษัท พีดับบลิวซี ประเทศไทย กล่าวเสริมว่าAI ช่วยเพิ่มผลิตภาพและเปลี่ยนแปลงทักษะที่ตลาดแรงงานไทยต้องการ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในภาคบริการทางการเงินและเทคโนโลยี ผู้มีทักษะด้านนี้จะมีโอกาสเติบโตและได้รับค่าตอบแทนสูงขึ้น

อย่างไรก็ดี องค์กรต่าง ๆ ควรสนับสนุนการมอง AI ในฐานะเครื่องมือที่ช่วยเสริมศักยภาพการทำงาน ไม่ใช่สิ่งที่มาแทนที่มนุษย์ การเริ่มต้นจากการให้เห็นตัวอย่างการประยุกต์ใช้ AI ในเชิงธุรกิจ พร้อมกับจัดฝึกอบรมให้ความรู้ จะช่วยให้พนักงานเข้าใจการนำ AI ไปใช้ในงานประจำวันได้มากขึ้น

มากกว่านั้นควรมีแนวทางกำกับดูแลการใช้ AI อย่างรอบคอบ โดยให้ความสำคัญกับประเด็นความปลอดภัยของข้อมูล จริยธรรม และความโปร่งใส

ดูข่าวต้นฉบับ
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...

ล่าสุดจาก กรุงเทพธุรกิจ

‘วัว’ ผลิต ‘นม’ ลดน้อยลง ผลกระทบจากความเครียด-อากาศร้อน

23 นาทีที่แล้ว

รู้จัก 'Sephora Kids' เมื่อ Gen Alpha รุกตลาดความงามไม่รอโต

34 นาทีที่แล้ว

เปิดป่องเอี๊ยมเยี่ยมแดนอีสาน ‘ถ้ำนาคา ป่าคำชะโนด’ และ หินสามวาฬ

45 นาทีที่แล้ว

ตะขาบ 5 ตัวจากจุดต่างสู่จุดแข็ง ครองใจคนทุกเจเนอเรชัน

49 นาทีที่แล้ว

วิดีโอแนะนำ

ข่าวและบทความไอที ธุรกิจอื่น ๆ

"จิสด้า"เอกซเรย์ 5 อำเภอ จังหวัดน่านรับผลกระทบน้ำท่วม 13,446 ไร่ พบส่วนใหญ่เป็นพื้นที่ลุ่มต่ำการเกษตรริมสองฝั่งแม่น้ำสายหลักและสายรอง

สยามรัฐ

ตะขาบ 5 ตัวจากจุดต่างสู่จุดแข็ง ครองใจคนทุกเจเนอเรชัน

กรุงเทพธุรกิจ

หุ้นเนื้อไก่น่าสะสม! ชู GFPT–CPF ท็อปพิก รับราคาขายพุ่ง-ต้นทุนลด

ข่าวหุ้นธุรกิจ

สหรัฐ เปิดเกมรุก วางยุทธศาสตร์สร้างความมั่นคงทางอาหาร ต่อยอดเก็บภาษีคู่ค้า

กรุงเทพธุรกิจ

ราคาน้ำมันดิบกลับมาดีดขึ้นกว่า 2% ตลาดจับตาหลายปัจจัย

กรุงเทพธุรกิจ

มหันตภัย “ศูนย์เหรียญ” พาธุรกิจไทยเจ๊งยับ

ThaiFranchiseCenter

'ภาษีทรัมป์' ฉุดรายได้ 'การท่าเรือฯ' จ่อหยุดสถิตินิวไฮ 3 ปี ซ้อน

กรุงเทพธุรกิจ

เกษตร Kick off โครงการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตข้าวผู้ประสบอุทกภัย

กรุงเทพธุรกิจ

ข่าวและบทความยอดนิยม

Loading...